ย่านางแดง สมุนไพร “ฤทธิ์เย็น” ปรับสมดุล…และล้างพิษในร่างกาย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ตำราสมุนไพรท่านว่าต้นไม้มี 9 รสชาติ เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม ขม ขื่น เผ็ด จืด ฝาด แต่ละรสชาติมีสรรพคุณในการรักษาที่แตกต่างกันไป สมุนไพรถ้าจะให้ดีตามตำราหมอแผนโบราณ คือ การเอาเข้ายาให้ถูกต้อง จึงเป็นศาสตร์ที่ต้องมีการเรียนรู้ ที่ผ่านมาก็มีผู้สนใจเยอะ แต่คนที่เรียนจบด้านนี้จริงๆ คงหายาก หรือแทบเป็นไปไม่ได้ เพราะว่ารอบตัวของเราก็คือสมุนไพร ทุกอย่างเพียงแต่รู้บ้าง ไม่รู้บ้าง เพราะฉะนั้นศาสตร์สมุนไพรนี้จึงมีความลึกซึ้งมากๆ ครับ

สมุนไพรแนะนำวันนี้มีฤทธิ์เย็น รสชาติจืด สรรพคุณสำหรับปรับสมดุลร่างกาย และล้างพิษที่สะสมในร่างกายได้เป็นอย่างดี  สมุนไพรตัวนี้เรียกว่า “ย่านางแดง”  เราไปดูลักษณะและสรรพคุณสำคัญ  รวมถึงวิธีการทำน้ำ ย่านางแดง กันดีกว่า

ผล ย่านางแดง ลักษณะเป็นรูปหอก-ยาวประมาณ-15-16-เซนติเมตร
ผล ย่านางแดง ลักษณะเป็นรูปหอก-ยาวประมาณ-15-16-เซนติเมตร
1.ต้นย่านางแดง
1.ต้นย่านางแดง

ลักษณะของ ต้นย่านางแดง

ต้นย่านางแดงจัดเป็นไม้เถาเลื้อยพันกับต้นไม้ชนิดอื่น โดยมีความยาวประมาณ 5 เมตร เปลือกเถาเรียบ เถามีขนาดกลางๆ และมักแบนมีร่องตรงกลาง เปลือกเถาเป็นสีออกเทาน้ำตาล ส่วนเถาแก่มีลักษณะกลม และเป็นสีน้ำตาลแดง มีมือสำหรับการยึดเกาะ ออกเป็นคู่ๆ ปลายม้วนงอ

ส่วนรากมีผิวขรุขระ สีน้ำตาลเข้มถึงดำ มีรอยบากตามขวางเล็กๆ ทั่วไป ลักษณะของเนื้อไม้ภายในรากเป็นสีน้ำตาลแดง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด และการแยกหัว ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค  โดยสามารถพบต้นย่านางแดงได้ตามป่าเบญจพรรณที่แห้งแล้ง  ป่าเต็งรัง  ป่าแดง ป่าดิบเขา และตามที่โล่งแจ้ง

2.ใบอ่อนย่านางแดง
2.ใบอ่อนย่านางแดง
ลำต้นเถาย่านางแดง
ลำต้นเถา ย่านางแดง
สรรพคุณล้างสารพิษในร่างกาย
สรรพคุณล้างสารพิษในร่างกาย

สรรพคุณของ ย่านางแดง

ย่านางแดง มีฤทธิ์เย็น  ส่วนประกอบต่างๆ ของย่านางแดง มีสรรพคุณดังนี้  ใบ  เถา  และราก  แก้ไข้ แก้พิษเบื่อเมา ถอนพิษยาเมา  ยาเบื่อ  ยาสั่ง  ถอนพิษผิดสำแดง  ขับพิษโลหิตและน้ำเหลือง  แก้ท้องผูกไม่ถ่าย  ใช้ฝนกับน้ำ หรือน้ำซาวข้าว หรือต้มน้ำดื่ม ใบและเถาต้มน้ำดื่ม ช่วยลดพิษยาฆ่าแมลง ใช้ลำต้นหรือราก เข้ายาบำรุงโลหิตสำหรับสตรีหลังคลอด ขณะอยู่ไฟช่วยให้มดลูกแห้งเข้าอู่เร็ว

