ขั้นตอนการทำลำไยนอกฤดู เขาสอยดาว ทำรายได้หลักล้าน เน้น การใส่ปุ๋ยลําไย และ การราดสารลําไย
เมืองจันท์เป็นจังหวัดที่ชาวโลกรู้จักดี เป็นซิตี้ออฟฟรุ้ต City of Fruit โดยเฉพาะ “คนจีน” แผ่นดินใหญ่ยึดเมืองจันท์เป็นแหล่งทำมาหากิน ทั้งทุเรียน เงาะ มังคุด กล้วยไข่ และลำไย ออกจากจังหวัดจันทบุรี สู่ตลาดในและนอก นำเงินเข้าจังหวัดปีละหลายล้านบาท ก็ให้เกิดห่วงโซ่อาชีพมากมาย
เรื่องนี้โฟกัสไปที่ “ลำไย เขาสอยดาว” จับเข่าคุยกับคุณราเมศร์ ตรีเพ็ชรไพศาล หรือ คุณอาร์ต เจ้าของ “ร้านคลินิกเกษตร บางเขน” ศิษย์เก่า ม.เกษตรศาสตร์บางเขน และเป็นชาวสวนลำไย 200 ไร่ มาร่วม 19 ปี ที่ทำธุรกิจขายปุ๋ย ยา และเคมีเกษตร ที่นี่ย่อมมี “ข้อมูล” ความเคลื่อนไหวในเรื่องธุรกิจลำไยที่ถูกต้อง
ปรึกษาฟรี! หากบอกว่ามาจาก พลังเกษตร.com หรือ นิตยสาร เมืองไม้ผล โทร. 081-945-5141
ความต้องการจากตลาดต่างประเทศ
ลำไย ผลไม้ตามังกรที่ชาวจีนนิยมทานเป็นยาร้อนจึงได้รับความนิยมมากในจีน ทำให้ราคาลำไยสด ปี 2549-2550 กก.ละ 20-25-28-29 บาท โดยมีพ่อค้าไทยรับซื้อจากสวนส่งจีน ต่อมาพ่อค้าจีนเห็นเม็ดเงินก้อนโต จึงเข้ามาซื้อจากชาวสวนเอง ที่รู้จักกันในนาม “ล้งจีน”
แต่ละล้งแข่งกันซื้อ ทำให้ราคาวิ่งขึ้นไปอยู่ที่ กก.ละ 40-48-50 กว่าบาท โดยเฉพาะปีที่แล้วแข่งขันกันสูงมาก มีการซื้อล่วงหน้าที่เรียกว่า “ตกเขียว” นั่นเอง จากเดิมที่สามารถทำลำไยได้เพียงในฤดูเท่านั้นแต่วันนี้พัฒนาการทางการเกษตรที่เปลี่ยนแปลงไปสามารถพัฒนาให้ลำไยชักนำการออกดอกให้ผลผลิตนอกฤดูได้
ลำไยนอกจากจะจำหน่ายในรูปแบบผลสดแล้วยังสามารถนำไปแปรรูปในรูปแบบต่าง ๆ ได้เป็นจำนวนมาก เช่น ลำไยกระป๋อง ลำไยอบแห้งทั้งเปลือกและเฉพาะเนื้อสีทอง ซึ่งในปีที่ผ่านมานั้นประเทศไทยต้องเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนทำให้เกษตรกรผู้ปลูกลำไยและผู้ประกอบการต้องผลิตลำไยให้ตรงตามคุณภาพและให้ได้ปริมาณตามที่ตลาดต้องการ ขั้นตอนการทำลำไยนอกฤดู ขั้นตอนการทำลำไยนอกฤดู ขั้นตอนการทำลำไยนอกฤดู
ทำให้เกษตรกรต้องผลิตลำไยให้ได้คุณภาพ ลูกใหญ่ ผลโตอย่างสม่ำเสมอ สีสวยและมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ ไม่มีสารเคมีตกค้าง ดังนั้นเกษตรกรไทยจึงต้องอาศัยทั้งองค์ความรู้ ประสบการณ์และเทคโนโลยีที่ถูกต้องและเหมาะสมเข้ามาเป็นตัวช่วยในการผลิตลำไยคุณภาพที่จะทำให้ชาวสวนลำไยสามารถแข่งขันในตลาดการค้าเสรีต่อไปได้
