การ เลี้ยงนกกระทาไข่
ปัจจุบันการทำธุรกิจฟาร์ม หรืออาชีพเชิงเดี่ยว ย่อมเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ ดังนั้นเพื่อความอยู่รอดของการทำธุรกิจจำเป็นต้องแสวงหาโอกาส เพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายให้ธุรกิจเติบโต และประสบความสำเร็จ
ทีมงานนิตยสารสัตว์บกนำท่านผู้อ่านมารู้จักกับ คุณสิทธา มิตรราตรี อายุ 52 ปี เกษตรกรผู้มากประสบการณ์กว่า 10 ปี แห่งวงการนกกระทา โดยใช้ชื่อ “สิทธาฟาร์ม” บนเนื้อที่ 30 กว่าไร่ และธุรกิจของทางฟาร์มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ มีลูกเล้า 20 กว่าราย โดยเริ่ม เลี้ยงนกกระทาไข่ จากการซื้อพ่อ-แม่พันธุ์จำนวน 6,000 ตัว มาเพาะเลี้ยงเพื่อผลิตนกไข่ และได้เพิ่มโรงเรือน เลี้ยงนกกระทาไข่ ขึ้นปีละ 1 หลัง ปัจจุบัน เลี้ยงนกกระทาไข่ พันธุ์ญี่ปุ่นจำนวน 200,000 ตัว มีโรงเรือน เลี้ยงนกกระทาไข่ 8 โรงเรือน ขนาด 9×40 เมตร
การ เลี้ยงเป็ดไข่
นอกจากอาชีพ เลี้ยงนกกระทาไข่ ที่สร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวแล้ว สิทธาฟาร์มยังมีการ “ เลี้ยงเป็ดไข่ ” เป็นอาชีพเสริมอีกทาง ซึ่งคุณสิทธาเผยว่า “นำเป็ดมาเลี้ยงได้ 3 ปีแล้ว เนื่องจากการให้อาหารนกกระทานั้นมีอาหารบางส่วนหล่นลงพื้น เพราะในแต่ละวันเศษอาหารที่หล่นไปนั้นมีปริมาณมากพอสมควร ถือเป็นการสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ ตนจึงคิดว่าหากนำเป็ดเข้ามาเลี้ยงเพื่อรองรับอาหารเหล่านี้ และคิดว่าน่าจะเป็นอาชีพที่สร้างเม็ดเงินอยู่ไม่น้อย จึงซื้อเป็ดเข้ามาเลี้ยง ซึ่งปัจจุบันมีเป็ดทั้งหมด 2,000 ตัว”
นอกจากนี้ ” มูลนกกระทา “ ที่ได้ในแต่ละวันราว 3-4 ตัน จะนำไปเป็นอาหารปลา เนื่องจากทางฟาร์มมีการขุดบ่อเลี้ยงปลาสวาย ปลายี่สก และปลานิล ระยะเวลาในการเลี้ยงประมาณ 8 เดือน จับได้รอบละ 50 กว่าตัน ส่วนมูลที่เหลือจะนำไปจำหน่ายให้เกษตรกรผู้เลี้ยงปลา ถือเป็นการกำจัดของเสียให้เกิดประโยชน์ เพิ่มรายได้ให้แก่ฟาร์มไม่น้อย เพราะตลาดปลามีความต้องการอย่างต่อเนื่อง
โรงเรือน เลี้ยงนกกระทาไข่
ปัจจุบัน เลี้ยงนกกระทาไข่ พันธุ์ญี่ปุ่นจำนวน 200,000 ตัว มีโรงเรือน เลี้ยงนกกระทาไข่ 8 โรงเรือน ขนาด 9×40 เมตร เป็นโรงเรือนอีแวป (Evap) ที่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ 27-28°C แต่ถ้าอากาศร้อนอุณหภูมิก็อาจจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เหตุผลที่นำระบบนี้เข้ามาใช้
