เร่งพัฒนา “ยาและอาหาร” โคนม
ด้วยงานวิจัยดีเด่น
แม้ว่า พันธุกรรม โคนมจะดีเด่นเพียงใดแต่ปัจจัยด้านการจัดการโดยเฉพาะ “อาหาร” เป็นเรื่องที่ในวงการยอมรับว่าสำคัญมากเพราะอาหารที่มีคุณภาพนอกจากจะตอบโจทย์เรื่องการเจริญเติบโต ความแข็งแรง และการให้น้ำนมที่ดีแล้ว ยังมีสัมพันธ์โดยตรงกับ “ต้นทุน” การผลิตอาหารอีกด้วย
นักวิจัยและวิทยากรหลายท่านเปิดเผยผลงานการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโคนม
ดังนั้น งานโคนมแห่งชาติปี 2567 จึงมีกิจกรรมสัมมนาเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโคนมด้วยงานวิจัย โดยมี ดร.ธำรงค์ศักดิ์ พลบำรุง เป็นผู้ดำเนินการสัมมนา และมีวิทยากรที่เป็นอาจารย์ และนักวิจัยหลายคนเปิดเผยผลงาน เช่น คุณธงชัย ปอศิริ อดีตผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์สุพรรบุรี มีทักษะด้านพืชอาหารสัตว์กว่า 40 ปี และมีงานวิจัยมากมายโดยเฉพาะหญ้าแพงโกล่า หญ้าเนเปียร์ และถั่ว เป็นต้น
คุณวุฒิพันธ์ เนตรวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์นครราชสีมา ผู้ร่วมวิจัยกับ อสค.
ดร.สุกัญญา คำพะแย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง (ศบอ.) ท่าพระจังหวัดขอนแก่นเน้นหนักอาหารโค และกระบือ และมีผลงานด้านอาหารหยาบ อาหารข้น มากมาย และนักวิจัยจาก อสค.หลายคน เป็นต้น
งานวิจัยชิ้นแรกที่นำเสนอได้แก่ การศึกษาผลกระทบของการแพร่ระบาดโรคลัมปีสกิน แม่โครีดนมต่อสมรรภาพการผลิตของฟาร์มโคนมรายย่อยของคณะวิจัย 8 คน นำเสนอโดย คุณอิสรนันท์ โคระนำ นายสัตวแพทย์5 สำนักงาน อสค.ตะวันออกเฉียงเหนือหรือ หมอแม๊ก ที่คนในวงการโคนมรู้จักดี
อสค.และสหกรณ์โคนม และนักศึกษาลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากเกษตรกร โครงการ มข.โคบาลอาสารักษาลัมปีสกิน
หมอแม๊ก เปิดเผยว่า งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ มข. อาสารักษาลัมปีสกิน ภายใต้การสนับสนุนของ อาจารย์ทะนงศักดิ์ บุญบำรุง นักออกแบบงานวิจัยและเก็บข้อมูลในพื้นที่ โดยมี คุณกิตตว์ธรรศ์ จิตต์มนัส หัวหน้ากองปัจจัยการเลี้ยงโคนม คุณคณาวิทย์ ปะทะโน หัวหน้ากองส่งเสริมการเลี้ยงคุณภาพภาคตะวันออกเฉียงเหนือท่าพระ คุณชยพล แต้มครบุรี หัวหน้าแผนกส่งเสริมการเลี้ยงคุณภาพตะวันออกเฉียงเขต 4 นายนเรศ สิรินาวากุลหัวหน้าแผนกส่งเสริมการเลี้ยงคุณภาพตะวันออกเฉียงเหนือเขต 1 คุณจุฬานีย์ น่วมจิตร์ หัวหน้าแผนกผลิตน้ำเชื้อ คุณสันทน์สิริ เหรียญทอง นักวิชาการประจำกองงานฟาร์มงานวิจัยดังกล่าว ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการ มข.โคบาลอาสารักษาลัมปีสกิน
