บุก ! “สวนทุเรียนเจ๊หนู” เมืองจันท์ฯ มาตรฐานส่งออกนอก เผยเคล็ดไม่ลับ บำรุงต้น-ขั้วสวย-ออกดอกดีง่าย ๆ ด้วย ‘พีค โพลี’

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ความท้าทายของชาวสวนทุเรียนไทยในยุคนี้ คือ การแข่งขันเรื่องคุณภาพของผลผลิตที่ต้องให้ได้ตรงตามมาตรฐานที่ตลาดส่งออกต้องการ หากไม่ต่อยอดและพัฒนา ปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตแบบเดิม ๆ โอกาสส่งออกทำรายได้ และการยกระดับชีวิตเกษตรกรไทยให้ดีขึ้นคงเป็นไปได้ยาก

เพราะฉะนั้นชาวสวนทุเรียนต้องเรียนรู้จากภูมิปัญญาคนรุ่นเก่า และนำมาต่อยอด รู้จักพลิกแพลงและผสมผสานการใช้เทคนิคต่างๆ, เทคโนโลยีต่างๆ เพื่อเพาะปลูก บำรุงรักษา และเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ดีกว่า ทันสมัยกว่า ให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่าเดิม เพราะโลกเปลี่ยน พฤติกรรมผู้บริโภคก็เปลี่ยน แน่นอนว่า ตลาดทั้งในและต่างประเทศก็มีความต้องการและมาตรฐานสินค้าที่สูงขึ้น

1.เจ๊หนู01

รู้จัก “เจ๊หนู” เจ้าของสวนทุเรียนหัวก้าวหน้า สืบสาน-พัฒนา-ต่อยอด

“เจ๊หนู” เจ้าของสวนทุเรียนบนพื้นที่ปลูกกว่า 20 ไร่ ในพื้นที่ ต.ซึ้ง อ.ขลุง จ.จันทบุรี คือ ชาวสวนทุเรียนยุคใหม่ที่สืบสานอาชีพทำสวนทุเรียนต่อจากรุ่นพ่อแม่ โดยพัฒนาต่อยอดในเรื่องเทคนิคการปลูกและการรักษามาตรฐานอย่างไม่หยุดนิ่ง โดยมีเป้าหมาย คือ การทำทุเรียนให้ได้มาตรฐานเกรดส่งออกนอกในทุกรอบการผลิต ซึ่งเจ๊หนูยินดีที่จะเผยเคล็ด (ไม่) ลับ ปลูกทุเรียนให้ได้ผลผลิตดี มาตรฐานส่งออกนอก แบบฉบับ “เจ๊หนู” ให้ชาวสวนทุเรียนทุกท่านอีกด้วย

ย้อนกลับไปก่อนหน้านั้น เจ๊หนูเคยทำงานบริษัทร่วมกว่า 10 ปี เพราะพ่อแม่ยังทำสวนทุเรียนไหว เจ๊หนูจึงปล่อยให้พ่อแม่บริหารจัดการสวนทุเรียนต่อไป โดยสมัยรุ่นคุณพ่อก็เริ่มทำตลาดส่งออกล้งไปจีนและหลายๆ ประเทศ แต่จำนวนยังไม่มากนัก จนกระทั่งพ่อแม่เริ่มมีอายุมาก ทำไม่ไหว เจ๊หนูจึงกลับมาสานต่อทำสวนทุเรียน โดยมุ่งมั่นทำอย่างจริงจัง ทั้งนี้กระบวนการปลูกทุเรียนต่างๆ นั้น เจ๊หนูไม่ได้ทำเหมือนเดิมสมัยรุ่นพ่อแม่ไปเสียทั้งหมด เพราะเข้าใจโลก มองเรื่องของพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคและตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตอย่างสิ้นเชิง

“ตอนมาทำสวนแรกๆ เราก็ดูพ่อแม่ทำ ใส่ปุ๋ยอะไร ฉีดยายังไง พอคลุกคลีไปเรื่อย มันก็ซึมซับเอง บางทีก็ได้คุยกับเซลล์หรือเจ้าหน้าที่ที่เข้ามาขายผลิตภัณฑ์ปุ๋ย ก็ต่างคนต่างแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน แนวคิดส่วนตัวของเรา คือ ปรับเปลี่ยนยืดหยุ่นได้ตลอด มีการทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ยา ปุ๋ย จากหลายๆ ยี่ห้อ จากบริษัทต่างๆ ตลอดจนเทคนิคการปลูก และเทคโนโลยีใหม่ๆ นำมาใช้ในการเพาะปลูก กล่าวคือ อะไรดี ก็เปิดใจทดลองใช้ จนกว่าจะเจอสิ่งที่ดีที่สุด ให้ผลลัพธ์ดี และเหมาะสมกับตนเองมากที่สุด”

