ใบกระถินป่น ใบกระถิน พืชโปรตีน สูง ต้นทุนต่ำ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

กระถิน (Leucaena; Leucaena teucocephaia (Lam.) De Wit) เป็นพืชตระกูลถั่วชนิดไม้ยืนต้น และเป็นพืชพื้นเมืองในประเทศเม็กซิโก และกัวเตมาลา แต่ได้มีการนำเข้ามายังประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศอื่นๆ ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia) รวมทั้งในประเทศไทย ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 และประเทศในเขตแปซิฟิก รวมทั้งประเทศออสเตรเลีย ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 19 ปัจจุบันต้นกระถินมีการกระจายตัวในเขตร้อนชื้นต่างๆ ทั่วโลก กระถินมีการเจริญเติบโตของต้นอย่างรวดเร็ว แม้จะขึ้นในพื้นที่ดินที่ไม่อุดมสมบูรณ์ก็ตาม

1.ต้นกระถิน
1.ต้นกระถิน พืชโปรตีน พืชโปรตีน พืชโปรตีน พืชโปรตีน พืชโปรตีน พืชโปรตีน พืชโปรตีน พืชโปรตีน

ลักษณะของต้นกระถิน

กระถินเป็นพืชที่มีใบดก และสามารถให้ผลผลิตใบแห้งได้ 3-30 ตัน/เฮกแตร์/ปี หรือ 0.48-4.8 ตัน/ไร่/ปี (Cock และคณะ, 2005) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของการปฏิบัติการปลูกต้นกระถิน ใบกระถินมีคุณค่าทางอาหารสูง ได้แก่ มีโปรตีนสูง และมีสมดุลกรดอะมิโนจำเป็นในอาหารใกล้เคียงกับกากถั่วเหลืองมาก ใบกระถินจึงมีศักยภาพในการใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ได้เป็นอย่างดี

ประโยชน์ของกระถิน ใบกระถินป่น

ใบกระถินแห้งล้วนไม่มีส่วนของก้านปน จะมีโปรตีนประมาณ 30% แต่การปลูกกระถินเชิงการค้าเพื่อทำ ใบกระถินป่น และใช้ในอาหารสัตว์ จะมีการปลูกต้นกระถินให้มีความสูง 1.5-2.0 เมตร และตัดส่วนเหนือพื้นดิน สูงจากดินประมาณ 20-30 ซม. เพื่อเป็นตอเอาไว้ให้ต้นกระถินมีการแตกกิ่งก้านใหม่ออกมาตลอดเวลา ส่วนที่ตัดออกมีทั้งใบและก้านกระถินปนกัน จะถูกนำไปสับย่อยให้มีขนาดชิ้นเล็กลง ตากแดดแห้งแล้วบดละเอียดเป็น ใบกระถินป่น เพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ต่อไป ใบกระถินป่น ดังกล่าวจะมีโปรตีน 21% ไขมัน 3.6% เยื่อใย 18% และมี พชด.สุกร และสัตว์ปีก 1,500 และ 900 กค./กก. ตามลำดับ

อย่างไรก็ตามกระถินเป็นพืชที่มีขีดจำกัดในการใช้เป็นอาหารสัตว์สูงมาก กระถินมีสารพิษไมโมซีน (mimosine) เป็นองค์ประกอบในระดับสูง (สูงถึง 12% ใบยอดกระถินแห้ง) ซึ่งสารพิษดังกล่าวก่อให้เกิดผลเสียเป็นอย่างมาก ต่อการกินอาหาร การเติบโต และการสืบพันธุ์ของสัตว์ รวมทั้งมีผลทำให้สัตว์เกิดอาการขนร่วงด้วย นอกจากนี้ใบกระถินแห้งยังมีสารแทนนินเป็นองค์ประกอบในระดับสูงประมาณ 10 มก./ก.

