“ลำไย” เป็นผลไม้เศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งของประเทศไทย ที่มีการส่งออกอยู่ในอันดับต้นๆ ของประเทศไทย ตลอดระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะการส่งออกไปยังกลุ่มลูกค้าในประเทศจีน ที่มักจะมีความเชื่อว่าลำไยนั้นเป็นผลไม้มงคลอีกชนิดหนึ่ง การปลูกลําไยอินทรีย์
การปลูกลําไยอินทรีย์
ในการบริหารจัดการสวนลำไย หรือการดูแลรักษา ตลอดจนการควบคุมผลผลิตให้มีคุณภาพ และยังรวมไปถึงกระบวนการในการเก็บผลผลิต การเก็บรักษา การเพิ่มมูลค่า ด้วยการแปรรูปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีระบบ
นิตยสารพลังเกษตร ได้รับเกียรติจาก คุณวิเชษฐ์ อัศวกิจเจริญกุล เกษตรกรชาวสวน อำเภอภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ จากเดิมที่เคยเป็นเจ้าของไร่อ้อยมีผลผลิตมากถึง 100 กว่าตันต่อปี แต่เพราะปัญหาด้านแรงงาน และค่าใช้จ่าย ที่เพิ่มสูงขึ้น จึงหันไปประกอบอาชีพเปิดร้านโชห่วย โดยใช้ชื่อร้านว่า พ.เจริญพาณิชย์ และก็เป็นยี่ปั๊วให้กับร้านค้าปลีกในอำเภอภักดีชุมพล ควบคู่กับการประกอบอาชีพเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง แต่สุดท้ายก็ไม่วายที่จะต้องเลิกกิจการ เพราะพิษเศรษฐกิจของประเทศไทยเราที่ตกต่ำ ในช่วงระหว่างปี พ.ศ.2539-2541 ถือได้ว่าเป็นช่วงที่เศรษฐกิจของประเทศไทยตกต่ำที่สุดเลยก็ว่าได้
จุดเริ่มต้นอาชีพเกษตรกรชาวสวนลำไย
นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณวิเชษฐ์พลิกผันชีวิตของตัวเองครั้งยิ่งใหญ่ โดยการใช้ทุนความรู้เดิมที่มีอยู่ นั่นคือ อาชีพทำการเกษตร และเงินที่เก็บเอาไว้บางส่วนตัดสินใจหาเช่าที่ดินเพื่อที่จะทำสวนผลไม้ ปลูกผักสวนครัว ขายตามตลาด จนกระทั่งมาเจออยู่ที่หนึ่ง นั่นก็คือ ที่ดินที่ใช้ทำกินอยู่ในปัจจุบันนี้ ตอนแรกก็กะว่าจะเช่า แต่ว่ามาคุยกับเจ้าของที่ดินแล้วเขาบอกว่าไม่ปล่อยให้เช่า แต่จะขายทั้งผืนเลย และจะขายให้ในราคาถูกในราคา 200,000 กว่าบาท พื้นที่ทั้งหมด 50 ไร่ เมื่อได้ที่ดินมาแล้วจึงได้ตัดสินใจปลูกลำไยเป็นหลัก และไม้ผลอื่นๆ แซมบ้างเล็กน้อย ปลูกผักสวนครัวขายตามตลาดบ้าง ที่เหลือก็เก็บไว้กินในครัวเรือน
สายพันธุ์ลำไย
ลำไยที่ปลูกในสวนมีทั้งหมด 2 สายพันธุ์ คือ พันธุ์อีดอ และพันธุ์พวงทอง เป็นชื่อที่เรียกกันในภาษาชาวบ้าน แต่ชื่อที่เป็นลิขสิทธิ์จริงๆ ก็คือ พันธุ์เพชรเวียงพิง ได้มาจากศูนย์รวบรวมและขยายพันธุ์ลำไย เป็นพันธุ์ที่ผสมผสานกันระหว่างพันธุ์ดอหลวงกับพันธุ์สีชมพู
มีลักษณะประจำพันธุ์ คือ ใบใหญ่ ใบยาว มีน้ำหนักดีกว่าพันธุ์อีดอ ใช้ระยะเวลาการดูแล 7-8 เดือน ถึงจะได้เก็บผลผลิต ซึ่งสวนแห่งนี้แบ่งเป็นลำไยพันธุ์อีดอ 100 กว่าต้น และพันธุ์พวงทอง 300 กว่าต้น
การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ให้ต้นลำไย
ลำไยเป็นพืชที่ชอบน้ำมาก แต่ไม่ชอบน้ำขัง จึงต้องมีการให้ความชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา จากการที่อยู่กับลำไยมา 10 กว่าปี จนทำให้รู้ว่าช่วงไหนควรให้อะไร อย่างปุ๋ยก็เหมือนกัน คุณวิเชษฐ์เลือกที่จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้มาจากขี้ไก่ “ตรา ดีดีดี” ของ บริษัท ซิมสุลาลัย จำกัด บริหารงานโดย คุณชลาลัย แซ่อึ้ง หรือที่หลายคนรู้จักกันในนาม “เจ๊ซิม”
ใช้ราดบริเวณโคนต้น และช่วงนั้นต้องมีการตัดแต่งกิ่งให้เรียบร้อย และที่สำคัญ คือ ต้องให้มีความชื้นสม่ำเสมอ อัตราการใช้ก็คือ 7 กิโลกรัมต่อต้น ผสมกับเฟอร์ไลท์ 4 กิโลกรัม ให้น้ำ 2-3 ระยะ จนกว่าจะแตกยอดใหม่ ยิ่งแตกยอดมากเท่าไร ผลผลิตก็จะมากเท่านั้น