จากการพูดคุยกับเจ๊หนูถึงวิธีการปลูกทุเรียน รวมทั้งกระบวนการตัดแต่ง ควบคุมพุ่มรูปทรง และการบำรุงราก ดอก ใบ อาจสรุปได้ว่าเจ๊หนูอาศัยประสบการณ์ เรียนรู้และสังเกตผลลัพธ์ด้วยตัวเองแทบทั้งสิ้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ทั้งนี้มีตัวช่วยที่ใช้ประจำ คือ ผลิตภัณฑ์ตัวหลักๆ ไม่กี่ตัว ซึ่งมีบทบาทสำคัญ เป็นเคล็ด (ไม่) ลับ ทำให้ทุเรียนสวนเจ๊หนูตรงสเปกตลาด ปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตส่งออกตลาดต่างประเทศหมดเกลี้ยงสวนทุกรอบเก็บเกี่ยว

2.เจ๊หนู02

ผลิตภัณฑ์ที่เจ๊หนูเลือกใช้ในการปลูกทุเรียนให้ได้ผลผลิตดี มาตรฐานส่งออก โดยจะเลือกใช้อยู่เป็นประจำ ตามแต่ละวัตถุประสงค์ ได้แก่

  • ‘พีค โพลี’ ผลิตภัณฑ์ฟื้นฟูทุเรียน บำรุงต้น บำรุงใบ ตัวนี้คือพระเอก ขาดเสียมิได้
  • ‘พีค รูทเตอร์’ ช่วยบำรุงและป้องกันโรครากเน่า โคนเน่า โรคเชื้อราต่าง ๆ
  • ผลิตภัณฑ์โปรตีนอะมิโน บำรุงต้น
  • ผลิตภัณฑ์ กลุ่ม ยารา ยาหนอน ยาเพลี้ย
  • ผลิตภัณฑ์ ยืดช่อผล ยืดขั้วผล ยืดช่อดอก
  • ปุ๋ยสูตรเสมอ 16-16-16

3.เจ๊หนู03

การบำรุงดูแลต้นทุเรียน

ด้านการเก็บเกี่ยวทุเรียน และบำรุงฟื้นฟูต้นหลังเก็บเกี่ยวในแต่ละรอบ โดยเจ๊หนูเผยว่าไม่ได้มีเคล็ดลับอะไร แค่เอาใจใส่ หมั่นเดินตรวจดูหน้าดิน ดูราก ดูต้น-กิ่ง-ใบ อย่างสม่ำเสมอ และให้ปุ๋ย, ฉีดยาตามระยะและขั้นตอนหลังเก็บเกี่ยวก็เท่านั้นเอง

“เรื่องความเอาใจใส่ ส่วนตัวก็ได้มาจากที่พ่อแม่สอนเรา บอกเรา แต่เราก็นำมาพัฒนาด้วย เอาใจใส่การดูแลให้มากขึ้นทุกขั้นตอน ยกตัวอย่าง การตัดลูกให้เสร็จภายใน 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นคือ ให้อาหารหรือปุ๋ย เหมือนหว่านปุ๋ยให้เค้า (ทุเรียน) กิน โดยเราใช้ผลิตภัณฑ์อยู่หลายตัว เช่น พีค โพลี และ ปุ๋ยสูตรเสมอ 16-16-16 สองตัวนี้ใช้แทบจะทุกขั้นตอนของการบำรุงต้นทุเรียนก็ว่าได้

จากนั้น ทุก 7-10 วัน ต้องฉีดใบ คือ ทุเรียนต้องฉีดพ่นยาใบดอกตลอดนะ หรือตอนมีลูกถ้ามีโอกาสก็ฉีด 20 วัน ถึง 1 เดือน คือ ให้ปุ๋ยทางใบ ซึ่งใช้ พีค โพลี เหมือนเดิมนั่นแหละ รวมถึงใส่ยาฆ่าหนอน ยากันรา ยาเพลี้ย ถ้าต้นไหนมีใบเหลือง เราก็ใส่สังกะสีเหมือนซิงค์ เพราะใบเหลืองหรือใบแก้วเนื่องจากขาดธาตุสังกะสี

