อาจารย์มานพแนะวิธีใช้ ปุ๋ย เพื่อเพิ่มผลผลิตทุเรียน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เรื่องการใช้ “ ปุ๋ย และ ยา ” กลายเป็นเรื่องใหม่มากขึ้น เพราะว่า “แม่ปุ๋ย” ขึ้นราคาแบบบ้าเลือด เพราะไทยไม่มีโรงงานผลิต แม้แต่ยาหรือเคมีเกษตรก็ขี้นราคาตาม ถ้าเกษตรกรไม่เข้าใจ จะเป็นการเพิ่มต้นทุนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

1.อาจารย์มานพ วาสินธุ์
1.อาจารย์มานพ วาสินธุ์

เทคนิคการใส่ปุ๋ย

ดังนั้น ต้องให้เซียนปุ๋ยและยา อย่าง อาจารย์มานพ วาสินธุ์ (นักวิชาการอิสระ, อนุบอร์ดการยางแห่งประเทศไทย, ที่ปรึกษาฝ่ายกลยุทธ์และการตลาด บริษัท ไอออนิค จำกัด) ให้ข้อมูล ซึ่งอาจารย์กล่าวว่า การใช้ปุ๋ยอย่างชาญฉลาด ทั้งอินทรีย์และเคมี ต้องมีทักษะในการใส่

ถ้าใส่แบบไสยศาสตร์ คือ การใส่ผสมผสานกัน แต่ถ้าใส่แบบใช้หลักวิทยาศาสตร์ จะใส่ตามค่าวิเคราะห์ดิน และใส่ตามความต้องการของพืช เช่น ดินเป็นกรด ดินปลดปล่อยปุ๋ยไม่ได้ ดินค่าซีซีต่ำ ดินมีการนำไฟฟ้าสูง เป็นต้น หรือดินมีอินทรียวัตถุอยู่แล้ว แล้วทำไมต้องมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์

ฉะนั้นการวิเคราะห์ดินเพื่อหาค่าที่เหมาะสม หาค่าดินโครงสร้างดินให้ได้ก่อน แบบนี้จะเหมาะสมมากกว่า ส่วนจะใส่อะไรก็อยู่ที่ดินว่า มีอะไรมาก มีอะไรน้อย มีอะไรเกิน ที่เกินแล้วไม่ต้องใส่เพิ่ม  ที่ขาดไปก็ใส่เพิ่ม  เช่น  วิเคราะห์มาอินทรียวัตถุต่ำ เราก็ใส่ปุ๋ยอินทรีย์เพิ่ม หรือดินเป็นกรดก็หาปูนมาใส่ แบบนี้เรียกว่าใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน

การใส่ปุ๋ยตามหลักวิทยาศาสตร์ ก็คือ ใส่ตามความต้องการของพืช พืชต้องการใช้ไนโตรเจนช่วงไหนเราก็ต้องรู้ ถ้าเป็น “ทุเรียน” ช่วงทำใบชุดแรก พืชต้องการไนโตรเจนสูง ทุเรียนจะต้องทำใบให้สมบูรณ์อย่างน้อย 2 ชุดใบ แต่ถ้าจะให้ดีจะต้อง 3 ชุดใบ ใหญ่ๆ เขียวๆ เข้มๆ มันๆ อย่างนี้เราเรียกว่าผสมธาตุอาหารให้เต็มที่ ในช่วงชุดใบแต่ละช่วงก็ต้องสังเกตดูว่าใบที่ออกมาแต่ละชุดมีขนาดพอเหมาะ พอควร ตามรูปลักษณ์พันธุกรรมของพันธุ์นั้นหรือไม่

ถ้าใบยังเล็กยังแคบอยู่ก็จะมีปัญหาเรื่องของอาการขาดจุลธาตุ ก็ต้องไปดูว่าขาดจุลธาตุตรงไหน ไม่ได้บอกว่าจำเป็นต้องใส่กำมะถันทุกต้น ทุกแปลง ก็คงไม่ใช่ อาจจะต้องบอกว่าไปฉีดพวกสังกะสีหรือคีเลตต่างๆ ก็ไม่จำเป็น พืชสามารถบอกเราได้หมด