เนื่องจากสภาพภูมิอากาศโดยรวมของจังหวัดสุพรรณบุรีเป็นเขตพื้นที่ค่อนข้างร้อน และมีอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย เกรงว่าจะมีผลกระทบต่อนกกระทา โดยเป็นผู้ติดตั้งและซ่อมบำรุงเองทั้งหมด ปัจจุบันใช้อุปกรณ์ของท๊อปโปรดักส์ และอื่นๆ
การเพาะพันธุ์นกกระทาไข่
การทำฟาร์ม เลี้ยงนกกระทาไข่ ทางสิทธาฟาร์มจะมีพ่อ-แม่พันธุ์สำหรับเพาะพันธุ์นกกระทาไข่ใช้เอง และอีกส่วนหนึ่งจะส่งให้ลูกเล้าในเขตพื้นที่อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง และเขตจังหวัดสุพรรณบุรี เลี้ยงประมาณ 100,000 ตัว โดยลูกเล้าจะนำไข่นกกระทาที่ได้มาส่งให้กับฟาร์ม จากนั้นจะนำส่งเข้าโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ ประมาณ 60% ของไข่ทั้งหมด และอีก 40% จะเป็นลูกค้าทั่วไปในประเทศ ส่วนราคาจะอิงตลาดเป็นหลัก
และที่สำคัญทางฟาร์มจะซื้อพ่อ-แม่พันธุ์ต่างถิ่นมาเลี้ยง โดยพยายามซื้อพันธุ์ที่ไกลจากเขตพื้นที่เลี้ยงมากที่สุด เพื่อป้องกันเลือดชิด เพราะทางฟาร์มเคยประสบปัญหาดังกล่าว จากการสังเกตตัวนกกระทาจะมีลักษณะขาอ่อนแรง ไม่ค่อยลุกกินอาหาร เมื่อสุ่มตัวอย่างไปตรวจหาโรคก็ไม่พบแต่อย่างใด ทางฟาร์มจึงซื้อนกกระทาจากแหล่งอื่นมาผสมเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวได้สำเร็จ
การให้อาหารและน้ำนกกระทาไข่
สำหรับอาหารจะใช้ของ บริษัท เบทาโกรฯ และซีพีเอฟ สำหรับอาหารของซีพีเอฟจะนำไปให้ลูกเล้า เนื่องจากลูกเล้านิยมใช้ ส่วนอาหารเบทาโกรจะใช้เองภายในฟาร์ม ลักษณะการให้จะให้วันละ 2 ครั้ง เฉลี่ยนกกระทาจำนวน 10,000 ตัว/อาหาร 8 กระสอบ และมีการให้วิตามินเป็นวิตามิน Bio B12 เสริม
“การเลี้ยงนกกระทาของสิทธิฟาร์มจะไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะ เนื่องจากโรงงานที่รับซื้อไข่นกกระทามีข้อกำหนดไว้ ทางฟาร์มจึงใช้สมุนไพรแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น ฟ้าทะลายโจร หรือขมิ้นชัน ใช้ผสมในอาหารพอประมาณ เพื่อไม่ให้สูตรอาหารเปลี่ยนไปมาก เนื่องจากสมุนไพรมีรสขม อาจกระทบต่อการกินของนกกระทาได้ ส่วนแหล่งน้ำที่ใช้ในฟาร์มเป็นน้ำประปา มีการตรวจคุณภาพน้ำเป็นประจำ”
การจัดการในฟาร์มนกกระทาไข่ ใช้ มูลนกกระทา ทำเงิน
