ทีมงานนิตยสาร “เมืองไม้ผล&พืชสุขภาพ” เดินทางเยี่ยมเยือนเมืองสกลนนคร โดยมีเป้าหมายไปสัมภาษณ์ถึงรายละเอียดกับ “คุณปรเมศร์ อินทรศรี” หรือชนชาวเมืองสกลที่รู้จักมักจี่ได้เรียกชื่อเล่นเขาว่า “โอเล่” เขาเป็นหนุ่มรุ่นใหม่สายเลือดวิศวกรรม
ด้วยความมุ่งมั่นบวกกับการส่งเสริมสนับสนุนและปลุกปั้นของคุณพ่อ “คุณประมวล อินทรศรี” อดีตผู้อำนวยการ “โรงเรียนเต่างอยพัฒนาศึกษา” และคุณแม่ “คุณภัทราภรณ์ อินทรศรี” อดีตอาจารย์ “โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล” ด้วยความคาดหวังของสามพ่อแม่ลูกที่ว่า “อินทรศรีฟาร์ม” น่าจะเป็นสวนแรกที่ปลูก “อินทผลัม” มากที่สุดในจังหวัด อีกทั้งยังผลิตได้คุณภาพ ตรงตามสายพันธุ์ ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค อีกทั้งยังได้ราคาดี ผนวกกับสินค้าในท้องตลาดของจังหวัดสกลนครยังมีน้อยนั่นเอง
จุดเริ่มต้นการปลูกอินทผลัม
หลังจากที่คุณโอเล่ได้ศึกษาเล่าเรียนจนจบทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ตัวเขาก็ได้เดินหน้าสานต่อความสามารถเปิดบริษัทอยู่ที่ อ.หนองแค จ.สระบุรี เป็นบริษัทที่เข้าไปจัดการงานทางด้านเซอร์วิสเอ็นจิเนียริ่งให้กับบริษัทต่างๆ ซึ่งเป็นงานที่ตัวเองถนัด และทำไปตามความสามารถ และทุ่มเทจนถึงที่สุด
หลังจากนั้นคุณพ่อและคุณแม่ของคุณโอเล่กำลังเข้าสู่วัยเกษียณราชการครู ความคิดใหม่ทางด้านการหาอาชีพไว้รองรับ หลังจากท่านทั้งสองเกษียณออกมาแล้วจะทำอะไรต่อ เพื่อไม่ทำให้ท่านเหงา มีงานทำอย่างต่อเนื่อง เป็นของตัวเองอยู่ที่บ้าน ประจวบเหมาะกับทางคุณพ่อของคุณโอเล่ไปเห็นพื้นที่ประกาศขายทั้งหมด 21 ไร่ เมื่อสนใจจึงซื้อมาเป็นเจ้าของเมื่อ 8 ปีที่ผ่านมา
“หลังจากซื้อมาผมกับคุณพ่อก็มีความเห็นตรงกัน คือ เอาไว้ทำนาเพื่อให้ได้ข้าวมาไว้กิน และขายบางส่วน ผลสรุปจากผลผลิตนาข้าวปีแรกปรากฏว่าไม่ได้ผล เพราะทุกๆ อย่างเราจ้างทั้งหมด อีกทั้งการเอาใจใส่ดูแลไม่ค่อยเต็มที่เท่าไหร่นัก เพราะแต่ละคนก็มีภารกิจของตัวเอง
หลังจากนั้นก็ไปซื้อต้นพันธุ์ไม้ผลจากจังหวัดจันทบุรีมาปลูก ไม่ว่าจะเป็นทุเรียน เงาะ มังคุด พริกไทย จนพูดได้ว่าไม้ผลชนิดไหนที่สนใจ และคิดว่าน่าจะปลูกแล้วได้ผล ผมก็หามาปลูกทุกชนิดสายพันธุ์ แต่หลังจากที่ปลูกไปแล้วการเจริญเติบโตของไม้ผลแต่ละชนิดก็ไม่ได้เต็มที่เท่าไหร่นัก ท้ายที่สุดก็หยุดไป เนื่องมาจากสภาพดินในพื้นที่เรามันเค็มเกินไปนั่นเอง”
สภาพพื้นที่ปลูกอินทผลัม
