เจี๊ยบ เจี๊ยบ ฟาร์ม จำหน่าย ไก่ไข่ สายพันธุ์โบวานส์บราวน์ เลี้ยงง่าย กินอาหารน้อย มีอัตราการรอดสูง ให้ผลผลิตไข่ดี

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การเลี้ยง ไก่ไข่ ถือว่าเป็นอาชีพที่มีผู้สนใจมากในปัจจุบัน เนื่องจากไก่ไข่เลี้ยงไม่ยาก ต้องการพื้นที่ในการเลี้ยงน้อย มีความสะดวก ทั้งทางด้านการจัดหาลูกไก่ อาหาร อุปกรณ์ การให้อาหาร น้ำ วัคซีน และยารักษาโรค

นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงพันธุ์ไก่ไข่ให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศบ้านเรา จึงทำให้การเลี้ยงไก่ไข่ในประเทศไทยมีความคล่องตัวสูง ทำให้อุตสาหกรรมไก่ไข่เจริญก้าวหน้า สามารถผลิตไข่เพื่อการบริโภคภายในประเทศ และจำหน่ายต่างประเทศ

1.ไก่ไข่เลี้ยงง่าย กินอาหารน้อย ให้ผลผลิตไข่ดี
1.ไก่ไข่เลี้ยงง่าย กินอาหารน้อย ให้ผลผลิตไข่ดี
ไข่ฟองใหญ่ สด สะอาด
ไข่ฟองใหญ่ สด สะอาด

การเลี้ยงไก่ไข่

นิตยสารสัตว์บก พาไปรู้จักกับ คุณเจี๊ยบ “เจี๊ยบ เจี๊ยบ ฟาร์ม” เกษตรกรผู้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ ไก่ไข่ เพื่อผลิตและจำหน่ายลูกไก่ไข่ และไก่สาวพร้อมไข่ สายพันธุ์โบวานส์บราวน์ (Bovans-Brown) เลี้ยงง่าย กินอาหารน้อย มีอัตราการรอดสูง ให้ผลผลิตไข่ดี

เจี๊ยบ เจี๊ยบ ฟาร์ม ฟาร์มไก่ไข่เมืองแปดริ้ว ที่มีการเลี้ยง ไก่ไข่ พ่อแม่พันธุ์เพื่อจำหน่ายลูกไก่ไข่ และไก่สาว โดยทางฟาร์มเลือกใช้สายพันธุ์โบวานส์บราวน์ (Bovans-Brown) มีลักษณะขนมีสีน้ำตาลแซมขาว แข้งขามีสีเหลือง เลี้ยงง่าย กินอาหารน้อย มีอัตรารอดสูง ผลผลิตไข่ 315 ฟอง/ปี ไข่ทน ไข่มีสีน้ำตาลแดง ไข่ดก และมีขนาดใหญ่กว่าทุกสายพันธุ์

สำหรับไก่สาวพร้อมไข่จะมีอายุ 17-18 สัปดาห์ ตัวละ 195 บาท รับประกันเรื่องทำวัคซีนให้ครบตามโปรแกรม และตัดปากป้องกันไก่จิกตูดกันเอง

2.การให้อาหารไก่
2.การให้อาหารไก่

การบำรุงดูแลไก่ไข่

ส่วนวิธีการดูแล ไก่ไข่ นั้น คุณเจี๊ยบได้แนะนำว่า ในวันแรกที่ได้รับไก่ ต้องให้ยาน้ำ วิตามิน น้ำตาลกลูโคส หรือน้ำตาลทราย เพื่อให้ไก่ฟื้นตัวจากการขนส่ง สำหรับไก่ไข่จะกินอาหารวันละ 1.2 กรัม ควรเป็นโปรตีน 17-18% ให้กินผักกับหยวกกล้วยหลัง 4 โมงเย็นเป็นต้นไป (หญ้าขนกินไม่ได้) ควรให้วิตามินไก่ไข่ 2 วัน/ครั้ง และควรเปลี่ยนน้ำไก่ทุกเช้า ถ้าเลี้ยง 60-1,000 ตัว ควรติดไฟไล่ยุง 1 ดวง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สำหรับอาหาร ทางฟาร์มใช้หัวอาหาร, เปลือกหอยนางรม, รำ, ข้าวโพด และกากถั่วเหลือง มาผสมเอง ด้วยสัดส่วนที่เหมาะสม จนได้โปรตีน 18% กว่า ตามที่ร่างกายไก่ต้องการ ใช้เครื่องผสมของทางฟาร์ม ไม่ผ่านความร้อน ไม่อัดเม็ด โปรตีนไม่หาย ใช้เลี้ยงไก่ที่ฟาร์ม

