พลังเขียวสร้างชาติ จับมือ 3 ภาคีธุรกิจเกษตร เปิดเวทีเสวนาเชิงลึกแก้ปัญหาโรคตายพรายใน กล้วย ที่ท่าไม้รวก ท่ายาง เพชรบุรี

โฆษณา
AP Chemical Thailand

กล้วย พืชสวนที่เป็นพืชเศรษฐกิจ มีการบริโภคในรูปสด แช่แข็ง หรือแปรรูปผลิตภัณฑ์ส่งตลาด ทั้งในและต่างประเทศ เป็นทั้งอาหารและยา ชัดเจน

เหตุที่ได้รับความนิยมเพราะเป็นพืชสุขภาพ แต่การผลิตผลสด ทั้งกล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ กล้วยหอมทอง และกล้วยหอมเขียว เจอโรคตายพราย ที่เกิดจากเชื้อราทำลาย

1.พลังเขียวสร้างชาติ จับมือ 3 ภาคีธุรกิจเกษตร แก้ปัญหาโรคตายพรายในกล้วย
1.พลังเขียวสร้างชาติ จับมือ 3 ภาคีธุรกิจเกษตร แก้ปัญหาโรคตายพรายในกล้วย

การเสวนาการแก้ปัญหาโรคตายพรายในกล้วย

เหตุนี้ บริษัท พลังเขียวสร้างชาติ จำกัด จึงได้ร่วมมือกับ 3 ภาคีธุรกิจเกษตร ได้แก่ บริษัท เรนคอทตอน จำกัด บริษัท ไทยกรีน อะโกร จำกัด และ บริษัท พรหมชีวา จำกัด จัดประชุมความรู้เชิงปฏิบัติการแก่พี่น้องเกษตรกรขึ้น ณ ตำบลท่าไม้รวก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันที่ 6 ก.พ. ที่ผ่านมา

โดยในงานได้ยึดหลักและปฏิบัติตามกฎระเบียบการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด – 19 อย่างเคร่งครัด ทั้งการตรวจวัดอุณหภูมิ , สวมใส่หน้ากากอนามัย , เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ และการเตรียมสถานที่ โดยมีการเว้นระยะห่างให้กับผู้เข้ามาร่วมงาน ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องขอบคุณกรมการปกครองอำเภอท่ายางที่เข้ามาดูแลและอำนวยความสะดวกในครั้งนี้

2.อาคารอเนกประสงค์ ต.ท่าไม้รวก อ.ท่ายาง
2.อาคารอเนกประสงค์ ต.ท่าไม้รวก อ.ท่ายาง
บริเวณด้านหน้าสถานที่จัดงาน
บริเวณด้านหน้าสถานที่จัดงาน
ตรวจวัดอุณหภูมิก่อนเข้าพื้นที่
ตรวจวัดอุณหภูมิก่อนเข้าพื้นที่
บรรยากาศระหว่างงานเสวนา
บรรยากาศระหว่างงานเสวนา
คุณพายัพ ยังปักษี (ขวา)
คุณพายัพ ยังปักษี (ขวา)

ปัญหาและอุปสรรคของ โรคตายพรายในกล้วย

คุณพายัพ ยังปักษี ประธานสมาพันธ์พลเมืองฐานราก กรรมการผู้จัดการ บริษัท พลังเขียวสร้างชาติ จำกัด ในฐานะผู้ดำเนินการประชุม กล่าวถึงความสำคัญและจุดประสงค์ของงาน โดยระบุว่า เพื่อเป็นการให้เกษตรกรในจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งมีการเพาะปลูกกล้วยอยู่มาก และเป็นผลผลิตที่สำคัญของพี่น้องเกษตรกรในอำเภอท่ายางแห่งนี้ ได้รับทราบข้อมูลตลอดจนแนวทางการแก้ปัญหาโรคตายพรายในกล้วย เพื่อนำองค์ความรู้ไปต่อยอดและพัฒนา ทั้งในแง่ของผลผลิตและการจัดการไร่สวนของตนเอง

“ โรคกล้วยตายพราย ” เกิดจากเชื้อรา F.OXYSPORUM พบได้ในกล้วยเกือบทุกชนิด อายุตั้งแต่ 4 – 5 เดือนขึ้นไป โดยช่วงแรกตามก้านใบจะมีสีเหลืองอ่อน ของใบแก่ ซึ่งต่อมาเชื้อราจะลุกลามไปยังขอบใบ และจะเหลืองทั้งใบ หากป้องกันไม่ทันเชื้อราเข้าทำลายลำต้นและลุกลามเข้าสู่ก้านใบโคนใบแก่ สีเหลืองซีด ในที่สุดลำต้นจะยืนต้นตายหรือล้มตาย

โฆษณา
AP Chemical Thailand
3.ซ้าย-ขวา คุณมนตรี, คุณพายัพ, คุณสัญญา
3.ซ้าย-ขวา คุณมนตรี, คุณพายัพ, คุณสัญญา

การป้องกันและควบคุมโรคตายพรายในกล้วย

ด้วยเหตุนี้วิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดต้องอาศัยองค์ความรู้ในเรื่องของการจัดการอย่างถูกวิธี และตรงจุด คุณสัญญา ศรีพงษ์พันธ์กุล  หรือ หมอญะฮ์ และคุณมนตรี บุญจรัส 2 ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการและแก้ปัญหาต่างๆ ในภาคการเกษตรมาอย่างยาวนาน จึงได้เข้ามาให้ข้อมูลเชิงลึก พร้อมกับอธิบายตั้งแต่กลไกและปัจจัยต่างๆ อาทิ การป้องกันและการควบคุมโรค เพื่อเป็นทั้งการทราบถึงต้นตอของปัญหา และวิธีป้องกันตั้งแต่ยังไม่เกิดโรค