การแปรรูปใบกระถิน

การแปรรูปใบกระถินโดยการตากแดดแห้ง ไม่มีผลทำให้ปริมาณสารพิษข้างต้นลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ใบกระถินป่นจึงยังคงมีระดับสารพิษไมโมซีนและสารแทนนินสูง และทำให้ ใบกระถินป่น สามารถใช้ได้ไม่เกิน 5% ในสูตรอาหาร การเสริมสารเฟอรัสซัลเฟคในสูตรอาหาร เพื่อให้ธาตุเหล็กไปจับ (cheiated) กับสารพิษไมโมซีนในอาหาร และทำให้สารพิษมีความเป็นพิษต่อตัวสัตว์น้อยลง

จึงทำให้สามารถใช้ ใบกระถินป่น ในสูตรอาหารได้มากขึ้น แต่การเสริมเฟอรัสซัลเฟคในระดับสูงในสูตรอาหาร มีผลทำให้ค่าการย่อยได้ และค่า พชด.ของใบกระถินลดลง  และอาจมีผลไปรบกวนการดูดซึมแร่ธาตุ ทองแดง สังกะสี แมงกานีส รวมทั้งแคลเซียม ในทางเดินอาหารของสัตว์ การเสริมสารเฟอรัสซัลเฟคเพื่อการเพิ่มการใช้ประโยชน์ใบกระถินในสูตรอาหาร จึงต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การลดปริมาณสารพิษไมโมซีนในใบกระถิน อาจทำได้โดยการนำใบกระถินสด หรือใบกระถินแห้ง แช่น้ำเป็นเวลา 48 ชั่วโมง รวมทั้งการปรับปรุงพันธุ์กระถินให้มีปริมาณสารพิษไมโมซีนลดลง การทำให้ใบกระถินมีปริมาณสารพิษไมโมซีนลดลง หรือหมดไป มีผลทำให้สามารถใช้ใบกระถินนั้นได้ปริมาณสูงขึ้นในสูตรอาหาร อุทัย คันโธ และคณะ (2534) ได้แสดงให้เห็นว่าสารพิษไมโมซีนในใบกระถินก่อให้เกิดผลเสียต่อการย่อยได้ และการใช้ประโยชน์ได้ของโปรตีนในใบกระถินนั้น ใบกระถินสดสับแช่น้ำเป็นเวลา 24 ชั่วโมง สามารถลดปริมาณสารพิษไมโมซีนในใบกระถินลงได้ 90% และสามารถช่วยทำให้ใบกระถินสดสับแช่น้ำมีการย่อยได้ และการใช้ประโยชน์ได้ของโปรตีนดีกว่าใบกระถินปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

ตารางที่ 1  การใช้ประโยชน์ได้ของโภชนะในใบกระถินปกติ ใบกระถินเสริมสารเฟอรัสซัลเฟค และใบกระถินสดสับแช่น้ำ 24 ชม. ของสุกรรุ่น

ลักษณะ

ใบกระถินแห้ง

ใบกระถินแห้ง*

เฟอรัสซัลเฟค*

ใบกระถินแช่น้ำ

ตากแดดแห้ง**

ปริมาณใบกระถินที่กิน (กรัม/5 วัน)

ไนโตรเจนที่ได้รับ (กรัม/5 วัน)

N-จากใบกระถินที่ถูกดูดซึม (n.)

N-จากใบกระถินที่สะสมในร่างกาย (n.)

การย่อยได้ไนโตรเจน (%)

โปรตีนสะสม/โปรตีนดูดซึม; BV (%)

โปรตีนสะสม/โปรตีนได้รับ; NPU (%)

พยด. ของใบกระถิน (กค./กก.)

พชด. ของใบกระถิน (กค./กก.)