โฆษณา
AP Chemical Thailand
2.บรรยากาศในสวนทุเรียน
2.บรรยากาศในสวนทุเรียน

สภาพพื้นที่ปลูกทุเรียน

เพราะฉะนั้นมีใครไปส่งเสริมคนทำทุเรียนมากกว่า 5 ไร่ขึ้นไป เรียกว่า “นักธุรกิจเกษตร” เขาไม่ได้ปลูกทุเรียน 3 ต้นข้างบ้าน ไม่ได้เป็นเกษตรกร เขาคือนักธุรกิจเกษตร เพราะธุรกิจของเขาคือการทำเกษตร เพาะทุเรียน 5 ไร่ ปีนึงได้เงินหลายล้านบาท ไร่นึง 18-26 ต้น เฉลี่ยไร่ละ 20 ต้น ถ้าทำดีๆ อายุทุเรียนนับตั้งแต่เริ่มปลูก 5-6 ปี ก็สามารถได้กำไรจากทุเรียนตามราคาขายปัจจุบันต้นละ 50,000 บาท ต้นละ 100 ผล  ผลละ 5 กิโลกรัม ๆ ละ 100 บาท ต่ำสุด ต้นละ 50,000 คูณ 20 ไร่ ไร่หนึ่งได้ 1,000,000 บาท รวมแล้ว 5 ไร่ ได้ 5,000,000 บาท

ถ้าไม่มีภาวะเกี่ยวกับเรื่องฝนฟ้า ดอก ผล เสียหาย แมลงเข้ามาทำลาย ก็จะได้อย่างน้อย 3,000,000 บาท ปีหนึ่งทำสบายๆ ชิลล์ๆ 5 ไร่ ได้เงิน 3,000,000-5,000,000 บาท นั่นไม่ใช่เกษตรกร แต่เขาคือนักธุรกิจ ลงทุนรอเวลา 5 ปี ปีที่ 4 เก็บได้พอเลี้ยงคนงาน ปีที่ 5 มีรายได้ต้นนึง 30,000-50,000 บาท ถ้าเลี้ยงดีๆ นะ แต่ถามว่าจะ 50,000 บาท ทุกแปลงมั้ย อยู่ที่ว่าระยะการปลูกอยู่ 3-5 ปี มีการดูแลที่ดีมั้ย ใส่ปุ๋ยถูกต้องมั้ย ไม่ใช่ดินเป็นกรด แต่ยังใช้ปุ๋ยเคมีกระสอบละ 1,800-2,000 อยู่

ทำไมไม่เอาดินไปวิเคราะห์ค่าดิน ค่าวิเคราะห์ดินไม่กี่พันบาท แล้วทำให้รู้ว่าดินในสวนเป็นดินแห้ง ดินทึบ ดินตาย ดินเป็นกรด ดินขาดอินทรียวัตถุมั้ย ไม่ต้องไปใส่ตามคนอื่น เพราะดินของคุณและดินของเขาไม่เหมือนกัน ดินของคุณไม่ได้ทำอะไรมาก่อนเลย ปล่อยให้รกร้างว่างเปล่าอยู่ โครงสร้างดินดีคุณปลูกได้เลย ป้องกันโรคให้ได้ เป็นโรคแก้ที่โรค ดินเป็นกรดแก้ที่ดิน

พืชต้องการเจริญเติบโตใส่ปุ๋ยเร่งโตให้โดยมีไนโตรเจนสูง เมื่อไหร่ที่ต้องการให้พืชหยุดการใช้ไนโตรเจนลงในขณะที่พืชสะสมธาตุอาหารได้เต็มที่ เราก็งดการใช้ไนโตรเจน เพื่อพืชจะได้ไม่เครียด จะได้ออกดอก เราเรียกทักษะตรงนี้ว่าใส่ปุ๋ยโดยใช้หลักวิทยาศาสตร์ ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และใส่ปุ๋ยตามความต้องการของพืช

