การปลูกทุเรียน “ ทุเรียนศรีสะเกษ ”
“ ทุเรียนศรีสะเกษ ” ทำไมถึงอร่อย และแตกต่างจากทุเรียนจากแหล่งอื่นอย่างไร? เป็นคำถามที่คนศรีสะเกษน่าจะถูกตั้งคำถามจากคนจังหวัดอื่นอยู่บ่อยครั้ง และยังมีคนอีกมากที่ไม่รู้เลยว่าจังหวัดศรีสะเกษสามารถปลูกทุเรียนหรือผลไม้ เช่น เงาะ มังคุด ลองกอง ได้ เพราะเมื่อสมัยแต่ก่อนพื้นที่ในจังหวัดนี้เป็นที่แห้งแล้ง การทำเกษตรกรรมจึงเป็นการยากต่อเกษตรกรในพื้นที่ บวกกับความยากจน ทำให้การปลูกผลไม้เป็นไปด้วยความยากลำบาก
แต่ปัจจุบันได้พบว่าสภาพพื้นดินทางบริเวณอำเภอกันทรลักษ์ และอำเภอขุนหาญ นั้น เกิดจากการสลายตัวของหิน บริเวณที่ราบเขา ซึ่งเป็นจุดกำเนิดพวกหินบาซอลท์ หินแอนดีไซด์ ดังนั้นดินในแถบนี้จึงเป็น “ชุดดินโชคชัย”
ซึ่งมีคุณสมบัติของดิน เป็นดินเหนียวปนทรายแป้ง หรือดินเหนียวสีน้ำตาลแดงเข้มมาก และดินล่างเป็นดินเหนียวสีแดงหม่น หรือสีแดงหม่นเข้มมาก ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง (pH 6.0-7.0) ในดินบน และเป็นกรดจัดมาก ถึงเป็นกรดจัด (pH 4.5-5.0) ในดินล่าง ชุดดินนี้จึงมีความเหมาะสมกับการปลูกไม้ผล
และที่สำคัญบริเวณนี้มีปริมาณธาตุกำมะถันอยู่ในดินโดยธรรมชาติ จึงส่งผลให้ “ทุเรียน” มีความมันมากกว่าความหวาน ซึ่งเป็นคุณลักษณะเดียวกับทุเรียนเมืองนนท์ จึงทำให้ทุเรียนมีความอร่อย ถูกปากผู้บริโภคทุเรียนเป็นอย่างยิ่ง และที่สำคัญนอกเหนือจากสภาพพื้นดินที่เหมาะสมแล้วนั้น การดูแลเอาใจใส่ในการปลูกทุเรียนของเกษตรกรเองก็มีส่วนสำคัญทำให้ทุเรียนที่ออกมานั้นได้คุณภาพ


“ไร่ตองทรัพย์” สวนทุเรียนของ คุณเอกชัย ตองอบ ในตำบลบักดอก อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นอีก 1 ส่วน ที่สามารถปลูกผลไม้ให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะทุเรียน นอกจากนั้นยังมีผลไม้อีกหลายชนิด เช่น เงาะ มังคุด ลองกอง ขนุน ส้มโอ รวมไปถึงสะตอ ที่สามารถปลูกในพื้นที่อำเภอขุนหาญได้อย่างลงตัว และการปลูกทุเรียนของคุณเอกชัยเป็นเพียงอาชีพเสริม อาชีพหลัก คือ รับราชการเป็นผู้อำนวยการอยู่ที่โรงเรียนนาแก้ววิทยา
คุณเอกชัยเล่าให้ทีมงาน นิตยสาร เมืองไม้ผล&พืชสุขภาพ ฟังว่า ที่สนใจปลูกผลไม้ โดยเฉพาะทุเรียน เป็นเพราะได้ไปดูสวนทุเรียนจากเกษตรกรรายอื่นที่บ้านซำขี้เหล็ก อำเภอขุนหาญ จึงมีความคิดที่อยากจะลองปลูกบ้าง เกษตรกรสวนทุเรียนที่นั่นปลูกทุเรียนมาได้ประมาณ 4-5 ปี และต้นทุเรียนก็สามารถเจริญเติบโตได้ดี เมื่อเห็นดังนั้นคุณเอกชัยจึงซื้อต้นทุเรียนจากจังหวัดจันทบุรีมาปลูก 50 ต้น ในขณะนั้นรับซื้อมาเพียงต้นละ 25 บาท แต่ด้วยความที่ไม่มีความรู้และประสบการณ์เรื่องการปลูกหรือการดูแลทุเรียน ต้นทุเรียนที่นำมาปลูกทั้งหมด 50 ต้น ก็ตายเกือบทั้งหมด
