การบริหารต้นทุนการเลี้ยงสุกร
ต้องยอมรับเลยว่า ในสภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวน การบริหารต้นทุนการผลิตนั้นเป็นจุดหนึ่งที่นักธุรกิจหลายท่านให้ความสำคัญเพื่อลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ ธุรกิจต่างๆ ที่สามารถเดินไปต่อได้นั้น ผู้บริหารต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการบริหาร การจัดการ แรงงาน ในธุรกิจสุกรก็เช่นกัน ทุกอย่างล้วนเป็นปัจจัยในการผลิตทั้งสิ้น โชคนำตระกูลฟาร์ม คือ หนึ่งตัวอย่างในเรื่องการบริหารต้นทุนการเลี้ยงในสภาวะเศรษฐกิจขาลง โดยมี คุณจารุต โชคนำตระกูล หรือเฮียฮก ที่เข้ามาบริหารงานต่อจากครอบครัวจนประสบผลสำเร็จ
การบริหารจัดการฟาร์ม
จากจุดเริ่มต้นที่มี แม่หมู พันธุ์เพียงไม่กี่ตัว พัฒนามาเป็นฟาร์มสุกรที่มีขนาดใหญ่อยู่ที่จังหวัดนครนายก และฟาร์มหมูขุนที่อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ด้วยแนวทางการจัดการของคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ นำเอาเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาใช้ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาสายพันธุ์ การใช้ระบบให้อาหารแบบออโต้ฟีดเพื่อช่วยลดปัญหาด้านแรงงาน และบ่อไบโอแก๊สที่ช่วยลดต้นทุนด้านพลังงาน
ถึงแม้คุณฮกจะไม่ได้จบเกี่ยวข้องกับการปศุสัตว์ แต่ด้วยใช้ประสบการณ์ที่เรียนรู้มาจากครอบครัว และอาศัยเข้าอบรม เจออาจารย์หลายๆ ท่าน เอาความรู้ต่างๆ มาประยุกต์ใช้เอง จากการที่ลงมือทำ นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมโครงการจ้างเลี้ยงให้กับเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียง มีเกษตรกรหลายท่านที่ให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการ
“โครงการนี้จัดมาเป็นระยะเวลานานถึง 10 ปี แล้ว ทำต่อยอดขึ้นมาเรื่อยๆ ถ้าเราทำดีมีให้ค่าตอบแทนแก่เกษตรกรอย่างสมเหตุสมผล เกษตรกรเขาก็จะไปบอกต่อกัน เหมือนเป็นรายได้เสริม มีเกษตรบางรายที่อยากทำ แต่ขาดเงินทุน เราก็ไปลงทุนให้ก่อน แล้วทำเรื่องตกลงกัน
ส่วนการเลี้ยงเราจะไม่กำหนดจำนวนสุกร แต่ต้องดูพื้นที่ของเกษตรกรนั้นสามารถรับได้เท่าไหร่ การที่เกษตรกรไม่ต้องแบกรับภาระต้นทุน เพราะว่าทางฟาร์มนั้นส่งทั้ง ลูกหมู หย่านม อาหาร ยาวัคซีน เอง มีค่าตอบแทนเป็นค่าเลี้ยงจากสุกรน้ำหนัก 20 กิโลกรัม จนน้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็น 110 กิโลกรัม เกษตรกรเพียงแค่ลงทุนค่าโรงเรือน และค่าน้ำ ค่าไฟ เท่านั้น” คุณฮกเปิดประเด็น
สายพันธุ์สุกร
ส่วนเรื่องสายพันธุ์ ทางฟาร์มเลือกใช้สายพันธุ์ที่เหมาะกับสภาพอากาศ เพราะที่ฟาร์มนั้นเป็นระบบเปิด 80% ระบบปิด 20% ส่วนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเป็นฟาร์มระบบเปิดทั้งหมด “เราต้องเลือกสายพันธุ์ที่ตรงกับลักษณะการเลี้ยงของเรา โครงการจ้างเลี้ยง เราจะทำอะไรต้องมองให้สอดคล้องกับตัวเราด้วย