อีกเรื่องคือ หน้าดินและรากเน่า ซึ่งต้องคอยสังเกต ถ้ารากเน่าจะเห็นเป็นรูจะเป็นทางน้ำไหล เราก็ต้องเอาตัว พีค รูทเตอร์ ทาตลอดเวลาเจอรูที่เน่า หรือการบำรุงใบก็เช่นกัน โดยใช้ พีค โพลี หว่านตามต้นเล็กๆ หรือต้นใหญ่ๆ จากที่ทดลองใส่ พีค โพลี ผสมกับปุ๋ย ได้ผลลัพธ์ที่ดี เหมือนไปทำให้กระตุ้นใบอ่อน ให้ออกดีออกสม่ำเสมอ ใบจะแข็งแรงและดูสวย

สิ่งสำคัญ คือ ช่วงฤดูฝน ทำให้เกิดความชื้นต่างๆ เราก็ต้องเดินดูบ่อยๆ ดูทีละต้น มีรากเน่า มีแผลมั้ย มีใบติดเชื้อมั้ย ฯลฯ ถ้าเราเจอก็ต้องรีบแก้ปัญหาให้เร็ว เช่น การใช้ ไตรโดเดอร์มา มาผสมผงยาแล้วฉีดใบ-พ่นใบ ก็จะลดความเสียหายได้  หรือเวลาทำสาวทุเรียนหรือเปลี่ยนยอดพันธุ์ ตรงนี้ก็สำคัญเหมือนกัน  โดยที่สวนจะยังไม่ตัดแขนง เวลาตัดลูกเสร็จ โดยบางสวนทุเรียน เค้าจะรีบตัดแขนงทิ้งเลย แต่เราจะไม่ตัดแขนง เก็บแขนงไว้ก่อน รอให้ทำสารเสร็จก่อน จึงฉีดพ่นยา/สารเร่งดอก ที่แขนงเข้าไปด้วย เพื่อให้ดูดซับเข้าไปในกิ่งเพื่อเร่งดอก โดยทิ้งไว้ 7-10 วัน แล้วจึงค่อยตัดออก ซึ่งมันจะทำให้ดอกดก

โฆษณา
AP Chemical Thailand

แต่ย้ำว่า เป็นสูตรการดูแลของเรานะ อย่างที่บอกว่า ตัวอย่างที่บอกเล่ามานี้ ก็เป็นวิธีจัดการในแบบฉบับของเรา เจ๊หนูกล่าว…

4.เจ๊หนู04

วิธีบำรุงต้น-ฟื้นฟูหลังเก็บเกี่ยว น้อยขั้นตอน..แต่เยอะคุณภาพ สไตล์ “เจ๊หนู”

  • เริ่มตั้งแต่ตัดลูก (ตัดแต่งผลทุเรียนเล็ก) พอนำลูกรุ่นใหม่มา ก็ต้องตัดลูกภายใน 7-10 วัน
  • จากนั้นใส่ปุ๋ย บำรุงดิน ใส่เคมี ใช้สูตรปุ๋ยสูตรเสมอ, ใส่พีค โพลี โดยผสมปุ๋ยแล้วก็หว่านทางดิน เพื่อกระตุ้นราก กระชากใบ ให้ใบออกดี
  • หลังจากนั้นก็บำรุงใบ โดยฉีดพ่นฮอร์โมน ผสม ‘พีค โพลี’ ใส่ตลอดจนกว่าจะออกดอก และบำรุงราก ฉีดทุก 7-10 วัน
  • ฉีดยาเพลี้ย กลุ่ม ‘ลองจิ๊บ โซตัส’ และ ยากันรา, ยากันหนอนแมลง สลับกันไป
  • พอจะใกล้ออกดอก ก็เสริมฮอร์โมนน้ำ เพื่อเร่งดอก (หยุดใส่ พีค โพลี)
  • พอเริ่มมีดอก ก็ฉีดฮอร์โมนไปอีก 7-10 วัน สลับกับ ฉีด ตัวยาบำรุงดอก บำรุงผลอ่อน เพื่อยืดรูปทรงให้สวย
  • พอลูกออกเต็มพู ก็จะหว่านปุ๋ยเกล็ดสูตร 15-5-20 หว่านที่โคน 1-2 รอบ เพื่อให้พูเปล่ง สวยงาม
  • ระหว่างนั้น อย่าลืมฉีดพ่นยาเพลี้ย, รา, หนอน วนแบบนี้สลับไป

