สายพันธุ์อินทผลัม ที่เหมาะสมกับการปลูกในประเทศไทย เพื่อตอบโจทย์ในเชิงการค้า
จะเห็นว่าเมืองไทยวันนี้เริ่มมีกระแสการ “ ปลูกอินทผลัม ” ในเชิงการค้ากันมากขึ้นทั้งการปลูกอินทผลัมด้วย “ เมล็ด ” ที่มีราคาย่อมเยาลงมา แต่ยังต้องสุ่มเสี่ยง ในการที่จะได้ต้นตัวเมียเพียง 50 % ซึ่งแต่ละต้น จะให้ผลผลิตไม่สม่ำเสมอ และมีรสชาติที่ แตกต่างกันด้วย ซึ่ง การปลูกอินทผลัมด้วยเมล็ด จะเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกรที่ต้องการลงทุนสร้างสวนอินทผลัมได้ในราคาที่ไม่สูงมากจนเกินไป
แตกต่างกับการปลูกอินทผลัมที่ต่างประเทศที่นิยมปลูก “ อินทผลัมเพาะเนื้อเยื่อ ” มานานกว่า 30 ปี เพราะเกษตรกรส่วนใหญ่เน้นการปลูกอินทผลัมเป็นพืชเศรษฐกิจหลักเพื่อการบริโภคและการส่งออกที่ได้ทั้งปริมาณและคุณภาพผลผลิตที่ดี ตรงกับความต้องการของตลาดและผู้บริโภค ดังนั้น “ อินทผลัมเพาะเนื้อเยื่อ ”
จึงตอบโจทย์ได้ในทุกด้าน แต่ยังมีจุดอ่อนที่ราคาต้นกล้าค่อนข้างสูง แต่เกษตรกรมั่นใจได้ว่าเป็นต้นกล้าอินทผลัมตัวเมีย 100% ต้นกล้ามีความแข็งแรง สมบูรณ์ โตเร็ว ออกผลผลิต 100%
ผลผลิตมีรสชาติเหมือนกันทุกต้น ไม่กลายพันธุ์ ผลผลิตขายได้ราคาสูง ตลาดมีความต้องการสูง ที่สำคัญไม่เสี่ยง ไม่เสียเวลา ไม่เสียโอกาส สามารถปลูกได้ในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ของไทยที่ จะสร้างรายได้อย่างยั่งยืนให้กับเกษตรกร
สายพันธุ์อินทผลัม
ดังนั้น สายพันธุ์อินทผลัม ที่เหมาะสมกับการปลูกในประเทศไทยจึงเป็นสิ่งที่เกษตรกรต้องคำนึงถึงให้มากที่สุด เนื่องจากอินทผลัมแต่ละ สายพันธุ์อินทผลัม คุณสมบัติและลักษณะเฉพาะตัวที่โดดเด่นแตกต่างกันออกไป ดังนี้
สายพันธุ์บาฮี ( BARHEE / BARHI )
เป็นพันธุ์ทานสดโดยเฉพาะ มีแหล่งกำเนิดในประเทศอีรัก ปัจจุบันมีการปลูกกันแพร่หลายในหลายประเทศ กล่าวกันว่า พันธุ์ Barhi เป็น “ แอปเปิ้ลแห่งตะวันออกกลาง ” ในห้างสรรพสินค้าชั้นนำนำผลผลิตพันธุ์บาฮีมาจัดจำหน่ายในช่วงพิธีถือศีลอดของชาวมุสลิมในเขตตะวันออกกลางรวมทั้งในประเทศไทย
ลักษณะเด่น สายพันธุ์อินทผลัม นี้ จะมีผลทรงไข่อ้วนกลมกว่าสายพันธุ์อื่น ผลอ่อนมีสีเขียวเข้ม ก่อน จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวอ่อนและกลายเป็นสีเหลืองทองจนกระทั่งเป็นผลแก่จัด จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลปนเหลืองและเนื้อนิ่ม เมื่อผลสุกงอมเนื้อ จะนิ่มคล้ายลูกพลับ รสชาติหวานอร่อย
ซึ่งนิยมเก็บเกี่ยวและจำหน่ายกันแบบทะลายเพื่อให้ขายได้ราคาดี ส่วนผลที่ร่วงจากทะลายนั้น จะได้ราคาถูกกว่า แต่ผู้บริโภคนิยมทานผลสดมากกว่าเพราะเนื้อ จะกรุบกรอบ หวาน แต่ จะมีรสฝาดเพียงเล็กน้อยในคำแรกเท่านั้น ในขณะที่ประเทศไทยโดยห้างสรรพสินค้าชั้นนำได้มีการนำเข้าผลสดของพันธุ์บาฮีมาจำหน่ายในราคา 500 – 600 บาท / กก.