นำใบมาต้ม เอาน้ำเช็ดตัว หรืออาบแก้ไข้ ลดไข้ กันชักจากไข้สูงได้ จึงใช้ใบย่านางปรับสมดุล  บำบัด  หรือบรรเทาอาการอันเกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน  ใบย่านางแดงอุดมด้วย สารคลอโรฟิลล์ล้วน แพทย์ไทยจึงใช้ในการปรับสมดุลของร่างกาย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ย่านางแดงนั้นมีรสจืด และเป็นยาเย็น สรรพคุณในการดับพิษร้อน กลุ่มนักธรรมชาติบำบัดจึงได้นำเอาความรู้ตรงนี้มาใช้ประโยชน์ แนะนำดื่มน้ำคั้นจากใบย่านาง  เป็นน้ำคลอโรฟิลล์เพิ่มความสดชื่น  และยังใช้ในการปรับสมดุลร้อน-เย็นในร่างกาย

โดยเชื่อกันว่าสาเหตุของโรคต่างๆ ในร่างกายมาจากความร้อนที่ไม่สมดุลกับความเย็น หรือนำมาดัดแปลงเป็นเครื่องดื่มสุขภาพ หรือจะผสมกับสมุนไพรอื่นเพื่อเพิ่มสรรพคุณ หรือให้ทานง่ายขึ้น เช่น ใบเตย ฯลฯ  ก็น่าสนใจนะครับ คนปกติก็ดื่มได้ครับ ช่วยป้องกันโรคที่ไม่มีเชื้อโรค เช่น โรคอ้วน ความดัน ตะคริว เบาหวาน เก๊าท์ หัวใจ มะเร็ง ตับ ไต ภูมิแพ้  นอนกรน กรดไหลย้อน ฯลฯ

3.ใบแก่ย่านางแดง
3.ใบแก่ย่านางแดง

วิธีทำน้ำใบย่านางแดง

1.ใช้ใบย่านาง 30-50 ใบ/น้ำ 4.5 ลิตร ผสมใบเตย 10 ใบ

2.ตัดหรือฉีกใบย่านางและใบเตยให้เล็กลง แล้วนำไปโขลกให้ละเอียด หรือขยี้ หรือนำไปปั่นด้วยเครื่องปั่น ควรใช้ระยะเวลาไม่นานประมาณ 30 วินาที ถึง 1 นาที เพื่อให้ผ่านความร้อนน้อยที่สุดเพื่อคงคุณค่าเอาไว้

3.กรองด้วยผ้าขาวบางเอาแต่น้ำสีเขียว สามารถนำไปดื่มแทนน้ำได้ทั้งวัน ที่เหลือสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้

วิธีรับประทาน

ดื่มน้ำย่านางสดๆ ครั้งละประมาณ ½ แก้ว วันละ 2-3 ครั้ง ก่อนอาหาร หรือตอนท้องว่าง หรือดื่มแทนน้ำก็ได้ บางครั้งผสมน้ำมะพร้าว น้ำตาล  น้ำมะนาว ในรสชาติไม่จัดเกินไป  เพื่อให้ดื่มง่ายขึ้น สิ่งสำคัญ คือ ความพอดีของร่างกาย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

บางคนดื่มน้ำย่านางแล้วรู้สึกแพ้ พะอืดพะอม จึงควรกลับไปดูว่าปริมาณการดื่มและมีความเข้มข้นเหมาะสมกับร่างกายหรือไม่ เพื่อประสิทธิภาพในการดื่มน้ำย่านางผู้ที่เป็นมะเร็ง เบาหวาน โรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง ห้ามกินอาหารที่มีฤทธิ์ร้อน เช่น พริกไทย  กระเพรา ขิงข่า ใบมะกรูด ฯลฯ และอาหารรสจัด อาหารปิ้งย่าง หรืออบด้วยความร้อนสูง เพราะอาหารเหล่านี้จะทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้น โบราณเรียกว่าเป็นของ “แสลง”  สำหรับคนที่ดื่มแล้วร่างกายเกิดภาวะเย็นเกินไป ควรเติมน้ำร้อน หรือนำไปต้มก่อน แล้วดื่มตอนอุ่นๆ จะดีกว่า