เมื่อถามถึงหลักการหรือแนวคิดอะไรทำให้ปลุกปั้นพัฒนาและยกระดับสวนทุเรียนจนกลายเป็นมาตรฐานส่งออกนอกเช่นทุกวันนี้ ซึ่งเจ๊หนูบอกว่า “ไม่ได้มีอะไรเป็นพิเศษ แค่เพียงเราไม่หยุดที่จะพัฒนาแค่นั้น อะไรที่เป็นเหมือนรากฐานพ่อแม่ทำไว้ให้ เราก็ยังคงรักษาและสืบสาน แต่ทั้งนี้พฤติกรรมและตลาดเปลี่ยนไป  เราก็ต้องปรับตัว และปรับใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีในการเพาะปลูกในการทำสวนให้เท่าทันโลกด้วย มิเช่นนั้นเราก็อยู่ไม่ได้ ผลผลิตขายไม่ได้

โดยกว่าจะสำเร็จเหมือนทุกวันนี้ ก็ล้มลุกคลุกคลานมาเยอะ ใช้เวลากว่า 3-4 ปี จึงจะสำเร็จ สมัยก่อนยาฉีดพ่นที่พ่อแม่ใช้ก็ไม่เหมือนสมัยนี้  พ่อกับแม่ใช้วิธีปลูกหรือบำรุงทุเรียนแบบเดิม แต่โลกมันก้าวหน้าไปมาก เราต้องเรียนรู้เริ่มกันใหม่ ก็บอกตัวเองว่า ต้องก้าวหน้าต่อไป ท้อไม่ได้”

5.เจ๊หนู05

ทำตามขั้นตอนเจ๊หนู รับรองได้ผล ! สงสัย..ปรึกษาฟรี !

สำหรับ “เจ๊หนู” ทุกวันนี้ มีชาวสวนทุเรียนหลายราย ที่เข้ามาหรือโทรศัพท์ติดต่อขอคำปรึกษา ขอคำแนะนำวิธีปลูก-บำรุงต้นทุเรียน เพื่อนำไปปรับใช้ในสวนของแต่ละคนจำนวนไม่น้อย ซึ่งเจ๊หนูพร้อมยินดีและเต็มใจบอกเล่า ถ่ายทอดประสบการณ์การทำทุเรียนมาตรฐานส่งออกนอก แบบไม่หวงวิชาความรู้แม้แต่นิดเดียว โดยเจ๊หนูกล่าวในตอนท้ายว่า..

“แต่ละวันมีคนมาปรึกษาเราเยอะ บางทีเราจดสูตรยาให้ด้วยนะ เช่น ต้องใช้กี่ ซีซี. ต่อน้ำ 200 ลิตร ผลิตภัณฑ์ยาใช้อะไรบ้าง บอกชื่อร้านขายยาให้ด้วย เรามองว่าก็ช่วยเหลือกัน จะได้ขายได้มีกำไร พลิกฟื้นชีวิตเกษตรกรทุกคนให้ดีขึ้น สิ่งสำคัญ คือ ปลูกทุเรียนต้องใช้ความอดทน ซึ่งกว่าจะได้ลูก เก็บลูกเสร็จ ก็ต้องมาบำรุงต่อ ก็คือ ปลูกทุเรียนต้องมีการลงทุนตลอดทั้งปี ค่ายา ค่าปุ๋ยต่างๆ  แต่ถ้าขายได้มันก็คุ้มนะ”

ชาวสวนทุเรียนลองนำวิธีการบำรุง-ฟื้นฟูทุเรียน ของ “เจ๊หนู” ไปทดลองปรับใช้กันดู ซึ่งเจ๊หนูบอกว่าถ้าทำตามนี้ รับรองว่าได้ผล ทุเรียนออกดอก ลูกดกมีคุณภาพ ตรงความต้องการตลาดนอกแน่นอน และขอเป็นกำลังใจให้พี่น้องเกษตรกร ขอให้สู้ อดทน พยายาม อย่าหยุด อย่าท้อถอยง่ายๆ แล้วจะสำเร็จเอง หรือถ้าใครมีคำถาม มีข้อสงสัย สามารถโทรสอบถามได้ที่ ร้านสามเกษตร อ.ขลุง โทร.088-582-8919

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สนใจสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ติดต่อ บริษัท พีค อโกรเคมี 2 จำกัด 32/21 หมู่ที่ 4 ต.ท้ายเกาะ อ.สามโคก จ.ปทุมธานี 12160 สายด่วน : รากเน่าโคนเน่า 087-977-1590, 02-598-9207

อ้างอิง : นิตยสารพลังเกษตร ฉบับที่ 36