โดยฟาร์มจะเลือกใช้ แม่หมู พันธุ์เดนมาร์ก ส่วนพ่อพันธุ์จะใช้สายพันธุ์ของเดนมาร์ก และดูร็อค ซึ่งมีความอึด ทน ต่อสภาพอากาศ และสิ่งแวดล้อม” คุณฮกกล่าวให้ความเห็น และยืนยันว่า
การคัด แม่หมู พันธุ์สุกร
“การคัด แม่หมู พันธุ์ที่ให้ปริมาณลูกต่อครอกต่อปีนั้นมีความจำเป็น เพื่อเป็นตัวช่วยหนึ่งที่ลดต้นทุนได้ เนื่องจากปริมาณ ลูกหมู ที่ออกมีจำนวนเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับจำนวน ลูกหมู ที่เกิดออกมานั้น แม่หมู ต้องมีจำนวนเต้านมไม่น้อยกว่า 16 เต้า มากที่สุด คือ มีทั้งหมด 18 เต้า หรือข้างละ 9 เต้า เพื่อให้ ลูกหมู มีประสิทธิภาพดี เพราะได้กินนม แม่หมู อย่างเพียงพอ”
การหย่านมของ ลูกหมู
ในเรื่องการหย่านมอัตราการเฉลี่ยอยู่ที่ 26-27 วัน นั้น คุณฮกกล่าวว่า “ผมอยากให้ความรู้เกษตรกรว่าการหย่านมไวทำให้ ลูกหมู ไม่พร้อม ร่างกายยังไม่แข็งแรง สมบูรณ์ แล้วเกิดความเสียหาย ต้องมีการจัดการต่อ แต่ถ้าเกษตรกรหย่านมเมื่อ ลูกหมู ร่างกายพร้อม มีการปรับตัวได้แล้ว กินอาหารเป็น ก็สามารถเลี้ยงต่อได้เลย ซึ่งเดี๋ยวนี้ฟาร์มขนาดใหญ่ย้อนสูงสุดกลับสู่สามัญ”
การป้องกันโรคระบาดในสุกร
เหตุผลที่ฟาร์มสุกรขุนแยกตัวออกมาเลี้ยงที่อำเภอกบินทร์บุรี เนื่องจากภายในฟาร์ม แม่หมู พันธุ์ และสุกรขุน ไม่ควรอยู่ในพื้นที่เดียวกัน เพราะจะทำให้มีปัญหาเรื่องโรคที่สามารถติดต่อกัน ทำให้เกิดการสูญเสีย นอกจากนี้ “ระบบไบโอซิเคียวลิตี้” ก็มีความสำคัญเพื่อป้องกันโรคที่เข้ามาพร้อมกับบุคลภายนอก สิ่งหนึ่งที่สำคัญ คือ การนำสุกรสาวทดแทนมาจากฟาร์มอื่นๆ
“การทำฟาร์มหมูต้องไม่มั่ว เห็นสายพันธุ์ที่ไหนดีก็นำเข้าฟาร์ม มันเหมือนการเติมโรค เราต้องหยุด และผลิตใช้เอง ทดแทนเอง จะช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องโรคได้ ทำให้การจัดการง่ายขึ้น การที่เกษตรกรบางส่วนไปเอามาจากแหล่งนั้นที แหล่งนี้ที เกษตรกรก็ไม่รู้ว่าแหล่งนั้นมีเชื้อโรคอะไรบ้าง พอเคลียร์ปัญหาจบก็ไปเอาแหล่งใหม่มา ทำให้ปัญหานั้นไม่จบ เป็นการเพิ่มต้นทุนไปในตัว” คุณฮกกล่าวถึงปัญหาเรื่องโรคที่เกี่ยวกับการพัฒนาสายพันธุ์
การบริหารจัดการสุกร
การจัดการสุกรสาวทดแทน ต้องมีการเตรียมการที่ดี มีซองก่อนอายุ 5 เดือน เพื่อเตรียมที่เป็น แม่หมู มีการเจาะเลือด และต้องรู้ว่าฟาร์มมีประวัติเรื่องโรคว่าเคยเป็นอะไรบ้าง เป็นเชื้อชนิดไหน ส่วนการทำวัคซีนเป็นการนำเชื้อโรคที่ตายแล้ว หรือยังไม่ตาย มากระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกัน
โชคนำตระกูลฟาร์มก็เช่นกัน ได้มีการทำวัคซีนตามโปรแกรม ไม่ว่าจะเป็น PRRS, อหิวาต์, โรคปากเท้าเปื่อย แต่โรค PRRS หรือเพิร์ส จะทำเป็นช่วงก่อนที่จะถึงฤดูการระบาดก่อน 2-3 เดือน และยังมีโรค PED คือ อาการท้องเสีย ที่เกิดขึ้นได้ทุกอายุ
การให้โปรตีนถั่วเหลืองและแร่ธาตุในสุกร
