ลุงบุญยิ่ง ฟื้นทุเรียนป่วยเป็นโรครากเน่า ได้ผลดี เพราะใช้…พีค รูทเตอร์

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ลุงบุญยิ่ง ฟื้นทุเรียนป่วยเป็นโรครากเน่า ได้ผลดี เพราะใช้…พีค รูทเตอร์

1.คุณลุงบุญยิ่ง-และทีมงานพีค-รูทเตอร์
1.คุณลุงบุญยิ่ง-และทีมงานพีค-รูทเตอร์

การปลูกทุเรียน

ต้นไม้ที่เคยปลูกได้ผลผลิตไม่ดีนั้นเป็นเพราะว่าเราไม่เคยทำความเข้าใจกับธรรมชาติของเขา เราดูแลด้วยการใช้ตัวเราเป็นหลัก ไม่ได้สังเกตธรรมชาติของต้นไม้ ซึ่งจริงๆ เป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนอยู่แล้ว แต่เรามองข้ามไป  เทียบได้กับแทบทุกเรื่องที่ผ่านเข้ามาในชีวิตเรา หากเราใช้ตัวเองเป็นที่ตั้ง ไม่ได้สังเกตธรรมชาติที่เป็นจริง อะไรที่เป็นเรื่องง่ายก็จะยากเป็นเรื่องธรรมดา คำว่า “เข้าใจธรรมชาติ” คือ ความสามารถในการรู้จักและเข้าใจธรรมชาติ เข้าใจกฎเกณฑ์ ปรากฏการณ์ต่างๆ ของธรรมชาติ มีความไวในการ “สังเกต” ความเป็นไปของธรรมชาติ สามารถจัดจำแนก แยกแยะ ได้ มีคนเป็นจำนวนมากที่รักต้นไม้ ชอบปลูกต้นไม้ แต่ปลูกยังไงก็ไม่งามเสียที หรือไม่ก็ทำต้นไม้ตายเป็นประจำ เพราะไม่เข้าใจธรรมชาติของต้นไม้ที่นำมาปลูก ในสวนทุเรียนนั้นนอกจากจะมีต้นทุเรียนหลากหลายสายพันธุ์แล้ว ชาวสวนยังนิยมปลูกต้นไม้อื่นๆ ร่วมกับต้นทุเรียน เพื่อเป็นรายได้เสริม และสร้างระบบนิเวศที่สมดุลในสวน หรือเรียกได้ว่าเป็นการ “ทำสวนผสม” ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชาวสวนที่มีมายาวนาน