3.ทุเรียน3

ปัญหาและอุปสรรคการปลูกทุเรียน

ทาง “พลังเขียวสร้างชาติ” เชื่อว่ามีทีมงานที่มีศักยภาพพอในการไปแนะนำส่งเสริมให้เกษตรกรคุยกับทุเรียนเป็น ถ้าคุยกับทุเรียนเป็น ไม่ต้องไปถามชาวบ้าน ไม่ต้องไปถามใคร เรารู้ว่าพืชขาดอะไร เราก็ใช้ธาตุอาหารตามที่พืชขาด ไม่ใช่จะใส่ปุ๋ยแต่ละครั้งไปถามคนข้างบ้านที่เค้าปลูกข้าวโพดซึ่งเขาก็ไม่รู้ บางคนก็รู้เยอะ นักวิชาการมาก บางคนไม่รู้แล้วชี้ เอาตัวตนที่เป็นคนพูดเก่ง พูดจนชาวบ้านเชื่อ และชาวบ้านก็มาทำตาม

จนทุกวันนี้ใบทุเรียนเล็กเหลือแค่นิ้วหัวแม่โป้ง ใบสีซีดเหมือนสีขี้ม้า เพราะสักแต่จะใส่ปุ๋ย 8-24-24 เปิดตาดอก ปุ๋ยสูตรตัวกลางสูงมาก และถ้าตกค้างอยู่ในดินเยอะ ตัวฟอสฟอรัสจะไปทำปฏิกิริยาตกตะกอนกับพวกจุลธาตุ เลยทำให้จุลธาตุไม่ทำงาน ทั้งที่ในดินอาจจะมีก็ได้ แต่เมื่อพืชเอาจุลธาตุไปใช้ไม่ได้ ใบเล็ก แคบ และคุณต้องไปซื้อคีเลตมาฉีดเหรอ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ถ้าคุณทำให้ดินปลดปล่อยปุ๋ยคีเลตไม่ได้  ในดินมีเยอะแยะ  แต่คุณไม่ได้ไปลดกรด หรือคุณไม่สามารถที่จะเอา ปุ๋ยอินทรีย์หรืออะมิโนพวกฮิวมิคเข้าไปช่วย ทำให้ความสามารถของดินที่เรียกว่าค่าความสามารถในการดูดซับจากปุ๋ยและปลดปล่อยปุ๋ย เมื่อคุณไม่รู้ค่าดินว่าปลดปล่อยได้มากน้อยขนาดไหน แล้วคุณบอกว่าพืชขาดแล้ว คุณเอาธาตุอาหารไปใส่ ใส่ไปก็ไปกองอยู่ในดิน เหลือเยอะๆ ก็เป็นพิษ ทำให้ทางเคมีของดินยิ่งเพี้ยนไปเรื่อยๆ

แต่พอเห็นว่าพืชขาด คุณก็ไปถามตามนักการตลาด ถามร้านค้า ร้านค้าบอกขาดสังกะสีก็ซื้อสังกะสีไปฉีดทางใบทั้งที่ในดินมีเยอะ ของมันมีอยู่แล้วอยู่ในดินที่ปล่อยออกมาไม่ได้ แล้วคุณบอกว่าพืชขาด คุณต้องการ แต่คุณเอาไปใส่ในดินเหมือนเดิม แล้วพืชก็ไม่ได้รับเหมือนเดิม เพราะว่าดินปลดปล่อยจุลธาตุไม่ได้

เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจดินให้ได้ว่าดินของเรามีความสามารถมากน้อยขนาดไหน ถ้าไม่วิเคราะห์ดิน ทำได้ แต่จะได้แค่ประมาณ 60-70% ก็คือ ดูอาการขาดธาตุที่ใบ แล้วมาถามข้อมูลที่เกษตรกรมีการใช้ผลิตภัณฑ์อะไรใส่ไว้บ้าง ขี้หมู ขี้ไก่ ขี้วัว ขี้ควาย มูลสัตว์ หรือใช้ตระกูลปูนตัวใด พืชจะได้วิเคราะห์ว่าในดินมีธาตุอะไรหลงเหลืออยู่บ้าง แต่เมื่อพืชขาดอยู่เราก็วิเคราะห์ต่อว่าเราใส่แคลเซียมไปแล้ว เราใส่แมกนีเซียมไป ทำไมพืชยังมีอาการยอดไม่เดิน ยอดยังแห้งอยู่ ยังขาดแคลเซียมอยู่อีก แล้วใบแก่ยังเหลืองอยู่ มีลักษณะอาการขาด เพราะเส้นใบสีเขียว