แต่ด้วยความไม่ย่อท้อเขาจึงซื้อทุเรียนมาปลูกซ่อมใหม่ภายในสวนของเขา และเริ่มเรียนรู้วิธีการปลูก การดูแล ต้นทุเรียน จากผู้ที่มีประสบการณ์ปลูกมาก่อน รวมไปถึงหาข้อมูลตามอินเตอร์เน็ต และหนังสือเกษตร ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับผู้ปลูกทุเรียน และประสบผลสำเร็จ จนคุณเอกชัยพอมีความรู้ในการดูแลต้นทุเรียน ทำให้ต้นทุเรียนที่นำมาปลูกใหม่สามารถเจริญเติบโต และมีผลผลิตให้ได้เก็บเกี่ยว
“ปลูกปีแรกต้นทุเรียนตายหมด เพราะผมดูแลไม่เป็น คิดว่าต้นทุเรียนน่าจะปลูกเหมือนต้นไม้ชนิดอื่น แต่ความจริงมันแตกต่างกัน พอเอามาปลูกใหม่ผมเลยต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มจากหนังสือ อินเตอร์เน็ต และจากผู้ที่มีประสบการณ์” คุณเอกชัยกล่าวถึงจุดเริ่มต้นในการปลูกทุเรียน


สภาพพื้นที่ปลูกทุเรียน และผลไม้หลากหลายชนิด
ปัจจุบันไร่ตองทรัพย์มีพื้นที่ปลูกผลไม้ จาก 10 ไร่ เพิ่มเป็น 30 ไร่ แบ่งพื้นที่ปลูกเป็นทุเรียน 20 ไร่ จำนวน 575 ต้น หมอนทอง 550 ต้น
- ก้านยาว 15 ต้น
- ชะนี 7 ต้น
- พวงมณี 2 ต้น และ
- กระดุม 1 ต้น
พื้นที่ปลูกเงาะประมาณ 2 ไร่ จำนวน 5 ต้น ลองกองปลูก 1 ไร่ 35 ต้น มังคุด 3 ไร่ 45 ต้น ปาล์มน้ำมัน 3 ไร่ 95 ต้น อีกประมาณ 1 ไร่เศษ จะเป็นที่อยู่อาศัย และปลูกสะตอแซมตามโขดหินจำนวน 12 ต้น
อย่างที่กล่าวข้างต้นเมื่อคุณเอกชัยนำต้นทุเรียนมาปลูก ต้นทุเรียนก็ล้มตายเกือบหมด เป็นเพราะขาดความรู้ในเรื่องของการดูแล แต่อีกปัจจัยหนึ่ง คือ เป็นเพราะสภาพอากาศที่หนาวจัดเกินไป ทำให้ต้นทุเรียนไม่สามารถเจริญเติบโตได้ การดูแลจึงจำเป็นอย่างยิ่งในช่วงนำทุเรียนมาปลูกใหม่

ปัญหาและอุปสรรคในการปลูกทุเรียน
ทุเรียนเป็นต้นไม้เขตร้อนชื้น ชอบอากาศร้อนและชื้น แต่ไม่ชอบแล้งในหน้าหนาว ดังนั้นจึงต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ ประกอบกับสภาพภูมิอากาศบ้านเราไม่ค่อยเหมาะสมกับผลไม้ชนิดนี้ เนื่องจากอากาศแล้งและหนาว ทุเรียนส่วนใหญ่จะสุกในช่วงกลางฤดูฝน จึงค่อนข้างจะเจอปัญหาแตกใบอ่อนในช่วงผลทุเรียนยังเล็ก ทำให้ผลทุเรียนร่วง พื้นที่ปลูกทุเรียนควรมีความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูงอยู่ระหว่าง 75% ถึง 85% ถ้าเป็นพื้นที่แห้งแล้ง มีลมแรง อากาศร้อนจัด หรือเย็นจัดเกินไป ต้นทุเรียนจะเกิดอาการใบไหม้ ใบร่วง จนเจริญเติบโตช้า ติดผลได้ไม่ดี