ด้านการจัดการในแต่ละวัน เริ่มจากการให้อาหาร เก็บมูล และเก็บไข่ โดย มูลนกกระทา ที่ได้ในแต่ละวันราว 3-4 ตัน จะนำไปเป็นอาหารปลา เนื่องจากทางฟาร์มมีการขุดบ่อ เลี้ยงปลาสวาย ปลายี่สก และปลานิล ระยะเวลาในการเลี้ยงประมาณ 8 เดือน จับได้รอบละ 50 กว่าตัน ส่วนมูลที่เหลือจะนำไปจำหน่ายให้เกษตรกรผู้เลี้ยงปลา ถือเป็นการกำจัดของเสียให้เกิดประโยชน์ เพิ่มรายได้ให้แก่ฟาร์มไม่น้อย เพราะตลาดปลามีความต้องการอย่างต่อเนื่อง
การให้อาหารปัจจุบันเป็นลักษณะคนเดินให้ ซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควร เพราะหากให้เร็วจนเกินไป อาจจะทำให้อาหารตกหล่นเสียหายมาก เฉลี่ยใช้เวลา 1 ชม./โรงเรือน ส่วนการเก็บไข่จะใช้เวลามากกว่า เนื่องจากต้องคำนึงถึงคุณภาพของไข่ด้วย เฉลี่ยประมาณ 2 ชม./โรงเรือน
เปอร์เซ็นต์การให้ไข่จะอยู่ที่ 80-90% ช่วงที่ให้ไข่มากที่สุด คือ ช่วงเดือนที่ 4-5 ของการยืนกรง ระยะเวลาในการเลี้ยงทั้งหมดประมาณ 9 เดือน โดยทางฟาร์มจะไม่เร่งให้นกไข่มาก เพราะถ้านกให้ไข่สูง อายุจะสั้น เพราะร่างกายจะโทรม ทางฟาร์มจะรักษาระดับที่เหมาะสมจะอยู่ที่ 80% จนถึงปลด
มาตรการลดไข่อืด
จากประสบการณ์การ เลี้ยงนกกระทาไข่ ปัญหาที่พบมากที่สุด คือ ปัญหา “ไข่อืด” หรือไข่นกกระทาล้นตลาด ซึ่งปัญหาส่วนมากเป็นกลไกเรื่องตลาด ส่วนปัญหาด้านการเลี้ยงและด้านตัวนกกระทาจะไม่เกิดขึ้น เพราะทางฟาร์มมีการจัดการที่ดี
มาตรการลดไข่อืด คือ เร่งปลดนกที่มีอายุมากกว่า 7 เดือน ให้มากที่สุด ตัดไข่เชื้อ และลดการฟัก เพื่อให้สถานการณ์ดีขึ้น แต่ถ้าเกษตรกรไม่ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาตั้งแต่แรก ไม่เกิน 3 ปี เกษตรกรจะต้องเจอปัญหาไข่อืด ราคาตก แน่นอน
“ส่วนโรคที่น่ากลัวสำหรับการเลี้ยงนกกระทา คือ โรคท้องเสีย หรือโรคขี้เขียว ขี้ขาว ทางฟาร์มจะสังเกตมูลของนกกระทาเป็นประจำ เพื่อแก้ไขปัญหาได้ทัน และสิ่งสำคัญควบคุมการเข้า-ออกของบุคคลภายนอก มีการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อก่อนเข้าฟาร์ม เพื่อป้องกันโรค”
อนาคตด้านตลาดนกกระทาไข่
หากพูดถึงเศรษฐกิจโดยรวมในขณะนี้คุณสิทธากล่าวว่ากระทบเล็กน้อย เพราะทางฟาร์มยังดำเนินธุรกิจไปได้เรื่อยๆ สามารถประคองให้ฟาร์มอยู่รอดได้ “อนาคตคิดว่าตลาดนกกระทาจะไปได้ดีกว่านี้ เนื่องจากมีผู้บริโภคเพิ่มขึ้น และมีการนำนกกระทา และไข่นกกระทา ไปแปรรูปเป็นเมนูอาหารที่หลากหลาย การที่จะแข่งขันกับฟาร์มอื่นได้ คือ เราต้องกลับมาพัฒนาตัวเอง เช่น พัฒนาระบบการเลี้ยงให้มีคุณภาพ ไข่บุบน้อยที่สุด เสียหายน้อยที่สุด ถือเป็นกลยุทธ์มัดใจลูกค้า”