รวมถึงธาตุอาหารที่หลากหลายก็จะช่วยกระตุ้นให้ลำไยออกช่อดอกได้ดีเพื่อเจริญเติบโตเป็นผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ นอกจากนี้ลำไยไม่จำเป็นต้องมีการห่อผล เพียงแต่ต้องมีการตัดแต่งช่อดอกและผลบ้างเมื่อลำไยติดผลต่อช่อมากเกินไป ขั้นตอนการทำลำไยนอกฤดู ขั้นตอนการทำลำไยนอกฤดู ขั้นตอนการทำลำไยนอกฤดู
การปรับพื้นที่ สวนลำไยนอกฤดู กว่า 200 ไร่
คุณราเมศร์ ตรีเพ็ชรไพศาล เผยถึงสถานการณ์การลำไยใน อ.สอยดาว และบริเวณพื้นใกล้เคียงที่ขึ้นชื่อด้านการผลิตลำไยตลอดห้วงเวลาที่ผ่านมาในพื้นที่อยู่ใน อ.สอยดาว จ.จันทบุรี โดยส่วนตัวนั้นก็ทำสวนลำไยบนพื้นที่จำนวน 200 ไร่ อายุของต้นลำไยมีทั้งตั้งแต่อายุ 3-30 ปี มีหลายรุ่น
ซึ่งคุณอาร์ตเล่าว่า เขาสอยดาวสภาพพื้นที่เป็นภูเขา อากาศเย็นกว่าพื้นล่าง มีแหล่งน้ำธรรมชาติ เกษตรกรจึงปลูกพืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ มีไม้ผล อย่าง ลำไย ประปราย แต่เมื่อมีคนนำสารมาราดลำไยให้ออกดอก ติดผล นอกฤดู ขายได้ราคาดี ส่งผลให้ปี 2544 เกษตรกรหันมาปลูกลำไยกันมากขึ้น ขั้นตอนการทำลำไยนอกฤดู
สภาพดินในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินลูกรัง แต่สภาพอากาศในปีนี้เกษตรกรต่างก็เจอปัญหากันอย่างทั่วหน้า ในขณะที่แหล่งน้ำในปัจจุบันนี้ยังไม่เพียงพอต่อการใช้น้ำในพื้นที่ เนื่องจากเกิดภาวะฝนแล้ง อีกทั้งเกษตรกรในพื้นที่ได้เปลี่ยนจากการปลูกพืชไร่มาเป็นสวนลำไยทำให้เกษตรกรมีความต้องการใช้น้ำกันมากขึ้น ประกอบกับเกิดภาวะวิกฤตภัยแล้งและขาดแคลนน้ำอย่างหนักในปีนี้ ขั้นตอนการทำลำไยนอกฤดู
สายพันธุ์ลำไยที่นิยมปลูกส่งออก ขั้นตอนการทำลำไยนอกฤดู
จะเห็นว่าในพื้นที่จังหวัดจันทบุรีจะมีล้งรับซื้อลำไยเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีทั้งคนจีนที่เข้ามาลงทุนเองและล้งคนไทยด้วย ส่วนผลผลิตที่เกษตรกรนิยมปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตเพื่อการส่งออกนั้นจะนิยมเป็นสายพันธุ์ “พันธุ์อีดอ” เป็นหลักเพราะมีลักษณะเด่นกว่าพันธุ์อื่นๆ เมื่อนำไปอบซัลเฟอร์ไดออกไซด์สีลำไยจะออกเป็นสีเหลืองทองซึ่งเป็นผลผลิตที่ตลาดต้องการเป็นอย่างมาก
ระบบน้ำการให้น้ำสวนลำไยนอกฤดู
“สวนที่มีระบบน้ำก็เริ่มปลูกลำไย คนไม่มีก็เริ่มขุดสระ เริ่มพัฒนา พื้นที่ เพื่อปลูกลำไยนอกฤดู คนไม่มีน้ำก็พยายามต่อท่อจากแหล่งน้ำมาทำลำไย ทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไปหมด เศรษฐกิจดี คนในพื้นที่มีงานทำ รับจ้างตัดแต่งกิ่งไปรับเขมรมาเก็บลำไย เกษตรกรมีรายได้เป็นกอบเป็นกำ” คุณอาร์ตสะท้อนภาพปรากฏการณ์ลำไยนอกฤดูที่อู้ฟู่ทันตา
การใส่ปุ๋ยสูตรเร่งต้นลำไยนอกฤดู