คุณบุญยิ่ง ทองสร้อย ปลูกทุเรียนบนพื้นที่ 30 ไร่ จ.จันทบุรี

การรู้จัก “ธรรมชาติของต้นไม้” ที่ปลูกเลี้ยง ย่อมได้เปรียบกว่าเสมอ เพราะต้นไม้แต่ละชนิดชอบอยู่ในสภาพ     แวดล้อมต่างกันตามธรรมชาตินั่นเอง ถึงแม้จะมีการปรับปรุงสายพันธุ์ หรือเป็นลูกผสมแล้วก็ตาม ยังไงก็จะยังคงมี     พื้นฐานพันธุกรรมจากบรรพบุรุษติดมาอยู่เสมอ ดังนั้นหากทราบว่าในธรรมชาติดั้งเดิมของต้นไม้เขามีความเป็นอยู่อย่างไร ชอบขึ้นอยู่บนวัสดุปลูกประเภทใด มีธาตุอาหารตัวไหนสูง ความชื้นของอากาศในพื้นที่ดั้งเดิมเป็นเท่าไหร่ ความ แตกต่างระหว่างกลางวัน-กลางคืนเป็นอย่างไร ข้อมูลเหล่านี้ยิ่งรู้มากก็จะเข้าใจต้นไม้ชนิดนั้นมากขึ้น เมื่อเข้าใจก็จะสามารถนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมได้ ถึงจุดนี้จะเห็นได้ว่าจะต้องใช้ความชำนาญ และความเก๋าเกมส์พอควร ในการตีความหมายจากข้อมูลเพื่อนำมาปรับใช้ ซึ่งอาจต้องอาศัยการฝึกฝนในด้าน “การสังเกต” และการประยุกต์ใช้สิ่งรอบตัว ซึ่งเป็นทั้งศาสตร์ และศิลป์ อันถือได้ว่าเป็นที่สุดแห่งเคล็ดลับการปลูกต้นไม้เลยทีเดียว เช่นเดียวกับ คุณบุญยิ่ง ทองสร้อย หรือลุงบุญยิ่ง เดิมเป็นคนจังหวัดชลบุรี พอแต่งงานมีครอบครัวจึงย้ายมาอยู่ที่ ตำบลแก่งหางแมว อำเภอ       แก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี ในปีพ.ศ.2527 ยึดอาชีพทำไร่มันสำปะหลัง และปลูกเงาะโรงเรียน เป็นหลัก แต่เนื่องด้วยประสบปัญหาเรื่องคนงานเก็บเกี่ยวผลผลิต จึงหันมาปลูกทุเรียนเมื่อประมาณ ปีพ.ศ.2554-2555 เป็นทุเรียนในฤดูสายพันธุ์ “หมอนทอง” และ “นวลทองจันทร์” อายุต้นประมาณ 6-7 ปี ในพื้นที่ 30 ไร่ มีต้นทุเรียน 500 กว่าต้น เป็นทุเรียนพันธุ์นวลทองจันทร์ประมาณ 100 กว่าต้น ระยะห่างในการปลูก 4 วา 2 ศอก เน้นโดยจะมีการไว้ลูกประมาณกิ่งละ 2-3 ลูก หรือ 30-50 ลูก/ต้น หรือดูตามความเหมาะสม และความสมบูรณ์ ของต้นทุเรียนด้วย เพื่อให้ต้นสามารถเลี้ยงลูกได้ และต้นไม่โทรม น้ำหนักต่อลูกจะอยู่ที่ 5-6 กิโลกรัม/ลูก ได้ผลผลิตในรอบที่ผ่านมาประมาณ    40 ตัน ด้วยวิธีการจัดการสวนที่ดีทำให้ได้ผลผลิตตามที่ต้องการ “ชาวสวนแต่ละคนเก่ง  และมีเทคนิคคนละแบบ แต่ของลุงจะเน้นการสังเกตเป็นจุดหลักสำคัญ ประกอบกับความเข้าใจในต้นไม้ที่ปลูกว่าเขาต้องการอะไร เราก็ให้ตามที่เขาต้องการ ไม่ใช่ไปเร่ง ไปอัดปุ๋ย-ยา มากเกินไป จนเขาไม่สามารถที่จะดูดกินแร่ธาตุสารอาหารได้ สุดท้ายเขาก็ตายในที่สุด” คุณลุงบุญยิ่งให้ความเห็นในการดูแลจัดการสวนทุเรียน นอกจากนี้ยังมีทุเรียนที่ไร้กลิ่นสายพันธุ์ใหม่ของจันทบุรี “นวลทองจันทร์” ที่ฮิตติดตลาดนอก เนื่องจากเนื้อมีสีเข้ม สวยงาม รสชาติหวาน มัน อร่อย เนื้อเยอะ เม็ดเล็กลีบ ลูกโต อีกทั้งยังไม่มีกลิ่นเหม็นอีกด้วย จำหน่ายในราคา 200-300บาท/กิโลกรัม ขนาดน้ำหนักลูกละประมาณ 2 กิโลกรัมครึ่ง ถึง 3 กิโลกรัม ซึ่งเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค และตลาดต่างประเทศ สามารถสร้างรายได้ที่ดีให้กับคุณบุญยิ่งอีกทางหนึ่งนอกเหนือจากทุเรียนหมอนทอง

3.ต้นทุเรียนในฤดู-ออกดอกเต็มต้น-สมบูรณ์-แข็งแรง
3.ต้นทุเรียนในฤดู-ออกดอกเต็มต้น-สมบูรณ์-แข็งแรง
ระบบการจัดการน้ำด้วยสปริงเกลอร์
ระบบการจัดการน้ำด้วยสปริงเกลอร์