นอกจากงานวิจัยยังได้รับความร่วมมือจากพนักงาน อสค.และสหกรณ์โคนม และนักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากเกษตรกรซึ่งก่อนการลงพื้นที่ได้ประชุมอบรมนักวิจัยการออกแบบคำถามในช่วงเดือนตุลาคม – ธันวาคม 2564 ภาคอีสานเจาะเข้าไปใน 7 ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบได้แก่ ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบน้ำหมื่น และศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบพังทุย อำเภอน้ำพอง ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบกระนวน และศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบส่วนกลาง จังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุดรธานี ได้แก่ ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบศรีธาตุ ศูนย์รวบรวบน้ำนมดิบทุ่งฝนและศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบหนองวัวซอ
ภาคใต้ 1 ศูนย์ ได้แก่ สหกรณ์โคนมประจวบฯ และสหกรณ์โคนมเพชรบุรี ทั้งหมดจะต้องมีฟาร์มให้ข้อมูล
71 แห่ง จำนวนโค 4,060 ตัว แต่ปรากฏว่าโคตายเพราะโรคลัมปีสกิน 136 ตัวใน 16 ฟาร์ม ราคาน้ำนมดิบช่วงนั้น 18 บาท ปริมาณน้ำนมช่วงเช้าเฉลี่ย 184 ลิตร บ่าย 117 ลิตร/ฟาร์ม คุณภาพน้ำนมต่ำจึงถูกตัดราคา เรื่องโคตายจะต้องได้รับเงินชดเชยจากรัฐ ในฐานะนายสัตวแพทย์คุมฟาร์มหมอแม๊กพยายามทำเรื่องให้ได้รับเงินชดเชยปรากฎว่า 2 ตัวแรกได้รับแต่หลังจากนั้นจะต้องแจ้งผู้ใหญ่บ้านก็ไม่ค่อยเจอไปหานายอำเภอได้รับคำตอบว่าไม่มีกองทุน เกษตรกรจึงเดือดร้อนเพราะเมื่อโคตายต้องขุดหลุมฝังอย่างเดียวค่าขุดก็แพงดังนั้นเมื่อโคเริ่มป่วยก็รีบขนย้ายออกจากฟาร์มทำให้จำนวนโคทะลุถคง 1,548 ตัว หรือ 90% ถามว่าทำไมแม่โครีดนมป่วยมากก็เพราะช่วงนั้นต้องรีดเยอะเพราะกำลังคลอดใหม่ๆ
เรื่องโรคระบบสืบพันธุ์ผิดปกติรังไข่เล็กของแม่โค
หลังจากโคฟื้นจากป่วย ส่วนการแท้งลูกมีตลอดทุกระยะส่วนสูตรรักษามีมากไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน บางคนสั่งซื้อยาชุดออนไลน์ อย่างไรก็ดีงานนี้มี อาจารย์ชัยวัฒน์ จรัสแสง ได้อบรมเกษตรกรที่ศูนย์ต่าง ๆ ในเรื่องการใช้ยาที่ถูกต้อง การหมดเงินไปกับการรักษาโคจนต้องสูญเสียรายได้จากการขายนมเฉลี่ยฟาร์มละ 38,000 บาท วัวตายตีราคาตัวละ 50,000 บาท ค่ายาเฉลี่ยฟาร์มละ 18,000 บาท ซึ่งหลายๆ ประสบการณ์ตั้งแต่โคเป็นโรคก็เกิด “ความพร้อม” ในการรับมือกับโรคโดยเฉพาะ ยาสมุนไพร ของราชมงคลสกลนครที่ฉีดพ่นรักษาแผลได้ผลดี นอกจากนี้ยังพบสาเหตุของการไม่แยกคอกโคให้ชัดเจนระหว่างคอกแม่โค ลูกโค ทำให้การระบาดของโรคได้ไวและช่วงนั้นไม่มี “วัคซีน” แต่วันนี้ทางกรมปศุสัตว์จัดให้ปีละ 2 ครั้ง ส่วนพืชอาหารสัตว์ได้รับการสนับสนุนพันธุ์หญ้าเนเปียร์ท้ายเขื่อน แต่หญ้าแห้งเป็นบางฟาร์มที่หาได้ ส่วนฟางข้าวช่วงนั้นขาดมากราคาก้อนละ 70-80 บาท ปีนี้จึงได้ทำ อาหาร TMR ใช้เองหรือซื้อมาใช้