การใส่ปุ๋ยบำรุงจะเริ่มตั้งแต่ใส่ปุ๋ยสูตรเร่งต้นที่มี N P K ที่เน้นการใส่ตัวหน้ามากกว่าตัวอื่นๆ ในช่วงสะสมอาหารจะใส่ปุ๋ยที่มีตัวกลางเพิ่มขึ้นมาหน่อยและมีตัวท้ายด้วย ช่วงลำไยติดผลเล็กจะเน้นการใส่ปุ๋ยตัวหน้าและตัวสุดท้ายมากขึ้น ในช่วงสุดท้ายที่ลำไยผลโตเต็มที่จะใส่ปุ๋ยที่จะเน้นเป็นตัวท้ายเพื่อบำรุงผลผลิตและเพิ่มรสชาติ
ซึ่งเทคนิคในการดูสวนลำไยของเกษตรกรแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างเป็นองค์ประกอบ
การกำจัดโรค-แมลง-ศัตรูพืชที่มารบกวนต้นลำไยนอกฤดู
โดยเฉพาะในช่วง “แตกใบอ่อน” จะมีโรคและแมลงศัตรูพืชรบกวนที่พบได้ในช่วงนี้ ก็จะมีทั้งหนอนกินใบ เพลี้ยไก่แจ้ และหนอนชอนใบ ซึ่งในของระยะใบอ่อนนี้ทางสวนจะฉีดพ่นสารเคมีควบคุมไว้ตลอดก่อนเพื่อป้องกัน ส่วนการดูแลในช่วงใบแก่ทางสวนก็จะไม่คอยมีการดูแลมากเพียงแค่บำรุงให้ใบแก่สมบูรณ์ด้วยธาตุอาหารที่จำเป็นอย่างต่อเนื่อง
ผลิตภัณฑ์เพื่อการผลิตลำไยนอกฤดูในช่วงแทงช่อดอก
ที่สำคัญในช่วงแทงช่อดอกจะต้องฉีดพ่น “สปรินเตอร์” ซึ่งจะใช้คู่กับอะมิโนและธาตุอาหารรองและเสริมตัวอื่นเข้าด้วยกัน ในอัตราการฉีดพ่นทุก ๆ 4 วัน จนกระทั่งพัฒนาการเป็นเม็ดเล็กและเป็นผลผลิตที่จะต้องมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ “โดยนิสัยของลำไยจะชอบน้ำแต่ไม่ต้องการมากจนเกินไป”
การที่จะทำให้ได้ผลผลิตที่ดีและผลผลิตมีคุณภาพนั้นจะต้องมีการตัดแต่งลูกให้เหมาะสมกับสภาพต้น ขนาดต้น อายุของต้นๆเป็นสำคัญ ขณะที่การให้น้ำจะแบ่งเป็นช่วงๆ ในการบำรุงต้นจะให้น้ำแบบวันเว้นวัน แต่ถ้าในช่วงที่มีการราดสารไปแล้ว และในช่วงที่แทงช่อดอกจะให้น้ำทุกวัน ประกอบกับช่วงที่ต้นลำไยกำลังให้ผลผลิตจะมีการให้น้ำในปริมาณมากต่อวัน เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ
การเก็บเกี่ยวผลผลิต ลำไยนอกฤดู ที่ได้คุณภาพ
การเก็บเกี่ยวจะเริ่มต้นขึ้นหลังจากที่ต้นลำไยแทงช่อดอกและออกผลผลิตภายหลังจากที่มีการราดสารนาน 6-7 เดือนครึ่ง หรือตั้งแต่เดือนกันยายนไปจนถึงเดือนเมษายนก็จะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตออกสู่ตลาดเพื่อการบริโภคทั้งในและต่างประเทศ ส่วนผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือนพฤษภาคมไปต้นไปนั้นจะเป็นช่วงของการผลิตลำไยนอกฤดูเป็นหลัก
แต่ชาวสวนที่นี่ส่วนใหญ่ต่างประสบปัญหาเรื่อง “แรงงาน” อย่างมาก เพราะหาแรงงานยากไม่เพียงพอต่อการบริหารจัดการสวนลำไยตลอดฤดูการผลิต และแรงงานที่มีบางส่วนไม่ค่อยมีฝีมือในการผลิตลำไยให้ได้คุณภาพในแต่ละช่วงและเป็นปัญหาหลักของการทำสวนลำไยที่นี่ ส่งผลให้แรงงานที่ใช้ในสวนลำไย
