เผยเทคนิค…เอี้ยวกังฟาร์ม…เจ้าพ่อ เลี้ยงเป็ดเนื้อ อันดับ 1 ของประเทศ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

“เอี้ยวกังฟาร์ม” ฟาร์มเป็ดครบวงจร ผลิตเป็ดตั้งแต่ระดับต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดย คุณเอี้ยวกัง จิระศิริโชติ หรือคนในวงการเป็ดเนื้อรู้จักในนาม เฮียตี๋ โดยเล่าให้ทางทีมงาน นิตยสารสัตว์บก ฟังว่า สาเหตุที่ต้องเลือกทำฟาร์มเป็ด เพราะอดีตเคยทำฟาร์มไก่เนื้อ ฟาร์มหมู และฟาร์มไก่ไข่ มาแล้ว แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะขาดทุนเป็นจำนวนมาก จึงหันมา เลี้ยงเป็ดเนื้อ โดยเริ่มจากกิจการเล็กๆ ที่ใช้แรงงานจากคนในครอบครัว

ในระยะแรกเริ่มจากการซื้อลูกเป็ดสายพันธุ์เชอรี่จากบริษัทรายใหญ่แห่งหนึ่งในประเทศไทยมาเลี้ยง ระยะเวลาที่ใช้ในการเลี้ยงประมาณ 2 เดือน ก็สามารถขายสู่ตลาดได้ ในช่วงแรกจะขายเป็ดคืนให้กับบริษัทรายใหญ่ที่ตนซื้อลูกเป็ดมา แต่การขายเป็ดให้บริษัทรายใหญ่ต้องมีข้อผูกมัด

โดยบริษัทจะมีการตั้งสเป็คเป็ด เช่น เป็ดขนต้องสวย น้ำหนักต้องได้ ซึ่งทางฟาร์มเองไม่สามารถที่จะทำตามสเป็คที่ตั้งไว้ได้ จึงยกเลิกและหันมาเลี้ยงเพื่อส่งให้ลูกค้า หรือเกษตรกรทั่วไปแทน เพราะไม่ต้องมีกฎกติกา ที่สำคัญเกษตรกรจะรับได้ทุกสถานะ ไม่ว่าจะตัวเล็ก หรือตัวใหญ่ ขนจะสวย หรือไม่สวยก็ตาม ที่สำคัญต้องใช้อาหารของบริษัทเขาด้วย ซึ่งจะมีราคาที่แพงกว่าท้องตลาด ลูกหนึ่งประมาณ 80-100 บาท

เมื่อไม่ใช้อาหารของเขา จึงตัดลูกเป็ดอาทิตย์ละ 10,000 ตัว ซึ่งเป็นการบีบทางอ้อม เมื่อโดนลดจำนวนลูกเป็ด ทำให้เสียโอกาส และเสียเวลา ในการเลี้ยง ระยะหลังเฮียตี๋จึงหันมาผลิตลูกเป็ดเอง โดยนำพันธุ์พ่อเชอรี่ แม่ปักกิ่ง มาผสมกัน จากนั้นเอาลูกที่ได้มาเป็นแม่พันธุ์ต่อ ก็จะได้ลูกผสม 50:50 ใช้เวลาฟัก 28 วัน จึงจะออกมาเป็นตัว จากนั้นเลี้ยงอีก 6 เดือน ก็จะได้แม่พันธุ์

1.คุณเอี้ยวกัง-และคุณหยกจู-จิระศิริโชติ
1.คุณเอี้ยวกัง-และคุณหยกจู-จิระศิริโชติ

การเพาะลูกเป็ด

ข้อดีของเป็ดสายพันธุ์เชอรี่ เฮียตี๋จะมองในรูปแบบง่ายๆ คือ ทำแล้วสามารถต่อยอดและมีกำไรขึ้นมาเรื่อยๆ เฮียตี๋เล่าว่า “แรกๆ ผมไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องของเป็ดเลย แต่ว่าทำไมผมถึงทำได้ ก็เพราะว่าผมศึกษาอยู่เสมอๆ ไม่ว่าจากการถามผู้รู้บ้าง จากเกษตรกรบ้าง จากอาจารย์บ้าง และจากเว็ปไซต์บ้าง

