การปลูกกาแฟ
“กาแฟ” เป็นเครื่องดื่มที่ทำจากเมล็ดซึ่งได้จาก “ต้นกาแฟ” หรือมักเรียกกันว่า “เมล็ดกาแฟคั่ว” กาแฟ มี การปลูกกาแฟ มากกว่า 70 ประเทศทั่วโลก ซึ่ง “ กาแฟเขียว ” (กาแฟซึ่งยังไม่ผ่านการคั่ว) เป็นหนึ่งในสินค้าทางการเกษตร ซึ่งมีการซื้อขายกันมากที่สุดในโลก “กาแฟ” มีส่วนประกอบของคาเฟอีน ทำให้ร่างกายตื่นตัวตลอดเวลา
“ข้าวแฟ” หรือ “กาแฟ” นั้นเริ่มเดินทางเข้ามาประเทศไทยเมื่อมาตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว แต่การดื่มนั้นเห็นจะไม่ค่อยนิยม เพราะรสชาติจะขม อาจจะคิดว่าเป็นยาเสียด้วยซ้ำว่าคนไทยจึงไม่ค่อยคุ้นกับกาแฟ เพราะเหตุนี้เข้าใจว่าคนไทยมารู้จักกาแฟกันอย่างแพร่หลายสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในปี พ.ศ.2367
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้มีการนำเมล็ดกาแฟมาทดลอง การปลูกกาแฟ ในพระบรมมหาราชวัง และแจกจ่ายให้เสนาบดีนำไปปลูกต่อๆ กันด้วย ถึงกับพระราชประสงค์ให้ทำสวนกาแฟขึ้น สวนกาแฟที่ว่านี้อยู่ในบริเวณวัดราชประดิษฐ์ฯ
การทำสวนกาแฟ และ การปลูกกาแฟ ในสมัยนั้นเป็นเครื่องวัดได้อย่างหนึ่งว่าในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นช่วงที่กาแฟแพร่หลายมากที่สุด ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ก็ยังปรากฏว่ามีการทำสวนกาแฟกัน ในประเทศไทยมี การปลูกกาแฟ อาราบิก้าเมื่อปี พ.ศ.2393 โดยครั้งแรกไปปลูกไว้ที่จังหวัดจันทบุรี ซึ่งต่อมามีชื่อเรียกกันว่า “กาแฟจันทรบูร”
สายพันธุ์เมล็ดกาแฟ
ต่อมาในปี พ.ศ.2500 กรมกสิกรรมได้สั่งเมล็ดกาแฟอาราบิก้าจำนวน 4 พันธุ์ คือ
- มุนดูนูวู (Mundo Novo)
- เบอร์บอง (Bourbon)
- แคทูร่า (Catura) และ
- ทิปปิก้า (Typica)
จากประเทศบราซิล มาปลูกทดลองที่สถานีทดลองพืชไร่แม่โจ้ สถานีทดลองพืชสวนฝางจังหวัดเชียงใหม่ และสถานีทดลองพืชสวนดอยมูเซอ จังหวัดตาก
แต่ต้นกาแฟส่วนใหญ่ไม่สามารถต้านทานต่อโรคราสนิทได้ จึงโทรมและตาย ต่อมาในปี พ.ศ.2518 โครงการหลวงพัฒนาชาวเขาได้มีโครงการทำการวิจัยกาแฟอาราบิก้าเพื่อทดแทนการปลูกฝิ่นของชาวไทยภูเขาในภาคเหนือ โดยทางโครงการหลวงได้สั่งพันธุ์กาแฟอาราบิก้าลูกผสมที่ได้รับการปรับปรุงให้สามารถทนทานต่อโรคราสนิทได้
โดยได้รับความร่วมมือจากกองโรคพืชและชีววิทยากับสถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร ดำเนินการคัดเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่บนที่สูงทางภาคเหนือของประเทศไทย ประกอบกับมีการจัดตั้งโครงการปลูกพืชทดแทนและพัฒนาเศรษฐกิจของชาวไทยภูเขา เป็นโครงการร่วมระหว่างไทยและสหประชาชาติ เพื่อทดแทนการปลูกฝิ่น
