ในวันนี้มาติดตามเรื่องราวของเกษตรท่านหนึ่ง เป็นบุคคลที่ถูกบรรพบุรุษปลูกฝังกับการประกอบอาชีพเกษตรมาโดยตลอด ตั้งแต่เด็กจนเป็นผู้ใหญ่ เป็นผู้นำของครอบครัว คุณสุรินทร์ เกียรติหงสา เจ้าของสวนชมพู่เขียวอำพัน อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
ทางทีมงานได้มีโอกาสพูดคุยถึงประวัติและเรื่องราวของต้นกำเนิดชมพู่พันธุ์เขียวอำพัน รู้สึกว่าเกษตรคนไทยยังมีความคิดเห็นที่จะพัฒนาและสืบทอดอาชีพนี้ให้ยั่งยืน
ชมพู่พันธุ์ใหม่ “เขียวอำพัน” ผสมระหว่าง ชมพู่สายพันธุ์ทูลเกล้า และทับทิมจันทร์
คุณสุรินทร์เล่าว่า สมัยรุ่นบรรพบุรุษทำเกษตรมาตั้งแต่แรก โดยปลูกพุทรา ฝรั่ง และองุ่น ก่อนมา ปลูกชมพู่ เป็นชมพู่พันธุ์แดง หรือพันธุ์ทับทิมจันทร์ ปลูกชมพู่ มา 13 ปี ซึ่งเป็นพันธุ์ที่เขานำเอาตาของทับทิมจันทร์มาติดที่ ต้นชมพู่ พันธุ์ทูลเกล้าที่ ปลูกชมพู่ ไว้ 300 กว่าต้น พอเจริญเติบโตมาด้วยกันกลายเป็นทับทิมครึ่งหนึ่ง และเป็นทูลเกล้าครึ่งหนึ่ง
ในช่วงหนึ่งที่มีชมพู่พันธุ์ทับทิมจันทร์เฟื่องฟูมาก ผู้บริโภคนิยมรับประทาน แล้วเขา ปลูกชมพู่ พันธุ์ทูลเกล้าไว้ ถึงจะเป็นทับทิมครึ่งก็ตาม ทำให้ช่วงนั้นพันธุ์ทูลเกล้าขายไม่ได้ จึงปล่อยสวนชมพู่โดยที่ไม่สนใจ อยู่มาวันหนึ่งคุณสุรินทร์ได้เข้าสวนไปถอนหญ้าแล้วก็แปลกใจเป็นอย่างมาก เขาได้ไปพบ ต้นชมพู่ ที่เกิดขึ้นมาใหม่ใต้ต้นของชมพู่สายพันธุ์ทูลเกล้าครึ่งหนึ่ง และทับทิมจันทร์ครึ่งหนึ่ง ตอนนั้นก็คิดว่าเป็นการผสมกันระหว่างชมพู่พันธุ์ทูลเกล้ากับชมพู่พันธุ์ทับทิมจันทร์
จึงได้ถอนต้นมา ปลูกชมพู่ และคิดว่าต้นที่นำมา ปลูกชมพู่ เป็นพันธุ์ทับทิมจันทร์ เพราะลักษณะของใบคล้ายๆ กับใบของพันธุ์ทับทิมจันทร์ ในช่วงนั้นทับทิมจันทร์ยังคงราคาดี จึงปลูกไว้ 5-6 ปี จนให้ผลผลิต และทำการห่อไว้ เกิดเป็นชมพู่พันธุ์ใหม่ คือ “เขียวอำพัน” จึงได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมวิชาการเกษตร
การจำหน่ายชมพู่เขียวอำพัน
เริ่มแรกตอนกิ่งไว้ปลูก 300 กิ่ง แต่เนื่องด้วยอากาศร้อน ทำให้ได้กิ่งพันธุ์ไว้ ปลูกชมพู่ ได้แค่ 100 กิ่ง เก็บผลขายกิโลกรัมละ 45 บาท มากกว่าพันธุ์ทับทิมจันทร์หนึ่งเท่า ทับทิมจันทร์กิโลกรัมละ 20 บาท ตอนนี้ขยายเป็น 500 ต้น ในพื้นที่ทั้งหมด 7 ไร่ มีแม่ค้ามารับที่บ้าน ขายตลาดสี่มุมเมือง ตลาดไท