คุณโอเล่อธิบายถึงพื้นที่ที่ซื้อมาเพื่อนำมาทำการเกษตร แต่ก็ไม่ได้ผล อันสืบเนื่องมาจากสภาพดินที่เค็มเกินไป จากจุดเริ่มต้นนั้นทำให้เขาเริ่มทำการศึกษาต่อไปว่า “ดินเค็ม” เหมาะสมกับการปลูกพืชชนิดไหนมากที่สุด ความคิดดังกล่าวจึงกระจายไปหาพืชที่ทนต่อดินเค็ม นั่นก็คือ มะพร้าว และปาล์ม
ต่อมาไม่นานนักสองพ่อลูกได้รับการเชิญให้ไปร่วมงานแต่งงานที่จังหวัดเชียงใหม่ จึงหาโอกาสไปดูอินทผลัมของ “โกหลัก” พร้อมกับศึกษารายละเอียด และสอบถามโกหลักอย่างชัดเจนในด้านการปลูก การเก็บผล การให้ปุ๋ย ทุกขั้นตอน จากนั้นทั้งคู่จึงตัดสินใจซื้อมาปลูกทั้งหมด 400 ต้น เป็นอินทผลัม “สายพันธุ์ KL1” ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่โกหลักปรับปรุงและพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นมา ด้วยผลงานการร่วมวิจัยของ “มหาวิทยาลัยเกษตรแม่โจ้” นั่นเอง
ขั้นตอน วิธีการปลูกอินทผาลัม
“หลังจากที่ซื้อมาก็เริ่มเตรียมหลุมทำการปลูก หลังจากปลูกรวมต้นทุนในการปลูก ไม่ว่าจะเป็นการจ้างรถแมคโครขุดหลุมปลูก ขนาดความกว้าง ความยาว ความลึก 1 เมตร จากนั้นผมก็ปรึกษากับศูนย์ปาล์มเขต 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็ให้คำแนะนำเป็นอย่างดี ส่วนทางด้านดินเค็มผมก็ไปปรึกษากับโครงการช่างหัวมัน ซึ่งก็ได้รับคำแนะนำว่าควรทำการยกร่องก่อนปลูก เพื่อทำให้น้ำไหลผ่านชะล้างดินเค็มออกไปเรื่อยๆ ลักษณะการให้น้ำจะใช้ระบบสปริงเกลอร์ เพราะอินทผลัมเป็นพืชที่ต้องการน้ำมากในช่วงหน้าแล้ง ดังนั้นระบบน้ำหยดไม่เพียงพอต่อการให้น้ำ”
เป็นคำอธิบายถึงวิธีการปลูกเพื่อให้ต้นเจริญเติบโตขึ้นมาอย่างมั่นคง และแข็งแรง ซึ่งแต่ละต้นการเจริญเติบโตจะแตกต่างกัน หากทำการให้น้ำไม่เท่ากัน เช่น ต้นที่ได้รับการให้น้ำแบบพอดี จำนวนจั่นจะน้อย และใหญ่ สมบูรณ์ ให้ลูกใหญ่ และดก แต่ถ้าต้นไหนได้รับน้ำและอาหารที่น้อย จะทำให้จั่นมีขนาดเล็ก และออกหนาแน่น ผลก็ไม่สมบูรณ์ตามมา ดังนั้นวิธีการขยายพันธุ์ คุณโอเล่จะทำการขยายพันธุ์เพื่อนำมาปลูกจำนวนมาก เป็นลักษณะการขยายตันพันธุ์เผื่อไว้สำหรับต้นที่ออกจั่นเล็ก และให้ลูกน้อย ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณต้นที่มากขึ้น เผื่อจั่นที่ออกมาน้อยที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในแต่ละสวน
การบริหารจัดการสวนอินทผลัม
พูดถึงจุดเริ่มต้นการปลูกพืชอะไรก็แล้วแต่ ถ้าขาดความชำนาญในด้านการปลูก คิดว่าทุกคนก็จะขาดความมั่นใจในสิ่งที่จะทำไม่มากก็น้อย พร้อมกับภาวนาอยู่ในใจว่าขอให้เจริญงอกงามได้ดั่งใจด้วยเถิด อินทผลัมก็เช่นกัน ก่อนทำการปลูก คุณโอเล่ได้เรียนรู้และสอบถามวิธีการปลูกจนล่วงรู้ว่าไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยากเท่าไหร่นัก