หลักการบริหารของสิทธาฟาร์ม คือ การดูแลเอาใจใส่พนักงานเหมือนพี่น้อง โดยมีที่พักอาศัย และสามารถบริโภคผลผลิตในฟาร์มได้ พนักงานบางรายทำงานกับสิทธาฟาร์มนานนับ 10 ปี ทางฟาร์มจึงไม่ประสบปัญหาด้านแรงงานเหมือนฟาร์มอื่นๆ โดยพนักงานส่วนมากจะอยู่กันทั้งครอบครัว จึงอยู่ได้นาน
และส่วนสำคัญ คือ ระบบการจัดการที่ดี โรงเรือนมีขนาดเท่ากันทั้งหมด มีการวางผังฟาร์มเป็นระเบียบ ง่ายต่อการจัดการ และการทำความสะอาด มีการควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ
“จากการสังเกตเกษตรกรรายอื่น และตนเองทำได้เพียงเฝ้าระวังกับสถานการณ์ เพราะฟาร์มของตนเป็นฟาร์มผลิตไข่นกกระทาส่งขายตลาดในประเทศ และที่สำคัญมีตลาดรองรับค่อนข้างมั่นคง แต่อย่างไรก็ตามทางฟาร์มได้มีการประเมินสถานการณ์อยู่เป็นประจำ” คุณสิทธาแสดงความเห็นต่อการเปิดประชาคมอาเซียน (AEC)
การ เลี้ยงเป็ดไข่
นอกจากอาชีพเลี้ยงนกกระทาที่สร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวแล้ว สิทธาฟาร์มยังมีการ“ เลี้ยงเป็ดไข่ ”เป็นอาชีพเสริมอีกทาง ซึ่งคุณสิทธาเผยว่า “นำเป็ดมาเลี้ยงได้ 3 ปีแล้ว เนื่องจากการให้อาหารนกกระทานั้นมีอาหารบางส่วนหล่นลงพื้น เพราะในแต่ละวันเศษอาหารที่หล่นไปนั้นมีปริมาณมากพอสมควร ถือเป็นการสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ ตนจึงคิดว่าหากนำเป็ดเข้ามาเลี้ยงเพื่อรองรับอาหารเหล่านี้ และคิดว่าน่าจะเป็นอาชีพที่สร้างเม็ดเงินอยู่ไม่น้อย จึงซื้อเป็ดเข้ามาเลี้ยง ซึ่งปัจจุบันมีเป็ดทั้งหมด 2,000 ตัว”
การให้อาหาร เลี้ยงเป็ดไข่
การให้อาหาร คือ จะเก็บอาหารที่หล่นในโรงเรือนเลี้ยงนกกระทามาร่อน เพื่อแยกเอาเศษหิน หรือทราย ออก แล้วนำไปผสมอาหาร เลี้ยงเป็ดไข่ ในอัตราส่วน 1:1 ให้เป็ดกิน เป็นการต่อยอด และเป็นการทำของเสียให้เป็นศูนย์ อนาคตหากมีการเลี้ยงนกกระทาเพิ่มขึ้น ทางฟาร์มก็จะมีการเพิ่มจำนวนเป็ดเช่นกัน เพื่อรองรับอาหารนกกระทาที่ตกหล่น