ถ้าอยากได้ผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ ต้องมีการบำรุง และมีการดูแลที่ดี ทั้งเรื่องน้ำ เรื่องปุ๋ย เรื่องฮอร์โมน และต้องสังเกตถึงความผิดปกติ หรือแม้กระทั่งการเข้าทำลายของโรคและแมลงศัตรูพืชด้วย เพราะในสวนนี้จะมีการราดสาร และการใช้สารเคมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เป็นการทำเกษตรแบบผสมผสาน ฮอร์โมนที่ใช้ก็เป็นฮอร์โมนไข่แบบเข้มข้น และในช่วงที่กำลังติดดอก ออกผล
ทางสวนของคุณวิเชษฐ์จะเน้นใช้น้ำหมักชีวภาพ ฮอร์โมนไข่ และปุ๋ยขี้ไก่ ตราดีดีดี เป็นหลัก ในการปรับปรุงและบำรุงผลผลิตในสวนให้มีคุณภาพ สาเหตุที่เลือกใช้ผลิตภัณฑ์จาก บริษัท ซิมสุลาลัย จำกัด คือ จำหน่ายในราคาถูก และยังทำให้ลดต้นทุนจากการซื้อสารเคมี ทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ประหยัดค่าใช้จ่าย ผลผลิตเป็นที่ต้องการของตลาด นั่นจึงเป็นสาเหตุที่เลือกใช้ปุ๋ย ตราดีดีดี และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของเจ๊ซิม มาโดยตลอด ตั้งแต่เริ่มทำสวนมาจนถึงทุกวันนี้
การตัดแต่งกิ่งต้นลำไย
เมื่อต้นลำไยมีอายุครบ 3 ปีขึ้นไป ต้นลำไยจะมีความสมบูรณ์เต็มที่ และพร้อมที่จะให้ผลผลิตได้ และจะเริ่มมีการไว้ลูกเพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละต้น โดยการสังเกตจากใบของลำไยเป็นหลัก หากมีใบที่ใหญ่ ใบมันจนดำ แสดงว่าลำไยมีการสะสมอาหารแล้ว พร้อมที่จะให้ผลผลิต ก็จะเริ่มมีการ “ตัดแต่งกิ่ง” ต้นลำไยให้มีการแตกใบใหม่ จะไม่เน้นตัดหมดในทีเดียว แต่จะมีการทยอยตัดเป็นระยะ ทั้งหมด 3 รอบ ห่างกันประมาณ 40-45 วัน ใช้ระยะเวลานานกว่า 4 เดือน
การให้น้ำต้นลำไย
ส่วนเรื่องของการให้น้ำนั้น คุณวิเชษฐ์ยืนยันว่าต้องหมั่นดูแล และสังเกตเรื่องการให้น้ำ อย่าให้มากจนเกินไป และอย่าให้น้อยจนเกินไป เพราะช่วงจากช่อดอกจะกลายเป็นใบอ่อนนั้น ต้องมีการให้น้ำที่พอดี ต้องสังเกตที่ดินเป็นหลัก หากพื้นดินแห้งควรมีการให้น้ำพอชุ่ม แต่ถ้าดินมีความชื้นอยู่แล้ว เราไม่ต้องให้น้ำอีก เมื่อดอกบานจะต้องมีการให้น้ำมากกว่าเดิม
แต่ก็ไม่ควรให้มากจนเกินไป “การให้น้ำนั้นไม่จำเป็นต้องให้กี่ชั่วโมง เพราะแต่ละแปลง หรือแต่ละสวน มันให้น้ำไม่เหมือนกัน บ้างใช้สปริงเกลอร์ บ้างใช้สายยางรด หรือตักน้ำราด”
การป้องกันกำจัดโรคและแมลง
ปัจจัยเสี่ยงและปัญหาที่เกิดกับชาวสวนส่วนมากแล้ว คือ สภาพอากาศที่ไม่สามารถคาดเดาได้เลย และอีกอย่างก็คือ เรื่องของโรค และแมลง ที่เข้ามารบกวน บางพื้นที่อาจมีสัตว์กินพืชเข้ามารบกวน อย่างเช่น สวนของคุณวิเชษฐ์ ในเรื่องของโรคและแมลงอาจจะมีบ้างเล็กน้อย
แต่ก็ยังไม่เท่ากับการที่โดนฝูงค้างคาวเข้ารุมกัดกินผลผลิตลำไยจนเสียหายไปบางส่วน แต่นั่นก็ไม่ทำให้คุณวิเชษฐ์หยุด หรือเลิก ทำสวนลำไยแต่อย่างใด
การจำหน่ายผลผลิตลำไย และผลไม้อื่นๆ
ในความโชคร้ายแต่ก็ไม่ร้ายไปเสียทั้งหมด มันก็ยังมีสิ่งดีๆ แฝงอยู่ นั่นก็คือ ผลผลิตบางส่วนก็ไม่ถูกทำลายไปจนหมด ยังมีเหลือให้คุณวิเชษฐ์ได้เก็บออกจำหน่ายสู่ท้องตลาดได้ ให้ได้เป็นทุนทรัพย์ในการบริหารจัดการในสวนเพื่อดูแลลำไยในรุ่นต่อไปได้ ในการทำสวนลำไย หรือสวนผลไม้ มันก็อาจจะมีปัญหาบ้าง แต่ก็หาวิธีการป้องกันและแก้ไขเพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิตที่มีคุณภาพ
สอบถามเพิ่มเติม หรือสั่งซื้อลำไยอินทรีย์
คุณวิเชษฐ์ อัศวกิจเจริญกุล โทร :081-718-7344 เฟสบุ๊ค: สวนวิเชษอุดมผล 40/10 หมู่ 8 บ้านห้วยหินฝน ต.วังทอง อ.ภักดีชุมพล จ.ชัยภูมิ 36260