สภาพพื้นที่ปลูกมะม่วง
คุณกมลศักดิ์ กุลปรางค์ทอง (ประธานชมรมสวนมะม่วงแห่งอำเภอสวนผึ้งราชบุรี) เป็นบุคคลหนึ่งที่ไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคใดๆ ทั้งสิ้น ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม อาชีพปัจจุบันที่เขาทำอยู่ ก็คือวนผึ้งราชบุรี) เป็นบุคคลหนึ่งที่ไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคใดๆ ทั้งสิ้นนฟ้าอากาศ แต การปลูกมะม่วงในเชิงธุรกิจ เริ่มต้นจากที่ไม่มีประสบการณ์ในการปลูกมะม่วงเลย จนทำให้ ณ วันนี้เขาสามารถผลิต มะม่วงส่งออก เพื่อป้อนตลาดต่างประเทศจนประสบความสำเร็จ
คุณกมลศักดิ์เล่าให้ฟังว่า จากที่เขาไม่มีประสบการณ์เลย แต่มีทุนอยู่ก้อนหนึ่ง ได้นำมาลงทุนทำสวนมะม่วงบนพื้นที่ 200 ไร่ ทั้งๆ ที่รู้ว่าสภาพพื้นดินเป็นหินลูกรังเป็นส่วนมาก ด้วยความมานะ อุตสาหะ บากบั่น ไม่มีความยอมแพ้ แม้จะรู้ว่าลำบากแค่ไหน จึงหาวิธีแก้ปัญหาเรื่องการปลูกมะม่วงให้เจริญเติบโต และให้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจจนสำเร็จ
เนื่องจากว่าพื้นที่ที่ปลูกมะม่วงส่วนใหญ่พื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้ง และเป็นพื้นที่สูงลาดชัน พื้นที่ส่วนใหญ่ไม่เป็นดิน แต่เป็นหิน และลูกรัง ก่อนปลูกผมจ้างรถแมคโครมาขุด เพราะใช้แรงงานคนขุดไม่ไหว แล้วนำมูลสัตว์ผสมเศษใบไม้ ใบหญ้า รองก้นหลุม และปิดปากหลุมไว้อย่างเดิม เวลาปลูกก็ขุดหลุมเล็กๆ ให้พอกับสามารถปลูกต้นมะม่วงได้ก็พอแล้ว แล้วปักไม้ค้ำ นำเชือกมาผูกให้ไม้ค้ำติดกับลำต้นมะม่วงเพื่อป้องกันลำต้นเอนเอียงไปมา และเป็นการป้องกันลมอีกวิธีหนึ่ง
การปลูกและบำรุงดูแลต้นมะม่วง
การปลูกในช่วงแรกๆ เราจะต้องมีการดูแลการเตรียมดินให้ดี ใช้ปุ๋ยคอกบำรุงดิน ให้ดินมีความสมบูรณ์มากที่สุด หลังจากนำต้นมะม่วงลงปลูกแล้ว อายุได้ 1-2 ปี จะต้องจัดการดูแลให้ดี ในช่วงนี้การให้ปุ๋ยไม่ค่อยจำเป็นเท่าไหร่ ถ้าบำรุงดินดี แต่จะเพิ่มปุ๋ยทางใบให้แทน และจะต้องมีการกำจัดวัชพืชต่างๆ ด้วย แต่พอต้นมะม่วงอายุย่างเข้าปีที่ 4 เราก็สามารถไว้ผลผลิตได้ แต่เราต้องบำรุงปุ๋ยให้เต็มที่เพื่อให้ต้นสมบูรณ์เต็มที่ ส่วนการจัดการปุ๋ยจะให้ปุ๋ยช่วงปลายฤดูฝน เนื่องจากในช่วงฤดูฝนพื้นที่บริเวณโคนต้นยังมีความชื้นอยู่ ต้นมะม่วงจะหาอาหารจากธรรมชาติได้ แต่พอเข้าฤดูแล้งเราจึงจำเป็นจะต้องให้ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15, 16-16-16 จะให้ทางดินบริเวณโคนต้น โดยขุดดินฝัง 3 จุดรอบโคนต้น
ในส่วนของการเตรียมต้นเมื่อมะม่วงย่างเข้าปีที่ 4 แล้ว เราจำเป็นต้องมีการเตรียมต้นให้สมบูรณ์ที่สุด ต้องตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ต้นเริ่มมีการสะสมอาหาร เราก็ทำการตัดแต่งกิ่ง เริ่มบังคับ คือ ก่อนที่เราจะราดสารเราต้องตัดแต่งกิ่งไว้เพื่อดึงใบอ่อน ต้องทำใบอ่อนให้มันสวย รักษาไม่ให้แมลงมารบกวน ส่วนการเตรียมต้นเพื่อทำมะม่วงนอกฤดูส่วนใหญ่จะก่อนฤดู 1 เดือน จะต้องเตรียมต้นอยู่ตลอด ในการทำก็จะเริ่มตัดแต่งกิ่งในเดือนมิถุนายน หลังจากนั้นก็จะแตกใบอ่อนในช่วงเดือนกรกฎาคม ในช่วงนี้ก็จะแตกใบอ่อนชุดแรก ถ้าแตกใบอ่อนไป 1 ชุดแล้ว ก็ราดสารไม่ให้แตกใบอ่อนอีกเพื่อยับยั้งเอาไว้ ซึ่งในการแตกใบอ่อนชุดที่ 1 และชุดที่ 2 ระยะเวลาห่างกันประมาณ 45 วัน หลังจากทำขั้นตอนดังกล่าวแล้วมะม่วงจะเริ่มมีตาดอกตอนต้นเดือนตุลาคม และในการดึงตาดอกใช้โปแตสเซียมกับไนเตรท ไทโอยูเรีย ผสมกันแล้วฉีดพ่น
