ต้นกาแฟ ปลูกกาแฟจันทบูร เสริมในสวนลำไย รายได้ดีเข้า 2 ทาง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การปลูกกาแฟเสริมในสวนลำไย

กาแฟยังคงเป็นพืชเศรษฐกิจเสริมของเกษตรกรหลายๆ ท่าน ไม่ว่าจะเป็นชาวสวนทุเรียน หรือพืชอื่นๆ ก็มองหาพืชเสริมกันทั้งสิ้นโดยเฉพาะกาแฟเป็นพืชที่ปลูกง่าย เสริมกับพืชหรือสวนผลไม้หลักชนิดอื่นๆ อย่างได้ผลอีกทั้งทางด้านการดูแลก็ไม่ยุ่งยาก เพราะเกษตรกรสามารถดูแลพืชรอง เช่น กาแฟ ก็ได้รับอานิสงค์ไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นการให้น้ำหรือให้ปุ๋ย ถือว่าเป็นการลดต้นทุนทางด้านการบำรุงและดูแลไปได้ระดับหนึ่ง

ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลทำให้เป็นที่ต้องการของชาวสวนไม้ผลหรือไม้ยืนต้นเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ที่สำคัญรายได้ที่จะได้รับจากพืชรองกลับคืนมาเร็วขึ้น อีกทั้งยังมีตลาดรับซื้อในราคาประกันและมั่นคงอีกด้วย

1.ต้นกาแฟในสวนลำไย
1. ต้นกาแฟ ในสวนลำไย
2.ปลูก ต้นกาแฟ แซมสวนลำไย
2.ปลูก ต้นกาแฟ แซมสวนลำไย

จุดเริ่มต้นการปลูกกาแฟเสริมในสวนลำไย

ครั้งนี้ทางทีมงานนิตยสาร“พลังเกษตร” ได้มีโอกาสลงพื้นที่ของ คุณลุงประเทือง 134/1 หมู่ 7 ต.วังใหม่ ที่ทำการปลูกลำไยมากว่า 5 ปี ผลผลิตที่ได้ในแต่ละปีก็พอได้กำไรอยู่บ้าง ในช่วงเริ่มแรกคุณลุงประเทืองก็เผยกับทีมงานว่าไม่ได้ชอบการปลูกลำไยเท่าไหร่นัก เพราะมองเห็นว่าเป็นผลไม้ที่ทำกำไรไม่ดีนักดังที่กล่าวมา

จากนั้นคุณลุงประเทืองจึงมองหาพืชที่สามารถนำมาปลูกเสริมในสวนลำไยเพื่อสร้างเงินที่เป็นกำไรเสริมเข้ามาบ้าง ดังนั้นคุณลุงประเทืองจึงเห็นพืชที่ชื่อว่า “กาแฟ” ซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นพืชที่สร้างรายได้เสริมเพิ่มเติมจากการปลูกลำไยไปด้วยในช่วงที่รอผลผลิต พร้อมกันนั้นลุงประเทืองได้ทราบว่าลุงบรรจบก็ปลูกกาแฟเสริมมังคุดอยู่ด้วย และสร้างรายได้ให้กับเขาได้ดีทีเดียว

3.ต้นกาแฟให้ผลผลิตเร็ว
3. ต้นกาแฟ ให้ผลผลิตเร็ว

สภาพพื้นที่ปลูกกาแฟเสริมในสวนลำไย

ซึ่งตรงนั้นเองคือแหล่งจุดประกายให้กับเขาได้หันมาปลูกกาแฟเสริมสวนลำไยที่มีอยู่ทั้งหมด 30 ไร่ ทั้งๆ ที่โดยในส่วนตัวไม่มีความรู้เรื่องกาแฟเลยแม้แต่น้อย เพียงแค่จดจำมาว่าการปลูก การดูแล เริ่มต้นทำอย่างไรบ้างเท่านั้น ประกอบกับเขาได้เห็นรายได้ที่ตอบรับกลับมาได้ดีพอสมควรนั่นเอง ในปีแรกรายได้ก็พอดี ไม่ขาดทุน และยังมีกำไรอยู่บ้าง

โดยการดูแลคุณลุงประเทืองบอกไม่ยาก เพียงแค่ใส่ปุ๋ยและรดน้ำนิดหน่อยก็พอได้แล้ว อีกทั้งต้นกาแฟ ก็ให้ผลผลิตค่อนข้างเร็ว การเก็บเกี่ยวก็ทำได้ง่าย เพราะลักษณะต้นกาแฟ “จันทบูร” หรือที่ใช้ชื่อเรียกใหม่ว่ากาแฟ “บุญย์บรรจบ” ในปัจจุบัน

