ปลูกฝรั่งกิมจู เทคนิคเพิ่มความหวาน ปลูก 6 เดือน 10 ไร่ ทำเงิน 3-60,000 บ./เดือน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ทีมงานได้มีโอกาสเข้ามาเยี่ยมชมสวนฝรั่งกิมจู 10 ไร่ ของ คุณวนิดา ติ่งสร้อย เจ้าของสวนฝรั่งกิมจู เผยถึงเทคนิคในการ ปลูกฝรั่งกิมจู ให้มีรสหวานก่อนเก็บผลผลิต ในเบื้องต้นคุณวนิดาเล่าว่า ตนเป็นคนชาวนครปฐมโดยกำเนิด และเริ่มมีแนวความคิดในการปลูกฝรั่งมาจากญาติซึ่งพากันปลูกฝรั่งเป็นอาชีพ

เลยได้ลองปลูกฝรั่งของตนเองภายในพื้นที่ 10 ไร่ สำหรับฝรั่งสายพันธุ์กิมจูนับเป็นฝรั่งสายพันธุ์ที่มีความหวาน กรอบ อีกทั้งยังให้ผลผลิตตลอดปี ผลผลิตมาก และการลงทุนน้อยอีกด้วย

1.สวนฝรั่งกิมจู
1.สวนฝรั่งกิมจู

สภาพพื้นที่ ปลูกฝรั่งกิมจู

การเตรียมดินขุดหลุมให้ลึกพอประมาณ โดยระยะห่างประมาณ 4 ศอก อย่าปลูกใกล้กับจนเกินไปนัก เพราะเมื่อฝรั่งโตจะแตกกิ่งก้านออกมา เวลาเก็บลูกฝรั่งจะเก็บยาก เมื่อขุดหลุมแล้วจึงนำกิ่งพันธุ์ปลูก จากนั้นกลบดินให้แน่นหนาประมาณ 1 นิ้ว ในช่วงแรกต้นฝรั่งยังเล็กอยู่ต้องมีการปักไม้ค้ำเพื่อป้องกันต้นฝรั่งโยกหรือล้มได้

สำหรับกิ่งพันธุ์ทั้งหมดจำนวน 240 กิ่ง ซึ่งถ้าจะทำการคัดเลือกกิ่งพันธุ์นั้นก็ควรเลือกกิ่งที่มีสีน้ำตาล เพราะส่วนที่มีสีน้ำตาลจะมีการสะสมน้ำตาลอยู่มาก จะทำให้รากออกมาได้ดี แล้วจึงนำกิ่งพันธุ์ไปชำในถุง จากนั้นจึงรดน้ำเช้า-เย็นทุกวัน พอเริ่มมีรากงอกแล้วจึงนำไปปลูกในดินที่เตรียมไว้

เริ่มแรกจะยกร่องให้มีความกว้างประมาณ 7 เมตร ปลูกเป็น 2 แถว ยาวตลอดท้องร่อง ในการทำให้ฝรั่งออกดอกติดผลนั้นก็จะมีหลายๆ วิธี ซึ่งที่จะใช้วิธีการตัดแต่งกิ่งให้แตกยอดใหม่พร้อมออกดอก หลังตัดแต่งกิ่งที่ให้ผลผลิตแล้วจะตัดชิดกิ่งหลักให้มีการแตกยอดใหม่ เมื่อยอดยาวได้ประมาณ 1 คืบมือ ฝรั่งก็จะออกมาตามซอกใบ ถ้าใบฝรั่งกิมจูจะออกดอกประมาณ 3 ดอก จะใช้ระยะเวลาหลังตัดกิ่งแล้วประมาณ 30-35 วัน เมื่ออายุได้ 60 วัน

2.ปลูกฝรั่งกิมจู 6 เดือน มีผลผลิตให้ห่อได้แล้ว
2.ปลูกฝรั่งกิมจู 6 เดือน มีผลผลิตให้ห่อได้แล้ว

