การปลูกกล้วยเล็บมือนาง
“กล้วย” เป็นผลไม้ที่ให้พลังงานสูง ในกล้วย 1 ผล มีโปรตีนมากกว่าแอปเปิ้ล 4 เท่า มีวิตามินและเกลือแร่ เช่น วิตามินเอ วิตามินซี โพแทสเซียม แมกนีเซียม และยังมีเส้นใยอาหารช่วยในเรื่องการขับถ่ายได้เป็นอย่างดี
คนไทยโบราณนิยมขูดเนื้อกล้วยบดละเอียดป้อนให้เด็กทารกกิน เพราะกล้วยเป็นผลไม้ที่ย่อยง่าย ส่วนคนหนุ่ม-สาวที่กินกล้วย ก็เหมาะเป็นอาหารลดน้ำหนัก เพราะมีคุณค่าทางอาหารสูงพอๆ กับมันฝรั่ง แต่มีไขมันและคลอเลสเตอรอลต่ำ กล้วยจึงเป็นผลไม้มากคุณค่าที่น่าซื้อหาติดบ้านไว้กินรองท้องเวลาหิวได้เป็นอย่างดี ถ้าผ่านมา จ.ชุมพร ก็คงจะนึกถึงกล้วยชนิดไหนไปไม่ได้
นอกจาก “กล้วยเล็บมือนาง” เพราะตามตลาดข้างทางของถนนสายใต้เต็มไปด้วยกล้วยเล็บมือนางแทบทุกร้าน ทั้งกล้วยดิบ กล้วยสุก และแบบแปรรูป มีให้เลือกซื้อกลับมาเป็นของฝากมากมาย
กล้วยเล็บมือนางแม้ตลาดจะแคบกว่ากล้วยไข่ และรู้จักกันเฉพาะในกลุ่มคนภาคใต้เป็นส่วนใหญ่ แต่ถ้าพูดถึงรสชาติต่างก็เป็นที่ยอมรับว่ากล้วยเล็บมือนางของชุมพรรสชาติดีที่สุด เปรียบเทียบได้กับกล้วยหอมขนาดย่อม เพราะทั้งสี กลิ่น และรสชาติ คล้ายกล้วยหอม แต่กล้วยเล็บมือนางมีขนาดเล็กกว่า ทำให้รู้สึกว่าน่ารับประทาน กล้วยเล็บมือนางยังสามารถนำมาแปรรูปได้หลากหลาย ทั้งผลดิบ และผลสุก เป็นที่ถูกปากแก่ผู้บริโภค ทั้งในเรื่องรสชาติ และมีคุณค่าทางอาหารอีกมากมาย
การแปรรูปกล้วยเล็บมือนาง
สมัยก่อนการแปรรูปกล้วยเล็บมือนางชาวบ้านจะนำกล้วยมาตากแดด ซึ่งตรงนี้จะได้รับสิ่งสกปรกเป็นจำนวนมาก แต่ปัจจุบันจะมีการนำเอาตู้อบไฟฟ้า หรือตู้อบแก๊ส มาใช้เป็นจำนวนมาก ซึ่งในจังหวัดชุมพรจะมีกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรที่ทำกล้วยเล็บมือนางอบเป็นจำนวนมาก เพื่อช่วยแก้ปัญหาราคาตกต่ำของกล้วยเล็บมือนาง และเป็นการช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่สมาชิกในกลุ่ม
ซึ่งกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านนาโพธิ์สามัคคี ก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่มีการผลิตกล้วยเล็บมือนางแปรรูปอบแห้ง โดยใช้ชื่อผลิตภัณฑ์แปรรูปนี้ว่า “กล้วยเล็บมือนางอบนพเก้า” โดยมี คุณนิยม เหล่าสุข เป็นประธานกลุ่ม
คุณนิยมเล่าให้ฟังว่า กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านนาโพธิ์เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2537 โดยพี่สาวเป็นผู้เริ่มก่อตั้ง และเมื่อปี พ.ศ.2538 คุณนิยมก็ได้เข้ามารับช่วงแทน “เมื่อก่อนเป็นครูสอนนักเรียน แต่เพราะแม่ไม่สบายเลยต้องลาออกจากครู เพราะจ้างคนมาดูแลแม่ ค่าใช้จ่ายแพง พอดีได้มีโอกาสมาทำกล้วยเล็บมือนางแปรรูป ก็เลยได้มาตั้งกลุ่ม มีหุ้นประมาณ 20 กว่าคน แต่ปัจจุบันมีสมาชิก 59 คน แล้ว”