881

38.01

26.95

18.88

10.85n

10.11

49.51n

4,085n

1,516n

899.72

38.78

22.91

18.2

59.15n

80.52

47.75n

2,603n

1,254n

1,354.75

62.90

48.29

46.39

76.71n

96.08

73.7n

3,472n

2,768n

*0.20% **ใบกระถินสดสับแช่น้ำ 24 ชม. แล้วตากแดดแห้ง

แหล่งที่มา : สุวรรณา ภาคย์วิวัฒน์ และคณะ (2528)

จากผลการศึกษาจะเห็นได้ว่าการลดปริมาณสารพิษไมโมซีนในใบกระถิน เช่น การนำใบกระถินไปแช่น้ำเป็นเวลา 24 ชม. ช่วยทำให้คุณค่าทางอาหารและคุณภาพของใบกระถินในเชิงการใช้เป็นอาหารสัตว์ ได้แก่ การย่อยได้ของโปรตีน คุณค่าทางชีวภาพของโปรตีน (โปรตีนสะสม/โปรตีนดูดซึม; BY) ค่าโปรตีนใช้ประโยชน์ได้สุทธิ (โปรตีนสะสม/โปรตีนได้รับ; NPU) รวมทั้งค่า พยด. และ พชด. ของใบกระถินแช่น้ำให้สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และสูงกว่าการลดการเป็นพิษของใบกระถินด้วยการเสริมสารเฟอรัสซัลเฟค การเพิ่มการใช้ประโยชน์ของโภชนะในใบกระถินแช่น้ำ อาจทำได้โดยการทำให้เซลล์ของใบกระถินเกิดการแตกและปลดปล่อยโภชนะในใบกระถินออกมา ทำให้สัตว์สามารถใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น

คุณค่าทางอาหารของ ใบกระถิน

นอกจากนี้ อุทัย คันโธ และคณะ (2534) ยังได้ทดลองนำใบกระถินแช่น้ำมาผสมกับมันสำปะหลัง (มันเส้นบดละเอียด) แล้วนำของผสมนั้นผ่านกระบวนการกึ่งเอ็กซ์ทรูด โดยการใช้เครื่องบดเนื้อ (mincer) ที่ดัดแปลงให้สามารถอัดอาหารแบบกึ่งเอ็กซ์ทรูดได้ ดังผลการศึกษาได้แสดงไว้ในตารางที่ 2 จากผลการศึกษาพบว่าการนำใบกระถินแช่น้ำดังกล่าวไปผ่านกระบวนการกึ่งเอ็กซ์ทรูดยิ่งทำให้คุณค่าทางอาหารของใบกระถินเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญมากขึ้นไปอีก และมีโอกาสใกล้เคียงกับกากถั่วเหลืองมากขึ้น ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยเลือกใช้เครื่องบดเนื้อ (mincer) ที่มีขายทั่วไปในท้องตลาด ซึ่งเป็นเครื่องที่มีกระบอก (barrel) และสกรู (screw) ค่อนข้างสั้น มาดัดแปลงเพื่อให้เป็นเครื่องอัดแบบกึ่งเอ็กซ์ทรูด ซึ่งก็เป็นเครื่องมือที่หาได้ง่ายที่สุดในสมัยนั้น แม้การศึกษาดังกล่าวจะมิได้มีการวัดปริมาณการแตกของเซลล์ใบกระถินแช่น้ำหลังจากการผ่านกระบวนการกึ่งเอ็กซ์ทรูดแล้ว แต่ผลการศึกษาก็แสดงให้เห็นว่ากระบวนการกึ่งเอ็กซ์ทรูดดังกล่าวช่วยทำให้คุณค่าทางอาหาร และการใช้ประโยชน์ของโภชนะในใบกระถินแช่น้ำดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด หากมีการพัฒนาเครื่องอัดแบบกึ่งเอ็กซ์ทรูดดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพื่อจะทำให้เซลล์ของใบกระถินแช่น้ำเกิดการแตกมากขึ้นในระหว่างกระบวนการกึ่งเอ็กซ์ทรูดนั้นทั้งหมด อาจมีผลทำให้คุณค่าทางอาหารและการใช้ประโยชน์ใบกระถินแช่น้ำเป็นอาหารสัตว์สูงมากขึ้นไปอีกก็ได้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ตารางที่ 2 การศึกษาผลของกระบวนการกึ่งเอ็กซ์ทรูดต่อการปรับปรุงคุณค่าทางอาหารของใบกระถินแช่น้ำ

ลักษณะ

ใบกระถินแห้ง

ใบกระถินแช่น้ำ

ใบกระถินแช่น้ำ+มันเส้น

ผ่าน/การกึ่งเอ็กซ์ทรูด

นน.สุกร 30 กก.