ช่วงแรกๆ จะส่งขึ้นห้างเดอะมอลล์ 9 สาขา แต่ปัจจุบันนี้ทางสวนส่งแค่ตลาดสี่มุมเมืองเพียงแหล่งเดียว รายได้ต่อรอบผลผลิตชมพู่เขียวอำพันเป็นหลักแสน ถ้ามีการจัดการที่ดีในรอบ 1 ปี รายได้ไม่ต่ำกว่า 1,000,000 บาท แน่นอน และชมพู่เป็นผลไม้ที่มีราคาดีมาโดยตลอด ทำให้ชาวสวนชมพู่มีรายได้ดี
การเก็บเกี่ยวผลผลิตชมพู่เขียวอำพัน
สำหรับการเก็บเกี่ยวผลผลิตชมพู่เขียวอำพันมีทั้งหมด 7 รุ่น 7 รอบ ด้วย แต่ผลผลิตที่ได้มากๆ จะอยู่ที่ 3 รอบแรก ในการที่จะเอาผลผลิตทุกรุ่น สภาพของต้นจะแย่และโทรมได้ อยู่ที่การจัดการว่าควรจะเอาผลผลิตกี่รุ่น ในระยะออกดอกจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิตไม่เกิน 30 วัน เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้มากกว่านั้น จะทำให้ผลของชมพู่แตกเสียหาย 1 ต้น สามารถห่อได้ที่ 60 ถุง ประมาณ 40 กิโลกรัม ต่อ 1 ครั้ง
การซื้อขายหน้าสวน
ตามสวนผลไม้ทุกแห่งเป็นที่จับตามองของพ่อค้า แม่ค้า คนกลาง ทั้งหลาย ในฤดูกาลไหนที่มีผลผลิตออกมา ฤดูกาลนั้นจะมีพ่อค้า แม่ค้า คนกลาง เข้าสวนกันอย่างขวักไขว่ เหมือนกับ “เสือเจอเหยื่อ” เพื่อเข้าไปติดต่อเจ้าของสวนเพื่อซื้อผลผลิต เรียกกันว่า “การซื้อขายหน้าสวน” เป็นการเหมาผลผลิต ทั้งสวนตกลงราคากันเรียบร้อยแล้ว
จากนั้นก็มีการเก็บเกี่ยวผลผลิตก็จะมีพ่อค้าคนกลางมารับเพื่อนำไปขายออกสู่ตลาดในราคาที่สูง ราคาหน้าสวนกิโลกรัมละ 50 บาท พ่อค้าสามารถนำไปทำให้เพิ่มมูลค่าของสินค้า
โดยจะมีวิธีการแพ็คใส่โฟมขายตามห้างสรรพสินค้าได้ราคาสูงกว่าขายตามท้องตลาด มันเป็นกลไกการตลาดที่เจ้าของสวนไม่สามารถมีเวลามาจัดการเกี่ยวกับการตลาดแบบนี้ได้ จึงต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของพ่อค้าคนกลางซึ่งเป็นทางของเขาอยู่แล้ว มีกลยุทธ์ เทคนิคต่างๆ ที่เกษตรกรต้องยอมรับว่าไม่มีเวลาไปบริหาร เพียงแค่ใช้เวลาดูแลสวนก็เพียงพอแล้ว
การประกวดความหวานของชมพู่
จากการประกวดความหวานที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน เข้าประกวดในปีแรกมีการแข่งขัน 2 ประเภท ด้วยกัน คือ ชมพู่แดง กับชมพู่เขียวอมชมพู โดยการเข้าประกวดในประเภทเขียวอมชมพู เนื่องจากชมพู่พันธุ์เขียวอำพันมีลักษณะของสีผลเขียวอมชมพู แข่งกับชมพู่ของเพชรบุรี ในความหวานชมพู่เพชรบุรีหวานขึ้นชื่ออยู่แล้ว
เมื่อเข้าปีที่สองก็ส่งเข้าประกวดประเภทเดิม หลังจากกลับไปคิดค้นเทคนิคทำให้ชมพู่หวานมากขึ้น จึงได้รับรางวัลทั้งอันดับที่ 1 และอันดับที่ 2 ด้วยความที่ว่าชมพู่ของเขามีการออกผลได้หลายรุ่นมากกว่าชมพู่เพชรบุรี จึงทำให้สภาพต้นไม่สมบูรณ์ ส่งผลต่อผลผลิตที่อาจจะไม่หวานเต็มที่