จากนั้นได้มีการลองผิดลองถูกมาเรื่อยๆ และได้ซื้อตู้ฟักมาลองทำเอง เมื่อได้ไข่เป็ดมาก็จะนำไปเข้าตู้ฟัก จากนั้นพอครบ 28 วัน ปรากฏว่าลูกเป็ดที่ฟักออกมามีเพียง 16% หนำซ้ำยังเป็นลูกเป็ดพิการด้วย ทำเช่นนั้นเป็นเวลาถึง 6 เดือน ในตอนนั้นยอมรับว่าท้อมาก เพราะขาดทุนเดือนละประมาณ 200,000 กว่าบาท ปรึกษากับทางอาจารย์ที่ให้คำแนะนำ ท่านบอกว่าน้ำที่ให้เป็ดกินไม่สะอาด อาหารไม่มีคุณภาพ หรือน้ำเชื้อเป็ดไม่ดี สุดท้ายไม่รู้จะแก้ปัญหาโดยวิธีไหน จึงคิดที่จะเลิกทำ”

โฆษณา
AP Chemical Thailand

แต่เพื่อนเฮียตี๋ที่ทำฟาร์มเป็ดด้วยกันคอยให้คำปรึกษา แต่เฮียตี๋ไม่เชื่อ เพราะตอนนั้นจะเชื่ออาจารย์ที่ให้คำปรึกษามากกว่าเชื่อเพื่อน สุดท้ายเพื่อนก็เอาไข่จากฟาร์มไปฟัก เมื่อครบ 28 วัน เพื่อนกลับมาพร้อมกับลูกเป็ดที่ฟักเป็นตัว 78% พบว่าสาเหตุที่ไข่ฟักไม่ออกเป็นตัวก็เพราะในขณะที่อยู่ในตู้ฟักเราไม่ได้พรมน้ำเข้าไป จึงทำให้ไข่แห้ง หรือความชื้นไม่เพียงพอ “ในเวลานั้นมันเหมือนเป็นทางสว่างที่ทำให้ผมมีกำลังใจที่จะลุกขึ้นสู้อีกครั้ง” นับจากนั้นเป็นต้นมาการเพาะลูกเป็ดก็ประสบความสำเร็จมาตลอด

2.ตู้ฟักไข่
2.ตู้ฟักไข่
ไข่ที่เตรียมเข้าตู้ฟัก
ไข่ที่เตรียมเข้าตู้ฟัก
3.ลูกเป็ดเชอรี่อายุ-2-3-วัน
3.ลูกเป็ดเชอรี่อายุ-2-3-วัน

การผลิตลูกเป็ด

และนั่นทำให้เฮียตี๋หันมาหนุนฐาน คือ การผลิตลูกเป็ดใช้เองภายในฟาร์ม และผลิตส่งลูกเล้าที่รับจ้างเลี้ยง เพราะการผลิตลูกเป็ดเองสามารถลดต้นทุนในการผลิตได้ เฉลี่ยราคาจะอยู่ที่ 25-28 บาท/ตัว แต่ถ้าไปซื้อมาจะตกตัวละ 35 บาท

ช่วงระยะห่างตรงนี้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้พอสมควร และสิ่งสำคัญอีกอย่าง คือ ถ้าซื้อลูกเป็ดจากบริษัทรายใหญ่ๆ ในบางครั้งลูกเป็ดขาด ลูกเป็ดไม่พอ ทางฟาร์มก็ต้องรอ ซึ่งจะทำให้เราเสียโอกาส และเสียเวลา เช่น ปกติเลี้ยง 7-8 รุ่น/ปี ก็อาจจะลดลงมาเหลือเพียง 4-5 รุ่น/ปี ขาดความต่อเนื่องในการเลี้ยง