เราคุยกับทุเรียนแล้วทุเรียนบอกเราว่าใบแก่เหลืองแบบนี้มันคืออาการขาดแมกนีเซียม เพราะเหลืองที่เนื้อใบ ไม่ได้เหลืองทั้งใบ เส้นใบก็ยังเขียวอยู่ แล้วคุณไปใส่ปุ๋ย NPK จะได้เหรอ สูตรตลาดพวกนี้ก็คือสูตรตลาด เราไม่ได้บอกว่าปุ๋ยเคมีไม่ดี แต่คุณจะใช้ปุ๋ยอย่างชาญฉลาดได้ คุณต้องเข้าใจดิน และคุณต้องใส่ปุ๋ยตามความต้องการของพืชเท่านั้น ถึงจะทำให้ผลผลิตของคุณเพิ่มขึ้นมาได้

4.ทุเรียนกำลังให้ผลผลิต
4.ทุเรียนกำลังให้ผลผลิต

การใส่ปุ๋ยต้นทุเรียน

สาเหตุที่เกษตรกรไม่เอาดินไปวิเคราะห์หาค่าดินและไม่ดูความต้องการของพืช เนื่องจากมีบุคคลหลายกลุ่ม คนที่เป็นนักธุรกิจเกษตร หรือเกษตรกร ในความหมายเดิม เกษตรกรในเมืองไทยแยกเป็น 5 กลุ่ม ใน 100 คน จะมีเกษตรกรที่มีวิสัยทัศน์แบบผู้นำอยู่ 5% ไม่เชื่อใคร ไม่ฟังใคร อีโก้สูงมาก ใครแนะนำอะไรไม่ฟัง

บุคคลแบบที่ 2 จะมีวิสัยทัศน์แบบนักบัญชี มี 5% อย่าไปคุยวิชาการกับเขา เขาไม่ฟัง เขาอยากรู้ว่าถ้าลงทุนไปเท่านี้ กำไรจะได้เท่าไหร่ อย่าไปคุยเรื่อง NPK ไปคุยเรื่องวิชาการไม่ได้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

บุคคลแบบที่ 3 บุคคลนำสมัย อันนี้คุยง่าย เข้าถึงเทคโนโลยี ดูโซเชียลอ่านข้อมูล เขาไม่ได้มีความรู้ แต่เขารู้หลากหลาย บุคคลประเภทนี้รู้แบบเป็ด คนแบบนี้ขายง่าย ใครแนะนำอะไรฟัง และไปค้นข้อมูลต่อ เขาไม่ได้สนใจเรื่องถูก เรื่องแพง ขอให้ผลผลิตเขาสูง ใน 100 คน มี 5% เช่นกัน

บุคคลแบบที่ 4 วิสัยทัศน์แบบนักวิชาการ รู้มั่ง ไม่รู้มั่ง ฟังมารู้หมด แต่ไม่รู้เรื่องดิน รู้แต่ว่าดินต้องดี ต้องใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ต้องใส่ปุ๋ยคอก แต่ไม่รู้รายละเอียดเพิ่มเข้าไปในดินว่ามีการนำไฟฟ้าเท่าไหร่ มีค่าปลดปล่อยปุ๋ยเท่าไหร่ NPK เหลือตกค้างอยู่ในดินเท่าไหร่ แต่เขามีความรู้เชิงวิชาการอยู่บ้าง มีความรู้หลากหลาย มีเพียง 5% แต่อีก 80% ที่เหลือเรียกว่าบุคคลตามสมัย เป็นนักธุรกิจเกษตร หรือ เกษตรกร