ส่วนใหญ่ในวันนี้เป็นแรงงานเพื่อนบ้านที่ค่อนข้างมีฝีมือที่ได้รับการฝึกฝนมาก่อนที่จะอยู่ในรูปของ”ทีมรับจ้างตัดแต่งกิ่ง ตัดแต่งผลและเก็บเกี่ยวผลผลิต” ซึ่งค่าจ้างนั้นจะตกอยู่ที่ประมาณ 300-400 บาท/คน/วัน
ราคาผลผลิตลำไย
ด้านราคาผลผลิตลำไยในปีที่ผ่านมาจะเห็นว่าลำไยอยู่ที่ 35-50 บาท/กก. ซึ่งทางสวนสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เฉลี่ยที่ 300 ตัน ซึ่งปีที่ผ่านมาถือว่าราคาการรับซื้อลำไยค่อนข้างดี โดยจะมีพ่อค้าทำสัญญาซื้อขายกันล่วงหน้าไว้ก่อน ส่วนในปี 2559 นี้คาดว่าราคาผลผลิตลำไยอาจจะอ่อนตัวลงมา เนื่องจาก “ล้ง” ส่วนใหญ่ประสบภาวะขาดทุนต่อเนื่องมาจากปีที่แล้ว
จึงทำให้ราคาผลผลิตในปีนี้ตกลงมาอยู่ที่ราคา 30-40 บาท/กก. “ ที่ขาดทุนเพราะล้งต่างมีออเดอร์ ต่างแย่งกันซื้อ ทำให้ราคาสูงขึ้นมาก แต่ถ้าล้งไม่แย่งกันซื้อเหมือนในปีที่ผ่านมาราคาจะอยู่ที่กลไกลตลาด แต่จะดีขึ้นหรือไม่ดีขึ้นนั้นเราคาดการยาก
แต่เกษตรกรจะอยู่ได้ถ้าทำคุณภาพให้ดี เพราะล้งอยากได้ของที่ดีส่งออกไปจำหน่าย เพราะล้งนั้นได้กำไรจากของคุณภาพดี ถ้าเกษตรกรทำให้ผลผลิตดีก็เหมือนสร้างเครดิตให้กับตนเอง จึงจะมีพ่อค้าเข้าไปซื้อและให้ราคาที่ดีกว่า ทำให้ล้งเกิดการแข่งขันกัน ก็จะทำให้เกษตรกรได้ราคาดีกว่าเดิมที่เคยได้”
ส่วนการตลาดในปีนี้ทิศทางลำไยสอยดาวในปี 2559 ก็เกิดปัญหาขึ้นในเรื่อง “แหล่งน้ำ” ที่ไม่เพียงพอต่อการทำเกษตรกรรมทำให้ลำไยขาดน้ำบางช่วง ออกดอกไม่ดี เกษตรกรจึงต้องทำผลผลิตช้าออกไป ณ ปัจจุบันลำไยสอยดาวก็จะไปมีชื่อเสียงที่ประเทศจีนเป็นอย่างมาก ได้ราคาดีกว่าลำไยทางภาคเหนือซึ่งการส่งออกไปยังประเทศเป็นหลัก ตลาดอื่น ๆก็มีแต่ในการส่งที่มีปริมาณน้อย
เทคนิคการทำลำไย นอกฤดู จากเก็บเกี่ยวผลผลิต
หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จทางสวนก็จะเริ่มจากการตัดแต่งกิ่ง ซึ่งบางสวนก็จะไม่ตัดแต่งกิ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตก็จะต้องรอให้ใบลำไยแตกใบอ่อนมาก่อนถึงจะตัดแต่งกิ่งที่ไม่ต้องการออกแต่ทางสวนก็จะต้องดูในส่วนของสภาพต้นลำไยหลังจากเก็บเกี่ยวว่าควรจะตัดแต่งกิ่งแบบไหน
คุณราเมศร์เผยถึงการผลิตลำไยนอกฤดูคุณภาพเพื่อการส่งออกว่าการดูแลรักษาต้นลำไยจะเริ่มต้นจากหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วจะมีการตัดแต่งกิ่งลำไยให้โปร่งและสังเคราะห์แสงได้ดี ก่อนจะบำรุงรักษาต้นลำไยในช่วงพักต้นให้เพียงพอโดยไม่ราดสารเพื่อเอาลูกอย่างเดียว
