พบกันอีกครั้งกับบทความประจำวันของทางเว็บไซต์ พลังเกษตร.com ในครั้งนี้เราจะมาพูดถึงเกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยหมักคืออะไร คือ ปุ๋ยอินทรีย์ที่เกิดการหมักบ่มกัน และทำหน้าที่เป็นตัวย่อยสลายอินทรียวัตถุให้สลายตัวและผุพังบางส่วน
โดยส่วนมากปุ๋ยจะมีลักษณะเป็นสีดำเข้มหรือคล้ำ มักจะเป็นรูปแบบผงละเอียด ซึ่งเหมาะกับงานภาคการเกษตรเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงดินให้มีคุณภาพดีขึ้น หรือเป็นสารอาหารให้แก่พืชผักผลไม้ของพี่น้องเกษตรกร
การทำปุ๋ยหมัก
ปุ๋ยหมักนั้นมีวิธีการแตกต่างกันอย่างมากมาย ขึ้นอยู่กับวัตถุทางธรรมชาติแต่ละชนิดที่นำมาใช้ในการเตรียมทำปุ๋ยหมัก อีกทั้งปุ๋ยหมักยังมีหลายชนิดที่ทำขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร ปุ๋ยหมักจากใบไม้ เศษหญ้า และขยะจากที่ต่างๆ ก็เป็นปุ๋ยได้เหมือนกัน
ปุ๋ยหมักนี้นอกจากสามารถนำไปใช้ในพืชผัก ผลไม้ ทางการเกษตรแล้วนั้น ยังสามารถนำไปใช้ในการทำลายจุลินทรีย์ในห้องน้ำ อย่างเช่น ชักโครก หรือแม้กระทั่งมีการปรับสภาพน้ำลำคลองให้อยู่ในปริมาณที่ดีก็ทำได้ เมื่อนำปุ๋ยหมักไปแปรสภาพเป็นปุ๋ย EM การทำปุ๋ยหมักไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยากนัก เพราะปัจจุบันมีหลายที่เริ่มมีงานนำเครื่องมือมาช่วยในการทำปุ๋ยหมักมากขึ้น ทำให้ได้ในปริมาณที่มากพอที่จะใช้ในแต่ละเดือน ทำให้ไม่จำเป็นต้องพึ่งสารเคมีเลยก็ว่าได้
การทำปุ๋ยหมักไม่ได้มีแค่การทำไปวันๆ ในแต่ละครั้งที่ต้องการ แต่เรื่องของปุ๋ยหมักนั้นมีประวัติความเป็นมาอยู่ที่จะทำให้เกิดกรณีการศึกษาเรื่องของปุ๋ยหมัก เพราะปุ๋ยหมักจากแหล่งธรรมชาตินี้มีประโยชน์มหาศาลที่จะช่วยในการลดปริมาณขยะ หรือเศษปฏิกูลต่างๆ จากฝีมือของมนุษย์ ช่วยลดปริมาณการใช้พลังงานในการกำจัดขยะ แค่เพียงเริ่มหันมาแปรรูปขยะที่มีอยู่ก็สามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ เห็นได้ว่าการทำปุ๋ยหมักนอกจากจะได้ความรู้ และยังเป็นการช่วยสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมไปในตัว
กระบวนการหมักปุ๋ย
ปุ๋ยหมักคืออะไร หลายๆ ท่านก็คงจะสงสัย ถ้าไม่ใช่ผู้อยู่ในแวดวงการเกษตรก็อาจจะไม่รู้จัก หรือไม่คุ้นชิน ปุ๋ยหมัก คือ ปุ๋ยอินทรีย์ที่เกิดจากการหมักบ่มสารอินทรีย์ด้วยจุลินทรีย์ โดยจุลินทรีย์ทำหน้าที่ย่อยสลายวัตถุให้สลายตัว ทำให้ได้ปุ๋ยที่มีลักษณะสีดำคล้ำ เป็นผงละเอียด ซึ่งเหมาะกับการให้เป็นธาตุอาหารและนำไปปรับปรุงดิน
ปุ๋ยหมักเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นในช่วงปี ค.ศ.1931 โดยเริ่มมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงสูตรอยู่เรื่อยมา โดยช่วงก่อนปี ค.ศ.1931 ย้อนกลับไปปี ค.ศ.1920-1930 ทางประเทศในแถบทวีปยุโรปได้เริ่มมีการพัฒนาการใช้เครื่องจักรเข้ามาช่วยในการพัฒนาสูตรของปุ๋ยหมักให้สามารถทำได้ง่าย และลดความยุ่งยากในขั้นตอนการทำ อีกทั้งยังเป็นการลดการใช้แรงงานที่ไม่จำเป็นออก จึงทำให้มีความสะดวกมากขึ้น