การตัดแต่งกิ่ง ต้นชมพู่
จะสามารถตัดแต่งกิ่งได้ในช่วงพัก ต้นชมพู่ ช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคม เพื่อเป็นการรักษาทรงพุ่มให้สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้สะดวก หลังจากนั้นก็จะบำรุง ต้นชมพู่ เพื่อรอให้ ต้นชมพู่ มีความสมบูรณ์มากขึ้น และพร้อมที่จะออกดอกให้ผลผลิตในรอบต่อไป
เพื่อให้ผลผลิตสามารถเก็บได้ก่อนปีใหม่ ราคาจะดีมาก เพราะเป็นช่วงที่ไม่มีผลไม้ชนิดใดออกผลผลิต ถ้าชมพู่สามารถออกผลผลิตได้ก่อนจะได้ราคาถี ถือว่าเป็นผลไม้อีกชนิดที่ให้ผลผลิตในช่วงสั้นๆ ได้ดี ให้ผลผลิตเร็ว ช่วยสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร
การให้ปุ๋ย ต้นชมพู่
ช่วงแรกจะใส่ปุ๋ยเพื่อเร่งราก คือ ฮิวมิค เป็นสารเร่งราก B1 ก็เร่งราก ช่วยทำให้มีการแตกใบอ่อนได้ดี ใส่เดือนเว้นเดือน ส่วนปุ๋ย N P K สูตร 25-17 ใส่ทุกเดือน พอเข้าเดือนที่ 5 ก็จะเป็น 25-17 กับ 16-16-16 พอเริ่มเข้าเดือนที่ 9 จะเปลี่ยนเป็นสูตร 8-16 เพียงตัวเดียว
5 เดือนแรก เป็นการเร่งใบให้แก่ พอใส่ปุ๋ย 25-17 จะทำให้แตกกิ่งก้านได้เร็ว ชมพู่อายไม่เป็น ยิ่งทำให้เจริญเติบโตเร็ว ยิ่งให้ผลผลิตได้ไว ดูแลเอาใจใส่ “เราจะไม่ทำการเกษตรสมัยโบราณ คือ แต่ก่อนคนสมัยโบราณพอปลูกเสร็จแล้วก็ไปทำงานอื่น ปล่อยให้มันโตไปเอง” แต่ในยุคนี้เกษตรกรต้องมีการเรียนรู้และพัฒนาอยู่ตลอดเวลา การใส่ปุ๋ยอยู่ที่เราจะกำหนดต้องการให้ได้ผลผลิตเร็ว การลงทุนในเรื่องของปุ๋ยก็จะเพิ่มเป็นปกติ แต่ทางสวนค่าปุ๋ยอยู่ที่ 3,000 บาท
การบริหารจัดการ ต้นชมพู่
ทำเป็นร่องปลูกลึกประมาณ 20 เซนติเมตร ปลูกระยะต้นอยู่ที่ 3 เมตร ระยะแถว 6 เมตร ใช้วิธีการ 2 แบบ คือ การชำ และการตอน ถ้าเน้นคุณภาพของกิ่งพันธุ์ต้องทำโดยการตอน แต่เน้นปริมาณต้องทำโดยการชำ ส่วนที่ทำขายจะทำการชำ เลือกยอดที่กำลังดี มีสีชา ยาวประมาณ 5 คู่ใบ แล้วทำการเอาใบออกให้เหลือเพียง 5 ใบ
จนเรียกว่า “5 คู่ใบ” ตัดกิ่งให้เฉียง แล้วจุ่มด้วยน้ำยาเร่งรากประมาณ 1 นิ้ว นำมาตากให้แห้ง แล้วนำมาชำไว้ในถุงดำ ใช้สเปรย์ฉีดพ่น รดน้ำทุกวัน 6 โมงเช้า ถึง 5 โมงเย็น ภายในระยะเวลา 1 เดือน รากเริ่มออก
การขยายกิ่งพันธุ์ ต้นชมพู่
มีอาจารย์ท่านหนึ่งเป็นบุคคลที่ช่วยเก็บข้อมูล ชื่อ อาจารย์บุญพร้อม ทีวาพัฒน์ และเมื่ออาจารย์ย้ายไปอยู่ที่เชียงใหม่ พอทางคุณสุรินทร์ขอข้อมูลกลับหายไปหมด แต่อาจารย์บุญพร้อมได้ให้คำสั่งสอนกับคุณสุรินทร์ไว้ว่า “จำไว้นะกิ่งเดียวก็ให้ใครไม่ได้ แม้แต่ญาติ” แต่กลับพลาด ด้วยความที่มีปัญหาทางการเงิน มีเกษตรกรท่านหนึ่งมาขอซื้อกิ่งพันธุ์ โดยการมัดจำไว้ 50,000 บาท เขาให้เวลาภายใน 2 เดือน