การบำรุงดูแลฝรั่งกิมจู

การให้น้ำควรให้น้ำทุกวัน เมื่อต้นเริ่มตั้งตัวได้ค่อยๆ เว้นระยะห่างในการให้น้ำไปเรื่อยๆ โดยต้องคอยสังเกตดูในบริเวณที่รดน้ำว่ามีความชื้นมากขนาดไหน ถ้าดินมีความชื้นมากต้องเว้นระยะห่างในการรดน้ำ แต่ถ้าดินแห้งมากควรรดน้ำให้ถี่ขึ้น อย่ารดเยอะเกินไปจะทำให้รากเน่าได้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การให้ปุ๋ยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อเพิ่มการเจริญเติบโตของต้นฝรั่ง โดยใช้สูตร 25-7-7 หรือ 16-16-16 หรือผสมกันอย่างละครึ่ง จากนั้นเมื่อต้นฝรั่งเริ่มติดดอกแล้วจึงเปลี่ยนเป็นสูตร 15-5-20 แล้วควรใส่ปุ๋ย เช่น มูลสัตว์ สลับกับปุ๋ยเคมี โดยใส่ปุ๋ยคอก 1 กิโลกรัม ประมาณ 15 วัน ต่อ 1 ครั้ง

ส่วนอาหารเสริมจะเป็นปุ๋ยเกร็ดผสม โดยมีส่วนผสมของไซเปอร์เมทริน 10% ใช้ประมาณ 5 ซีซี. ผสมกับน้ำ 20 ลิตร  ส่วนอาหารเสริมที่เป็นผงใช้ประมาณ 3-5 กรัม ซึ่งอาหารเสริมนี้จะช่วยให้ต้นฝรั่งสมบูรณ์มากขึ้น ส่วนฮอร์โมนที่ฉีดในช่วงแรกอาจจะใช้น้อย ฉีดในช่วงตอนเช้าเพราะแดดไม่ร้อน เพราะยาบางตัวจะต้องใช้กระบวนการสังเคราะห์แสงในการทำงาน

ส่วนการห่อผลฝรั่งจะใช้วิธีการห่อผลด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ จะห่อเมื่อผลของฝรั่งใหญ่ประมาณนิ้วหัวแม่มือขนาดประมาณลูกมะนาวผลเล็ก ก่อนที่จะห่อควรที่จะฉีดยาก่อนห่อผลฝรั่งเสียก่อนเพื่อป้องกันเชื้อรา เพลี้ย และแมลง โดยการห่อจะใช้ถุงพลาสติกห่อก่อน เจาะรูด้านล่างเพื่อป้องกันน้ำขังภายในถุง จากนั้นเอากระดาษห่อหุ้มอีกชั้น เพื่อป้องกันแสงแดดและแมลง และยังช่วยป้องกันเวลาฉีดพ่นสารเคมีไม่ให้ตกค้างภายในผลฝรั่งอีกด้วย

3.ต้นฝรั่งสมบูรณ์มากขึ้น
3.ต้นฝรั่งสมบูรณ์มากขึ้น ปลูกฝรั่งกิมจู  ปลูกฝรั่งกิมจู  ปลูกฝรั่งกิมจู  ปลูกฝรั่งกิมจู 

เทคนิคการเพิ่มความหวานของฝรั่ง

การที่ฝรั่งมีรสหวานนั้นแสดงว่ามีน้ำตาลอยู่มาก ความหวานหรือปริมาณน้ำตาลฝรั่งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับพันธุ์ที่ปลูกเป็นสำคัญ และจำเป็นต้องใส่ให้กับฝรั่งในรูปของปุ๋ย ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ธาตุเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความหวานของฝรั่ง และโพแทสเซียมมีผลโดยตรงต่อการสะสมน้ำตาลในผลฝรั่ง เพื่อเป็นการเพิ่มความหวานของฝรั่ง และในระหว่างนั้นเราก็มีการดูแลบำรุงรักษาให้ฝรั่งปลอดโรค ฉีดฮอร์โมนเร่งผลและกำจัดแมลงด้วย

หากต้องการให้มีการสร้างและเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาลไปสะสมที่ผลได้เต็มที่ การใส่ปุ๋ยให้ได้รับโพแทสเซียมอย่างเพียงพอย่อมทำให้มีการสะสมน้ำตาลในผลเกิดขึ้นได้เต็มที่ และทำให้ฝรั่งมีความหวานตามธรรมชาติ ความหวานเกิดจากการสะสมน้ำตาล ดังนั้นการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมในระยะหลังติดผลจะช่วยลดการร่วงของผล เพิ่มขนาดของผล และเพิ่มความหวานของผลฝรั่งได้