ระกอบกับผลผลิตสายพันธุ์บาฮีมีน้ำหนัก 15 – 20 กรัม / ผล น้ำหนักเฉลี่ย 50 – 60 ผล / กก. ให้ผลผลิตมากถึง 200 – 400 กก. / ต้น เพราะมีลำต้นที่หนา แข็งแรง สมบูรณ์ตามธรรมชาติ แต่มีการแทงหน่อจากต้นพ่อต้นแม่เพียง 6 – 8 หน่อเท่านั้น
สายพันธุ์คาลาส ( KHALAS )
มีถิ่นกำเนิด ในประเทศ ซาอุดิอาระเบีย และมีชื่อเสียง มา ใน แถบ เมือง AlQaseem และ AlKharj ซึ่ง คำ ว่า Khalas มี ความหมาย ว่า “ แก่นแท้หรือต้นแบบที่สมบูรณ์ ” ผลผลิต สายพันธุ์คาลาส มี รูปทรง เป็น สี่เหลี่ยม ผืนผ้า รสชาติอร่อย มีความ เหนียวหนึบ เป็น คาราเมล เมื่อทาน ในระยะสุกงอม ( สุกครึ่งลูก ) แต่ ในแถบอาหรับ มัก จะขาย ผลผลิต สายพันธุ์ นี้ ในรูปแบบ ผลแห้ง เป็นหลัก อีกทั้ง สายพันธุ์คาลาส เมื่อโตเต็ม จะให้ผลผลิตซึ่งเป็นผลสดที่ 150-200 กก. / ต้น / ปี
สายพันธุ์เมดจูน ( MEDJOOL )
มีแหล่งกำเนิดที่ประเทศโมร็อคโค ซึ่งปัจจุบันมีการปลูกกระจายไปทั่วโลกที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ ราชาแห่งอินทผลัม ” ผลผลิตเมดจูนเป็นที่นิยมมากกว่าสายพันธุ์อื่นเหมาะสำหรับการซื้อเป็นของฝากมากที่สุด
ด้วย ผลที่โดดเด่น ผล มีขนาดใหญ่ แต่เมื่อ ผลอ่อน มีสีเขียว เปลี่ยนเป็นสีเหลืองเมื่อสุก และ กลายเป็นสีแดง เมื่อผลแก่จัด และ ผลแห้งจะมีสีน้ำตาลเข้ม คล้าย สีมะฮอกานี เนื้อกึ่งแห้ง เป็นทรายเล็กน้อย รสชาติหวานจัด เนื้อนุ่ม นิยมทานเป็นผลแห้ง เมดจูน ถือว่าเป็น อินทผลัม ที่มีมูลค่า การค้า สูงมาก ถือว่าเป็นอันดับ 1 ในตลาดส่งออก ซึ่งในประเทศไทยมีการจัดจำหน่ายที่ 950 บาท / กก.
ซึ่งจุดเด่น อินทผลัมสายพันธุ์ นี้ เป็นสายพันธุ์ ที่มีคุณภาพสูง มีลำต้นที่แข็งแรง ปรับตัวได้ดี ในพื้นที่ฝนชุก แต่จะอ่อนไหว ด้านสภาพอากาศ และ ความชื้นที่สูงหรือต่ำมากเกินไป ที่อาจ ส่งผล ต่อคุณภาพ ของ ผลผลิต เป็น สายพันธุ์ ที่ให้หน่อ ได้ค่อนข้างมาก 20 – 25 หน่อ / ต้น
สายพันธุ์ชิชิ ( SHISHI )
เป็นสายพันธุ์ที่มีชื่อเสียงของประเทศซาอุดิอาระเบีย แต่นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายในภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียและอิหร่าน ผลผลิต จะสุกในช่วงกลางฤดู ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีเมื่อผลสีเขียวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลในระยะที่ จะสุก จะเห็นได้ชัดเจนขึ้นแม้ในขั้นตอนของการทำแห้ง
สายพันธุ์ชิชิ มีผลผลิตเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ ให้ผลผลิตสูง เนื้อในนุ่ม สามารถบริโภคได้ทั้งในช่วงกึ่งสุก สุกงอมและทำแห้ง ผลผลิตมีราคาสูง อีกทั้งยังเป็นสายพันธุ์ที่ปรับตัวได้ดีแม้สภาพอากาศที่เลวร้ายและในภูมิประเทศที่แตกต่างกัน จึงเป็นสายพันธุ์ที่มีความแข็งแรงสมบูรณ์อีกสายพันธุ์หนึ่ง
สายพันธุ์โคนีซี่
หรือที่รู้จักกัน “ Date Crown ” ที่มีจุดเด่นคือ ผลสีแดงเข้มและสีดำอันโดดเด่น รสชาติหวานละมุนกลมกล่อม ไม่มีเสี้ยน มีแหล่งกำเนิดในประเทศโอมานและนิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ( UAE ) ให้ผลผลิตเฉลี่ย 60 – 80 กก. / ต้น / ปี
ลดภาระในการฆ่าเชื้อโรคและการขนส่งได้ดีเพราะทนต่อความชื้นได้ดีเยี่ยม เนื่องจากความชื้นสูงคือปัญหาหลักของการปลูกอินทผลัมในประเทศไทย แต่ผลผลิตสามารถเก็บเกี่ยวได้ในหน้าแล้ง เป็นผลผลิตนอกฤดู ผลมีสีแดงสดทั้งผลสดและผลแห้ง รสชาติหวาน ทานได้ทั้งผลสดและแห้ง
ลักษณะต้นสวนผลโดดเด่น ปลูกเชิงเศรษฐกิจได้ ปลูกประดับบารมีได้เพราะยังมีผู้ปลูกน้อยในประเทศไทย แต่สายพันธุ์ที่แนะนำให้ปลูกในประเทศไทยก็คือสายพันธุ์บาฮี คาลาส แฮร์รี่ และโคนีซี่ เพราะ “ คาลาส ” กับ “ บาฮี ” จะได้ความอร่อย รสชาติดีกว่าและกินได้ทั้ง 2 ระยะคือทั้งผลสดและผลแห้ง ( ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในฉบับหน้า )
ขอขอบคุณข้อมูล
คุณวิทยา ช่ำชอง ( หมอวิทย์ ), คุณศศิธร สายคำติ่ง ( คุณตุ๊ดตู่ )
ปรึกษาฟรี โทรศัพท์ @
084-653-0343
083-053-9666