4.กล่องใส่ลูกเป็ด
4.กล่องใส่ลูกเป็ด

การจำหน่ายลูกเป็ด

นอกจากนี้เฮียตี๋ยังผลิตลูกเป็ดขายให้แก่เกษตรกรผู้ที่สนใจจะเลี้ยงเป็ดขุน “เมื่อการฟักลูกเป็ด และการขุนเป็ด สามารถดำเนินไปด้วยดี แต่การเชือดเป็ดขุนยังไม่แน่นอน ที่หันมาทำโรงเชือดก็เพราะถูกตลาดบังคับ เพราะในช่วงที่มีเทศกาล ความต้องการของผู้บริโภคจะสูงมาก จนกระทั่งเป็ดขาดตลาด

แต่พอช่วงไหนที่ไม่มีเทศกาล ความต้องการก็จะลดลงแบบฮวบฮาบ ถามว่าผลิตเพียงพอหรือไม่ ตอบเลยว่าไม่เพียงพอ ณ เวลานี้ถ้าไม่เกินก็ขาด” เดิมจะจับขายให้พ่อค้า-แม่ค้าทั่วไป รวมถึงขายเร่ตามเขียงต่างๆ บางทีพ่อค้าบางรายจับครั้งละ 500-600 ตัว แล้วก็ไม่ย้อนกลับมาอีกเลย เพราะขายไม่หมด ส่วนเป็ดที่เลี้ยงไว้ในเล้าก็ยังอยู่ 4-5 เดือน ทำให้เปลืองค่าอาหาร สุดท้ายก็ต้องนำออกไปเร่ขายตามต่างจังหวัด เมื่อนำไปเร่ขายก็ไม่มีคนซื้อ เพราะส่วนมากพ่อค้าจะมีเจ้าประจำของเขาอยู่แล้ว

ในช่วงแรกก็ยังไม่มีใครยอมรับ แต่เฮียตี๋ก็ไม่ยอมแพ้ “วันนี้เขาไม่ยอมรับ ก็รอให้เขาว่างก่อน แล้วค่อยเข้าไปคุยกับเขาอีกรอบ เราเป็นน้องใหม่ในวงการเป็ด คนรู้จักน้อย เราต้องยอมรับ” เฮียตี๋ก็แนะนำตัวกับพ่อค้าไปเรื่อยๆ ซึ่งเฮียตี๋คิดว่าเขาอาจจะซื้อหรือไม่ซื้อก็ไม่เป็นไร อย่างน้อยก็ได้ทำหน้าที่ของตนสำเร็จแล้ว นั่นคือการแนะนำตัว และให้เบอร์โทรศัพท์แก่พ่อค้า

โฆษณา
AP Chemical Thailand
5.เป็ดพร้อมจับส่งลูกค้า
5.เป็ดพร้อมจับส่งลูกค้า

ด้านตลาดเป็ดเนื้อ

กลยุทธ์ที่ทำให้เป็ดขายได้ และตีตลาดได้ คือ ในช่วงเทศกาล เช่น ปีใหม่ สารทจีน วันสงกรานต์ หรือวันหยุดต่างๆ โรงเชือดหลายๆ แห่งจะหยุดทำงาน แต่ของเฮียตี๋ไม่หยุด สำหรับลูกน้องบางรายที่ต้องการหยุด เฮียตี๋ก็จะให้หยุด แต่ตัวเฮียเองจะไม่หยุด เพราะเฮียตี๋คิดว่านี่คือโอกาสที่จะทำให้เฮียได้รับความเชื่อใจ และไว้ใจจากลูกค้า และกิจการที่ทำส่วนใหญ่จะเป็นระบบครอบครัว