กลุ่มเวชภัณฑ์และอาหารเสริม โชคนำตระกูลฟาร์มเลือกใช้ บริษัท บี เอฟ ฟีด จำกัด และเครือ เว็ท อินเตอร์ กรุ๊ป หรือ บริษัท เว็ท อินเตอร์ บิสสิเนส จำกัด เพราะมีสินค้าให้เลือกหลากหลาย และทีมงานที่มีความรู้ทางด้านวิชาชีพ ทางด้านสัตว์เลี้ยง โดยตรง มีทั้งสัตวแพทย์ สัตวศาสตร์ นักโภชนศาสตร์สัตว์ พันธุศาสตร์ และวิศวกรรมด้านสิ่งแวดล้อม คอยให้คำปรึกษาได้ตลอดเวลา ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ปัจจุบัน ได้แก่
ผลิตภัณฑ์ HP300 เป็นโปรตีนถั่วเหลืองเข้มข้น โดยผ่านกระบวนการไบโอเทคโนโลยี ทำให้ย่อยได้สูง ลูกสุกรโตเร็ว มีความสมบูรณ์ แข็งแรง ใช้ระยะเวลาขุนสั้นลง ลดปริมาณยาที่ใช้ในการดูแลรักษา ผลิตโดย HAMLET PROTEIN จัดจำหน่ายโดย บริษัท บี.เอฟ.กรุ๊ป
แร่ธาตุ EcoZ/M1000 เป็นแร่ธาตุอินทรีย์ที่พัฒนาใหม่ล่าสุดในรูปไกลซีน อะมิโน แอซิด คอมเพล็กซ์ สารผสมล่วงหน้าสำหรับสุกรเล็ก, สุกรรุ่น และสุกรขุน ใช้ปรับคุณภาพซาก เพิ่มเนื้อแดง ลดไขมัน เพิ่มความแข็งแรงของกระดูกและข้อต่อ เพิ่มความสมบูรณ์พันธุ์ ต้านทานโรค ผลิตโดย บริษัท ไบโอเค็ม จำกัด ประเทศเยอรมนี
จัดจำหน่ายโดย บริษัท บี เอฟ ฟีด จำกัด และยังใช้วิธีโบราณ คือ การเก็บมูลในลูกสุกร หรือ แม่หมู ที่มีอาการท้องเสีย แล้วเอามาผสมกับน้ำในถังไว้ 2-3 ชั่วโมง จนมูลสุกรตกตะกอน สาดให้ แม่หมู สาวที่เข้ามาทดแทน เป็นอีกโปรแกรมเหมือนโปรแกรมวัคซีน เนื่องจากตัวเชื้อโรคต้องออกจากลำไส้
การให้อาหารสำเร็จรูป
ต้นทุนเรื่องอาหารก็เป็นปัจจัยที่สำคัญ ต้องมีการบริหารดูแล ทางโชคนำตระกูลฟาร์มให้ความสำคัญในเรื่องของอาหาร เพราะอาหาร ลูกหมู ก่อนหย่านมถือเป็นส่วนสำคัญในการเจริญเติบโตของการเลี้ยงสุกร โชคนำตระกูลฟาร์มจะใช้อาหารสำเร็จรูป พิกโซลูชั่น 2 122 ของ บริษัท คาร์กิลล์สยาม จำกัด
นอกจากนี้ทางฟาร์มจะสต๊อกวัตถุดิบเพื่อมาผลิตอาหารใช้เองในฟาร์ม คุณฮกมองว่าอาหารแต่ละสูตรใช้วัตถุดิบไม่แตกต่างกันมาก ยิ่งลดคุณภาพมาก ตัวสุกรเองก็แย่ มีการเจริญเติบโตไม่เต็มที่ จากระยะการขุน 3 เดือนครึ่ง ไปเป็น 4 เดือน เนื่องจากได้รับโภชนาการไม่เหมาะสม ทำให้เสียรายได้จากวันที่เพิ่มมา
จึงเลือกใช้วิธีการสต๊อกวัตถุดิบ อย่างเช่น ข้าวโพด มันเส้น ปลายข้าว เมื่อถึงฤดูกาลที่ผลผลิตทางการเกษตรออกมา เพียงแค่เพิ่มการจัดการขึ้นมาในการตรวจสอบสภาพความชื้น คุณภาพวัตถุดิบ นอกจากนี้ยังมีการซื้อขายล่วงหน้ากับคู่ค้าที่สามารถเชื่อใจกันได้
การปรับปรุงโรงเรือนเก่ามาเป็นระบบอีแวป
ในด้านการใช้เทคโนโลยีมีการปรับปรุงโครงสร้างเล้าเก่ามาเป็นระบบอีแวปที่ใช้กันมาก จากที่สังเกตเล้าเปิดกับเล้าปิด มีจุดแข็ง-จุดอ่อนที่แตกต่างกัน คือ เล้าปิด ข้อดี คือ สามารถควบคุมอุณหภูมิภายในได้ดีกว่า ส่งผลให้สุกรภายในเล้าไม่เครียด เนื่องด้วยสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง และสามารถควบคุมโรคได้