“ผลกาแฟ” ซึ่งบรรจุเมล็ดกาแฟ เป็นผลผลิตจากไม้พุ่ม ไม่ผลัดใบ ขนาดเล็ก โดยสายพันธุ์ที่มีการปลูกโดยทั่วไปมากที่สุด ได้แก่ Coffea arabica และกาแฟ “โรบัสต้า” ที่ได้จากชนิด Coffea canephora ซึ่งมีรสเข้มกว่า สายพันธุ์ดังกล่าวมีความทนทานต่อ โรคราสนิมใบกาแฟ (Hemileia vastatrix) ซึ่งสร้างความเสียหายแก่ต้นกาแฟ
สายพันธุ์กาแฟทั้งคู่มีการปลูกในละตินอเมริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทวีปแอฟริกา เมื่อสุกแล้วผลดังกล่าวจะถูกเก็บรวบรวมนำไปผ่านกรรมวิธีและทำให้แห้ง หลังจากนั้นเมล็ดจะถูกคั่ว กลายเป็น กาแฟคั่วบด ในอุณหภูมิที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับรสชาติที่ต้องการ และจะถูกบดและบ่มเพื่อผลิตกาแฟ
การจัดตั้งสหกรณ์ผู้ปลูกกาแฟจังหวัดชุมพร
นอกจากพื้นที่ การปลูกกาแฟ ในภาคเหนือแล้ว ในปัจจุบันมี การปลูกกาแฟ หลายจังหวัดเช่น อ.ท่าแซะ จังหวัดชุมพร แหล่งปลูกกาแฟ “โรบัสต้า” มากที่สุดในประเทศไทย กินสัดส่วนมากถึง 70% ด้วยสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของต้นกาแฟ
จนกระทั่งเมื่อปี 2537-2538 ผลผลิตกาแฟในจังหวัดชุมพรมีราคาตกต่ำ จึงเกิดการรวมตัวของเกษตรกรเรียกร้องเรื่องราคาผลผลิต โดยมีตัวแทนเสนอให้มีการจัดตั้งสหกรณ์ขึ้นเพื่อรวบรวมผลผลิต และให้เกษตรกรสามารถตั้งราคาขายผลผลิตเองได้ จนกระทั่งเมื่อปี 2540ได้มีการจัดตั้งสหกรณ์ขึ้น
โดยใช้ชื่อว่า “สหกรณ์ผู้ปลูกกาแฟจังหวัดชุมพร” จนทะเบียนพื้นที่ทั้งจังหวัดชุมพร เพื่อรับรวบรวมผลผลิตกาแฟ “โรบัสต้า”โดยมี คุณนัด ดวงใส เป็นประธานสหกรณ์ ควบคู่กับการเป็นรองประธานองค์กร “ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย”
โดยใช้สถานที่ศาลาวัดบ้างในการประชุมพูดคุยเรื่องปัญหากาแฟตลอดมา และเช่าสถานที่ในการรวบรวมผลผลิตกาแฟจากสมาชิกเพื่อส่งขายต่อ จนกระทั่งสหกรณ์เริ่มมีทุนหมุนเวียน จึงซื้อที่ดินที่ อ.ท่าแซะ สร้างเป็นสำนักงานสหกรณ์ผู้ปลูกกาแฟจังหวัดชุมพร โดยมีโครงสร้างให้สามารถเป็นสถานที่รวบรวมผลผลิตของเกษตรกรได้ด้วย
รายได้จากผลผลิตกาแฟ
ปัจจุบันสหกรณ์ผู้ปลูกกาแฟจังหวัดชุมพรถือว่าเป็นแหล่งรวบรวมผลผลิตกาแฟ ติด 1 ใน 5 ของประเทศ เพราะใน 1 ปี สหกรณ์จะมีผลผลิตกาแฟในมือประมาณ 20,000 กว่าตัน จากผลผลิตของสมาชิกเป็นหลัก และมีการรับซื้อข้างนอกบ้างบางส่วน แต่คุณนัดยอมรับว่าในปัจจุบันเกษตรกรปลูกกาแฟลดลงไปมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้
เนื่องจากปัญหาเรื่องของแรงงานในการเก็บกาแฟที่หาค่อนข้างยาก ทำให้เกษตรกรหันไปปลูกไม้ผลชนิดอื่นๆ แทน อีกทั้งการปลูกพืชชนิดอื่นมีราคาสูงกว่าค่อนข้างมาก โดยเฉพาะทุเรียน ทำให้พื้นที่สวนกาแฟหายไปค่อนข้างเยอะ จาก ปกติ อ.ท่าแซะ จะให้ผลผลิตกาแฟโรบัสต้ามากถึง 30,000 ตัน เมื่อเทียบกับปัจจุบันลดลงค่อนข้างมาก ทั้งๆ ที่มีการปริโภคในประเทศมากถึง 80,000 ตันต่อปี ทำให้ต้องมีการนำเข้ากาแฟจากเมืองนอกเป็นจำนวนมาก