“หลังจากที่ต้นทุเรียนรุ่นแรกตายหมด ผมก็เอามาปลูกซ่อมใหม่ ปีแรกที่นำทุเรียนมาปลูกอากาศมันหนาวมาก ทุเรียนก็เลยช๊อคตาย แต่รุ่นสองที่นำมาปลูก พอต้นทุเรียนเริ่มใหญ่ ทุเรียนก็จะทนต่อสภาพอากาศได้ เราโชคดีหน่อยว่ารุ่นหลังที่นำทุเรียนมาปลูกอากาศมันไม่หนาวมากเท่ารุ่นแรกที่นำมาปลูก เลยทำให้ทุเรียนในรุ่นสองรอดตายมาได้ และเราก็เริ่มมีความรู้ในเรื่องการดูแลทุเรียนมากขึ้น” คุณเอกชัยกล่าวปัญหาและผลกระทบในการปลูกทุเรียน

การบริหารจัดการสวนทุเรียน
ทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีระบบรากหาอาหารตื้น โดยอยู่ลึกจากผิวดินประมาณ 20-30 เซนติเมตร จึงต้องการช่วงแล้งเพื่อให้เกิดสภาพเครียดก่อนออกดอก ไม่นานนักต้นทุเรียนที่สมบูรณ์ มีใบยอดแก่ ผ่านช่วงแล้งเพียง 10-14 วัน และมีอากาศหนาวเย็นลงเล็กน้อย ทุเรียนจึงจะออกดอกและพัฒนาเป็นผลต่อไป
วิธีการจัดการต้นทุเรียนของคุณเอกชัย คือ จะใช้วิธีการทำให้ใบแก่ก่อนออกดอก ใบต้องแก่ตอนตัดลูก และทุเรียนออกยอด และออกดอก พร้อมกัน
ใบต้องแก่ก่อนออกดอก สภาพของต้นทุเรียนต้องมีความสมบูรณ์ที่สุด เพื่อให้สามารถดึงยอดและดอกทุเรียนให้ออกพร้อมกันได้ ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาทุเรียนแตกใบอ่อนช่วงลูกเล็กซึ่งจะทำให้ผลร่วง และจะให้ยอดออกอีกทีตอนหลังดอกบานแล้วประมาณ 2 เดือน ลูกอาจจะบิดเบี้ยวบ้างก็ต้องยอมรับ แต่ถ้าต้นทุเรียน ใบทุเรียน ได้รับปุ๋ยเพียงพอ ผลทุเรียนที่ออกมาก็จะเบ่งออกให้ผลกลมได้
ใบต้องแก่ก่อนตัดผลทุเรียน เนื่องจากช่วงที่ใบแก่จัดจะเป็นช่วงที่ผลทุเรียนได้รับอาหารมากที่สุด เนื้อทุเรียนมีคุณภาพสูงสุด ตรงข้ามกับทุเรียนมีใบอ่อน ทุเรียนจะดึงอาหารจากลูกทุเรียนไปเพื่อใช้ในการสร้างใบ เพื่อทุเรียนที่ตัดช่วงนี้คุณภาพจะไม่ดี รสชาติไม่อร่อย


การให้น้ำและปุ๋ยต้นทุเรียน
หากมีการจัดระบบการให้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถดูแลให้น้ำกับต้นทุเรียนได้สม่ำเสมอช่วงหลังปลูก แต่หากจัดระบบน้ำไม่ทัน หรือยังไม่อาจดูแลเรื่องน้ำได้ ควรจะปลูกในช่วงต้นฤดูฝน เพื่อให้ต้นทุเรียนที่ปลูกใหม่ได้รับน้ำอย่างเพียงพอก่อนเจริญเติบโตต่อไป ในช่วงลงปลูกต้นทุเรียนใหม่ๆ ควรรดน้ำอาทิตย์ละ 1 ครั้ง
แต่พอเข้าช่วงทุเรียนปีที่ 3-4 ก็ให้น้ำอาทิตย์ละ 2 ครั้ง ที่นี่จะให้ระบบน้ำแบบมินิสปิงเกลอร์ น้ำที่ใช้รดต้นทุเรียนจะเป็นน้ำตามธรรมชาติที่ไหลลงมาจากน้ำตก โดยจะมีบ่อพักน้ำเพื่อเก็บกักไว้ใช้ภายในสวน และการให้น้ำในปริมาณที่เหมาะสม ในช่วงพัฒนาการต่างๆ ของดอกและผลอ่อนมีบทบาทสูง ในการช่วยลดปัญหาการหลุดร่วงของดอกและผลอ่อนได้เป็นอย่างดี และเพิ่มการติดผล และขึ้นลูกของทุเรียน โดยเริ่มตั้งแต่ดอกทุเรียน ต้องให้น้ำในปริมาณสูง แต่ลดปริมาณน้ำลง ในช่วงระยะดอกขาวจนถึงระยะผลอ่อน ทุเรียนศรีสะเกษ ทุเรียนศรีสะเกษ ทุเรียนศรีสะเกษ