การย่อยได้วัตถุแห้ง (%)

การย่อยได้โปรตีน (%)

โปรตีนสะสม/โปรตีนดูดซึม; BV (%)

โปรตีนสะสม/โปรตีนได้รับ; NPU (%)

พยด. (กค./กก)

พชด. (กค./กก.)

นน.สุกร 65 กก.

การย่อยได้วัตถุแห้ง (%)

การย่อยได้โปรตีน (%)

โปรตีนสะสม/โปรตีนดูดซึม; BV (%)

โปรตีนสะสม/โปรตีนได้รับ; NPU (%)

.

64.36 n

38.36 n

63.09 n

28.95 n

1,626.4 n

1,526.3 n

.

69.38 n

45.69

67.43 n

30.07 n

.

69.78 n

41.07 n

65.05 n

32.2 n

1,892.5 n

1,776.7 n

.

72.32 n

51.54

77.42 n

40.37 n

.

71.33 n

48.34 n

83.75 n

46.74 n

3,209.2 n

3,013.1 n

.

75.42 n

56.19

87.94 n

49.65 n

แหล่งที่มา : อุทัย คันโธ และคณะ (2534)

อนึ่งในการนำ ใบกระถิน ไปแช่น้ำ น้ำจะเป็นตัวทำละลายและชะล้างเอาสารต่างๆ ใน ใบกระถิน ที่ละลายน้ำได้ ซึ่งได้แก่ สารพิษไมโมซีน สารแทนนิน และสารละลายน้ำได้ชนิดอื่นๆ ใน ใบกระถิน ออกมาในน้ำด้วย ซึ่งสารพิษดังกล่าวข้างต้นมีฤทธิ์ในการฆ่าแมลง หรือไล่แมลง เป็นอย่างดี จากการทดลองในภาคสนามพบว่าน้ำแช่ ใบกระถิน ดังกล่าวสามารถควบคุมการเข้าทำลายแมลง หนอนเจาะใบ ในการปลูกผักคะน้า และสามารถใช้เป็นสารไล่แมลงในการปลูกพืชได้เป็นอย่างดี (ข้อมูลไม่ได้ตีพิมพ์) จึงอาจเป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการปลูกพืชแบบอินทรีย์ได้

กระถินเป็นพืชที่มีศักยภาพในการผลิตโปรตีนเพื่อการใช้เป็นอาหารสัตว์ในประเทศไทย และในเขตร้อนชื้นทั่วโลก เพราะกระถินเป็นพืชที่ปลูกง่าย มีโรคแมลงรบกวนน้อย สามารถขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิด และทุกสภาวะความอุดมสมบูรณ์ของดิน การปลูกกระถินอย่างถูกต้อง และมีการจัดการดูแลการปลูก และการเขตกรรมที่ดี จะได้ผลผลิต ใบกระถิน แห้งสูงถึง 4.8 ตัน/ไร่/ปี (Cock และคณะ, 2005)