ในจังหวัดชุมพรเป็นแหล่งที่ปลูกกล้วยเล็บมือนางแล้วมีรสชาติหวาน หอม และอร่อย กว่าที่อื่น เนื่องจากสภาพพื้นที่ สภาพภูมิอากาศ เหมาะสม เกษตรกรในจังหวัดชุมพรจึงนิยมปลูกกันเป็นจำนวนมาก จึงมีการคิดทำกล้วยเล็บมือนางแปรรูปขึ้นมาเพื่อส่งเสริมให้แม่บ้านเกษตรกรมีรายได้
และยังทำให้กล้วยเล็บมือนางเป็นของขึ้นชื่อในจังหวัดชุมพรอีกด้วย ซึ่งในกลุ่มของคุณนิยมจะมีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ อย่างต่อเนื่องตลอดมา เหมาะที่จะเป็นของฝาก และของกินเล่น
ช่องทางการจำหน่ายกล้วยเล็บมือนาง
ผลิตภัณฑ์แปรรูป จะมีทั้งกล้วยเล็บมือนางทอดกรอบ กล้วยอบน้ำผึ้ง กล้วยอบช็อคโกแลต และกล้วยเล็บมือนางเป็นหวีจำหน่าย จะมีพ่อค้า แม่ค้า มารับซื้อถึงที่ และส่งไปขายทั่วประเทศ อาทิเช่น วังศุโขทัย สนามบินภูเก็ต สวนนายดำ ทางแถบภาคกลาง และภาคอีสาน เป็นต้น ตรงนี้จะเป็นกล้วยเล็บมือนางแปรรูป
ส่วนกล้วยดิบจะส่งห้างเดอะมอลล์ทุกสาขา ในน้ำหนัก 7 ขีดขึ้นไป แต่ไม่เกิน 1 กิโลกรัม ต่อหวี เพราะหวีจะใหญ่เกินไป ส่วนหวีที่เหลือจากส่งให้ห้างก็นำมาแปรรูป
ช่วงแรกที่ทำตลาดมีการช่วยเหลือจากสำนักงานพาณิชย์จังหวัดชุมพร หาแหล่งออกบูธตามงานต่างๆ ให้ โดยที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น แต่นำผลิตภัณฑ์ไปวางจำหน่ายเพียงอย่างเดียว หลังจากที่นำสินค้าไปขายในหลายๆ พื้นที่ ก็มีออเดอร์สั่งซื้อเข้ามาเรื่อยๆ จากทั่วประเทศ ณ ตอนนี้สินค้าไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะเจอปัญหาน้ำท่วมในปี พ.ศ.2556 ที่ผ่านมา
ทางกลุ่มจะมีการรับซื้อกล้วยเล็บมือนางจากสมาชิกในราคากิโลกรัมละ 6 บาท โดยจะชั่งทั้งเครือ แต่จะไม่รับซื้อจากบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่สมาชิก เพราะต้องการให้สมาชิกในชุมชนที่เข้าร่วมกลุ่มปลูกกล้วยเล็บมือนางเพื่อเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด เพื่อเป็นการกระจายรายได้ให้แก่สมาชิกในชุมชน และนอกชุมชน
แต่บุคคลภายนอกที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดชุมพร และต้องการจำหน่ายกล้วยเล็บมือนาง ก็สามารถสมัครเป็นสมาชิกเข้ากลุ่มได้ เพราะผลผลิตยังไม่พอต่อความต้องการของผู้บริโภค ในแต่ละอาทิตย์ทางกลุ่มได้รับผลผลิตกล้วยเล็บมือนางประมาณ 4-5 ตัน ถ้าในช่วงที่มีผลผลิตมากๆ ก็ประมาณ 7-8 ตัน ซึ่งก็ยังไม่พอต่อความต้องการของตลาด
ขั้นตอนการแปรรูปกล้วยเล็บมือนาง
