เลี้ยงไก่เนื้อ ควบคู่ ทำฟาร์มสุกรแม่พันธุ์ ไก่เนื้อประกันรายได้ 2 ทาง ไก่เนื้อ
คุณวิชัย เอี่ยมเมือง เจ้าของ “วิชัย ฟาร์ม” เลขที่ 87/1 หมู่ 6 ตำบลสระกระโจม อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี ผู้ผันชีวิตจากลูกจ้างสู่เกษตรกรเต็มตัว โดย เลี้ยงไก่เนื้อ และสุกรกับบริษัท ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) สร้างรายได้ให้กับครอบครัวอย่างยั่งยืนและสามารถต่อยอดธุรกิจอื่นๆ ได้
โดยจะมีเนื้อหาดังนี้
- วิธีการเลี้ยงไก่เนื้อ
- พันธุ์ ไก่เนื้อ
- โรงเรือนเลี้ยงไก่
- อุปกรณ์เลี้ยงไก่
- อาหาร ไก่เนื้อ
- ตลาด ไก่เนื้อ
- โทร 087-977-1590, 0613978812 ปรึกษาฟรี! บอกว่าจาก พลังเกษตร.com หรือ นิตยสาร สัตว์บก
เลี้ยงไก่เนื้อ ก่อนที่จะมาเป็นฟาร์ม
อดีตมนุษย์เงินเดือน ระดับหัวหน้างาน เงินเดือนหลายหมื่นบาท เช่าฟาร์ม เลี้ยงไก่เนื้อ สุดท้ายเป็นเจ้าของฟาร์มไก่จำนวนหลายหมื่นตัวควบคู่ฟาร์มสุกรแม่พันธุ์ ในจังหวัดสุพรรณบุรี เหตุเพราะเพื่อนแนะนำและเล็งเห็นว่าตราบใดที่คนบริโภคเนื้อไก่และส่งออกอาชีพนี้ก็สามารถอยู่ได้
คุณวิชัยเล่าให้ฟังว่า ตนเรียนจบชั้น ม. 6 และได้เข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี แต่ต้องออกมาทำงาน เพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน จึงเดินทางเข้าสู่กรุงเทพฯ เพื่อโอกาสที่ดีในการสร้างชีวิต โดยการเริ่มต้นเป็นลูกจ้างบริษัททั่วไป ซึ่งในขณะนั้นได้รับค่าแรงวันละ 60 บาท และขึ้นตามลำดับ
จากนั้นได้รับอัตราจ้างเป็นเงินเดือน ตั้งแต่ระดับ 10,000 ต้นๆ จนกระทั่งถึงระดับ หัวหน้างาน ได้รับเงินเดือน 30,000 – 40,000 บาท ทำอยู่ระยะหนึ่งจึงตัดสินใจลาออกจากงาน เนื่องจากถึงจุดอิ่มตัวและประกอบกับช่วงวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำ (ต้มยำกุ้ง)
จึงมาเช่าฟาร์ม เลี้ยงไก่เนื้อ จำนวน 7,000 ตัว ที่จังหวัดนครนายก จากคำแนะนำของเพื่อนว่าเลี้ยงแล้วรายได้ดี ทำอยู่ 2 ปี รายได้ถือว่าดีพอสมควร อีกอย่างมองว่าธุรกิจนี้ตราบใดที่คนยังกินเนื้อไก่ อาชีพนี้ก็สามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน
แต่การ เลี้ยงไก่เนื้อ อาจมีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้องอาทิเช่น อัตราสูญเสีย ไก่ที่เลี้ยงไม่โต น้ำหนักไม่ได้เท่าที่ควร เนื่องจากเป็นโรงเรือนเปิดที่ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิหรือสภาพแวดล้อมโดยรวมได้
เมื่อเล็งเห็นว่าธุรกิจนี้สามารถไปได้ ประกอบกับที่บ้านได้แนะนำว่ามีบริษัทผู้ผลิต ไก่เนื้อ รายใหญ่เข้ามาหาสมาชิกเพิ่ม จึงตัดสินใจกลับมาสร้างฟาร์มที่ตำบลสระกระโจม อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