สำหรับลูกค้าที่ซื้อเป็ดเป็นประจำ ทางฟาร์มจะขายให้ ส่วนพ่อค้าที่ยังไม่มีความเชื่อมั่น หากโทรเข้ามาจะซื้อ แม้ว่าทางฟาร์มจะมีเป็ดมากเพียงใด เฮียตี๋ก็จะไม่ขายให้ เพราะเฮียตี๋จะยึดลูกค้าประจำเป็นหลัก เช่น ปกติลูกค้าเจ้าประจำจะสั่งวันละ 200 ตัว แต่พอช่วงเทศกาลฟาร์มอื่นหยุด ทำให้เป็ดขาดตลาด ลูกค้าเจ้าประจำอาจจะสั่งเพิ่ม จากเดิม 200 ตัว เป็น 1,000 ตัว

ซึ่งนั่นก็เป็นโอกาสของลูกค้าประจำจะได้ผลกำไรมากกว่าปกติ เนื่องจากสามารถขายเป็ดได้มาก แต่ถ้าทางฟาร์มขายให้พ่อค้าคนอื่นจะดูเหมือนง่ายเกินไป เพราะที่ผ่านมาเขาไม่เห็นค่าของของเฮียตี๋เลย หากจะซื้อเป็ดของเฮียตี๋จะต้องมาคุยกันเป็นกิจลักษณะว่าจะซื้อขายราคาเท่าไหร่ รับวันละกี่ตัว ในตอนนั้นเฮียตี๋ถือว่าเป็นน้องใหม่ในวงการ จึงต้องขายถูกกว่าฟาร์มอื่นๆ อย่างน้อยประมาณ 4-5 บาท/กก.

ตลาดรับซื้อเป็ดที่เฮียตี๋ส่วนมากจะอยู่ในแถบภาคกลาง ได้แก่ กรุงเทพฯ สุพรรณบุรี นครปฐม ปทุมธานี ลูกค้าส่วนมากจะเป็นพ่อค้า-แม่ค้าในตลาด อาจจะมีบ้างที่เป็นร้านอาหาร เฮียตี๋จะชอบออเดอร์ที่สั่งในปริมาณไม่มาก แต่สั่งเป็นประจำ เพราะทางฟาร์มจะได้เชือดเป็ดทุกวัน และได้ระบายของอย่างต่อเนื่อง

ส่วนตลาดระดับล่าง หรือตลาดชาวบ้าน ไม่ค่อยแน่นอน อย่างเช่น ในช่วงเทศกาลก็ต้องการเยอะๆ เวลาไม่มีเทศกาลเขาก็จะหายไปหมด ทำให้เป็ดค้างเยอะ ขายไม่ออก เช่น ห้องเย็นของเฮียตี๋ สามารถเก็บเป็ดได้ 80,000 ตัว ไม่เคยล้น แต่ปีนี้ของล้น ต้องเอาไปฝากข้างนอกอีกประมาณ 20,000 กว่าตัว รวมๆ แล้วก็ 100,000 กว่าตัว ที่สต็อกไว้เพื่อรองรับเทศกาลสารทจีนที่จะมาถึง โดยเฮียตี๋คิดว่าน่าจะขายได้ไม่ต่ำกว่า 60,000 ตัว และการเก็บรักษาเป็ดให้สดอยู่เสมอ เฮียตี๋มีเคล็ดลับ คือ จะเอาเป็ดสดทำชำแหละฟรีสแข็งที่อุณหภูมิ -40°C.เป็นเวลา 24 ชม. จากนั้นจะย้ายมาเก็บไว้ในห้องควบคุมความเย็น หรือห้องรักษาความเย็นที่อุณหภูมิ 18-25°C.