คุณวุฒิพันธ์ ได้ตั้งคำถามว่าช่วงนั้นมีการพักส่งนม 9 รายใน 100 รายใช่มั้ย หมอแม๊ก ตอบว่า โคที่ได้รับการรักษาหลักจากฉีดยาเข็มสุดท้ายไม่ได้ส่งนมกี่วันก็จะได้เงินตามจำนวนนมที่เคยส่งเช่น ลิตรละ 20 บาท จะถูกตัดเหลือลิตรละ 18-19 บาท เพราะโคที่เป็นโรคลัมปีสกินจะมี โซมาติกเซลล์ สูงทุกตัวหลังจากหายแล้ว แต่ถ้ายังไม่หายน้ำนมไม่ไหลก็ต้องคัดทิ้ง ยกเว้นแม่โคบางตัวหายแล้วกลับมาให้น้ำนมดี แต่มีน้อยส่วนใหญ่ไม่ดีทั้งระบบสืบพันธุ์และเต้านม
มีคำถามจากอาจารย์ของ มหาวิทยลัยราชภัฏมสารคามว่าการที่หมอเข้าไปช่วยตอนนี้เกษตรกรพร้อมจะต่อสู้กับ
ลัมปีสกินมั้ย มีความรู้มั้ย และมีแผนการรักษาอย่างไร คุณหมอแม๊ก ตอบว่า เกษตรกรมีความรู้เรื่องลัมปีสกิน
มากขึ้นเพราะเขาได้สัมผัสด้วยตัวเองตั้งแต่แรกและได้รับการอบรมจากอาจารย์ชัยวัฒน์ทุกฟาร์ม แม้แต่วัคซีนก็ฉีดเองได้ยกเว้นเด็กหรือคนสูงอายุอยู่ในฟาร์มก็มีเจ้าหน้าที่ฉีดให้และการรักษาก็ไปในทิศทางเดียวกัน เช่น พอเห็นป่วยปั๊บก็รีบให้ยาลดไข้ที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
ดร.ธำรงศักดิ์ ถามว่า น้ำนมดิบที่เข้าศูนย์ อสค. ทั้งประเทศลดลง 25% เพราะลัมปีสกินหรือย่างอื่นร่วมด้วย
คุณหมอแม๊ก ให้ความเห็นว่าไม่ใช่ น่าจะมาจาก “อาหารโค” ราคาสูงขึ้นเพราะการเลี้ยงโคนมต้องใช้อาหารข้นเป็นหลักต่างจากเมืองนอกที่มีอาหารหยาบต้นทุนการเลี้ยงโคนมจึงต่ำ
การเฝ้าระวังและควบคุมระดับโซมาติกเซลล์ในถังของฟาร์มที่ผลิตน้ำนมดิบ
คุณรัชมินทร์ แก้วสิงห์คำ นักส่งเสริม 5 กองส่งเสริมการเลี้ยงโคนมตอนล่าง อสค. ได้นำเสนอหัวข้อการเฝ้าระวังและควบคุมระดับโซมาติกเซลล์ในถังของฟาร์มที่ผลิตน้ำนมดิบพรีเมียมโดยได้ขอบคุณ อสค. คณะสัตวแพทย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ CPF และ ดร.ธำรงศักดิ์ พลบำรุง ที่ร่วมทำวิจัยเรื่องนี้เพราะ โซมาติกเซลล์ เป็นเรื่องสำคัญทำยังไงให้ลดลงเพื่อให้ได้น้ำนมดิบมาตรฐานพรีเมียมจึงเป็นงานท้าทายในยุค FTA ซึ่งการตั้งเป้า 300,000 เซลล์ ต้องใช้ฝีมือเพราะจะต้องป้องกันมิให้เกิดโรคเต้านมอักเสบในแม่โครีดนม “ จะต้องมีขบวนการเฝ้าระวัง และควบคุมโซมาติกในถังรวมตลอดจนการควบคุมวางแผนจัดการฟาร์มสุขภาพเต้านมให้มาตรฐาน” คุณรัชมินทร์เปิดประเด็น โดยจะต้องวิเคราะห์หาระดับเซลล์โซมาติกที่เกิดจากเต้านมอักเสบ ค้นหาเชื้อที่มีผลต่อการดื้อยาปฏิชีวนะต้องให้เกษตรกรควบคุมไม่ให้เกินเกณฑ์มาตรฐานและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสัตวแพทย์เจ้าหน้าที่ส่งเสริมในพื้นที่ โดยเลือกกลุ่มฟาร์มเป้าหมายหัวไวใจสู้เข้าร่วมวิจัยได้จำนวน 13 ฟาร์ม ในเขตของ สหกรณ์โคนมแม่วาง เชียงใหม่ ระยะเวลา 1 ปี เริ่มตุลาคม 2564 – มกราคม 2565 เก็บตัวอย่างน้ำนมดิบในฟาร์มเดือนละครั้ง จากนั้นก็นำมาทดสอบด้วยน้ำยา CMT แล้วให้แลปของคณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่วิเคราะห์ ยาปฏิชีวนะ 10 ชนิดถูกนำมาทดสอบว่ามาจากการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ สอดเต้านมเพื่อหาชนิดของเชื้อ แบคทีเรีย ของโรคเต้านมอักเสบและผลของความชุกของเชื้อความไวและการดื้อยาปฏิชีวนะโดยมีแม่โครีดนม 99 ตัว 132 ตัวอย่าง ผลการดื้อยา 71 ตัวอย่าง และระดับความไวต่อยาแบ่งเป็น 1. ไวต่อยา 2. ไวกว่ายา 3. ดื้อยา