การจัดการในเล้าเป็ด ช่วงเช้าประมาณ 05.00 น. จะให้อาหารแล้วปล่อยให้เป็ดว่ายน้ำหากินในบ่อน้ำ จากนั้นพนักงานจะเก็บไข่ออกทั้งหมด อัตราการให้ไข่จะอยู่ที่ 70-80% อย่างไรก็ตามการให้ไข่จะขึ้นอยู่กับช่วงอายุของเป็ด และสภาพอากาศด้วย การตั้งราคาไข่เป็ดจะคิดตามน้ำหนักที่แตกต่างกัน เช่น ไข่เป็ด 1 ตั้ง ถ้าได้น้ำหนัก 23 กก. ถือว่าเป็นไข่ใหญ่ หากน้ำหนักอยู่ที่ 22 กก. คือ ไข่ขนาดกลาง ส่วนไข่ขนาดเล็กจะมีน้ำหนักที่ 21 กก. ลงมา โดยจะมีพ่อค้ามารับที่ฟาร์ม
“การ เลี้ยงเป็ดไข่ ไม่ยุ่งยาก และไม่ต้องดูแลอะไรมาก เริ่มจากซื้อเป็ดเข้ามาเลี้ยง เป็นเป็ดสาวที่พร้อมให้ไข่ ไม่นานเป็ดก็ออกไข่สามารถนำไปจำหน่ายได้ ระยะเวลาในการเลี้ยงประมาณ 13 เดือน จึงจะทำการปลด หรือสามารถยืดระยะเวลาออกไปอีก หากเป็ดยังให้ไข่สม่ำเสมอ แต่ควรตั้งเป้าไว้ไม่เกิน 18 เดือน เพราะเป็ดจะเริ่มให้ไข่น้อยลง ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนอาหาร”
สิ่งที่ได้จากการ เลี้ยงเป็ดไข่ คือ สามารถกำจัดอาหารนกกระทาอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถลดต้นทุนค่าอาหาร เลี้ยงเป็ดไข่ เฉลี่ยวันละ 1,000 บาท เฉลี่ยในแต่ละเดือนทางฟาร์มจะมีรายได้เหลือ 30,000 บาท และกำไรจากการขายไข่อีกส่วนหนึ่ง
การวางแผนในอนาคต
สำหรับอนาคตจะมีการขยายโรงเรือนเลี้ยงนกกระทา เพื่อเพิ่มปริมาณไข่นกกระทา รองรับความต้องการของตลาด หากนกกระทาฟักออกมาเป็นนกตัวผู้จะนำมาขุนประมาณ 40 วัน ถือว่าได้ราคาดี ตลาดมีความต้องการพอสมควร ลูกค้านกเนื้อส่วนมากจะอยู่ในเขตจังหวัดนครปฐม ชลบุรี กรุงเทพฯ และปริมณฑล
และจะพัฒนาระบบการเลี้ยงนกเนื้อให้ทันสมัยขึ้น คือ จะเลี้ยงกับพื้น เหมือนการเลี้ยงไก่เนื้อ โดยมีระบบให้น้ำและอาหารแบบอัตโนมัติ เพราะปัจจุบันยังใช้แรงงานคนในการให้อาหาร และสิ่งที่คิดทำเพิ่มเติมอีกอย่างหนึ่ง คือ เลี้ยงไก่ไข่บนบ่อปลา ซึ่งเป็นการทำอาชีพแบบผสมผสาน แต่ก็ยังให้ความสำคัญกับอาชีพเลี้ยงนกกระทาอยู่เหมือนเดิม
ด้านการตลาดไข่นกกระทา
“สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงนกกระทาควรมีการรวมกลุ่มกัน เพื่อพูดคุยและปรึกษาหารือกัน เช่น ช่วงที่ไข่นกกระทาเริ่มมีมากขึ้น ก็จะช่วยเหลือและหารือกัน โดยที่ไม่ไปยุ่งตลาดของแต่ละฟาร์ม หรืออาจจะนำไปต้มเพื่อแปรรูป สำหรับผู้ที่สนใจจะเลี้ยงนกกระทาสิ่งแรก คือ หาตลาดให้ได้ และสร้างตลาดเป็นของตนเอง จากนั้นจึงค่อยเลี้ยง”
สอบถามเพิ่มเติม คุณสิทธา-คุณประมวล มิตรราตรี 92/4 ม.2 ต.บ้านโพธิ์ตะวันตก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี โทร.089-782-4059, 081-943-6769