หาก ใบกระถิน แห้งดังกล่าวมีโปรตีนโดยเฉลี่ย 21%

หากใบกระถินแห้งดังกล่าวมีโปรตีนโดยเฉลี่ย 21% จะทำให้สามารถผลิตโปรตีนเพื่อการใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ประมาณ 1,000 กก./ไร่/ปี ซึ่งนับว่าสูงมาก เมื่อเทียบกับโปรตีนที่ถั่วเหลืองผลิตได้เพียง 95 กก./ไร่/ปี (ผลผลิตเมล็ดถั่วเหลือง 250 กก./ไร่ เมล็ดถั่วเหลืองมีโปรตีน 38%) หากผนวกเข้ากับการนำ ใบกระถิน มาแช่น้ำและผ่านกระบวนการกึ่งเอ็กซ์ทรูดเพื่อการปรับปรุงคุณค่าทางอาหารของ ใบกระถิน ให้สูงขึ้นด้วยแล้ว จะเห็นได้ว่ากระถินเป็นพืชที่มีศักยภาพในการผลิตโปรตีนเพื่อใช้ในการเลี้ยงสัตว์ในเขตร้อนได้เป็นอย่างดี

การลดปริมาณสารพิษไมโมซีนใน ใบกระถิน สามารถทำได้อีกทางหนึ่ง คือ การผสมพันธุ์ให้ต้นกระถินมีปริมาณสารพิษดังกล่าวในใบต่ำ ซึ่งจะทำให้สามารถใช้ ใบกระถิน นั้นในสูตรอาหารได้มากขึ้น หน่วยงาน CSIRO Division of Tropical Crops and Pastures ประเทศออสเตรเลีย ได้มีการปรับปรุงพันธุ์กระถินที่มีระดับสารพิษไมโมซีนในใบต่ำ และสามารถใช้เลี้ยงสัตว์ในปริมาณสูงได้โดยตรง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

แต่การปลูกกระถินดังกล่าวไม่ประสบผลสำเร็จมากนัก เนื่องจากการปลูกกระถินดังกล่าวจะถูกโรคและแมลงรบกวนมาก จนได้ผลผลิตต่ำ ทั้งนี้เนื่องจากต้นกระถินที่มีสารพิษไมโมซีนต่ำจะไม่มีสารพิษดังกล่าว ซึ่งเป็นสารไล่แมลงอยู่ด้วย จึงทำให้กระถินเหมือนกับพืชที่ไม่มีสารพิษทั่วไป และเป็นแหล่งอาหารอย่างดีของแมลง

2.ใบกระถินป่น ใบกระถิน พืชโปรตีน สูง ต้นทุนต่ำ
2.ใบกระถินป่น ใบกระถิน พืชโปรตีน สูง ต้นทุนต่ำ

คุณสมบัติของ ใบกระถินป่น พืชโปรตีน

ประเทศไทยมีการปลูกผลผลิต ใบกระถินป่น (ไม่แช่น้ำ) เพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ โดยเฉพาะการใช้เป็นอาหารไก่ไข่มาเป็นเวลานานแล้ว ทั้งนี้เพื่อเป็นแหล่งสารให้สีสำหรับไข่แดง แต่คุณภาพของ ใบกระถินป่น ลดต่ำลงเรื่อยๆ ทั้งนี้เนื่องจากผู้ผลิต ใบกระถินป่น ใช้ต้นกระถินที่แก่เก็บไปเป็นวัตถุดิบการผลิต

ซึ่งต้นกระถินดังกล่าวจะมีส่วนของลำต้นมาก ทำให้กระถินป่นมีระดับเยื่อใยสูง และมีโปรตีนโดยเฉลี่ยต่ำเพียง 12-14% เท่านั้น จึงทำให้มีความเหมาะสมในการใช้เป็นอาหารสัตว์น้อย โดยเฉพาะกับสัตว์ยุคใหม่ที่ให้ผลผลิตสูง และทำให้การใช้ ใบกระถินป่น ในสูตรอาหารสัตว์น้อยลงเรื่อยๆ

ขอขอบคุณ ที่มา : อาหารสุกรและสัตว์ปีกเชิงประยุกต์ รศ.อุทัย คันโธ พืชโปรตีน พืชโปรตีน พืชโปรตีน พืชโปรตีน พืชโปรตีน พืชโปรตีน พืชโปรตีน พืชโปรตีน พืชโปรตีน พืชโปรตีน พืชโปรตีน พืชโปรตีน พืชโปรตีน