หนอนหัวดำ ศัตรูพืชร้ายแรง รัฐต้องทำจริงจัง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ปกคลิปหนอนหัวดำ copy

หนอนหัวดำ ศัตรูพืชร้ายแรง

รัฐต้องทำจริงจัง

ประสบการณ์จากผู้ปลูกมะพร้าวที่ประสบปัญหาหนอนหัวดำ

3.หนอนหัวดำ
หนอนหัวดำ

หนอนหัวดำ ศัตรูมะพร้าวที่ชาวสวนรู้จักดี ยังวนเวียนระบาดหนักใน

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เพราะรัฐไม่เข้าใจวิธีการกำจัดหนอนหัวดำตามความเป็นจริง

เรื่องนี้ชาวสวนมะพร้าวที่มีองค์ความรู้และประสบการณ์ระดับนักปราชญ์อย่าง

1.คุณสุชาติ วงษ์เณร
คุณสุชาติ วงษ์เณร

คุณสุชาติ  วงษ์เณร อดีตข้าราชการสังกัดกรมส่งเสริมการเกษตรมีสวนมะพร้าว  จำนวน 27 ไร่

อ.บางสะพาน จ.ประจวบฯ

ไม่ต่ำกว่า 40 ปี ทำสวนมะพร้าวจนประสบความสำเร็จเปิดเผยกับ นิตยสารพลังเกษตร ว่า เวลานี้ เจอหนอนหัวดำระบาด 6 ต้น  จนต้องรีบกำจัดทันทีจะไม่ยอมให้แพร่ระบาดเป็นอันขาด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

“ทางที่ดีเกษตรกรควรสำรวจมะพร้าวตัวเองในรอบสัปดาห์ โดยดูด้านล่างของใบในต้นที่สูงไม่มาก หนอนหัวดำจะทำลายโดยการกัดกิน ผิวใบแล้วมาทำเป็นอุโมงค์ เราจะไม่เห็นตัวหนอน อุโมงค์เหมือนกับปลวกที่มันเดิน มันจะโผล่แต่หัว มาแทะผิวใบอย่างเดียว” คุณสุชาติให้ความเห็นและแนะนำให้เกษตรกรดูใบล่าง ถ้ามีอาการแห้งและใบแห้งห้อยต่ำลง หรือ ใบแห้งคล้ายๆเป็นกลุ่ม ซึ่งใบแห้งที่หล่นลงมาจะมีร่องรอยการทำลายหรือมีอุโมงค์เก่าๆ  ชาวสวนต้องหมั่นสังเกตุ ซึ่งหนอนหัวดำจะระบาดทั้งปี ยกเว้นช่วงมีพายุฝนเดือน ต.ค.-ธ.ค. เมื่อฝนตกพรำ ๆ การระบาดจะลดลง เนื่องจากหนอนหัวดำอยู่ใต้ใบมะพร้าวมีลักษณะเหมือนจั่วและใบไม่ได้ขาดมีร่างแหของใบ ก็ยังกันฝนให้นอนอยู่ได้

“มันทำลายแต่ใบจากใบล่างขึ้นไปในที่สุดถ้ามันระบาดรุนแรงมันกินทั้งต้นทำให้มะพร้าวตายได้ หรือ ถ้าไม่ตายก็ไม่ให้ผลผลิตประมาณ 2 ปี”

ภาครัฐต้องเข้ามาช่วยแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน

เรื่องหนอนหัวดำ คุณสุชาติให้ความเห็นว่า รัฐต้องประกาศให้เป็นศัตรูพืชที่ร้ายแรง ต้องไม่ให้มันระบาดแม้เพียงเล็กน้อยเพราะมันอยู่ที่สูงและมี แมลงหนามดำ เป็นตัวช่วยเพราะทำให้เกษตรกรเข้าใจผิดคิดว่าศัตรูมะพร้าวมีแต่ แมลงหนามดำ ที่กินมะพร้าวแล้วไม่ตายแต่ความจริงมีหนอนหัวดำระบาด โดยเฉพาะช่วงที่มีฝนน้อย หรือช่วงแล้งจะระบาดรวดเร็วเป็นเวลา 30-45 วัน ทำลายได้ทั้งต้นและหนอนหัวดำจะกินใบ ซึ่งมีทุกวัยกินแค่ 3-4 ใบ ก็จะเป็น ผีเสื้อ ออกไปวางไข่ต้นที่อยู่ติดกันในรัศมีวงกลมระบาด 1 ไร่ใช้เวลาเพียง 2 เดือนเท่านั้น

8.ล้งรับซื้อมะพร้าว
ล้งรับซื้อมะพร้าว

แล้วจะกำจัดหนอนหัวดำอย่างไร??