โดยเนื้อหาการเสวนา ประกอบด้วย

  • บทบาทของดินและน้ำ
  • ความสำคัญของนวัตกรรม
  • ฉลาดใช้ปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพ
  • รู้ลึกเรื่องโรคกล้วยตายพราย
4.คุณสัญญา หรือหมอญะฮ์ กำลังบรรยาย
4.คุณสัญญา หรือหมอญะฮ์ กำลังบรรยาย
คุณมนตรี ที่ปรึกษาประธานกรรมาธิการแก้ไขปัญหาราคาผลิตผลเกษตร
คุณมนตรี ที่ปรึกษาประธานกรรมาธิการแก้ไขปัญหาราคาผลิตผลเกษตร/ประธานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/กรรมการ บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
คุณผาณิต หรือเจ๊หน่อย
คุณผาณิต หรือเจ๊หน่อย

การแก้ปัญหาโรคตายพรายในกล้วย

คุณผาณิต ตันติสุขารมณ์ หรือที่คนเพชรฯ เรียก “ เจ๊หน่อย ” ผู้ประสานงานการประชุม เผยถึงภาพรวมของเกษตรกรในเพชรบุรีว่า ” ที่นี่มีชาวสวนปลูกกล้วยกันจำนวนมาก ซึ่งแต่ละคนก็เจอปัญหาที่ต่างกันออกไป แต่สำหรับชาวสวนที่ปลูกกล้วยนั้นเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะไม่เจอเรื่องของโรคตายพราย ดังนั้นข้อมูลและแนวทางแก้ปัญหาจึงสำคัญอย่างมาก ที่เกษตรกรต้องรู้และเข้าใจเพื่อนำไปแก้ปัญหา เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อผลผลิต ”

ปัจจุบันเกษตรกรที่ทำสวนผลไม้ในเพชรบุรีได้มีการปลูกพืชกันหลายชนิด อาทิ อินทผาลัม ทุเรียน กล้วย มะนาว ชมพู่ หรือโกโก้ ซึ่งส่วนหนึ่งก็ต้องยอมรับว่าเป็นเพราะพื้นที่และสภาพภูมิอากาศของจังหวัดนั้นเอื้อต่อการทำเกษตรที่หลากหลาย

ชาวสวนกล้วย และผู้ใหญ่บ้านหลายหมู่ ที่เข้าร่วมเสวนา แล้วได้ทราบสาเหตุของโรคตายพราย 3 คน ขออาสาเข้าทดสอบเชื้อราในแปลง ได้แก่ คุณพิฑูร ตันติสุขารมณ์ (เฮียทัด) คุณเสรี กอวชิรพันธ์ และ คุณช้อยจู อัครสกุลภิญโญ ซึ่งทีมวิชาการหมอญะฮ์ได้อำนวยความสะดวกด้านผลิตภัณฑ์ สร้างภูมิคุ้มกันโรคตายพราย ไม่นานผลการทดสอบจะออกมาสู่ชาวกล้วยทั่วประเทศ ขณะเดียวกัน ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ และ บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด ก็จะใช้นวัตกรรมจุลินทรีย์ป้องกันกำจัดโรค/ศัตรูกล้วย เข้ามาเสริม เป็นการใช้อินทรีย์ชีวภาพอย่างมีหลักการ จะได้ “กล้วยปลอดสาร” ซึ่งเรื่องนี้คุณมนตรีได้ขับเคลื่อนมาหลายทศวรรษ มีผลงานเชิงประจักษ์มากมาย

5.พี่น้องเกษตรกรที่ อ.ท่ายาง
5.พี่น้องเกษตรกรที่ อ.ท่ายาง

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายผลผลิตกล้วย

เมื่อผลผลิตกล้วยปลอดสารออกมา บริษัท พรหมชีวา จำกัด นำโดย ดร.สุขุม วงประสิทธิ และ คุณเตือนใจ ขันติยู จะรับผิดชอบการตลาดโดยตรง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

กิจกรรมทั้งหมดเพื่อป้องกัน/หยุดโรคตายพรายในกล้วยที่ท่าไม้รวกครั้งนี้ จัดโดย บริษัท พลังเขียวสร้างชาติ จำกัด ถ่ายทอดองค์ความรู้โดย สำนักข่าวพลังเกษตร ผู้นำด้านข่าวสารการเกษตรของประเทศ

พลังเขียวสร้างชาติ และ 3 ภาคีธุรกิจเกษตร แก้ปัญหาโรคตายพรายในกล้วยให้เกษตรกร
พลังเขียวสร้างชาติ และ 3 ภาคีธุรกิจเกษตร แก้ปัญหาโรคตายพรายในกล้วยให้เกษตรกร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางและการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการทำเกษตรได้ที่

-บริษัท เรนคอทตอน จำกัด หรือ เพจFacebbok ” บริษัท เรนคอทตอน จำกัด ” และทีมงานหมอญะฮ์ ชัดเจน

-บริษัท ไทยกรีน อะโกร จำกัด หรือ เพจFacebook ” Thai Green Agro ” และ เว็บไซต์ thaigreenagro.com และ

-บริษัท พรหมชีวา จำกัด โทร. 087 – 405 – 9339

อ้างอิง : นิตยสารพลังเกษตร