ในปัจจุบันสหกรณ์มีสมาชิกเกษตรกรชาวสวนกาแฟอยู่ประมาณ 800 ราย กินพื้นที่ทั่วทั้งจังหวัดชุมพร ซึ่งข้อดีของการเป็นสมาชิกสหกรณ์ผู้ปลูกกาแฟชุมพร หากถือหุ้น 1,000 บาท จะสามารถกู้เงินสหกรณ์ได้ 10,000 บาท ทันที
ทำให้ปัจจุบันสหกรณ์มีสมาชิกค่อนข้างมาก อีกทั้งยังปล่อยสินเชื่อปุ๋ย-ยา-เคมีเกษตร อีกด้วย ซึ่งในแต่ละปีสหกรณ์จะต้องปล่อยเครดิตเคมีเกษตรให้สมาชิกร่วม 30 กว่าล้านบาททีเดียว
การแปรรูปกาแฟ
นอกจากสหกรณ์จะรวบรวมผลผลิตเพื่อส่งขายให้กับโรงงานแปรรูปแล้ว ยังรวมกลุ่มแปรรูปกาแฟเองภายในสหกรณ์อีกด้วย โดยเริ่มจากที่คณะกรรมการมองเห็นว่าในเมื่อสมาชิกเป็นผู้ปลูกกาแฟ แล้วเราก็เป็นคนที่ทานกาแฟอยู่แล้ว จึงมีความคิดว่าจะทำอย่างไรให้เราสามารถกินกาแฟของตนเองได้
จนกระทั่งสรุปกันในที่ประชุมว่าจะทดลองแปรรูปกาแฟเอง โดยเริ่มต้นจากการทำน้ำกาแฟบรรจุขวด เมื่อดำเนินงานมาได้ประมาณ 4 ปี จึงหยุดทำ เนื่องจากขาดทุน เพราะน้ำกาแฟเสีย รวมทั้งระบบการขนส่งที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
จากนั้นจึงทดลองทำ กาแฟคั่วบด ส่งให้กับโรงงานแทน เนื่องจากความเสี่ยงน้อย สามารถเก็บได้ค่อนข้างนาน โดยมีการตั้งแบรนด์เป็นของตัวเอง โดยใช้ชื่อว่า “กาแฟชุมพร” ซึ่งเป็นกาแฟโรบัสต้าแท้ 100% อีกทั้งยังได้เปิดร้านกาแฟเป็นของสหกรณ์เองอีกด้วย
ซึ่งคุณนัดยังกล่าวอีกว่าร้านกาแฟเราจะไม่มีการขยาย เนื่องจากการควบคุมพนักงานเป็นเรื่องที่ทำได้ค่อนข้างยาก เพื่อป้องกันรสชาติที่แตกต่างกัน ทางสหกรณ์จึงเปิดร้านกาแฟเพียงที่เดียว คือ ที่สหกรณ์ผู้ปลูกกาแฟจังหวัดชุมพร เท่านั้น
การจำหน่ายผลผลิตกาแฟ กาแฟเขียว และ กาแฟคั่วบด
คุณนัดยอมรับว่ากาแฟโรบัสต้าจะมีจุดเด่นตรงที่มีความหอมมาก ไม่มีสารคาเฟอีน จึงทำให้กลุ่มคนชั้นแรงงานชื่นชอบเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น กาแฟกระป๋อง เป็นต้น แต่หากเป็นกาแฟสด จะเป็นกาแฟที่มีส่วนผสมทั้งโรบัสต้า และอาราบิก้า เป็นส่วนใหญ่
รวมถึงการเปิดร้านกาแฟของสหกรณ์ ซึ่งในแต่ละปีสหกรณ์จะมีการสต๊อกกาแฟ ทั้ง กาแฟเขียว กาแฟคั่วบด และเมล็ดกาแฟ เก็บไว้เพื่อใช้ในการแปรรูปประมาณ 200 ตัน ในแต่ละปี ปัจจุบันสหกรณ์ผู้ปลูกกาแฟจังหวัดชุมพรมีรายได้จากการขาย กาแฟคั่วบด และเมล็ดกาแฟ ให้กับบริษัทผลิตกาแฟเป็นหลัก โดยจะมีการทำสัญญาล่วงหน้าในการรับซื้อผลผลิต กาแฟคั่วบด
ขอขอบคุณข้อมูล คุณนัด ดวงใส ประธานสหกรณ์ผู้ปลูกกาแฟจังหวัดชุมพร, รองประธานองค์กร “ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย” 274 หมู่ 9 ตำบลท่าแซะ อำเภอท่าแซะ 86140โทร.077-599-683