แต่คุณสุรินทร์ผลัดมาเป็น 6 เดือน กว่าจะทำกิ่งพันธุ์ขายให้ รวมแล้วขายให้เกษตรกรคนนี้ได้ 150,000 บาท เป็นการผิดพลาดครั้งใหญ่สำหรับเขา เพราะไม่เชื่อฟังคำสอนของอาจารย์บุญพร้อม ทำให้เกษตรกรที่ซื้อกิ่งพันธุ์ของเขาไปปลูก และผลิตกิ่งพันธุ์ขายเพียงอย่างเดียว ทำให้ตลาดกิ่งพันธุ์ของเขาแคบลงมาก
อีกอย่างสวนของคุณสุรินทร์อยู่ในที่ทำเลไม่ดี ถ้าคนไม่รู้จักจริงๆ จะเข้าไม่ถึง ถูกตลาดรอบๆ ตัดหน้าเสียก่อน ทางสวนของคุณสุรินทร์ขายกิ่งพันธุ์เพียงกิ่งละ 250 บาท แต่ผู้อื่นขายในราคากิ่งละ 500 บาท ขณะนี้จึงขายกิ่งพันธุ์ตามออเดอร์ที่สั่งมา สามารถสร้างรายได้ถึง 700,000 บาท ในปีเดียว
การป้องกันกำจัดโรคและแมลง
เป็นระบบนิเวศของธรรมชาติสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว เมื่อผลผลิตจำพวกผลไม้หลายๆ ชนิด จะถูกรบกวนโดยแมลงที่คอยกัดกินทำลายผลผลิตจนเกิดความเสียหายเป็นประจำทุกปี จนกลายเป็นเรื่องที่เกษตรกรคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ทางสวนชมพู่ของเขาก็ประสบปัญหาเรื่องแมลงวันทอง เพลี้ยไฟ และหนอนกินใบ
ส่วนมากที่เป็นปัญหาหนักๆ จะเกิดจากแมลงวันทอง กำจัดโดยยาล่อแมลงวันทอง คือ เมทิลยูจินอล จะฉีดเฉพาะพบเจอแมลงวันเท่านั้น ถ้าไม่มีแมลงวัน หรือเพลี้ยไฟ และหนอนกินใบ ทางสวนเขาจะไม่ฉีดยา “เรารักษาต้นไม้เหมือนเรารักษาคน ถ้าคนไม่เป็นอะไรเราก็ไม่ต้องฉีดยา” คุณสุรินทร์ยืนยัน
เป็นการรักษาคุณภาพของ ต้นชมพู่ ไปในตัวด้วย เพราะถ้าฉีดยามากๆ จะทำให้ ต้นชมพู่ ดูดซับเอายาเข้าไป ทำให้ ต้นชมพู่ โทรม ทำให้เกิดผลเสียตามมา โดยอาจจะให้ผลผลิตไม่ดี สิ่งที่สำคัญหลักๆ คือ สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ เป็นการเพิ่มต้นทุนโดยใช่เหตุ
เกษตรกรบางครั้งยังเข้าใจผิดๆ คิดว่าต้องฉีดยาบ่อยๆ เพื่อป้องกันแมลงและโรคต่างๆ เพื่อรักษาคุณภาพต้นให้สมบูรณ์ เป็นความคิดที่ผิดๆ ถ้าเราเจอแล้วค่อยฉีด จะเป็นการช่วยเซฟต้นทุนได้มาก เมื่อลดด้นทุนตรงนี้ไปได้ผลกำไรที่ได้มาก็จะเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม จึงทำให้เกษตรกรบ่นกันเป็นประจำว่า “ทำเท่าไรก็ไม่เหลือ” ก็เพราะว่าขาดความคำนึงถึงในส่วนตรงนี้ไป และอีกอย่างเป็นที่มาของการต้องทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายขึ้น