คุณสุชาติ กล่าวว่า เมื่อรัฐประกาศเป็นศัตรูร้ายแรงทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจะช่วยกันกำจัดเพราะมะพร้าวต้นสูงควบคุมได้ยาก และเมื่อเริ่มระบาดเกษตรกรไม่สามารถกำจัดได้ด้วยตัวเองเพราะการเจาะต้นเพื่อฉีด สารเคมี แม้ระบาด 3-4 ต้นก็ทำไม่ได้ ทีมรับจ้างเจาะไม่ทำเพราะมะพร้าวน้อยไม่คุ้มกับต้นทุนการเจาะ แต่เมื่อระบาดแล้วรัฐสนับสนุนให้รวมกลุ่มได้ครั้งละหลายๆต้นทีมเจาะก็พร้อม แม้แต่มะพร้าวต้นเตี้ย เมื่อระบาดก็ต้องเอารถไถหรือรถแทรคเตอร์มาลาก เครื่องพ่น สารเคมี

การเจาะต้นเพื่อฉีดยาเข้าทางท่อน้ำ หรือ ท่ออาหารจะเกิดสารตกค้างอันตรายต่อผู้บริโภคหรือไม่? คุณสุชาติกล่าวว่า ตัวยาจะไปที่ใบไม่ไปที่ผล กรมวิชาการเกษตร ยืนยันแล้วและผู้บริโภคจะกินมะพร้าวแก่ทั้งเนื้อและน้ำ ตรวจแล้วไม่มีสารเคมีตกค้าง แต่มีข้อเสียตรงที่รูเจาะต้นจะไม่มีเนื้อเยื่อมาปิดเหมือนพืชใบเลี้ยงคู่ชนิดอื่น

6.มะพร้าว
มะพร้าว

วิธีการใช้ยาเจาะให้หนอนตาย

คุณสุชาติยืนยันว่าการใช้ยาเจาะหนอนตาย 100% เพราะหนอนต้องกินใบมะพร้าวที่มียา ดังนั้นการเจาะต้องเจาะเป็นแนวที่อยู่กับต้นไม้ที่มีอาการ 2-3 แถวเพราะว่ามันมีไข่ไปวางแล้วแต่มันยังไม่แตกเป็นตัวหนอน ถ้าเกษตรกรเจาะเฉพาะต้นที่มีอาการอย่างเดียวไม่มีแนวกั้นความสำเร็จจะน้อยลง ดังนั้นต้องเจาะดักหน้าให้ทันกับมัน อาจเจาะ 2-3 แถวจากต้นที่มีอาการ

โฆษณา
AP Chemical Thailand
สวนมะพร้าว
สวนมะพร้าว

อย่างไรก็ดีการควบคุมการเจาะต้องมีผู้เชี่ยวชาญกำหนดผังการเจาะ เพราะมีทั้งต้นที่มีอาการและต้นที่มีผีเสื้อวางไข่และไม่ต้องเจาะทั้งสวน  “เจาะถัดจากต้นที่มีอาการไปแล้วอย่างน้อย 2-3 ต้น ไม่ใช่ว่า 100 ไร่ มีอาการ 2 ต้น แต่เจาะทั้งหมดอาจเจาะแค่ 1 ไร่ ล้อม 2 ต้นไว้”

ส่วนปริมาณการใส่ยาให้ยึดคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตรเท่านั้น

นอกจากนี้ถ้าจะให้การป้องกัน/กำจัด หนอนหัวดำ ให้อยู่หมัด คุณสุชาติเห็นว่าจะต้องใช้หลักการ ผสมผสาน โดยใช้ แตนเบียน ให้ ถูกต้อง บางสายพันธุ์ใช้แล้วไม่ได้ผล หรือไม่ก็ต้องหาวิธีทำให้หนอนหัวดำ เป็นหมันโดยใช้จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นโมเดล เพราะเป็นแหล่งปลูกมะพร้าวถึง 45% ของประเทศ

วันนี้ งบประมาณ ในการจัดซื้อยาปราบหนอนหัวดำ เป็นของกระทรวงเกษตรฯ ควรรีบอนุมัติจัดซื้อ เพราะยิ่งช้ายิ่งเสียหาย “เราเสียหายไป 700 ล้านแล้ว ควรจะลงทุน 10 ล้านเพื่อมิให้มันเสียหายถึง 1,500 ล้าน” คุณสุชาติให้ความเห็นและยืนยันว่ามะพร้าวเป็นพืชทนแล้งทนโรคตลาดโลกต้องการมาก

นอกจากนี้เกษตรกรควรปลูกมะพร้าวร่วมกับพืชอื่นๆที่ทนแล้งเป็นสนผสมผสานเพื่อให้ แตนเบียน ได้อยู่อาศัยขยายเผ่าพันธุ์เพื่อลดบทบาทหนอนหัวดำนั่นเอง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

โฆษณา
AP Chemical Thailand

คุณสุชาติ  วงษ์เณร

โทร.081-9867019

อ้างอิง : นิตยสารพลังเกษตร ฉบับ 39