นอกจากนำเครื่องจักรเข้ามาช่วยในการพัฒนาและลดระยะเวลาในการทำปุ๋ยหมักแล้วนั้น ยังมีการคิดค้นวิธีต่างๆ ออกมาอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นการหมักแบบใช้อากาศ การหมักแบบการพ่น และการระบายของเหลวออก จนกระทั่ง ปี ค.ศ.1942 ได้มีการคิดค้นวิธีการใช้ปุ๋ยหมักเพื่อการเพาะปลูกโดยเฉพาะเกิดขึ้นจวบจนปัจจุบัน การพัฒนาและต่อยอดการทำปุ๋ยหมักยังคงมีการต่อยอดทางความคิดอยู่เสมอ
การทําปุ๋ยหมัก แบบใช้ออกซิเจน
เป็นการทำปุ๋ยหมักแบบเลียนแบบธรรมชาติ โดยทำให้การย่อยสลายเกิดขึ้นช้าๆ แต่การทำปุ๋ยหมักแบบใช้ออกซิเจนสามารถควบคุมให้เกิดการย่อยสลายแบบรวดเร็วได้ โดยการควบคุมสภาวะแวดล้อมให้เหมาะสม ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการทำปุ๋ยหมักแบบใช้อากาศ คือ อุณหภูมิ ความชื้น อากาศ และวัตถุอินทรีย์
การทําปุ๋ยหมัก แบบไม่ใช้ออกซิเจน
การย่อยสลายแบบนี้จะทำการโดยถูกย่อยแบบไม่ใช้อากาศ คือ การสร้างกรด และ ใช้มีเทนเข้ามาเป็นตัวช่วยในการย่อย โดยการย่อยแบบนี้จะทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ และพลังงานความร้อน ในตัวปุ๋ยหมักเอง
โดยทั่วไปแล้วแล้วจุลินทรีย์ในปุ๋ยหมักจะมีอยู่หลากหลายชนิดรวมกัน และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
- อุณหภูมิปานกลาง
- อุณหภูมิสูง และ
- อุณหภูมิลดลง
โดยทั้ง 3 ระยะนี้ จะมีวิธีการให้ในการหมักที่แตกต่างกันออกไปตามระยะเวลาอุณหภูมิของ การทำปุ๋ยหมัก เพื่อให้เกิดความเหมาะสม
ชนิดของปุ๋ยหมัก
- ปุ๋ยหมักทั่วไป
ปุ๋ยหมักแบบทั่วไปนั้นเกิดจากการนำวัสดุอินทรีย์ที่มีอยู่ทั่วไปและหลากหลายชนิดที่มีตามธรรมชาติต่างๆ มาผ่านกระบวนการหมักแบบธรรมชาติ โดยไม่มีการเติมหัวเชื้อหรือสารปรับแต่งในปุ๋ยหมักใดๆ ทั้งสิ้น หรือเพื่อเร่งการหมัก ซึ่งวิธีนี้จะทำแบบกระบวนการทางธรรมชาติ โดยให้ปุ๋ยที่หมักนั้นเกิดการย่อยสลายอินทรียวัตถุจากจุลินทรีย์ การทำแบบนี้จะทำให้เกิดการปลดปล่อยธาตุอาหารต่างๆ ออกมาได้อย่างรวดเร็ว
- ปุ๋ยหมักชีวภาพ
ปุ๋ยหมักชีวภาพเกิดขึ้นจากการพัฒนาและกระบวนการทำที่ซับซ้อนแต่ไม่ยากมาก โดยมีการเติมหัวเชื้อใน การทําปุ๋ยหมัก เพื่อให้เกิดการเร่งปุ๋ยให้ทำกระบวนการปลดปล่อยธาตุอาหารได้เร็วขึ้น โดยมีหลากหลายชนิด เช่น ปุ๋ยหมักจากปุ๋ยคอด หรือปุ๋ยหมักจากพืช โดยทั้ง 2 วิธีนี้ก็มีวิธีการที่แตกต่างกันออกไป และการทำหรือส่วนผสมต่างๆ ก็แตกต่างกัน จะเหมือนกันตรงที่มีการใส่หัวเชื้อเพื่อเร่งกระบวนการทำให้เกิดการปลดปล่อยธาตุอาหาร
โดยทั่วไปแล้วปุ๋ยที่สามารถจะนำมาใช้ได้นั้นหลักการง่ายๆ เลย คือ สีของปุ๋ยจะมีสีน้ำตาลเข้มถึงดำ และอุณหภูมิทั่วไปจะมีความร้อนใกล้เคียงกัน โดยที่หากลองใช้นิ้วในการบี้ปุ๋ยที่เป็นก้อนๆ จะเกิดการย่อยและละเอียดได้ง่ายขึ้น และสิ่งสำคัญเลยกลิ่นของปุ๋ยจะแรง และมีกลิ่นที่ฉุน ทั้งหมดนี้คือตัวบ่งชี้ว่าปุ๋ยที่ทำการหมักไว้นั้นสามารถนำไปใช้ในการบำรุงและดูแลพืชผักได้แล้ว
ประโยชน์ของปุ๋ยหมัก