คุณกมลศักดิ์กล่าวว่าใช้ไทโอยูเรียตัวเดียวก็ได้ แต่ผมไม่นิยมทำ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้ตัวยา 2 ตัว ผสมกันฉีดพ่น จะทำให้ลดผลกระทบตัวนี้ได้ และหลังจากฉีดพ่นยาตัวนี้แล้ว ประมาณ 15 วัน ก็เริ่มเห็นตุ่มตาดอก ส่วนเปอร์เซ็นต์การแตกตาดอกก็จะขึ้นอยู่กับการบำรุงต้น
ถ้ามีการบำรุงต้นอย่างดี ตาดอกก็จะออกมามาก ผมก็จะใช้ปุ๋ยสูตร 12-11-5 เป็นปุ๋ยทางใบฉีดกระตุ้นให้ดอกออกเร็วขึ้น หลังจากนี้ตั้งแต่เริ่มแทงดอกจนถึงติดผลเล็กก็จะใช้เวลา 45 วัน ในช่วงติดผลเล็กๆ เท่าหัวแมลงวันจะเจอปัญหามาก เช่น เพลี้ยไฟ ไรแดง พอดอกโรยแล้วให้ฉีดยาฆ่าแมลงป้องกันเอาไว้ พอครบ 7 วัน ก็ฉีดอีก
พอขนาดของลูกเท่าไข่ไก่ ปัญหาโรค-แมลงจะน้อยลง การฉีดพ่นยาก็น้อยลงด้วย 15 วัน จึงจะฉีดครั้ง ตัวยาที่ใช้จะใช้ยาฆ่าแมลงผสมกับยาฆ่าเชื้อราฉีดพ่น ในส่วนนี้ก็จะผสมปุ๋ยทางใบลงไปด้วย ตั้งแต่ช่วงติดดอก เก็บเกี่ยว ก็จะบำรุงปุ๋ยทางใบ 3 ช่วงด้วยกัน และตั้งแต่ผลเล็กๆ จะให้ปุ๋ยทางใบทุก 7 วัน/ครั้ง ฉีดตลอด 2 เดือน จะให้ปุ๋ยทางใบ 8 ครั้ง
การเก็บเกี่ยวผลผลิตมะม่วง
การทำมะม่วงนอกฤดูจะทำรุ่นเดียว เริ่มเตรียมต้นเดือนมิถุนายนแล้วจะไปออกดอกเดือนตุลาคม แล้วจะไปเก็บเกี่ยวต้นเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งก่อนเก็บเกี่ยว 1 เดือน ก็จะให้ปุ๋ยเร่งความหวาน ก็จะใช้ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบใช้สูตร 4-20-20 ทำการฉีดพ่น 2 ครั้ง
โดยให้ระยะห่างกัน 15 วัน ซึ่งผลผลิตที่ได้เฉลี่ยแล้วต้นหนึ่งได้ประมาณ 50 กิโลกรัม เนื่องจากสภาพพื้นที่ไม่ค่อยดี เป็นหินลูกรัง เป็นที่ลาดชันเขา จึงทำให้ผลผลิตที่ได้น้อย ส่วนขนาดของผลจะมีขนาดกลางประมาณ 200-300 กรัม
ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายผลผลิต มะม่วงส่งออก
มะม่วงในสวนที่เก็บส่วนใหญ่จะส่งทางมาเลเซีย สิงคโปร์ ซึ่งจะมีบริษัททำผลไม้ส่งออกมารับถึงสวน เราจะทำการคัดขนาดบรรจุหีบห่อ ส่วนเรื่องราคาทางบริษัทจะกำหนดมา ทางมาเลเซียจะรับเฉพาะมะม่วงสุกทั้งหมด ซึ่งจะเก็บผลผลิตเมื่อมะม่วงแก่ได้ประมาณ 80% ขึ้นไป จึงจะเก็บจำหน่าย
ส่วนมะม่วงเขียวเสวยก็จะส่งขายตลาดภายในประเทศ (จะเป็นมะม่วงสุกทั้งหมด) จะมีพ่อค้ามารับถึงสวน ซึ่งจะให้พ่อค้ามารับ 2-3 ตันต่อวัน ซึ่งจะมีมะม่วงออกตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนมีนาคม ผลผลิตจะออกตลอด ซึ่งผลผลิตที่ออกสู่ตลาดช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ราคาจะสูง จะขายได้ในราคา 50 บาท แต่จะขึ้นอยู่กับสภาวะของตลาดเองด้วย ส่วนราคาขายภายในจะตกอยู่ 25 บาท ต่อกิโลกรัม
สำหรับเกษตรกรรายใหม่ที่จะมาทำสวนมะม่วงต้องมีปัจจัยหลัก ก็คือ น้ำ และระบบจัดการภายในสวนที่ดี และอยากจะแนะนำให้ชาวไร่ที่ปลูกมัน ปลูกกล้วย หันมาปลูกไม้ผลมากขึ้น
มะม่วงส่งออก มะม่วงส่งออก มะม่วงส่งออก มะม่วงส่งออก มะม่วงส่งออก มะม่วงส่งออก