โฆษณา
AP Chemical Thailand
4.เจ้าหน้าที่-จ.ตราด-และเกษตรกรเข้าเยี่ยมชม
4.เจ้าหน้าที่-จ.ตราด-และเกษตรกรเข้าเยี่ยมชม

การบำรุงดูแล ต้นกาแฟ

“ทางด้านการดูแลก็ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์บุญย์ บางเขน เจ้าของร้านคลังเกษตรบางเขน ซึ่งขณะนี้ท่านได้เปิดร้านกาแฟ บุญย์ คอฟฟี่ อย่างเป็นทางการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อาจารย์บุญย์ให้คำปรึกษาและให้ความรู้ในเรื่องการปลูกกาแฟเป็นอย่างดีตลอดมา ซึ่งก็ทำให้ผมมองเห็นทางออกที่ดีขึ้นกว่าเดิม พร้อมกันนั้นก็ยังมีผู้ที่สนใจมาดูสวนลำไยของผมมากขึ้นเรื่อยๆ อีกด้วย

เริ่มแรกผมปลูกกาแฟทั้งหมด 1,000 ต้น สามารถเก็บกาแฟขายได้เงิน 50,000 บาท ซึ่งเป็นผลผลิตที่เก็บจากต้นที่เก็บได้ประมาณ 70% ของจำนวนต้นทั้งหมด ใช้เงินลงทุนไปในครั้งแรกประมาณ 90,000 บาท จากรายได้ที่ดีผมจึงปลูกเพิ่มเป็น 3,000 ต้น คิดว่าหลังจากผลผลิตที่เก็บได้ทั้งหมดรายรับน่าจะถึงหลักแสนอย่างแน่นอน”

5.ผลอ่อนรอสุก
5.ผลอ่อนรอสุก
ผลผลิตลำไย
ผลผลิตลำไย

รายได้จากผลผลิตกาแฟ และลำไย

คุณลุงประเทืองกล่าวถึงลักษณะการจุดประกายจนสร้างความมั่นใจให้กับตัวเองมากขึ้น จนกระทั่งเพิ่มปริมาณการปลูกเพิ่มมากขึ้น ทั้งๆ ที่ช่วงเริ่มแรกการปลูกเขาไม่ได้ให้ความสำคัญมากมายนัก เพิ่งมาเริ่มดูแลอย่างจริงจังในช่วงต้นปี 62 นี่เอง จากรายได้ที่ดีกว่าทำให้ลุงประเทืองคิดไปถึงจุดที่ว่าจะโค่นต้นลำไยทิ้งให้รู้แล้วรู้รอดไปเลย ในเมื่อราคาผลผลิตไม่ดีอย่างที่เคยเป็น

สำหรับผลิตภัณฑ์ที่นำมาใช้ในการดูแลต่างๆ คุณลุงประเทืองบอกว่าได้นำมาจากร้าน“คลังเกษตรบางเขน” เพราะเป็นแหล่งที่มี “อาจารย์บุญย์ บางเขน” ให้คำปรึกษาอย่างครบถ้วนแล้ว นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ให้เลือกได้ตรงตามความต้องการอีกด้วย ในอนาคตตนคงจะเพิ่มการปลูกกาแฟให้มากยิ่งขึ้น เพราะเห็นถึงผลผลิตที่ได้ และกำไรที่ดี จากการทำสวนกาแฟนั่นเอง ทางด้านลำไยที่เป็นไม้ผลตัวหลักคิดว่าจะโค่นต้นลำไยออกเป็นบางส่วน เพราะผลผลิตที่ได้นั้นช่วงหลังเริ่มลดลง และไม่ค่อยแน่นอนตามความต้องการนั่นเอง

6.ต้นลำไย
6.ต้นลำไย

แนวโน้มในอนาคต

ท้ายที่สุดลุงประเทืองกล่าวว่าการปลูกพืชไม่ว่าจะเป็นอะไรก็แล้วแต่ ควรมีแผนสำรองในการรองรับสิ่งที่จะตามมาในอนาคต เพราะการปลูกพืชเชิงเดียวอาจจะส่งผลในระยะอันใกล้ ถ้ายังไม่รู้จักปรับตัวเพราะสภาพอากาศ และปัจจัยหลายๆ อย่าง เริ่มเปลี่ยนแปลงมากขึ้น ฉะนั้นจึงขอแนะนำเกษตรกรหลายๆ ท่าน ลองทบทวนดูว่าพืชแต่ละชนิดนั้นสามารถนำมาปลูกเสริมเพิ่มเติมได้หรือไม่ ทั้งนี้เพื่อเป็นการรองรับตลาดหลายๆ ด้าน และส่งผลดีต่อตัวเกษตรกรทางหนึ่งอีกด้วย