การบริหารจัดการต้นทุเรียน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตทุเรียนหมดแล้ว การดูแลรักษาต้นทุเรียนนั้นส่วนใหญ่เกษตรกรจะประสบปัญหาต้นโทรม จึงต้องบำรุงต้นเพื่อช่วยให้ต้นสมบูรณ์พร้อมในการออกดอก ออกผล ในฤดูกาลต่อไป คือ จำเป็นจะต้องทำให้ใบอ่อนชุดใหม่ออกเร็วที่สุด และต้องทำใบอย่างน้อย 2-3 ชุด เพราะง่ายต่อการไว้ดอก ไว้ลูก นั่นเอง นอกจากนี้คุณลุงบุญยิ่งยังเปิดเผยอีกว่าหลังจากที่เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วจะเริ่มตัดแต่งกิ่งที่แห้งเสียออกทันที จากนั้นจะเริ่มบำรุงต้นด้วยฮอร์โมนและสาหร่าย เพื่อเป็นการช่วยบำรุงราก เร่งใบ โดยช่วงที่ทำใบช่วงที่แตกใบอ่อนต้นทุเรียนจะมีปัญหาเรื่องเพลี้ยไฟ    ไรแดง จึงต้องคอยดูแลสวนเป็นพิเศษ และจะใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-24 เพื่อเป็นการสะสมอาหารให้กับต้นก่อนการเปิดตาดอก จากนั้นจะฉีดพ่นฮอร์โมนและสารอาหารอื่นๆ เพื่อเร่งบำรุงตาดอกประมาณ 7-10 วัน/ครั้ง ช่วงที่เปิดตาดอกนั้นจะใช้ระยะเวลาประมาณ 1 อาทิตย์ โดยจะเร่งให้น้ำด้วยระบบสปริงเกลอร์ 2-3 ครั้ง/อาทิตย์ แหล่งน้ำที่ใช้ในการบริหารจัดการดูแลต้นทุเรียนในสวน จะเป็นแหล่งน้ำจาก “อ่างเก็บน้ำแพ่งกะผา”จากนั้นต้นทุเรียนก็จะเริ่มผลิตาดอกขึ้นมาตามกิ่งก้านของต้นทุเรียน พออายุดอกได้ประมาณเท่ามะเขือพวงถึงจะเริ่มตัดแต่งช่อดอกได้ การบำรุงดูแลรักษาหลังจากที่ตัดแต่งช่อดอกแล้ว คุณลุงบุญยิ่งยังบอกอีกว่าไม่ค่อยมีปัญหามากเท่าไหร่ เกษตรกรต้องหมั่นคอยดูแลสังเกตต้นทุเรียนว่ามีปัญหาเรื่องโรคอะไรเข้ามาระหว่างช่วงไว้ลูกหรือไม่ ถ้าเป็นไม่มากก็จะรีบดูแลรักษาเพื่อไม่ให้โรคระบาดไปมากกว่านี้

4.ต้นทุเรียนที่เป็นโรคไฟท็อปธอร่า
4.ต้นทุเรียนที่เป็นโรคไฟท็อปธอร่า

การป้องกันกำจัดโรคในต้นทุเรียน

จากฤดูกาลที่ผ่านมาอากาศเป็นใจให้เชื้อราเติบโตได้ดี ประกอบกับปีนี้ฝนตกชุก มีปริมาณน้ำฝนมากตลอดทั้งปี เกษตรกรสวนทุเรียนต้องคอยสังเกตเฝ้าระวัง “โรครากเน่า-โคนเน่า” หรือ “โรคไฟท็อปธอร่า” ที่มาจากภัยธรรมชาติ ที่ไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งยากต่อการบริหารจัดการ ปัญหาต้นทุเรียนที่ติดเชื้อราไฟท็อปธอร่า เป็นโรคที่ชาวสวนทุเรียนกลัวกันมาก หากมีสภาพอากาศชื้นสูง หรือน้ำมาก อาจทำให้ถึงกับเป็นรากเน่า ทำให้ต้นทุเรียนยืนต้นตายในที่สุด และอาจเกิดความเสียหายต่อระบบในสวนอย่างมหาศาลอีกด้วย สวนคุณลุงบุญยิ่งเป็นอีกหนึ่งสวนที่ประสบปัญหา หลังจากที่เก็บเกี่ยวผลผลิตในรอบฤดูที่ผ่านมาเสร็จแล้วนั้นต้นทุเรียนจะโทรมมาก ใบเหลือง ใบร่วง ต้นทุเรียนอายุ  6-7 ปี ที่กำลังให้ผลผลิตเกือบตายทั้งสวน

5.ต้นทุเรียนที่เกือบตายเริ่มแตกใบอ่อน-ต้นไม่โทรม
5.ต้นทุเรียนที่เกือบตายเริ่มแตกใบอ่อน-ต้นไม่โทรม
ต้นทุเรียนที่ฉีดพ่นพีค-รูทเตอร์-ใบดำเงา-เขียวเข้ม-ต้นสมบูรณ์
ต้นทุเรียนที่ฉีดพ่นพีค-รูทเตอร์-ใบดำเงา-เขียวเข้ม-ต้นสมบูรณ์