ส่วนข้อเสีย คือ ต้นทุนสูง ถ้าไม่มีการบำรุงรักษา ระบบควบคุมอากาศเสียหาย สุกรภายในเล้าก็ไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าที่สูงกว่า ส่วนเล้าเปิด ข้อดี คือ มีการลงทุนที่ต่ำกว่า ใช้พลังงานน้อยกว่า ข้อเสีย คือ สุกรที่อาศัยอยู่เล้าเปิดอาจจะเครียดได้ เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล
แต่เมื่อเทียบเล้าเปิดของเกษตรกรในโครงการกับเล้าปิดที่ฟาร์มมีนั้นข้อมูลค่อนข้างใกล้เคียงกัน เพราะว่าเกษตรกรมีความเอาใจใส่ดูแลสุกรที่เลี้ยงมากกว่า ส่วนระบบอาหารทางฟาร์มโชคนำตระกูลได้เริ่มใช้ระบบออโต้ฟีด โดยใช้ถังไซโล สายพานลำเลียง ของ บริษัท บี.อินเตอร์ฯ เข้ามาช่วย เพื่อลดปัญหาขาดแคลนแรงงานในอนาคต เป็นการเตรียมความพร้อมเมื่อเกิดปัญหาขึ้น จากสมัยก่อนใช้พนักงาน 2 คน ลดมาเป็น 1 คน ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น สิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ แหล่งเงินทุน ทางคุณฮกเลือกใช้ธนาคารกรุงเทพ เหตุผลในการเลือกใช้เพราะ “เป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่ฟาร์ม” สมกับสโลแกนของธนาคารจริงๆครับ คุณฮกกล่าว
การพัฒนา สายพันธุ์สุกร แม่หมู
นอกจากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นแล้วที่ช่วยในการลดต้นทุน เรื่องการพัฒนาสายพันธุ์เพื่อให้ได้จำนวนลูกที่เพิ่มขึ้น และตัวแม่พันธุ์เองต้องพัฒนาด้านสรีระ ไม่ว่าจะเป็นเต้านมที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น การจัดเก็บวัตถุดิบอาหาร การทำวัคซีนเพื่อป้องกันการสูญเสียด้วยโรคต่างๆ ที่เข้าไปภายในฟาร์มแล้ว
การทำระบบไบโอแก๊สเพื่อช่วยลดมลภาวะเรื่องกลิ่น ไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม ผู้ที่พักอาศัยใกล้เคียง และยังช่วยด้านพลังงาน โดยการใช้แก๊สจากมูลสุกรมาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้ามาใช้ภายในฟาร์มได้ถึง 50% เป็นการลดค่าใช้จ่าย นำมูลสุกรส่วนหนึ่งไปเลี้ยงปลานานาพันธุ์ มีพื้นที่รวมกัน 1,000 ไร่ ซึ่งไม่ใช่ที่ตนเองทั้งหมด
การวางเป้าหมายของจำนวน ลูกหมู
เป้าหมายต่อไปของโชคนำตระกูลฟาร์ม คือ การเพิ่มจำนวนลูกต่อแม่ต่อปีให้เพิ่มขึ้นอีก จาก 27-28 ตัว เป็น 30 ตัวต่อแม่ต่อปี และเพิ่มกำลังการผลิตโดยการเพิ่มฟาร์มหมูขุนที่ อ.กบินทร์บุรี เป็น 12,000 ตัว คุณฮกฝากถึงเกษตรกร
“การทำธุรกิจสุกรในสภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ ผู้เลี้ยงสุกรยังสามารถไปต่อได้ แล้วถ้าเศรษฐกิจดี ผมมองว่ามันยังโอเค ตัวผันแปร คือ เราต้องทำลูกต่อแม่ต่อปีให้ได้ แล้วทุกอย่างจะตามมา บางที่เราไปมองว่าลดโน่น ลดนี่ มันจะยิ่งเสียหาย ลูกต่อแม่ต่อปีเท่านั้นที่จะทำให้ฟาร์มนั้นอยู่ได้”
ขอขอบคุณ คุณจารุต โชคนำตระกูล โชคนำตระกูลฟาร์ม 19 หมู่ 7 ตำบลพิกุลออก อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก 26110