การให้ปุ๋ยและอาหารเสริม ที่นี่จะให้ปุ๋ยทั้งทางดินและใบ ปุ๋ยทางดินจะใช้ 2 สูตร คือ 21-7-14 ซึ่งจะเป็นตัวช่วยในการเจริญเติบโตของต้นทุเรียน และอีกสูตร คือ 13-13-21 สูตรนี้จะช่วยบำรุงเนื้อในผลของทุเรียนให้มีรสชาติ และมีน้ำหนักที่ดี ส่วนปุ๋ยทางใบจะใช้สูตร 30-20-10 ฉีดพ่นบำรุงใบในช่วงจะมีการแตกยอดอ่อนขึ้นมาใหม่ เพื่อให้ยอดอ่อนที่แตกออกมามีความสมบูรณ์พร้อมในการสะสมอาหาร ทุเรียนศรีสะเกษ ทุเรียนศรีสะเกษ ทุเรียนศรีสะเกษ
ถ้าเป็นช่วงฤดูหนาวจะให้ “น้ำตาลทางด่วน” ฉีดพ่นทางใบเพื่อไปช่วยในเรื่องการสังเคราะห์แสงของต้นทุเรียน เพราะฤดูหนาวในอำเภอขุนหาญจะมีอากาศที่หนาวจัดมาก พืชจึงสังเคราะห์เองได้ยาก จึงต้องใช้ตัวช่วยอย่างน้ำตาลทางด่วนมาฉีดพ่นให้ทุเรียน “ในจังหวัดศรีสะเกษจะมีปัญหาในช่วงของการเตรียมดอกของทุเรียนด้วยอากาศที่มันไม่เหมาะสม เพราะอากาศมันหนาวจัด ทำให้ทุเรียนเกิดช๊อค ดังนั้นจึงต้องดูแลทุเรียนอย่างใกล้ชิด” คุณเอกชัยกล่าว
นอกจากน้ำตาลทางด่วนที่ใช้ฉีดพ่นปีละ 1-2 ครั้ง แล้ว เมื่อทุเรียนใกล้ออกดอกก็จะให้แคลเซียม+สาหร่าย ฉีดพ่นท้องกิ่งของต้นทุเรียน เพื่อสะสมอาหารพร้อมออกดอก หลังจากดอกทุเรียนออกแล้วก็ให้ฉีดบำรุงลูกโดยใช้ฮอร์โมน เพื่อช่วยให้ทุเรียนดึงยอดออกมาเป็นดอก ทุเรียนศรีสะเกษ ทุเรียนศรีสะเกษ ทุเรียนศรีสะเกษ ทุเรียนศรีสะเกษ

การบำรุงดูแลรักษาดอกทุเรียน
ในช่วงที่ทุเรียนเป็นดอกเต็มที่แล้ว ควรตัดแต่งดอกที่มีจำนวนอยู่เยอะออกบ้าง เพื่อให้ผลผลิตของทุเรียนได้สารอาหารอย่างเต็มที่ ผลผลิตก็มีคุณภาพ ส่วนการตัดแต่งดอกทุเรียน คุณเอกชัยกล่าวว่า “ถ้าดอกทุเรียนเยอะมากเกินไปควรตัดออกให้เหลือตามที่เราต้องการ เช่น ถ้าดอกทุเรียนประมาณ 40 ช่อ ก็อาจจะเก็บดอกทุเรียนเอาไว้ประมาณ 20 ช่อ เพื่อให้กิ่งทุเรียนกิ่งนี้ได้ผลผลิตประมาณ 10 ลูก ตรงนี้จะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละคน
และการดูแลดอกทุเรียนก็เป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง เพราะการที่ดอกทุเรียนอยู่รอดได้นั้น หมายถึง ทุเรียนก็จะมีผลผลิตที่ดีด้วย ในช่วงฤดูหนาวที่มีอุณหภูมิหนาวจัด จะทำให้ดอกของทุเรียนร่วงได้ง่าย สาเหตุเนื่องจากการขาดสารอาหาร ทำให้อาหารที่ต้นทุเรียนดูดไปใช้ไม่เพียงพอ จึงลำเลียงไปที่ส่วนของใบทุเรียนมากกว่าในส่วนของดอก ทำให้ดอกทุเรียนขาดสารอาหาร ดังนั้นต้นทุเรียนจะสลัดดอกทิ้ง ตามที่กล่าวข้างต้นจึงควรให้แคลเซียมในช่วงฤดูหนาว เพื่อเป็นการสะสมอาหารให้ดอกทุเรียนนั้นไม่หลุดร่วง