3.โรงเรือนไก่ไข่
3.โรงเรือนไก่ไข่

การบริหารจัดการภายในฟาร์มไก่ไข่

ส่วนการจัดการของเสียภายในฟาร์มเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งกลิ่นเหม็นจากมูลสัตว์ตามพื้นคอกเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้ไก่มีอาการหายใจลำบาก หน้าบวม ร้อนแดง ตาอักเสบ น้ำมูก น้ำตาไหล และมีอาการคัน อาจเกาจนเป็นแผลทำให้เกิดการติดเชื้อและตายในที่สุด

หากเป็นไก่ไข่แบบเลี้ยงรวมบนพื้น สามารถใช้สเม็คไทต์ผงหว่านลงบนวัสดุรองพื้น โดยในระยะไก่โตอาจหว่านโรยทุก 5-7 วัน ช่วงเช้า-เย็น ไก่ไข่แบบกรงตับให้ใช้สเม็คไทต์ผงหว่าน โรยบางๆ ทับลงบนมูลไก่ที่พื้นคอก กลิ่นเหม็นจะถูกดูดซับ จากนั้นประมาณ 5-10 นาที กลิ่นเหม็นจะหายไป

อุณหภูมิ ไก่เป็นสัตว์ที่ไม่มีต่อมเหงื่อ การระบายความร้อนออกจากร่างกายไม่สามารถระบายออกทางผิวหนังเหมือนคนเรา ดังนั้นการระบายความร้อนออกจากร่างกาย โดยหายใจเอาอากาศเข้าไปในปอด เข้าถุงลม ส่วนน้ำที่ไก่กินเข้าไปบางส่วนจะระเหยรวมออกมากับอากาศที่ไก่หายใจออก

เนื่องจากร่างกายไก่ไม่มีความร้อน (การระเหยของน้ำเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความร้อน) ดังนั้นการหายใจก็จะนำความร้อนออกมาด้วย ซึ่งการควบคุมอุณหภูมิในร่างกายของไก่ โดยมีต่อมไฮโปทารามัส ต่อมใต้สมอง ทำหน้าที่เสมือนศูนย์ควบคุมการปรับอุณหภูมิของร่างกายไก่ในระดับที่ค่อนข้างคงที่

การถ่ายเทหรือการระบายอากาศ โรงเรือนไก่ไข่สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงการระบายอากาศ หากสร้างโปร่ง การหมุนเวียนถ่ายเทอากาศดี อากาศเสียจะถูกขับออกนอกโรงเรือน และอากาศบริสุทธิ์จากภายนอกจะเข้าไปแทนที่ โดยนำความร้อนจากภายในโรงเรือนออกไปด้วย นอกจากนั้นจะเป็นการลดปริมาณเชื้อโรคต่างๆ ได้ในระดับหนึ่ง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โปรแกรมแสงสว่าง การเลี้ยง ไก่ไข่ แสงสว่างมีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มเมื่อไก่มีอายุ 6-22 สัปดาห์ โดยค่อยๆ เพิ่มแสงให้สัปดาห์ละ 1/2-1 ชั่วโมง จนครบ 4 ชั่วโมง รวมแสงธรรมชาติอีก 12 ชั่วโมง ต่อวัน รวมเป็น 16 ชั่วโมง จึงจะเพียงพอต่อความต้องการ เพื่อที่จะให้ได้ผลผลิตสูง หรืออายุการให้ไข่นาน และจะใช้แสงเช่นนี้ไปจนกว่าไก่จะหมดไข่

ความชื้นสัมพัทธ์ ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมประมาณ 50-80% ซึ่งถ้าความชื้นในอากาศต่างๆ การระบายความร้อนออกจากร่างกายจะระบายได้ดีขึ้น ซึ่งประเทศไทยมักจะเจอปัญหาเรื่องความชื้นในฤดูฝน (ร้อน-ชื้น)