การแปรรูปกล้วยเล็บมือนาง มีทั้งกล้วยอบ และกล้วยทอด ซึ่งการทำแต่ละแบบต้องมีเทคนิคเฉพาะตัว หรือที่เรียกว่า “ของใครของมัน” เรียนรู้ ลองผิดลองถูกกันเอง แต่ก็จะมีเจ้าหน้าที่เกษตรมาบอกถึงวิธีและหลักการทำกล้วยเล็บมือนางแปรรูป แต่ก็ไม่เป็นผล เพราะกล้วยที่ออกมาจะดำ และแข็ง ไม่น่ารับประทาน ฉะนั้นทางกลุ่มต้องศึกษาเรียนรู้ในการแปรรูปเอง จนได้กล้วยเล็บมือนางแปรรูปที่อร่อย และมีคุณภาพ จนผู้บริโภคติดใจ
กล้วยเล็บมือนางทอด ต้องใช้กล้วยดิบที่ยังไม่สุก นำมาปอกเปลือก และล้าง หลังจากนั้นสไลด์เป็นแผ่นบางๆ แล้วนำไปทอดในกะทะ พอกล้วยเหลืองได้ที่ก็นำมาคลุกในน้ำที่ผสมไว้ คือ น้ำหวานกับน้ำเค็ม (น้ำหวาน คือ น้ำตาลผสมกับเนย เคี่ยวให้เข้ากัน น้ำเค็ม คือ เกลือผสมกับเนย เคี่ยวให้เข้ากัน) จากนั้นนำไปอบในเตาอบอีกทีประมาณ 50 ชั่วโมง และนำไปแพ็คเพื่อส่งจำหน่าย
กล้วยเล็บมือนางอบ ต้องใช้กล้วยสุกงอม นำมาปอกเปลือกลอกเส้นใยให้หมด และล้างน้ำให้สะอาด นำกล้วยขึ้นมาให้สะเด็ดน้ำ แล้วนำไปเข้าตู้อบประมาณ 12 ชั่วโมง โดยไม่ต้องเรียง หลังจากครบ 12 ชั่วโมง แล้วนำกล้วยมาพักไว้ครึ่งชั่วโมง แล้วนำมาเรียง อบใหม่อีกประมาณ 12 ชั่วโมง หลังจากนั้นพอกล้วยเริ่มแห้งนำมาเก็บใส่ถังพักไว้ให้เย็น กล้วยจะค่อยๆ มีสีน้ำตาลเข้มเป็นแวว เหนียวติดมือคล้ายน้ำตาลเชื่อม รสชาติหวานตามธรรมชาติ โดยไม่ต้องใส่น้ำตาล นำไปแพ็คเพื่อส่งจำหน่ายต่อไปได้
กล้วยเล็บมือนางแปรรูปทั้ง 2 แบบ สามารถเก็บได้ประมาณ 3 เดือน ทุกเพศ ทุกวัย สามารถรับประทานได้ เพราะที่กลุ่มจะปรับปรุงรสชาติให้เข้ากับทุกเพศ ทุกวัย ฉะนั้นการแปรรูปกล้วยเล็บมือนางอาจจะมีรสชาติที่มีลักษณะคล้ายกัน หรือต่างกันไป ขึ้นอยู่กับกรรมวิธีการผลิต หรือเทคนิคของแต่ละคน แต่ถึงอย่างไรกล้วยเล็บมือนางก็ยังมีความสำคัญต่อคนในพื้นที่จังหวัดชุมพร เพราะเป็นพืชเศรษฐกิจตัวหนึ่งที่สร้างรายได้ และเป็นที่ยอมรับในมุมกว้างของคนที่ผ่านไปผ่านมาในจังหวัดชุมพร
สายพันธุ์กล้วยเล็บมือนาง
สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่จะนิยมเริ่มปลูกตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคมของทุกปี
1.ดิน ในจังหวัดชุมพร เป็นลักษณะดินร่วนปนดินทราย มีความอุดมสมบูรณ์ มีอินทรียวัตถุ ที่เป็นธาตุอาหารที่สำคัญ และจำเป็นต่อกล้วยเล็บมือนางในชุมพร เช่น โพแทสเซียม และฟอสฟอรัส ทำให้ได้กล้วยเล็บมือนางในจังหวัดชุมพรที่มีคุณภาพ และทำให้ได้ผลผลิตที่ดี
2.อากาศ อุณหภูมิเหมาะสมกับการเจริญเติบโตประมาณ 25-30 องศาเซลเซียส และพื้นที่ที่ไม่มีลมแรง หรือเลือกพื้นที่ที่มีแนวกันลม การปลูกกล้วยเล็บมือนาง การปลูกกล้วยเล็บมือนาง การปลูกกล้วยเล็บมือนาง