การจัดสรรงบประมาณรายรับ-รายจ่าย
คุณสุรินทร์เป็นเกษตรกรอีกท่านหนึ่งซึ่งเล็งเห็นความสำคัญของการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการบันทึกต้นทุนที่ใช้จ่ายไป และจะได้วางแผนการจัดสรรงบประมาณได้ง่าย ทำให้รู้ว่าต้นทุนที่ใช้กับผลกำไรที่ได้กลับมาคุ้มค่ามากน้อยเพียงใด
ในเกษตรกรรายอื่นที่ทำเท่าไรก็ไม่เหลือ ลองกลับไปคิดดูว่าควรจะทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายไหม? เช่น เกษตรบางรายซื้อปุ๋ย ซื้อยา อย่างเดียว โดยที่ไม่คำนึงถึงต้นทุนที่ลงทุนไป กลัวว่าผลผลิตจะออกมาไม่ดี ทำให้ขายราคาไม่ดี จึงอัดแต่ปุ๋ย ยา สุดท้ายเมื่อผลผลิตออกมาดีตามที่คาดหวังไว้ แต่ลงทุนปุ๋ย ยา ไปมาก ทำให้ผลกำไรอาจไม่คุ้มค่ากับการลงทุน
บุคคลที่ได้ดีก็คือ พ่อค้าคนกลาง “เป็นเสือนอนกิน” โดยที่ไม่ต้องมาเหนื่อยทำสวนเหมือนกับเกษตรกร แค่ลงทุนซื้อผลผลิตแล้วนำมาขายในราคาอีกเท่าตัวของราคาหน้าสวน ได้ผลประโยชน์ไม่น้อยไปกว่าเจ้าของสวน หรือเกษตรกรเองเลย
คุณสุรินทร์ถือว่าเป็นเกษตรกรตัวอย่างอีกบุคคลหนึ่ง ที่เกษตรกรหลายท่านควรเอาเป็นแบบอย่างในการประกอบอาชีพเกษตร เพื่อที่เกษตรกรของไทยจะมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีมากขึ้น เป็นเกษตรกรที่มีความคิดก้าวหน้านำพาวงการเกษตรของไทยให้สามารถเท่าทันเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน เพื่อเป็นการกระตุ้นเกษตรกรไทยให้มีความรู้ ความสามารถ รับมือกับการเปลี่ยนแปลง
ฝากถึง…เกษตรกรผู้สนใจ ปลูกชมพู่
การทำเกษตรต้องมีใจรักมาก่อนอันดับแรก ถ้ามีใจคิดอยากที่จะทำจริงๆ มีความสนใจ มีความสุข กับอาชีพเกษตรเป็นอาชีพที่มีอะไรให้น่าค้นหามากมาย ถ้ามีความสนใจใฝ่รู้ คลุกคลีเพื่อการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอาชีพเกษตรอยู่ตลอดเวลา
แล้วมันจะให้คุณกับตัวเรา โดยธรรมชาติเราอยู่กับธรรมชาติ ไม่ใช้สารเคมี สุขภาพของเกษตรกรก็แข็งแรง เป็นอาชีพที่เป็นนายตัวเอง ไม่ต้องถูกเจ้านายสั่ง หรือติชม สั่งตัวเองทำด้วยใจรักอย่างมีความสุข ไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น อยู่ด้วยลำแข้ง และสองมือ อีกหนึ่งสมอง ก็สามารถมีรายได้สร้างฐานะคุณภาพชีวิตที่ดีได้เช่นกัน
สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณสุรินทร์ 321 ม.4 ต.บ้านไร่ อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี 70130 โทร.08-6071-0950