สิ่งแรกที่ทำ คือ เตรียมความพร้อมในการปลูก โดยการจัดหาปุ๋ยคอกขี้วัว หรือขี้ควาย และเศษวัสดุ เพื่อนำมารองกันหลุมปลูกไว้ให้พร้อมเพรียง และครั้งแรกที่ปลูกในสวน คุณโอเล่เริ่มทำการปลูกในช่วงหน้าแล้ง คือ เดือนมีนาคม ก่อนหน้านั้นได้ยกร่องเตรียมพื้นที่ปลูกไว้รออยู่แล้ว หลังจากที่ต้นพันธุ์มาถึงต้องทำการขุดหลุมปลูก โดยใช้แมคโครขุดหลุมปลูก ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 1 เมตร และลึก 1 เมตร หลังจากนั้นก็จะนำขี้วัวที่เตรียมไว้ผสมลงไปในดินบางส่วนรองก้นหลุม นอกจากนี้ยังนำวัสดุเศษต้นไม้ ใบหญ้าต่างๆ มาผสมรองก้นหลุมอีกด้วย
สรุปโดยวิธีการของคุณโอเล่บอกว่าต้องขุดหลุมปลูกให้ใหญ่ แล้วใส่ปุ๋ยให้หมด โดยการใส่ลงไปทีละชั้นปุ๋ย วัสดุการปลูก หรือปุ๋ย คุณโอเล่แนะนำว่าควรนำปุ๋ยคอกที่หาได้ง่ายในพื้นที่มาใช้เป็นปุ๋ยรองพื้นก่อนทำการปลูก
“สวนของผมจะไม่เอาปุ๋ยขี้หมูมาใส่ เพราะจะทำตามคำแนะนำของลูกค้าชาวมุสลิมที่เขาไม่ทานเนื้อหมู ขี้หมูเป็นปุ๋ยทางด้านการให้อาหารกับอินทผลัม ย่อมมีส่วนที่เกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน ทั้งนี้และทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับความจริงใจของผู้ปลูกของแต่ละคนว่ามีจรรยาบรรณให้กับลูกค้าแค่ไหน ดังนั้นที่สวนผมจะใช้ปุ๋ยคอกขี้วัวผสมแกลบมาใส่
หลังจากปลูกไปแล้วจะใส่ 2 ครั้งต่อปี ช่วงแรกใส่ช่วงเดือนเมษายน ช่วงที่ 2 จะใส่ช่วงเดือนกันยายน หรือตุลาคม หลังจากนั้นพอต้นใหญ่ขึ้นก็จะใส่ต้นละ 2 ลูกๆ หนึ่งน้ำหนัก 25 กิโลกรัม การใส่ปุ๋ยอินทผลัมเพศผู้ ปีหน้าก็จะเพิ่มปริมาณการใส่ปุ๋ยเพิ่มขึ้นอีก เพื่อเป็นการบำรุงเกสรเพศผู้ที่ราคาพุ่งสูงถึง 50,000 บาท/กิโลกรัม เลยทีเดียว
สำหรับปุ๋ยเคมีนั้นที่สวนจะหลีกเลี่ยงให้มากที่สุด ทางด้านโรคและแมลงจะมีพวกหนอนเจาะลำต้นเข้ามารบกวน หากเราเห็นการเข้าเจาะที่ต้นไหน เราจะทำลายต้นนั้นทันที เพื่อป้องกันการระบาดเพิ่มมากขึ้น อีกโรคหนึ่งที่เกิดขึ้นจะเป็นพวกเพลี้ยไฟ และราน้ำค้าง ที่มักจะเกิดในช่วงปลายฝนต้นหนาว ซึ่งเราจะทำการฉีดพ่นเพื่อป้องกันทุกปี”
และนั่นคือคำยืนยันการใช้ปุ๋ย และยาฆ่าแมลง ของคุณโอเล่ กับการยอมรับและปฏิบัติตามคำขอของลูกค้า ด้วยคำพูดตกปากรับคำที่ตรงไปตรงมา จริงใจ และเชื่อถือได้ ทางด้านการหลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยคอกจากขี้หมู ทำให้เกิดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน อันส่งผลดีทางด้านการซื้อขายระหว่างกันได้ยั่งยืนยิ่งขึ้น สำหรับวิธีการปลูกภายในสวนจะทำการยกร่องแถวยาวทั้งหมด 9 แถว หลังจากใช้เวลาปลูกไป 2 ปี อินทผลัมก็เริ่มออกดอก