โดยใช้ชื่อว่า “วิชัยฟาร์ม” “สมัยก่อนตอนเริ่มต้นสร้างฟาร์มจะสร้างโรงเรือนแบบง่ายๆ บังแดดบังฝนได้ขนาด 10 x 64 เมตร สามารถเลี้ยงไก่ได้จำนวน 7,000 ตัว
เข้าร่วมกับบริษัท ไทยฟู้ดส์ฯ ในระบบประกันราคา
เมื่อเป็นเครือข่ายกับบริษัท ไทยฟู้ดส์ฯ แล้ว หลังจากนั้น 1 ปี จึงสร้างโรงเรือนที่ได้มาตรฐาน มีโครงสร้างแข็งแรง ขนาด 12 x 80 เมตร สามารถเลี้ยงไก่ได้ 20,000 ตัว จำนวน 1 หลัง และสร้างโรงเรือนขนาด 16 x 100 เมตร เพิ่มขึ้นตามลำดับ
ปัจจุบันมี 4 โรงเรือน และในปีพ.ศ. 2554 คุณวิชัยสร้างฟาร์มสุกรแม่พันธุ์ขนาด 450 แม่ ใช้พื้นที่ทั้งหมดร่วม 30 ไร่
จุดพลิกผันของชีวิตมนุษย์เงินเดือนสู่การเป็นเจ้าของฟาร์มคุณวิชัยเผยถึงความรู้สึกว่า “ตัดสินใจไม่ผิดที่เลือกมาทำอาชีพนี้ เนื่องจากมีชีวิตที่ดีกว่ามาก ถึงแม้การเริ่มต้นจะค่อนข้างลำบากสำหรับคนมีต้นทุนชีวิตไม่เหมือนคนอื่น
ยอมรับว่าบริษัท ไทยฟู้ดส์ฯ สุดยอดมาก ทั้งการช่วยเหลือและการดูแลเกษตรกร ตลอดจนการช่วยเหลือสังคม เช่น การสนับสนุนกีฬาชุมชน ให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียน
ส่วนทางฟาร์มจะได้รับความช่วยเหลือจากหมอหรือสัตวบาลที่คอยดูแล ให้ความรู้และแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นภายในฟาร์ม และอยากให้รักษามาตรฐานทั้งลูกไก่ และอาหาร เพราะนั่นคือสิ่งที่จะทำให้เกษตรกรอยู่รอด
หากเปรียบเทียบการประกันราคากับการรับจ้างเลี้ยง การ บริษัท ไทยฟู้ดส์ฯ ในระบบประกันราคาถือว่าดีกว่ามาก แต่มีข้อดีและความเสี่ยงแตกต่างกัน แต่ต้องขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการด้วย หากมีการบริหารจัดการดีผลผลิตที่ได้ก็จะดีตามไปด้วย
แหล่งเงินทุน สำหรับ เลี้ยงไก่เนื้อ
แรกเริ่มได้กู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) จำนวน 460,000 บาท ทำอยู่ 4 ปี และช่วงขยายฟาร์มกู้เงินจากแหล่งเงินทุนเพิ่ม จาก ธกส.และธนาคารกรุงเทพฯ โดยธนาคารกรุงเทพฯ
จะให้วงเงินสินเชื่อที่สูงมากถึง 80 – 90% สามารถผ่อนชำระได้ภายใน 5 ปี ซึ่งในส่วนนี้จะใช้หลักการบริหารที่ว่าธุรกิจจะต้องสามารถเลี้ยงตัวมันเองได้
จนมีทุกวันนี้ได้ก็เพราะการ เลี้ยงไก่เนื้อ เมื่อก่อนไม่เคยคิดว่าอาชีพเลี้ยงไก่เนื้อนี้จะเป็นอาชีพหลักที่สามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้ ตลอดจนสามารถต่อยอดธุรกิจอื่น เช่น ผลิตปุ๋ย รับเหมาขุดเจาะบ่อบาดาล และฟาร์มสุกร คุณวิชัยกล่าวถึงข้อดีของอาชีพเลี้ยง ไก่เนื้อ และเผยถึงแหล่งเงินทุนที่ให้กู้เงินเพื่อขยายฟาร์ม
สายพันธุ์ ไก่เนื้อ
สำหรับสายพันธุ์ ไก่เนื้อ ที่ทางฟาร์มเลี้ยง จะมีพันธุ์อาร์เบอร์เอเคอร์ส (Arbor Acres) และพันธุ์คอบบ์ (Copp) ซึ่งบริษัทฯ เป็นผู้นำมาให้เลี้ยง ส่วนปัญหาสภาพอากาศในแต่ละรุ่นจะเลี้ยงไม่เหมือนกัน แม้กระทั่งเรื่องของอาหารที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของไก่
