“ ทุเรียนหมอนทอง ” พบแอนติออกซิแดนท์สูง ลดไขมันในเส้นเลือด

โฆษณา
AP Chemical Thailand
Advertisement-Banner-by-บริษัท-โซตัส-อินเตอร์เนชั่นแนล-จำกัด-www.sotus.co.th
Advertisement-Banner-by-บริษัท-โซตัส-อินเตอร์เนชั่นแนล-จำกัด-www.sotus.co.th

ทุเรียน ยังคงเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง ด้วยรสชาติและเอกลักษณ์เฉพาะตัว และประโยชน์ที่มากมาย ทำให้ทุเรียนเป็นที่ต้องการของตลาด ไม่ว่าจะเป็นในประเทศเอง หรือต่างประเทศ ส่งผลให้ทุเรียนมีราคาสูง เวลานี้ไม่มีสินค้าเกษตรตัวไหนเป็นที่สนใจไปกว่าทุเรียนแน่นอน

1.ทุเรียนที่สุกพอดีไม่ดิบ-ห่าม-หรือสุกเกินไป
1.ทุเรียนที่สุกพอดีไม่ดิบ-ห่าม-หรือสุกเกินไป

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายทุเรียน

ในเรื่องของช่องทางการตลาด ยิ่งผู้บริโภคต้องการมากเท่าไร ช่องทางการตลาดก็เพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการขายออนไลน์ เปิดสวนเชิงท่องเที่ยว ขายตรง ขายผ่านพ่อค้าคนกลาง เรียกได้ว่ามีทุกรูปแบบ ซึ่งเป็นสิ่งตอกย้ำฉายาที่ได้รับว่า ราชาแห่งผลไม้ King of Fruit นอกจากรสชาติที่อร่อย มีความแตกต่างที่ลงตัว ประโยชน์ของทุเรียนก็ไม่ได้แพ้รสชาติเลย

2.สายพันธุ์ทุเรียน
2.สายพันธุ์ทุเรียน

การเปรียบเทียบทุเรียน 3 สายพันธุ์ ทั้ง ทุเรียนหมอนทอง ก้านยาว และชะนี

นักวิจัยระดับโลก จากมหาวิทยาลัยฮิบรู ประเทศอิสราเอล ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เผย ทุเรียนหมอนทอง ที่สุกพอดีมีสารแอนติออกซิแดนท์สูง และช่วยลดคลอเลสเตอรอลในเส้นเลือด โดยจะต้องเป็นทุเรียนที่สุกพอดี ไม่ใช่ดิบ ห่าม หรือสุกเกินไป จนเรียกว่าปลาร้า

โดยเนื้อหาของงานวิจัยพอสรุปได้ว่าเริ่มแรกงานวิจัยนี้ทำการเปรียบเทียบทุเรียนจากสวนจังหวัดจันทบุรีจำนวน 3 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์หมอนทอง ก้านยาว และชะนี เพื่อต้องการศึกษาปริมาณสารแอนติออกซิแดนท์ (antioxidant) หรือสารต้านอนุมูลอิสระในผลไม้เมืองร้อน : ซึ่งมีประโยชน์ ลดคลอเลสเตอรอลในเส้นเลือดชนิด LDL สามารถป้องกันเส้นเลือดอุดตันที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจได้

ผลการทดลองพบว่าทุเรียนพันธุ์หมอนทองมีสารแอนติออกซิแดนท์สูงกว่าพันธุ์ก้านยาว และชะนี จึงทำการทดลองต่อไปว่าระยะความสุกระดับใดจะให้สารแอนติออกซิแดนท์สูงสุด พบว่าทุเรียนพันธุ์หมอนทองที่สุกพอดีมีสารแอนติออกซิแดนท์สูง และช่วยลดคลอเลสเตอรอลในเส้นเลือด

รศ.ดร.รติพร กล่าวว่า หากมีการนำงานวิจัยนี้ไปต่อยอดเพิ่มเติมว่า คนที่เป็นเบาหวานสามารถรับประทานทุเรียนได้หรือไม่ เพราะในงานวิจัยพบว่าหนูทดลองที่ได้รับทุเรียนหมอนทองไม่ได้มีปริมาณน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น หนูที่ใช้ทดลองไม่ได้เป็นเบาหวาน ซึ่งเป็นโอกาสดีหากมีการต่อยอดทดลองกับผู้บริโภคเป็นเรื่องสำคัญ และต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก หากได้การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐจะเกิดประโยชน์กับประเทศไทยอย่างยิ่ง

โฆษณา
AP Chemical Thailand
3.สวนทุเรียน
3.สวนทุเรียน

ประโยชน์และโทษของทุเรียน

ทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีทั้งประโยชน์ และโทษ ทุเรียนก็เช่นกัน ท่านใดที่ชอบทุเรียนก็อย่ากินเพลิน ทาง นิตยสารเมืองไม้ผล&พืชสุขภาพ ก็ไม่ลืมที่จะหาข้อมูลมาให้ท่านผู้อ่านได้อ่านกัน

ทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีแป้งและน้ำตาลสูง จึงไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งต้องควบคุมปริมาณน้ำตาลและไขมันในเลือด สำหรับคนปกติเองก็ใช่ว่าจะกินทุเรียนได้แบบไม่จำกัด ซึ่งทางกรมอนามัยมีการออกมาเตือนว่า การกินทุเรียน 4-6 เม็ด จะเทียบเท่าการดื่มน้ำอัดลม 2 กระป๋อง (พลังงานประมาณ 400 กิโลแคลอรี)

และการกินทุเรียนกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้ร่างกายเกิดความร้อนสูง เสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากการขาดน้ำได้ แนะนำว่าไม่ควรกินเกิน 2 เม็ดกลาง หลังกินอาหารจานหลัก สำหรับคนธาตุไฟ การกินทุเรียนทำให้เกิดโรคร้อนใน และเจ็บคอได้ง่าย วิธีป้องกัน คือ ดื่มน้ำผสมเกลือแกงครึ่งช้อนชา หรือดื่มน้ำตามมากๆ เพื่อขับสารซัลเฟอร์ และช่วยลดอาการร้อนในได้

4.ทุเรียนหมอนทอง
4.ทุเรียนหมอนทอง

แนวโน้มในอนาคต

“อนาคตพื้นที่ปลูกทุเรียน มีทั้งในไทย กัมพูชา ลาว เวียดนาม และจีน รวมทั้งมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ปริมาณทุเรียนในตลาดจำนวนมหาศาล จะนำข้อมูลอะไรไปบอกผู้บริโภคในตลาดโลกว่าควรบริโภคทุเรียนพันธุ์หมอนทองจากไทย หรือเจาะลึกว่าต้องเป็น ทุเรียนหมอนทอง ของ จ.จันทบุรี

หากมีการวิจัยต่อยอดงานนี้ให้ได้คำตอบว่าทุเรียนพันธุ์หมอนทองของไทยมีคุณภาพ ที่เหมาะกับการบริโภคเพื่อสุขภาพ แตกต่างจากทุเรียนพันธุ์หมอนทองที่ปลูกทั่วๆ ไป นั่นคือความยั่งยืนของเกษตรกรชาวสวนทุเรียน จะได้ไม่ต้องปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นหมุนเวียนกันเช่นอดีตที่ผ่านมา”