ผลปรากฏว่ากลุ่มฟาร์มแม่วางอยู่ในกลุ่มเชื้อที่มาจากสิ่งแวดล้อม 52.9% เชื้อฉวยโอกาส 24.1% และเชื้อติดต่อระหว่างโค 12.6% เชื้อรา 8% และยีสต์ 2.3% การทดสอบความไวของยาพบว่ายาที่ความไวสูงสุด 5 ตัวหลักไวมากกว่า 80% จึงสรุปได้ว่าโรคเต้านมอักเสบในฟาร์มรายย่อยของสหกรรณ์โคนมแม่วาง เชียงใหม่ มาจากเชื้อสิ่งแวดล้อม เชื้อก่อโรคแบบฉวยโอกาสและเชื้อติดต่อระหว่างโคที่สำคัญต้องเน้นการจัดการสิ่งแวดล้อมและความสะอาดเน้นสุขศาสตร์ การรีดนมเพิ่มขั้นตอนในการทำความสะอาดเต้านมและจุ่มเต้านมก่อนรีด เป็นต้น
การเก็บน้ำนมดิบไปเข้าห้องแลปด้วยวิธีการอะไร
คุณอิสรนันท์ ถามถึงการเก็บน้ำนมไปเข้าห้องแลปด้วยวิธีการอะไร ก็ได้คำตอบว่า “การเก็บตัวอย่างเดือนละครั้งโดยการแบ่งทีมโดยพันธมิตรเป็น 2 ทีม ลงวันเดียวกันพอเราได้ตัวอย่างก็แช่น้ำแข็งส่งห้องปฏิบัติการวันนั้นเลย”
ดร.สุกัญญา ถามว่าโครงการโฟกัสไปที่นมพรีเมี่ยมที่มี SCG น้อยกว่า 3 แสน ผลการทดลองก่อนและหลังแตกต่างกันอย่างไร คุณรัชมินทร์ ให้ความเห็นว่านมพรีเมียมคุณภาพ SCG ต่ำกว่า 3 แสน บางฟาร์มสำเร็จบางฟาร์มก็ล้มเหลวแต่เป็นการสร้าง “แนวทาง” ให้เกษตรกรทั้งการติดตามของสัตวแพทย์และการรีไวท์ตัวโครงการอย่างสม่ำเสมอ เป็นการเฝ้าระวังนั่นเอง
คุณธงชัย ถามว่ามีวิธีการเลือกเกษตรกรหัวไวใจสู้อย่างไร?
คุณรัชมินทร์ กล่าวว่าการคัดกลุ่มเป้าหมายด้วยการประชุมกับคณะกรรมการสหกรณ์เพื่อให้เข้าใจว่าการเข้าร่วมโครงการจะได้อะไรแล้วเปิดรับสมัครจนเขาได้ความรู้ว่าเชื้ออะไรที่เกิดแล้วใช้ยาอะไรที่ถูกต้อง
งานวิจัยอายุการตัดและคุณค่าทางโภชนาการของตันทานตะวัน มีผลต่อปริมาณน้ำนมโคอย่างไร
คุณชนิกานต์ สุรณีย์ และคณะนักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์นครราชสีมาได้นำเสนองานวิจัยเรื่อง ผลของอายุการตัดที่มีผลต่อคุณค่าทางโภชนาการของทานตะวันทั้งต้นและผลผลิตปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพของการผลิตน้ำนมซึ่งการใช้ อาหารหยาบ คุณภาพดีมีผลต่อคุณภาพและปริมาณน้ำนมช่วยเพิ่มองค์ประกอบไขมันและโปรตีนให้มาตรฐานและต้นทุนต่ำ โดเฉพาะ ทานตะวัน ทั้งต้น
60-90 วันให้ได้โปรตีน 7-16 % ไขมันสูงกว่าต้นข้าวโพดได้ทดลองปลูก เดือนธันวาคม 2564 – มีนาคม 2565 จำนวน 16 แปลงย่อย ปลูกด้วยการหยอดเมล็ดพันธุ์ อะควอร่า6 ความงอก 80% ก่อนปลูกแช่น้ำ 12 ชั่วโมง