ซึ่งระยะเวลาในการเลี้ยงเฉลี่ยอยู่ที่ 38 – 42 วัน หรือน้ำหนักเฉลี่ยที่ 2.3 – 2.7 กิโลกรัม โดยแบ่งเป็นตัวผู้และตัวเมียอย่างชัดเจน บางครั้งก็เลี้ยงแบบคละ
การให้อาหารไก่เนื้อ
ปัจจุบันการให้อาหารจะเป็นระบบอัตโนมัติ ซึ่งแตกต่างจากเมื่อก่อนที่จะให้เป็นเวลาแบบเดินเทให้กิน เหนื่อยและใช้เวลาค่อนข้างนาน คุณวิชัยกล่าวถึงข้อดีของระบบอัตโนมัติในการอาหาร
การใช้คนเดินให้อาหาร ทำให้เกิดการสังเกตพฤติกรรมของ ไก่เนื้อ ปฏิกิริยาต่างๆ การดูแลในโรงเรือนได้อย่างทั่วถึง ตลอดจนการป้องกันการเกิดโรคที่ก่อให้เกิดการเสียหายได้
แต่ถ้าระบบอัตโนมัติจะมีชุดควบคุม ทำให้ประหยัดเวลาในการให้อาหารและการจัดการง่ายขึ้น อีกอย่างการกินอาหารจะทั่วถึงและการเจริญเติบโตจะดีขึ้น แต่ผลผลิตที่ได้ไม่แตกต่างกัน
หากเปรียบเทียบจากการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ทำให้การจัดการต่างๆง่ายขึ้น สบายกว่าเมื่อก่อนที่จะต้องทำทุกอย่างตั้งแต่ หิ้วน้ำ แบกอาหาร ใช้แรงงาน มีพนักงานประจำโรงเรือนละ 2 คน ปัจจุบันเมื่อนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้สามารถดูแลได้ 1 คน/โรงเรือน
สามารถลดต้นทุนได้อีกทาง ส่วนค่าจ้างจะให้ต่อรุ่น มีที่พักและมีโบนัสให้ตามเกณฑ์หากได้ผลผลิตที่ดีและจัดงานเลี้ยงประจำปีด้วย คุณวิชัยกล่าว
ระวังหน้าฝน
การเลี้ยง ไก่เนื้อ ในปัจจุบันมีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งสภาวะอากาศในแต่ละฤดู เช่น หน้าร้อนช่วงไก่เล็กจะส่งผลดี เนื่องจากการกกไก่จะสามารถทำได้ค่อนข้างดี แต่ช่วงไก่โตจะต้องดูแลเป็นพิเศษ เนื่องจากอากาศร้อนการควบคุมอุณหภูมิจะทำได้ยาก
ส่วนช่วงหน้าหนาวไก่โตจะเจริญเติบโตได้ดีและการบริหารจัดการค่อนข้างง่ายกว่าหน้าร้อน แต่การกกไก่จะใช้เวลาค่อนข้างนาน
ส่วนช่วงที่เป็นปัญหามากที่สุดคือ ช่วงหน้าฝน เพราะอากาศค่อนข้างแปรปรวน ความชื้นสูง ทำให้การจัดการค่อนข้างยาก บางครั้งเกิดโรคโดยง่าย เช่น เป็นหวัด เป็นต้น ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงในแต่ละรุ่นให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ
ขั้นตอน และ วิธีการเลี้ยงไก่เนื้อ
จากนั้นก็ทำการขยายฝูง เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตช้า เนื่องจากความหนาแน่นของลูกไก่ การให้วัคซีนจะให้สัปดาห์แรกและสัปดาห์ที่ 2 หรือ 14 วัน สัปดาห์ที่ 3 จะเฝ้าระวังการเกิดโรค พอหลังจากสัปดาห์ที่ 3 หรือ 21 วัน จะต้องหยุดการใช้ยาปฏิชีวนะเริ่มจากการกกไก่ด้วยอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 30 องศา และไม่ควรเกิน 34 องศา ใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 5 วัน สำหรับหน้าหนาวควรยืดระยะเวลาในการกกไก่ออกไปอีก 2 วัน ส่วนเรื่องอุณหภูมิจะควบคุมค่อนข้างลำบาก แต่อย่าให้ต่ำกว่า 28 องศา