ปุ๋ยหมักนั้นมีคุณค่าทางอาหารและการบำรุงสำหรับดินและพืชผักเป็นอย่างมาก เพราะการนำปุ๋ยหมักมาใช้นั้นเพื่อเป็นการช่วยให้พืชผักมีผลผลิตที่อุดมสมบูรณ์ แข็งแรง อีกทั้งยังช่วยให้เกิดการย่อยสลายพืชในดินเพื่อดึงธาตุอาหารมาใช้ได้เร็วขึ้น อีกทั้งยังช่วยปรับสภาพดินให้มีความเป็นกลาง และมีธาตุอาหารที่ครบสมบูรณ์มากขึ้น ทำให้ดินนั้นมีความชุ่มชื้น และช่วยให้พืชผักดูดซึมสารอาหารได้ง่ายและเร็วขึ้น
ปุ๋ยเป็นธาตุอาหารที่สำคัญสำหรับพืชผักสวนครัว รวมไปถึงผลไม้แทบทุกชนิด ที่เกษตรกรต้องใช้เพื่อให้ผลผลิตนั้นมีความเจริญงอกงาม ได้เนื้อที่แน่นสวย พร้อมจำหน่ายแก่ผู้บริโภคทั่วไป ในการทำเกษตรอินทรีย์เองเราก็ต้องใช้ปุ๋ยในการทำ การใช้ปุ๋ยนั้นต้องเป็นปุ๋ยที่มาจากแหล่งผลิตตามธรรมชาติเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยคอก ปุ๋ยขี้ไก่ ปุ๋ยขี้หมู หรือแม้แต่ปุ๋ยหมักจากเศษใบไม้ หญ้าแห้ง เศษพืชผัก ผลไม้ และปุ๋ยหมักจากเศษหอยเชอรี่ ล้วนแล้วแต่มีความจำเป็นในการใช้สอยสำหรับภาคการเกษตรทั้งสิ้น
การทำปุ๋ยหมักแบบแห้ง หรือเป็นน้ำหมักชีวภาพนั้น ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ ไม่ใช่แต่ในภาคการเกษตร แต่ภายในครัวเรือนทั่วไป การทําปุ๋ยหมัก ชีวภาพ หรือน้ำหมักชีวภาพ ก็สามารถนำมาใช้ในครัวเรือนได้เช่นกัน จะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยหมักแบบใด การทำมาจากวัสดุตามธรรมชาติ ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ทั้งสิ้น
อีกทั้งยังไม่ส่งผลเสียต่อตัวผู้ใช้และพืชที่ได้รับ การใช้ประโยชน์จากสิ่งรอบตัว หรือเศษอาหาร พืช ผัก ผลไม้ ที่บางคนมองว่ามันไร้ค่า แต่สำหรับคนที่ทำน้ำหมักชีวภาพ หรือปุ๋ยหมักชีวภาพนั้น สิ่งเหล่านี้จำเป็นอย่างมากในการนำมาแปรรูปเป็นสารอาหารให้พืชผักได้เจริญเติบโตและงอกงาม เป็นแหล่งอาหารชั้นดีของพืชผักทางการเกษตรอย่างแท้จริง
หลายคนจะมองว่าน้ำหมักชีวภาพหรือปุ๋ยหมักชีวภาพนั้นเหม็น ไม่น่าสนใจ แต่สำหรับบทความนี้อยากให้ลองมองมุมกลับว่าการทำเกษตรอินทรีย์ที่ปลอดสารพิษมันจะส่งผลดีต่อตัวเกษตรกร และผู้บริโภคทั่วไป อย่างไร แต่อย่างไรก็ดีในยุคที่ดิจิตอลมีการพัฒนาเข้ามามีบทบาทในชีวิตมากขึ้น
ทำให้หลายๆ คนเริ่มหันมาสนใจในการทำน้ำหมักชีวภาพ และปุ๋ยหมักชีวภาพ กันมากขึ้น เพราะสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา การรักษาสุขภาพ การตรวจสอบคุณภาพ ก็ทำได้ง่าย หลายๆ คนจึงหันมาสนใจทฤษฎีเกษตรปลอดสารพิษกันมากขึ้น บทความในครั้งนี้น่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับผู้ที่สนใจในการริเริ่มจะทำน้ำหมักชีวภาพ และปุ๋ยหมักชีวภาพ ไว้ลองใช้เอง ก็อยากให้ลองอ่านดู เป็นเกร็ดความรู้เบื้องต้น
แหล่งข้อมูลอ้างอิง และ รูปภาพในการใช้ประกอบบทความ
https://sites.google.com/site/karchipuychiwiphaph/home
https://puechkaset.com/%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B9%8B%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%81/