3 เมล็ด/หลุม ระยะปลูก 0.25 – 0.5 เมตร ใช้ปุ๋ยโคนมหมัก 2,000 กก./ไร่ ปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 50 กก. ให้น้ำด้วยสปริงเกอร์ทุกวันๆละ 30 นาที อายุ 45 วัน ดอกบาน 60 วัน ติดเมล็ด 75 วัน เมล็ดแก่ และ 90 วัน เก็บเกี่ยว ในการเก็บข้อมูลทางกายภาพต้องวัดความสูงชั่งน้ำหนักวัดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นและดอก ส่วนผลผลิตต้องเก็บทั้งน้ำหนักสดและแห้งต้องสับต้นเป็นชิ้น ๆ 2-3 ซม. ผึ่งในร่ม 6 ชั่วโมง เพื่อลดความชื้นจากนั้นก็นำ 1 กก. บรรจุถุงหมัก เอาอากาศออกให้หมดเก็บไว้ในร่ม 21 วัน แล้วสุ่มตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์ทางเคมี เพื่อวิเคราะห์หาค่าได้แก่ วัตถุแห้ง โปรตีนหยาบ ไขมัน เยื่อใยและอื่น ๆ อีก ตัวอย่างหมัก 30 กรัม เพื่อวิเคราะห์หาค่าไขมันที่ระเหยได้
ต่อไปดูเรื่องข้อมูลทางกายภาพของผลผลิตทานตะวันที่มีอายุตัด แตกต่างกัน ทั้ง 45 วัน ทั้ง 60 วัน หรือ
75 วัน หรือ 90 วันปรากฏว่า 60 วัน 75 วัน 90 วัน ให้ผลผลิต น้ำหนักแห้ง มากกว่า 45 วัน อย่างมีนัยยะสำคัญ แต่ผลวิเคราะห์ทางเคมีทั้งต้นก่อนหมักถ้าวัตถุแห้งมีแนวโน้มเพิ่มตามอายุ แต่ค่าโปรตีนลดลงเมื่อทานตะวันมีอายุการตัดเพิ่มมากขึ้น 45 วัน มีค่า โปรตีนหยาบ 15.40% สูงสุดแต่ค่า ไขมัน 75 วัน สูงสุดเท่ากับ 11.24%
แต่เยื่อใย 37.81 – 44.59 แต่ค่า PH ทุกระยะการตัด 5.49-6.89 หมักไม่ค่อยดี
สรุปได้ว่า การผลิตทั้งต้น เพื่อใช้เป็นอาหารหยาบควรตัดที่ 60-90 วัน จะได้น้ำหนักแห้ง 1,512.6-1,833.2 กก./ไร่ ปริมาณโปรตีนลดลงเมื่ออายุการตัดเพิ่มขึ้นปริมาณไขมันตัดที่อายุ 75 วัน มีค่าสูงสุด เยื่อใยชนิด ADF มีค่า 37.81-44.59% วัตถุแห้งจะเพิ่มมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ทุกอายุของการตัดค่าวัตถุดิบแห้งมีค่าต่ำกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับการทำพืชหมักตามมาตรฐานกองอาหารสัตว์ ปี 2567 ซึ่งจะต้องมีค่าแห้ง 25-35% ข้อเสนอแนะก็คือควรวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีเป็นส่วนๆ สำหรับลำต้นดอกและใบ การผลิตทานตะวันหมักอาจต้องควบคุมความชื้นให้เหมาะสมโดยหมักรวมกับพืชตัวอื่นเพื่อเพิ่มกากน้ำตาลหรือจุลินทรีย์ หรือกลุ่มกรดแลคติกเข้าไป คุณธงชัย ให้ความเห็นเรื่อง ทานตะวันหมักว่าอาหารสัตว์สำหรับโคนมเป็นเรื่องใหญ่ระดับประเทศที่เรียกว่า
“ อาหารขยะ” มีมากขึ้น และคุณวุฒิพันธ์ ได้แสดงความคิดเห็นว่าพืชทดแทนทั้งหยาบ และทั้งโปรตีนไขมันสูง ใช้ทานตะวันทดสอบร่วมกับ อสค. ก็ต้องดูเรื่องความแม่นยำในการปลูกให้ได้คุณภาพและปริมาณ และเรื่องการย่อยก็ควรจะทำต่อไป แต่งานวิจัยเรื่องอายุการตัด ก็มีผลต่อคุณภาพและปริมาณผลผลิตภายใต้การสนับสนุนของ อสค.
ขอขอบคุณ : เนื้อหาและรูปภาพประกอบ จากงานโคนมแห่งชาติ ปี 2567
อ้างอิง : นิตยสารสัตว์บก ฉบับ 367 (เดือน สิงหาคม 2567)