สำหรับการให้อาหารจะเริ่มตั้งแต่เบอร์ 0 และ เบอร์ 1 โดยให้ 3% จากจำนวนไก่ทั้งหมด เบอร์ 2 ให้ 6% ส่วนที่เหลือจะให้เบอร์ 3 ตลอดอายุการเลี้ยงจนถึงจับ
มาตรการป้องกันโรคระบาด ทางฟาร์มจะควบคุมอย่างเข้มงวด ตั้งแต่การควบคุมบุคคลภายนอกเข้า-ออกฟาร์ม รถขนไก่ รถส่งอาหาร จะต้องมีการฉีดน้ำยาฆ่าเชื้อทุกครั้ง
อุปกรณ์เลี้ยงไก่
ส่วนค่าไฟฟ้าของทางฟาร์มเฉลี่ยอยู่ที่ตัวละ 2 บาท เนื่องจากการเลี้ยงจะต้องใช้พัดลม เพื่อควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือน แต่ในส่วนของฟาร์มสุกรจะใช้ไฟฟ้าน้อยกว่า ส่วนอุปกรณ์ต่างๆ ทางฟาร์มจะใช้ของบริษัท การุณ บราเธอร์ส จำกัด เท่านั้น
สำหรับการรับรู้ข่าวสารหรือองค์ความรู้ใหม่ๆ คุณวิชัยจะเข้าร่วมการสัมมนากับทางบริษัทฯ ที่จะมีจัดขึ้นอย่างน้อย 3 เดือน/ครั้ง เพื่อนำความรู้ที่ได้มาปรับปรุงพัฒนาฟาร์มให้ได้มาตรฐานยิ่งขึ้น รู้เท่าทันสถานการณ์โรค และเหตุการณ์ต่างๆ เพื่อพร้อมรับมือกับสถานการณ์นั้นๆ อีกทั้งการปรับตัวให้ได้มาตรฐานการส่งออกหรือ GAP
ตลาดไก่เนื้อ
อนาคตทางด้านฟาร์มไก่เนื้อจะยังไม่มีการขยายฟาร์มหรือเพิ่มจำนวนแต่อย่างใด เนื่องจากจะทำเท่าที่ทำไหว แต่จะเพิ่มในส่วนของฟาร์มสุกรแม่พันธุ์ เนื่องจากเป็นการลดความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจ รวมถึงการทำอาชีพอื่น เช่น การรับเหมาขุดเจาะบ่อบาดาลเป็นต้น
อาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพที่ใช้ลงทุนค่อนข้างสูง ทั้งโรงเรือน ตัวสัตว์ และพื้นที่ ฉะนั้นจะต้องดูแลเอาใจใส่อย่างจริงจัง และควรศึกษาให้รอบคอบก่อนลงมือทำ ไม่ควรแห่กันทำเพียงเพราะเห็นรายได้หรือเห็นคนอื่นทำแล้วดี
โดยที่ไม่ศึกษาผลกระทบและวิธีการปฏิบัติ อย่างเช่น อาชีพเลี้ยงไก่ หากเกิดไฟฟ้าดับภายใน 10-15 นาที ก็สามารถทำให้ไก่ที่เลี้ยงตายทั้งหมดได้ รวมถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่จะส่งผลกระทบต่อแหล่งชุมชน
อีกอย่างในการเลี้ยงไก่เนื้อจะต้องดูระบบการทำงาน ตลาดและความมั่นคงของบริษัทที่เป็นคอนแทรคฟาร์มด้วย ซึ่งมีให้เลือกหลายบริษัทและมีข้อดีแตกต่างกัน” คุณวิชัย ฝากแง่คิดทิ้งท้าย
ขอขอบคุณ
คุณวิชัย เอี่ยมเมือง 87/1 ม. 6 ต.สระกระโจม อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี 72250 และบริษัท ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) โทร 087-977-1590, 0613978812 ปรึกษาฟรี! บอกว่าจาก พลังเกษตร.com หรือ นิตยสาร สัตว์บก
ฟาร์มไก่เนื้อ เลี้ยงไก่เนื้อ พันธุ์ไก่เนื้อ วิธีการเลี้ยงไก่เนื้อ โรงเรือนเลี้ยงไก่ อุปกรณ์เลี้ยงไก่ อาหารไก่เนื้อ การให้อาหารไก่เนื้อ วิธีเลี้ยงไก่เนื้อ