ถามว่าทำไมถึงไม่ขยายตลาด เพราะราคาที่เฮียตี๋ขายก็ไม่ได้สูงกว่าตลาด หรือบริษัทรายใหญ่ น่าจะขยายเพิ่มได้ แต่เฮียตี๋มองว่าตลาดไม่ค่อยแน่นอน ความต้องการของผู้บริโภคมีความแปรปรวนอยู่เสมอ อีกทั้งค่าแรงงานค่อนข้างสูง โดยเฉพาะคนขับรถส่งของจ้างวันละ 700 บาท หากขยายมากไป ประกอบกับช่วงที่ไม่มีเทศกาล ก็อาจจะทำให้เป็ดเหลือ “ปัจจุบันหากมองย้อนกลับมาตัวเองแล้ว ผมรู้สึกภูมิใจ เพราะตอนนี้ผมเองก็มีลูกเล้า ทั้งแบบรับจ้างเลี้ยง แบบประกันราคา ซึ่งเป็นการให้อาชีพ ให้รายได้ แก่เกษตรกร ที่ต้องการทำงานหาเลี้ยงครอบครัว และเกษตรกรไม่ต้องมาแบกรับราคาที่ผันผวนตามท้องตลาด”

โฆษณา
AP Chemical Thailand
6.ฟาร์มเป็ด
6.ฟาร์มเป็ด

การบริหารจัดการฟาร์มเป็ด

ปัจจุบันเฮียตี๋ลูกเล้าประมาณ 30 กว่าราย โดยเลี้ยงในระดับ 5,000 ตัวขึ้นไป มากสุดอยู่ที่ 50,000 ตัว อัตราค่าจ้างจะอยู่ที่ตัวละ 8-10 บาท ซึ่งจะอยู่ที่ผลงานอีกที หากมีการเสียหายมาก ค่าจ้างก็จะเหลือเพียงตัวละ 8 บาท ซึ่งราคาค่าจ้างจะดูจากผลกำไรของเฮียตี๋ที่ได้หักค่าลูกเป็ด ค่าอาหาร ค่าวัคซีนต่างๆ เรียบร้อยแล้ว สูงสุดเคยมีเกษตรกรทำได้ถึงตัวละ 20 บาท “งานที่เราทำ ถ้าคิดว่าเราทำไม่ไหวก็อย่าขยาย แต่ถ้าเกิดว่าเรามีลูก หลาน บริวาร พอ เราต้องก้าวต่อไป” แต่ในบางครั้งทุกคนอาจจะทำเหมือนกัน แต่ท้ายที่สุดอาจจะไม่ประสบผลสำเร็จเหมือนกันทุกคน ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแล้วต้องอาศัยโอกาสและโชคชะตาทั้งสิ้น

การจัดการดูแลเป็ดขุนก็เหมือนเป็ดทั่วๆ ไป เลี้ยงแบบปล่อย พอครบกำหนด 7 วัน, 21 วัน ทำวัคซีนเป็ดดักส์เพล็ก วัคซีนที่ใช้ส่วนมากจะเป็นวัคซีนของกรมปศุสัตว์ หรือร้านคลินิกทั่วไป ส่วนอาหารที่ให้เป็ดกิน เริ่มแรกเฮียตี๋ได้ลองใช้ของหลายๆ บริษัท สิ่งที่เฮียตี๋เลือก คือ ถูก และดี เมื่อขายเป็ดขุนแล้วเห็นว่าฟาร์มไหนใช้อาหารของบริษัทไหนแล้วได้ผลกำไรที่ดีกว่าจะใช้อาหารของบริษัทนั้น ปัจจุบันใช้อาหารของบริษัท ซันฟีด บริษัทเดียว

ปัญหาที่เจอในการทำฟาร์ม คือ แรงงาน “เรื่องของแรงงานไม่เคยมีคำว่าพอดี ไม่พอใจก็ลาออก ในบางทีก็ประท้วง” เมื่อเกิดปัญหาเฮียตี๋ก็จะเรียกมาคุยถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ปัจจุบันแรงงานมีทั้งหมด 80 คน เป็นคนไทยทั้งหมด อัตราค่าจ้างจะดูที่ผลงาน และอายุการทำงาน เป็นหลัก พนักงานส่วนใหญ่จะเป็นคนแถบภาคอีสาน มีที่พักฟรี รวมถึงค่าน้ำ ค่าไฟ ก็ฟรี เลี้ยงเป็ดเนื้อ เลี้ยงเป็ดเนื้อ เลี้ยงเป็ดเนื้อ เลี้ยงเป็ดเนื้อ เลี้ยงเป็ดเนื้อ เลี้ยงเป็ดเนื้อ เลี้ยงเป็ดเนื้อ