การขยายพันธุ์ต้นอินทผลัม
ในช่วงนี้คุณโอเล่ก็ศึกษาเรียนรู้วิธีการผสมเกสรตัวผู้และตัวเมีย ซึ่งก็มีอยู่ 4 วิธีด้วยกัน คือ
- วิธีการเคาะ
- วิธีการใช้ถุงครอบเขย่าจั่น หรือคลุมถุงชน
- วิธีการใช้แปลงปัดหัวเชื้อ
- วิธีการใช้ลมเป่า
ซึ่งวิธีการต่างๆ เหล่านี้ ก็ขึ้นอยู่กับเจ้าของสวนด้วยว่าถนัดวิธีการไหนมากที่สุด โดยส่วนตัวคุณโอเล่ได้นำวิธีการผสมเกสรระหว่างตัวผู้กับตัวเมียมาใช้ทั้ง 4 แบบ แต่ความถนัดทางด้านความรู้สึก และเห็นผลที่สุด ก็คือ วิธี “คลุมถุงชน” ซึ่งเป็นวิธีทำโดยเอาถุงดำที่บรรจุเกสรตัวผู้ไปครอบจั่นที่กำลังให้ดอกตัวเมียเบ่งบานแล้วสะบัด
วิธีการนี้คุณโอเล่บอกว่าเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด และทำให้เปอร์เซ็นต์การติดลูกได้มากกว่าหลายๆ วิธีที่ทำมา เพื่อการจดจำที่ง่ายขึ้น เขาจะกำหนดวันผสมเกสรในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ และเดือนมีนาคม และทำการเก็บเกี่ยวในวันเข้าพรรษา ซึ่งถือว่าเป็นวิธีการผสมเกสรของอินทผลัม โดยใช้หลักการปฏิบัติในวันที่จำง่ายมากที่สุดนั่นเอง
สำหรับวิธีการผสมเกสรแบบคลุมถุงชน การที่จะลงมือทำต้องสังเกตดูก่อนว่าปากจั่นเปิดหรือไม่ ถ้าไม่เปิดให้แกะปากจั่นออก หลังจากผสมก็จะปล่อยให้เค้าเจริญงอกออกมาเป็นลูก หลังจากนั้นจั่นก็จะเริ่มยาวและห้อยลง ช่วงนี้อาจจะใช้เชือกดึงไว้เพื่อไม่จั่นลากดิน จากนั้นประมาณเดือนพฤษภาคมจะเริ่มทำการห่อจั่นดัวยถุงตาข่ายเขียวที่เย็บเป็นรูปให้มีขนาดใหญ่พอดีกับจั่นที่ห่อ เสร็จแล้วใช้อลูมิเนียมฟอยล์ หรือกระดาษห่อผลไม้ ห่อหุ้มเพื่อกันฝนอีกชั้นหนึ่ง
สรรพคุณของผลอินทผลัม
คงปฏิเสธไม่ได้สำหรับเกษตรกรที่ลงทุน ลงแรง ปลูกไม้ผล เพื่อต้องการให้ผลผลิตออกมาได้ดี และมีคุณภาพ ตามมาตรฐานความต้องการของตลาดผู้รับซื้อ สำหรับอินทผลัมถือว่าเป็นไม้ผลที่มีรสชาติดี หวาน กรอบ ซึ่งมีสรรพคุณทางด้านอาหารที่ครบถ้วนอีกชนิดหนึ่ง มีสรรพคุณทางด้านการแก้ความหิวเป็นอย่างดี
ถือว่าเป็นผลไม้ที่คนนับถือศาสนาอิสลามนำมาทานในช่วงเทศกาลถือศีลอด “รอมฎอน” ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาทุกปี หากจะพูดถึงรสชาติความหวานของผล จากงานวิจัยได้สรุปไว้ว่าเนื้อผลของอินทผลัมไม่สามารถทำปฏิกิริยาความหวานแปรเปลี่ยนเป็นน้ำตาล ซึ่งจะส่งผลทำให้น้ำตาลแฝงตัวอยู่ในเม็ดเลือด อันเป็นตัวก่อเกิดโรคเบาหวาน ที่หลายๆ คนเกรงกลัวกันอยู่ในขณะนี้