4.ผลฝรั่งกิมจูที่เก็บได้แล้ว
4.ผลฝรั่งกิมจูที่เก็บได้แล้ว

การป้องกันและกำจัดโรค แมลง และศัตรูพืช

ปัญหาที่พบมาก คือ โรคแอนแทรคโนส และราแป้ง ที่มักเป็นปัญหาใหญ่ เกิดจากเชื้อราเข้าทำลายผลอ่อน ผลสุก และใบ จะแสดงอาการทางใบจะเห็นเป็นจุดสีน้ำตาลเล็กๆ ถ้าเป็นที่ผลอ่อนจะทำให้มีสีน้ำตาล และเน่าแห้งไปในที่สุด แต่ถ้าเป็นระยะผลสุกหรือใกล้สุกจะเกิดแผลเน่าสีน้ำตาล

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การป้องกันจะใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา แมลงวันทองจะวางไข่ที่ใต้ผิวฝรั่งสุก ตัวอ่อนที่ฟักจากไข่จะเจริญกินเนื้อฝรั่งเป็นอาหาร ทำให้ฝรั่งอ่อนนิ่มและเละในที่สุด การป้องกัน คือ ห่อผลในขณะที่ผิวยังแข็ง มีสีเขียว ขนาดเล็ก ส่วนเพลี้ยแป้งจะดูดกินน้ำเลี้ยงตามใบอ่อน กิ่งอ่อน และช่อดอก ทำให้แห้งเฉา การป้องกันจะพ่นยาที่ป้องกันเพลี้ยแป้ง โดยพ่นให้ทั่วต้น ใบ กิ่งอ่อน และผล ทุกๆ 7 วัน ประมาณ 2-3 ครั้ง และหยุดพ่นสาร

สำหรับการตัดแต่งกิ่งจะเริ่มตัดแต่งกิ่งออกเป็นคู่ได้ 6 คู่ จะช่วยให้ฝรั่งเกิดกิ่งอ่อน และมีช่อดอกออกมา ทำให้มีทรงพุ่ม แสงแดดส่องได้ทั่วถึง การเก็บผลจะสะดวก และการพ่นสารป้องกันกำจัดโรคและแมลงจะสะดวกขึ้น และควรมีการตัดแต่งกิ่งของฝรั่งทุกปี เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโต และการสร้างตาดอก โดยวิธีนี้เป็นการบังคับให้ฝรั่งติดดอกไปด้วย แต่ถ้าไม่ตัดยอดออกจะทำให้การติดดอกน้อย และติดผลช้าอีกต่างหาก

5.ผลฝรั่งกิมจู
5.ผลฝรั่งกิมจู

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายผลผลิตฝรั่งกิมจู

ผลผลิตฝรั่งส่วนมากจะมีแม่ค้ามารับที่สวน และแม่ค้าจะนำผลผลิตไปกระจายส่งมาเลเซีย ซึ่งตลาดในมาเลเซียสามารถดูจากลักษณะสีของผลฝรั่ง จากผลฝรั่งสีเขียวจะเปลี่ยนสีเขียวอ่อน หรือขาวนวล และผิวมีลักษณะเต่งตึงเป็นมัน เก็บผลผลิตได้

โดยได้แบ่งออกเป็น 4 เกรด คือ

  1. เบอร์ยอด (ผิวสวย),
  2. เบอร์กลาง,
  3. เบอร์ลาย (ลายน้อย หรือมีตำหนิน้อย) และ
  4. เบอร์พิเศษ (ลายมาก หรือมีตำหนิมาก)

และตอนนี้ตลาดฝรั่งกิมจูเป็นที่นิยมกันมาก เพราะว่าฝรั่งกิมจูสามารถให้ผลผลิตเกือบตลอดทั้งปี ฝรั่งกิมจูมีความต้องการเป็นจำนวนมาก ผู้บริโภคเริ่มรู้จักฝรั่งกิมจู ทานอร่อย หวาน และกรอบ เมล็ดน้อย

สำหรับเกษตรกรหรือผู้ที่สนใจ ปลูกฝรั่งกิมจู  สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ คุณวนิดา ติ่งสร้อย ที่อยู่ 56/167 หมู่ 5 ต.นครปฐม อ.เมือง จ.นครปฐม

โฆษณา
AP Chemical Thailand