3.ความชื้นในอากาศ มีความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยในอากาศทั้งปี 81% และมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีอยู่ในช่วง 1,500-2,300 มิลลิเมตรต่อปี การปลูกกล้วยเล็บมือนาง การปลูกกล้วยเล็บมือนาง การปลูกกล้วยเล็บมือนาง
สายพันธุ์ที่รู้จักกันจะมี 2 สายพันธุ์ คือ พันธุ์กาบดำ และพันธุ์กาบแดง จะมีลักษณะดังนี้
- กล้วยเล็บมือนางพันธุ์กาบดำ จะมีลักษณะเครือยาว มีลูกดก แต่ผลเล็กและยาว รสชาติหวาน หอม อร่อย
- กล้วยเล็บมือนางพันธุ์กาบแดง จะมีลักษณะเครือสั้น ลูกใหญ่ แต่ผลสั้น จำนวนลูกไม่ดก มีหวีน้อย ชาวสวนไม่ค่อยนิยมปลูก เพราะผลผลิตน้อย
สภาพพื้นที่ปลูกกล้วยเล็บมือนาง
กล้วยเล็บมือนางจะแปลกกว่ากล้วยชนิดอื่น เพราะกล้วยชนิดนี้ไม่ชอบแดดจัด จึงต้องปลูกแซมกับพืชชนิดอื่นเพื่ออาศัยร่มเงา จึงจะเจริญเติบโตได้ดี และให้ผลผลิตเต็มที่ วิธีปลูกสามารถทำได้ไม่ยาก ดังนี้
1.เตรียมพื้นที่ปลูก โดยกำจัดวัชพืช และทำให้ดินร่วน เพื่อให้กล้วยเล็บมือนางหาอาหารได้ดี
2.ขุดหลุมขนาดกว้างประมาณครึ่งเมตร ลึก 1 เมตร หรือตามความเหมาะสม โดยพิจารณาจากคุณภาพของดิน รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก (ขี้วัว หรือขี้ไก่)
3.นำหน่อกล้วยที่สมบูรณ์ ไม่มีโรคแมลงรบกวน ที่คัดเลือกไว้ให้หน่อมีความสูงไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร และตัดยอดให้เอียงประมาณ 45 องศา เพื่อป้องกันน้ำไหลลงยอด
4.เมื่อต้นกล้วยตั้งลำต้นประมาณ 15 วัน ต้องใส่ปุ๋ยคอก และควรใส่ปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอเดือนละ 1 ครั้ง
5.ควรรดน้ำกล้วยเล็บมือนางประมาณ 3 วัน/ครั้ง โดยใช้สปริงเกลอร์
การตัดแต่งหน่อและใบ
หลังจากกล้วยเล็บมือนางมีอายุประมาณ 6-8 เดือน จะมีหน่อกล้วยแตกออกมาประมาณ 4-5 หน่อ เพื่อไม่ให้มีหน่อมากเกินไป ควรทำลายหน่อโดยการดึงยอดออก จะทำให้กล้วยมีปริมาณหวีมาก และผลใหญ่ สมบูรณ์ หน่อที่ติดกับต้นแม่ไม่ควรตัดออก เพราะอาจทำให้ต้นล้ม หากจำเป็นต้องตัดออกต้องมีการค้ำลำต้น เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นล้ม
การตัดแต่งทางใบควรตัดใบกล้วยที่แห้งออก เพราะจะทำให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค ซึ่งจะเป็นผลต่อการเจริญเติบโตของกล้วยเล็บมือนางได้ การปลูกกล้วยเล็บมือนาง การปลูกกล้วยเล็บมือนาง การปลูกกล้วยเล็บมือนาง
การเก็บเกี่ยวผลผลิตกล้วยเล็บมือนาง