“การทำงานทุกอย่างต้องมีการตั้งเป้าหมาย หากวันนี้เราไม่พร้อม แล้วพรุ่งนี้เราจะพร้อมไหม ซึ่งการทำเป็ด เฮียตี๋จะไม่เคยประมาณเป็นจำนวนว่าต้องทำกี่ตัว แต่เฮียตี๋จะประเมินตัวเองว่าความสามารถของตัวเองมีแค่ไหน ทำได้ในระดับไหน “ผมไม่เคยตั้งเป้าว่าในแต่ละเดือนจะต้องทำให้ถึงหลักล้าน แต่ผมจะทำไปเรื่อยๆ เท่าที่ผมมีกำลังที่จะทำ”

7.เผยเทคนิค...เอี้ยวกังฟาร์ม...เจ้าพ่อ เลี้ยงเป็ดเนื้อ อันดับ 1 ของประเทศ
7.เผยเทคนิค…เอี้ยวกังฟาร์ม…เจ้าพ่อ เลี้ยงเป็ดเนื้อ อันดับ 1 ของประเทศ

การจำหน่ายเป็ด 

ปัจจุบันอัตราการเชือดในแต่ละวันเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3,000 ตัว/วัน นอกจากนี้ยังมีโรงทำน้ำแข็งใช้สำหรับแช่เย็น สำหรับลูกค้ารายย่อย หรือตามตลาดทั่วไป ที่เป็นเจ้าประจำ สามารถลดค่าใช้จ่ายได้ถึง 20-30% นอกจากนี้ผมยังผลิตลูกเป็ดเอง อัตราการผลิตก็ประมาณ 10,000 กว่าตัว/สัปดาห์

จึงเป็นสาเหตุให้ผมสามารถแข่งกับบริษัทรายใหญ่ หรือฟาร์มคู่แข่งอื่นๆ ได้ ส่วนราคาเป็ดปัจจุบันอยู่ที่กิโลกรัมละประมาณ 38 บาท ซึ่งผมจะเป็นผู้กำหนดราคาขายเอง เริ่มกำหนดเองตั้งแต่ที่ผมเริ่มเลี้ยงในระดับ 10,000 ตัวขึ้นไป เพราะว่าราคาหลังตรุษจีนจะลง 3 บาท พ่อค้าส่วนใหญ่จะกำหนดราคาลงตามประเพณี ส่วนการขึ้นราคาจะอิงจากราคาค่าอาหารเป็นหลัก ผมจะไม่อิงตามประเพณี แม้กระทั่งขนเป็ดที่ส่งออกนอก เฮียตี๋ก็เป็นผู้กำหนดราคาเอง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ธุรกิจที่เฮียตี๋ทำอยู่ได้ในทุกวันนี้ เป็นธุรกิจที่มีการเกื้อหนุนคนที่อยากจะทำ หรือเกษตรกรที่ยังไม่มีอาชีพสามารถมาคุยกับเฮียตี๋ได้ เพราะตัวเฮียคนเดียวทำไม่ไหวแน่นอน เพราะตลาดในช่วงเทศกาลต้องการจำนวนมาก ในบางทีต้องการ 100,000 กว่าตัว จึงมีการกระจายให้เกษตรกรมีรายได้ สามารถเลี้ยงครอบครัวได้ โรงเรือนของผมเองก็ยังเป็นโรงเรือนแบบเปิด สาเหตุที่ไม่ทำเป็นระบบอีแวป สำหรับผมคิดว่าไม่จำเป็น และโรงเรือนของผมก็เป็นพื้นดิน ไม่มีการเทพื้นซีเมนต์แต่อย่างใด ส่วนมูลเป็ดที่ได้ก็จะขายให้ชาวสวนมะม่วง ชมพู่ ฝรั่ง ซึ่งเขาจะมารับเองที่ฟาร์ม กระสอบละ 20-30 บาท บางคนก็เอาไปใส่นาข้าว