การเก็บเกี่ยวผลผลิตอินทผลัม
ดังนั้น…หากจะถามถึงทางด้านผลผลิตที่ออกมาในปีที่ผ่านมา คุณโอเล่ได้ให้ความกระจ่างว่าระยะเวลาการให้ผลผลิต ตั้งแต่การออกดอกจนเก็บผลในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม จะอยู่ที่เวลา 5 เดือน หรือ 150 วัน ลักษณะการให้ปุ๋ยเพื่อบำรุงผลเพื่อเพิ่มความหวาน บางสวนอาจจะให้ปุ๋ยแคลเซียม โบรอน
พร้อมกับเร่งให้น้ำโดยตลอดในช่วงเดือนเมษายนหลังสงกรานต์ก็จะใส่ปุ๋ยคอกรอบต้น พอถึงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคมก็จะเก็บผลผลิต จากนั้นช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายนอินทผลัมจะพักต้น และช่วงเดือนธันวาคมเขาจะสะสมอาหาร เดือนมกราคมจะเป็นช่วงอินทผลัมแทงจั่น เดือนกุมภาพันธ์ก็จะเป็นช่วงผสมพันธุ์ ซึ่งเป็นวงจรหมุนเวียนไปอย่างนี้ทุกปีของอินทผลัม
สำหรับการเก็บผลผลิตลูกอินทผลัมทั้งหมด สองแม่ลูกจะลงมือจัดการเก็บเองทั้งหมด เนื่องจากในพื้นที่ 20 ไร่ ก็ไม่ได้มากมายเท่าไหร่ ลักษณะการเก็บก็จะเก็บไปเรื่อยๆ เพราะผลอินทผลัมแต่ละจั่นจะสุกไม่พร้อมกัน ดังนั้นในเรื่องนี้ทั้งสองคนสามารถทำได้ อีกทั้งยังเป็นการประหยัดต้นทุนในการว่าจ้างคนงานได้อีกด้วย และสำหรับผลผลิตอินทผลัมของปีนี้ ถ้าเทียบกับปีที่ผ่านมาจะได้มากกว่า เนื่องจากจำนวนต้นเพศเมียได้ปลูกเพิ่มเป็น 180 ต้น
ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายผลผลิตอินทผลัม
สำหรับลูกค้าก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าประจำที่เข้ามาซื้อเอง หรือลูกค้าที่บินตรงมาจากประเทศอินโดนีเซียเพื่อขอซื้อไปจำหน่ายอีกทอดหนึ่ง สำหรับราคาขายจะกำหนดไว้ที่กิโลกรัมละ 500 บาท รวมค่าส่ง 100 บาท ลูกค้าที่มีกำลังซื้อส่วนมากมาจากทางใต้ วิธีการปลูกอินทผาลัม วิธีการปลูกอินทผาลัม วิธีการปลูกอินทผาลัม
เมื่อถามถึงทางด้านแปรรูป คุณโอเล่กล่าวว่าขอหยุดไว้ก่อน เพราะต้องการให้อินทผลัมผลสดกระจายในท้องตลาดให้มากกว่านี้ ทุกคนที่ซื้อต้นพันธุ์ไปปลูกจะได้มีเป้าหมายการสร้างอาชีพและรายได้ให้กับครอบครัวได้อย่างมั่นคง หากสินค้าที่ผลิตออกมาสมดุลกับผู้ซื้อ ก็น่าจะส่งผลถึงเศรษฐกิจในชุมชนมั่นคงยิ่งขึ้นต่อไป วิธีการปลูกอินทผาลัม
สำหรับเกษตรกรที่สนใจซื้อต้นพันธุ์ไปปลูก หรือพ่อค้า แม่ค้า ที่ต้องการผลอินทผลัมนำไปขาย สามารถติดต่อไปได้ที่ คุณปรเมศร์ อินทรศรี เจ้าของสวนอินทรศรีฟาร์ม เลขที่ 369 หมู่ 6 ต.งิ้วด่อน อ.เมือง จ.สกลนคร โทร.085-777-0034 ได้ทุกวันเวลา…วิธีการปลูกอินทผาลัม วิธีการปลูกอินทผาลัม วิธีการปลูกอินทผาลัม วิธีการปลูกอินทผาลัม