เพราะจะทำให้ต้นลำไยโทรมและผลผลิตที่ออกมาไม่ดี ไม่มีคุณภาพตามที่ตลาดต้องการ จึงต้องพักต้นให้สมบูรณ์ก่อนที่จะให้ผลผลิตในภายภาคหน้า โดยจะมีการบำรุงด้วยการใส่ปุ๋ยและธาตุอาหารที่สำคัญต่อพืชเพื่อบำรุงรักษาต้นลำไย การให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ในขณะเดียวกันทางสวนก็จะมีการเปลี่ยนสูตรปุ๋ยในแต่ละช่วงระยะเพื่อให้ลำไยมีพัฒนาการที่ดีอย่างต่อเนื่อง
จากชาวสวนสู่เจ้าของ ร้านคลีนิคเกษตร บางเขน จำหน่ายปุ๋ย-ยา-เคมีเกษตร
นอกจากนี้คุณราเมศร์ยังได้เปิดดำเนินกิจการในส่วนของร้านเคมีเกษตร ในนาม “ร้านคลีนิคเกษตร บางเขน” จึงมีองค์ความรู้ที่ครอบคลุมทั้งในด้านปัจจัยการผลิตและการผลิตลำไยทั้งในและนอกฤดูเป็นอย่างดี เพราะตลอดเวลาที่มีการก่อตั้งร้านเคมีการเกษตรขึ้นมาเมื่อปีพ.ศ. 2540 นั้น
เพราะคุณราเมศร์ได้เล็งเห็นจุดเด่นของพื้นที่ อ.สอยดาว มีอากาศดี และมีการปลูกพืชที่หลากหลาย มีทั้งพืชไร่ ไม้ผล ผัก และไม้ดอก โดยทางร้านมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง อย่างระบบการจัดการคุณภาพ การบริหารต่างๆ เป็นหลัก ส่วนการพิจารณาในการนำผลิตภัณฑ์ที่ทางร้านจะจำหน่ายนั้นก็จะต้องดูที่คุณภาพที่ไม่มีการปลอมปน
และอีกหลักการหนึ่งก็คือ จะคัดเลือกบริษัทที่มีการทำการตลาดร่วมกับร้าน ส่วนปุ๋ยยาในร้านก็จะต้องขึ้นอยู่ที่ราคาผลผลิตลำไยเป็นหลัก “ถ้าราคาลำไยดี ปุ๋ยยาก็จะจำหน่ายดี” ราคาผลผลิตของเกษตรกรจึงเป็นตัวชี้วัดว่าผลผลิตในแต่ละปีดีหรือไม่ดีต่อการลงทุนกับปุ๋ยยาของเกษตรกรในแต่ละปี
ส่วนทางร้านก็จะมีการให้ข้อมูล ทั้งทางด้านวิชาการ รู้ปัญหา การจัดการ ธาตุอาหาร และรู้จักการปฏิบัติต่อลูกค้าจึงทำให้มีจุดเด่นเป็นอย่างมากของร้าน โดยมีพนักงานที่จบมาทางเกษตรโดยตรงให้คำปรึกษาแก่เกษตรกร
“เกษตรกรถ้าจะทำสวนลำไยให้ยั่งยืนจะต้องทำคุณภาพให้ได้ ให้ผลผลิตเป็นที่ต้องการของตลาด และจะต้องมีการศึกษาทั้งทฤษฏีและการปฏิบัติควบคู่กันไป เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่ดี ที่ถูกต้อง ในการผลิตลำไยทั้งในและนอกฤดูให้ได้ผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ ได้มาตรฐานสูงสุด”
ปรึกษาฟรี! หากบอกว่ามาจาก พลังเกษตร.com หรือ นิตยสาร เมืองไม้ผล โทร. 081-945-5141
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม คุณราเมศร์ ตรีเพ็ชรไพศาล “ร้านคลีนิคเกษตร บางเขน” เลขที่ 390 หมู่ 1 ต.ปะตง อ.สอยดาว จ.จันทบุรี 22180
การใส่ปุ๋ยลําไยช่วงติดผล ขั้นตอนการทำลำไยนอกฤดู ลำไยนอกฤดู การราดสารลําไย การใส่ปุ๋ยลําไย การดูแลลําไยนอกฤดู การดูแลลําไยหลังราดสาร การเตรียมต้นลําไยก่อนราดสาร การดูแลลําไย สวนลําไย ราดสารลําไยแตกใบอ่อน สารราดลําไย การราดสารลําไยนอกฤดู