เพาะเลี้ยง “จิ้งหรีด” สู่ตลาดโลก ต้องได้มาตรฐานสากล

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การปะทุขึ้นของประชากรโลกเกือบ 8 พันล้านคน และอีก 20 ปีข้างหน้า จะถึง 14,000 ล้านคน

แน่นอนอาจเกิด วิกฤตอาหาร อันเนื่องมาจากสภาวะโลกเดือด หรือสารพัดโรครุมเร้า กระทบต่อการเลี้ยงสัตว์ และปลูกพืช

1.จิ้งหรีด01

การเพาะเลี้ยงจิ้งหรีด

ดร.รุจิเรข น้อยเสงี่ยม ผอ.กลุ่มนโยบายระหว่างประเทศที่ 1 กองนโยบายสินค้าเกษตรและอาหาร สนง.มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ได้นำเสนอข้อมูลเรื่องการเข้าใจนวัตกรรมอาหารแห่งอนาคต (ฟิวเจอร์ฟู้ดส์)

เรื่องฟิวเจอร์ฟู้ดส์ คือ อาหารที่ตอบสนองความต้องการของประชากรโลก และตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม หรือเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

แต่เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศรวดเร็วจากสภาวะโลกเดือด จึงไม่แน่ใจว่าอนาคตจะเกิดโรคอุบัติใหม่อะไรบ้าง ตรงนี้ล้วนกระทบต่อผู้บริโภคทั้งนั้น

แล้วจะกินอะไรในอนาคต?

คำตอบ คือ อาหารนั้นจะต้องมีรสชาติ เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ และมีความยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อม

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ หมายถึง มีคุณค่าสูงทางโภชนาการ และเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน มีมาตรฐาน และปลอดภัย และต้องแก้ปัญหาความมั่นคงด้านอาหารได้ “ประชากรโลกเพิ่มขึ้น อาหารอะไรสามารถผลิตได้ในเวลาอันสั้น ได้ในปริมาณที่เยอะๆ แถมยังมีคุณค่าทางโภชนาการ” ดร.รุจิเรข ให้แง่คิด

และสรุปว่า อาหารแห่งอนาคตให้แคบที่สุด คือ อาหารฟังก์ชัน หรืออาหารที่ให้คุณค่าทางอาหาร หรืออาหารเสริมสุขภาพนั่นเอง และคุณค่าทางอาหารก็มีหลายอย่าง เช่น โปรตีนทางเลือก เป็นต้น เป็นโปรตีนจากแหล่งใหม่ ที่เห็นได้ชัดเวลานี้ คือ โปรตีนจากแพลงก์ตอน เช่น จิ้งหรีด เป็นต้น แต่ในระดับสากลมีการบริโภคโปรตีนทางเลือกจากเซลล์เนื้อเยื่อสัตว์ที่เพาะในห้องแลป เช่น ที่สิงคโปร์ เป็นต้น แม้แต่โปรตีนจากสาหร่ายก็บริโภคกันแล้ว ส่วนแมลงโปรตีน BSF คล้ายๆ แมลงวัน ใช้ขยะอินทรีย์ หรือสิ่งเหลือทิ้งทางการเกษตร เป็นอาหาร BSF ก็เดินหน้าในธุรกิจ

2.จิ้งหรีด02

ทำไมจิ้งหรีดเป็นสัตว์เศรษฐกิจ??

พิสูจน์แล้วว่าเป็นสัตว์วงจรชีวิตสั้น ใช้ทรัพยากรน้อย ในการเพาะเลี้ยงเชิงธุรกิจ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม “สัตว์อื่นจะปล่อยก๊าซมีเทนสูง แต่จิ้งหรีดปล่อยต่ำเกือบ 3 พันเท่า มีคุณค่าทางโภชนาการครบ มีโปรตีนเฉลี่ยสูง 70-80% สูงกว่าเนื้อวัว 3 พันเท่า มีกรดอะมิโนจำเป็น มีแคลเซียมสูงกว่านมวัว มีธาตุหลักสูงกว่าผักขม มี B12 สูงกว่าปลาแซลมอน 10 เท่า และยังมีไคตินที่สนับสนุนการเติบโตของโปรไบโอติก” ดร.รุจิเรข ยืนยันถึงคุณค่าทางโภชนาการของจิ้งหรีด

เป็นแมลงที่แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายอย่าง ถูกนำไปเป็นอาหารสำเร็จรูปได้หลายชนิด

3.จิ้งหรีด03

จะเลี้ยงและแปรรูปอย่างไรให้ได้มาตรฐานสากล??

เรื่องนี้ ดร.รุจิเรข ให้ความเห็นว่า มาตรฐานไม่ได้อยู่เฉพาะฟาร์มเลี้ยงอย่างเดียว ต้องได้มาตรฐานตลอดห่วงโซ่อุปทาน หรือซัพพลายเชนทั้งหมด ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้ผลักดันเรื่องจิ้งหรีดและแมลงกินได้มาตลอด เป็นการ ต่อยอดจากสถาบันการศึกษาที่ส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะเลี้ยง และเมื่อ UN ให้ความสำคัญ ก็มีการเลี้ยงเพื่อส่งออก ทางกระทรวงเกษตรฯ จึงต้องเข้ามาวางระบบควบคุมความปลอดภัย มีมาตรฐานฟาร์ม GAP หรือ มกษ.8202 แต่ในส่วนของโรงงานแปรรูป ทาง กรมปศุสัตว์ ได้พัฒนาปรับปรุงระเบียบและระบบกำกับดูแลควบคุมความปลอดภัย หรือ GMP และถ้าส่งออกต้องได้ HACCP แต่ทั้งนี้ต้องดูมาตรฐานของประเทศผู้ซื้อด้วย

ส่วนหนึ่งของการบรรยาย เทรนด์อาหารแห่งอนาคต “ไข่ผำ-จิ้งหรีด” ซุปเปอร์ฟู้ด จากธรรมชาติ เข้าใจ เข้าถึง นวัตกรรมอาหารแห่งอนาคต

โฆษณา
AP Chemical Thailand

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์บก ฉบับที่ 366