4.โปรแกรมวัคซีนเจี๊ยบเจี๊ยบฟาร์ม
4.โปรแกรมวัคซีนเจี๊ยบเจี๊ยบฟาร์ม
การให้วัคซีนด้วยวิธีหยอดตา
การให้วัคซีนด้วยวิธีหยอดตา

การป้องกันและกำจัดโรคในไก่ไข่

  • โรคนิวคาสเซิล เป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรงที่สุดของไก่ในประเทศไทย เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง การแพร่ระบาดเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยการหายใจเอาเชื้อ และสิ่งขับถ่ายอื่นๆ ของไก่ป่วย ไก่ที่ป่วยจะมีอาการทางระบบหายใจ และระบบประสาท เช่น หายใจลำบาก มีเสียงดัง เวลาสำหรับแม่ไก่ที่กำลังให้ไข่จะไข่ลดลงทันที และมักจะตายภายใน 3-4 วัน หลังจากแสดงอาการป่วย การป้องกันโดยการทำวัคซีนนิวคาสเชิล
  • โรคหลอดลมอักเสบติดต่อ เป็นโรคทางเดินหายใจที่แพร่หลายที่สุด เกิดจากเชื้อไวรัส สามารถเกิดขึ้นได้กับไก่ทุกอายุ แต่มักจะมีความรุนแรงในลูกไก่ มีอัตราการตายสูงมาก ไก่ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการอ้าปาก และโก่งคอเวลาหายใจ หายใจลำบาก เวลาหายใจมีเสียงครืดคราด เบื่ออาหาร ในไก่ไข่จะไข่ลดลงอย่างกะทันหัน การป้องกันโดยการทำวัคซีนป้องกันโรคหลอดลมอักเสบ
  • โรคอหิวาต์ไก่ เป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรงชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายทางอาหารและน้ำ ไก่ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการหงอย ซึม เบื่ออาหาร กระหายน้ำจัด ท้องร่วง อุจจาระมีสีเหลือง เหนียงมีสีคล้ำกว่าปกติ ถ้าไก่เป็นโรคนี้อย่างร้ายแรง ไก่อาจตายโดยไม่แสดงอาการป่วยให้เห็น การรักษาใช้ยาปฏิชีวนะ คลอเตตร้าซัยคลิน หรือออกซีเตตร้าซัยคลิน หรือใช้ยาประเภทซัลฟา เช่น ซัลฟาเมอราซีน หรือซัลฟาเมทธารีน การป้องกันโดยการให้วัคซีนป้องกันโรคอหิวาต์
  • โรคฝีดาษไก่ เป็นโรคที่มักเป็นกับลูกไก่และไก่รุ่น ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสติดต่อกันโดยการสัมผัส เช่น อยู่รวมฝูงกัน และยุงเป็นพาหะของโรคกัด โรคนี้ไม่แสดงอาการป่วยถึงตาย ไก่ที่เป็นโรคนี้จะแสดงอาการมีจุดสีเทาพองตามบริเวณใบหน้า หงอน เหนียง และผิวหนัง และเมื่อจุดพองขยายตัวและแตกออกเป็นสะเก็ด ลูกไก่จะหงอย ซึม ไม่กินอาหาร และตายในที่สุด การป้องกันโดยการทำวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษไก่
5.ตัดปากลูกเจี๊ยบป้องกันการจิกกัน
5.ตัดปากลูกเจี๊ยบป้องกันการจิกกัน

ฝากถึงผู้ที่สนใจเลี้ยงไก่ไข่

การเลี้ยงไก่ไข่มีหลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็มีข้อดี ข้อเสีย ที่แตกต่างกัน และขึ้นอยู่กับความพร้อมกับความต้องการของผู้เลี้ยง ก่อนจะลงมือทำอะไรควรศึกษาเพิ่มเติม และดูความพร้อมของตนเอง หากผู้อ่านท่านใดสนใจลูกไก่ไข่ หรือไก่ไข่สาว เจี๊ยบ เจี๊ยบ ฟาร์ม สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 083-246-3539 (คุณเจี๊ยบ) และสามารถเข้ามาเลือกได้ที่ฟาร์ม ทางฟาร์มรับประกันไก่ 3วัน

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก เจี๊ยบ เจี๊ยบ ฟาร์ม และสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพิจิตร

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์บก ฉบับที่ 335