กล้วยเล็บมือนางจะออกปลีเมื่อปลูกไปประมาณ 7-8 เดือน และกาบปลีจะบานต่อไปเรื่อยๆ จนกระทั่งผลกล้วยที่อยู่บนหวีเริ่มสั้นลง และเล็กลง ซึ่งเรียกว่า “หวีตีนเต่า” ทำการมัดปลีทิ้ง เพื่อป้องกันการแย่งน้ำเลี้ยง และจะได้กล้วยผลใหญ่ สวย เมื่อกล้วยเริ่มแก่โดยใช้เวลาประมาณ 2 เดือน หลังจากเริ่มออกดอก
การเก็บเกี่ยวจะเก็บเกี่ยวที่ความแก่ของกล้วยประมาณ 80% คือ ในแต่ละหวีผลของกล้วยจะไม่ติดกัน และจะห่างออกจากกัน หากกล้วยใกล้สุก ดอกที่ปลายผลจะสั้นลง สีผิวจะเริ่มออกสีเขียวนวลปนเหลือง ส่วนของกล้วยเล็บมือนางจะเป็นสีน้ำตาลดำ ลูกมีลักษณะของการลบเหลี่ยมจนถึงไม่มีเหลี่ยมเลย แต่ถ้ารับน้ำมากเปลือกจะแตก ลักษณะของปลีกล้วยในเครือ ในกรณีที่ไม่มีการตัดปลีทิ้งจะมีขนาดที่เล็กลง และแห้งไปในที่สุด
โดยการเก็บเกี่ยวจะใช้มือหนึ่งจับปลายเครือแล้วใช้มีดพันก้านเครือให้ขาดออก หลังจากตัดกล้วยแล้วควรหาวัสดุที่เหมาะสม เช่น ใบกล้วย หรือถุงกระสอบ มารองเพื่อไม่ให้ช้ำ และลดแรงกระแทก การตัดหวีกล้วยจะต้องให้ติดส่วนของก้านเครือด้วย เพื่อช่วยยืดอายุการเก็บรักษาหลังจากการเก็บเกี่ยว เมื่อตัดกล้วยออกจากเครือแล้วให้วางหวีของกล้วยคว่ำลง และรองด้วยวัสดุกันกระแทก
สรรพคุณของกล้วยเล็บมือนาง
กล้วยเล็บมือนางมีน้ำตาลธรรมชาติ 3 ชนิด คือ ซูโครส ฟรุกโตส และกลูโคส มีเส้นใยและกากอาหารช่วยเพิ่มพลังงานสำหรับการออกกำลังกาย ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง เพราะธาตุเหล็กสูง โรคความดันโลหิตสูง เพราะมีธาตุโปแตสเซียมสูง แต่มีปริมาณเกลือต่ำ และช่วยเสริมกำลังสมอง โรคท้องผูก
โรคซึมเศร้า เพราะมีโปรตีนชนิดที่เรียกว่า Try potophan เมื่อสารนี้เข้าไปในร่างกายจะถูกเปลี่ยนเป็น Serctonin ทำให้อารมณ์ดีขึ้น และมีความสุข ระบบประสาท เพราะกล้วยมีวิตามินบีสูงมาก โรคลำไส้เป็นแผล กล้วยมีสภาพเป็นกลาง ไม่มีกรด ยังไม่เคลือบผนังลำไส้และกระเพาะอาหารด้วย ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ควรรับประทานกล้วยทุกวัน เพื่อให้แน่ใจว่าทารกที่เกิดมาจะมีอุณหภูมิเย็น
ประโยชน์ของต้นกล้วยเล็บมือนาง
- ใบ ใช้ห่อขนม
- ต้นอ่อน ใช้ทำอาหาร เช่น แกงส้ม แกงเผ็ด
- ปลีกล้วย ต้มจิ้มน้ำพริก ยำ
- ผลอ่อน ใช้แกงส้ม แกงคั่ว แกงกะทิ แกงเผ็ด ต้มจิ้มน้ำพริก
- ผลแก่ ต้มจิ้มมะพร้าวกับน้ำตาล ชุบแป้งทอด ทำกล้วยฉาบ กล้วยอบเนย
- ผลสุก ใช้รับประทาน และสามารถแปรรูปเป็นกล้วยแช่อิ่ม ขนมกล้วย กล้วยอบ และกล้วยตากน้ำผึ้ง
- ต้น ใช้ทำเชือกกล้วย กระดาษใยกล้วย นำไปทำหัตถกรรมเชือก
สนใจติดต่อสอบถาม คุณนิยม เหล่าสุข 101 ม.4 ต.นาโพธิ์ อ.สวี จ.ชุมพร 86130 โทร.08-1137-2682, 08-5458-4118 การปลูกกล้วยเล็บมือนาง การปลูกกล้วยเล็บมือนาง การปลูกกล้วยเล็บมือนาง