8.เป็ดเนื้อ
8.เป็ดเนื้อ

แนวโน้มสถานการณ์การ เลี้ยงเป็ดเนื้อ

สถานการณ์เป็ดในปัจจุบัน ตลาดเป็ดไม่ค่อยบูมเท่าไหร่ เพราะผู้บริโภคไม่มีเงินจะซื้อ ซึ่งดูได้จากห้องเย็นที่แช่เป็ดไม่เคยเต็ม แต่ที่ผ่านมาห้องเย็นผมล้น ซึ่งสามารถรู้ได้ว่าอัตราการบริโภคลดน้อยลง ทั้งที่อัตราการผลิตยังคงเท่าเดิม ต้องรอช่วงปลายปีตลาดถึงจะบูมขึ้นมาอีกครั้ง เพราะช่วงปลายปีจะมีเทศกาลค่อนข้างเยอะ

การทำฟาร์มเป็ดครบวงจร เฮียตี๋บอกกับทางทีมงานว่า “ผมมีการวิเคราะห์คู่แข่ง หรือฟาร์มอื่นๆ ตั้งแต่ผมเริ่มเชือด ผมคิดว่าผมสามารถสู้กับผู้ผลิตรายอื่นได้ เพราะอย่างผมที่มาบริหารด้วยตัวเอง สมองผมจะเร็วกว่าเขา 1 นาที เช่น เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ค่าน้ำมันรถขนส่งค่อนข้างสูง เฉลี่ยแล้วอยู่ที่รอบละ 10,000 บาท เลี้ยงเป็ดเนื้อ เลี้ยงเป็ดเนื้อ 

จึงต้องปรับราคาเนื้อเป็ดที่ขายออกไป เพื่อให้เราสามารถอยู่ได้ ผมถึงแก้ปัญหาโดยการออกรถมา 4 คัน ใช้ก๊าซ NGV แต่ละคันจะมี 3 หัว จากนั้นถอดยางอะไหล่ออก แล้วเพิ่มเข้าไปอีก 2 ถัง รวมเป็น 5 ถัง วิ่งครั้งหนึ่งได้ประมาณ 500 กิโลเมตร ประหยัดวันละประมาณ 4,000-5,000 บาท ผมจะเอาส่วนต่างค่าน้ำมันตรงนี้มาเป็นผลกำไรของผม เพื่อที่จะได้ไม่ต้องไปขึ้นราคาเนื้อเป็ด และฟาร์มอื่นอาจจะเน้นลูกจ้างเป็นหลัก แต่ของผมจะเน้นครอบครัวเป็นหลัก จึงสามารถประหยัดค่าแรงงานได้ เลี้ยงเป็ดเนื้อ เลี้ยงเป็ดเนื้อ เลี้ยงเป็ดเนื้อ เลี้ยงเป็ดเนื้อ เลี้ยงเป็ดเนื้อ เลี้ยงเป็ดเนื้อ 

เป้าหมายที่วางไว้ สำหรับเฮียตี๋ยังไม่คิดที่จะขายฟาร์มเพิ่ม แต่จะทำฟาร์มที่มีอยู่ในปัจจุบันให้ดีที่สุด หากมีการขยายฟาร์มเพิ่มอาจจะมีผลกระทบด้านแรงงาน และด้านเครื่องจักรต่างๆ ตามมา แต่ตอนนี้ทางเฮียตี๋กำลังสร้างเครื่องลวก และเครื่องถอนขนเป็ด อาจจะมีอัตราการผลิตเพิ่มขึ้น แต่ยังคงใช้แรงงานคนเท่าเดิม เลี้ยงเป็ดเนื้อ เลี้ยงเป็ดเนื้อ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณเอี้ยวกัง จิระศิริโชติ 126/6 ม.9 ต.นครปฐม อ.เมือง จ.นครปฐม

โฆษณา
AP Chemical Thailand