การฉีดพ่น พีค รูทเตอร์ ของ บ. พีค อโกรเคมี 2 จก. ให้ต้นทุเรียน

ประกอบกับในขณะเดียวกันเจอผลิตภัณฑ์ “พีค รูทเตอร์” ของ บริษัท พีค อโกรเคมี 2 จำกัด จึงตัดสินใจลองใช้ เพราะไม่มีอะไรจะเสี่ยงไปกว่านี้แล้ว จึงใช้ผลิตภัณฑ์ฉีดพ่น และราดที่โคนต้น จากที่ใช้ไปเพียง 1 รอบ เท่านั้น โดยเน้นต้นที่ป่วยเป็นหลัก เพื่อลองดูอาการของต้นทุเรียนก่อน เพราะว่ายังไม่มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์จะช่วยแก้ปัญหาได้     หลังจากที่ฉีดพ่นไปไม่ถึงเดือน หรือประมาณ 20 วัน ก็เห็นความแตกต่าง ต้นที่ป่วยใกล้ตายกลับสมบูรณ์ขึ้น ใบใหญ่เขียวขึ้น ใบที่หลุดร่วงก็แตกใบอ่อนใหม่ขึ้นมาแทน  จึงใช้ฉีดพ่นทั้งสวนเพื่อเป็นการป้องกันและรักษาโรคที่เป็นในสวน คุณลุงบุญยิ่งมั่นใจในผลิตภัณฑ์มากขึ้น จึงนำไปฉีดพ่นอีกสวนที่อยู่ละแวกใกล้กัน และสังเกตเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจน เมื่อเทียบระหว่างสวนที่ฉีดพ่นและสวนที่ไม่ฉีดพ่นด้วย พีค รูทเตอร์ “เพราะต้นอ่อนแอ เมื่อปีที่แล้วต้นจะสวยมาก แต่จะเริ่มมีปัญหาตอนเก็บเกี่ยวผลผลิตไป และปริมาณน้ำฝนมากในปีนี้ ทำให้ต้นโทรมเป็นโรค” คุณบุญยิ่งกล่าวถึงปัญหาโรคที่เกิด

6.พีค-รูทเตอร์-ช่วยฟื้นต้น-บำรุงต้น-ลดต้นทุนการผลิต
6.พีค-รูทเตอร์-ช่วยฟื้นต้น-บำรุงต้น-ลดต้นทุนการผลิต

ผลิตภัณฑ์พีค รูทเตอร์ เป็นหนึ่งทางเลือกให้กับชาวสวนทุเรียน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ผลิตภัณฑ์ “พีค รูทเตอร์” จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถช่วยแก้ปัญหาและตอบโจทย์ได้ตรงจุดให้กับชาวสวนทุเรียน ที่ยืนยันคุณภาพ และการันตีโดยผู้ใช้ทั้งในและนอกพื้นที่ให้เห็นเป็นที่ประจักษ์มาแล้วทั่วประเทศ ว่าสามารถแก้ปัญหาโรครากเน่า-โคนเน่า ได้อย่างแท้จริง และเป็นทางเลือกที่ดีให้กับเกษตรกรทั้งในและนอกพื้นที่  ปลอดภัยต่อเกษตรกรผู้ใช้  ใช้ง่าย สะดวก เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้คุณบุญยิ่งยังกล่าวอีกว่าตั้งแต่ใช้พีค รูทเตอร์ ก็ช่วยลดต้นทุน จากเดิมที่ต้องซื้อปุ๋ย-ยาเพื่อใช้ในการบำรุงดูแลต้นทุเรียนหลายแสนบาทต่อปี ทำให้ลดค่าใช้จ่ายลงได้มาก   ต้นแข็งแรง สมบูรณ์ ติดดอกเต็มต้น ใส่ปุ๋ยน้อยลง และประหยัดค่าปุ๋ยได้มากขึ้น จึงตัดสินใจใช้ผลิตภัณฑ์มาอย่างต่อเนื่องได้ประมาณเกือบ 1 ปีแล้ว ด้วยความมั่นใจในผลิตภัณฑ์ ยืนยันการันตีคุณภาพว่าใช้ดี เห็นผลจริง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก คุณบุญยิ่ง ทองสร้อย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ร้าน สามเกษตร  

ที่อยู่ 22/3 หมู่ 9 ตำบล เกวียนหัก อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี โทร. 088-582-8919

หรือ  “บริษัท พีค อโกรเคมี 2 จำกัด”

32/21 หมู่ที่ 4 ต.ท้ายเกาะ อ.สามโคก จ.ปทุมธานี 12160

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สายด่วน : รากเน่าโคนเน่า โทร. 087-977-1590 , 081-533-84993

สั่งซื้อสินค้า : 087-977-1590  , 062-691-8568 , 02-598-9207  Line ID : @peakagrokemee2

Facebook: พีค อโกรเคมี 2 , เว็บไซส์ :  www.peakagro.co.th

Youtube : กดค้นหา  Peak Agro Channel