การโยงผลทุเรียนจะเป็นวิธีที่ลดการร่วงของผล และกิ่งหัก หรือกิ่งฉีก เนื่องจากลมแรงได้ การโยงผลทุเรียนต้องผูกเชือกโยงกับกิ่งทุเรียนให้เลยตำแหน่งเชื่อมต่อระหว่างขั้วผลกับกิ่งไปทางด้านปลายยอดของกิ่ง โดยพยายามสอดดึงเชือกโยงเหนือกิ่ง ทำมุมกว้างในแนวขนานกับกิ่งนั้น แล้วดึงปลายเชือกผูกรั้งกับต้นให้ตึงพอประมาณ สังเกตได้จากกิ่งนั้นยกระดับสูงขึ้นเล็กน้อย และสามารถเคลื่อนไหวได้ค่อนข้างเป็นอิสระ

การป้องกันกำจัดโรคและแมลง
ในระหว่างที่ผลทุเรียนกำลังอ่อน การป้องกันกำจัดโรคและแมลงในช่วงนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นมาก หากละเลยจะทำให้ปริมาณผลผลิตและคุณภาพของผลทุเรียนลดลง
โรคและแมลงที่สำคัญมีดังนี้
- เพลี้ยไก่แจ้ จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อน ทำให้ใบหงิกงอ ถ้าระบาดมากทำให้ใบอ่อนร่วง และยอดแห้งตาย
- เพลี้ยไฟ จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากดอกและผลอ่อน ทำให้ดอกแห้งและร่วงได้
- เพลี้ยแป้ง จะมีมดช่วยคาบพาไปยังส่วนต่างๆ ของต้นทุเรียน ทำให้ผลแคระแกร็น และเชื้อราเข้าทำลายซ้ำ
- หนอนเจาะผล ตัวหนอนจะกัดกิน และทำรังบริเวณผิวผลทุเรียน หากเจาะกินเข้าไปถึงเนื้อจะทำให้ผลเน่าเมื่อสุก


ด้านตลาดและการจำหน่ายผลผลิตทุเรียน และผลไม้หลากหลายชนิด
หลักการจัดการตลาดในไร่ตองทรัพย์ที่ยึดมั่น คือ พยายามสร้างความเชื่อมั่นในผลผลิตให้กับผู้บริโภค โดยการให้หลักการรับประกันคุณภาพ และความพึงพอใจ รับเปลี่ยนคืนผลผลิตเมื่อมีปัญหาคุณภาพ หรือไม่พึงพอใจ
การจำหน่ายผลผลิตที่ไร่ตองทรัพย์จะจำหน่ายทุเรียนสุกทั้งหมด ทั้งระบบขายปลีก และขายส่ง โดยคุณเอกชัยกล่าวว่าสวนผลไม้ของตนจะผ่านการตรวจ GAP เพื่อเป็นหลักประกันในคุณภาพของผลไม้ทั้งหมดที่ออกมาจากสวน
ปัจจุบันไร่ตองทรัพย์จำหน่ายทุเรียนภายในสวนส่งห้างแม็คโคร โดยราคาจะกำหนดจากท้องตลาดลดลงมาไม่มากนัก ดังนั้นจึงได้ราคาออกหน้าสวนค่อนข้างสูง นอกจากนี้ผลผลิตทุเรียนก็ยังมีส่งจำหน่ายภายในจังหวัด และมีผู้มารับซื้อถึงหน้าสวน และในปีนี้คุณเอกชัยคาดว่าราคาทุเรียนอาจจะสูงกว่าปีที่ผ่านมาไม่มากนัก แต่ผลผลิตที่ออกมาน่าจะได้ถึง 70 ตัน ในปีนี้ ซึ่งจะมากกว่าปีที่แล้วที่ได้ผลผลิตเพียง 50 ตัน เท่านั้น และราคาที่จำหน่ายอยู่ที่ 60 บาท/กิโลกรัม
หากท่านใดสนใจในเรื่องของการปลูกทุเรียนหรือเข้าเยี่ยมชมสวนผลไม้ไร่ตองทรัพย์สามารถติดต่อได้ที่ คุณเอกชัย ตองอบ 122 ม.6 ต.บักดอง อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ 33150 โทร.08-9721-7975