บุคคลตามสมัยอย่าใครไปคุยอะไร ผู้ใหญ่ กำนัน เชิญไปฟังวิชาการ เขาแค่ไปฟัง ไปลงชื่อ ไปรับของแจก แล้วก็กลับบ้าน ไม่ได้สนใจฟัง ใครไปสอนอะไรไม่รับ ไม่เชื่อทุกเรื่อง เพราะเขาโดนหลอกมาเยอะ ทำมาทุกอย่างทุกวิธีก็ไม่ได้ดี เพราะเขาไม่เรียนรู้

แต่ถ้าบุคคล 4 กลุ่ม ที่กล่าวมาข้างต้น มีการใช้อะไรแล้วทำได้ดี คน 80% นี้จะฟังแล้วทำตาม แล้วเราที่เป็นนักวิชาการ “พลังเขียวสร้างชาติ” จะไปแนะนำใคร เจ้าหน้าที่รัฐแต่ละองค์กร ไม่ว่าหน่วยงานไหนจะไปคุยกับใคร เพราะเขาไปคุยเรื่องเดียวกันกับคน 5 กลุ่ม เวลาเดียวกัน มันทำไม่ได้โดยธรรมชาติ เพราะนักวิชาการกับข้าราชการเขาไม่ได้โฟกัสวิสัยทัศน์ของ เกษตรกร หรือ นักธุรกิจเกษตร

จึงไปคุยวิชาการกับทั้ง 5 กลุ่ม ไม่ได้ เหมือนนักวิชาการอิสระทั่วไป ลองโฟกัสคนในพื้นที่ ที่ใครมีวิสัยทัศน์แบบนักวิชาการ มีวิสัยทัศน์แบบคนนำสมัย เอาสองกลุ่มนี้มานั่งคุยกัน เพื่อเป็นต้นแบบให้คนอีก 80% แบบนี้ถึงจะไปได้ วันนี้ที่หน่วยงานทุกหน่วยงานไม่ประสบความสำเร็จในการไปแนะนำส่งเสริมวิชาการให้กับเกษตรกรเพราะเขาไม่ได้โฟกัสวิสัยทัศน์เกษตรกร

แต่ทำไมอาจารย์สร้างมา 27 ปี พอโฟกัสเกษตรกร ทำไมถึงมีนักวิชาการฝ่ายส่งเสริมและพัฒนานักธุรกิจเกษตรทั่วประเทศเป็น 10,000 คน และทุกคนใช้ทักษะ 2 อย่าง 1.ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน 2.ใส่ปุ๋ยตามความต้องการของพืช เรียกว่าใส่ปุ๋ยโดยใช้หลักวิทยาศาสตร์ ดีใจที่พลังเขียวเข้ามามองเห็นความสำคัญในส่วนนี้ว่า ใส่ปุ๋ยแต่ละครั้งเกษตรกรอย่าถามเพื่อนได้มั้ย ขับรถเข้าไปในสวนถามพืชดีกว่าที่จะไปถามเพื่อน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เราเป็นหน่วยงานเอกชนเป็นกลุ่มเล็กๆ ไม่ได้มีชื่อเสียงโด่งดัง แต่เราพยายามที่จะหาวิธีการว่าจะทำอย่างไรให้เกษตรกรมีต้นทุนในการผลิตลดลง ไม่ได้หมายถึงจะทำให้การจัดซื้อผลิตภัณฑ์แต่ละอย่างลดลง ต้นทุนของเกษตรกรจะลดลงได้ต่อเมื่อผลผลิตของเกษตรกรเพิ่มขึ้นเท่านั้น ไม่มีที่ไหนในโลกนี้ลดต้นทุนโดยการใช้ปุ๋ย ใช้ยา ปรับปรุงโครงสร้างดิน และผลผลิตจะเพิ่มขึ้นเป็นไปไม่ได้ แต่คุณจะทำอะไร ใส่ปุ๋ยให้ถูกต้อง และผลผลิตมันเพิ่มขึ้น นั่นแหละต้นทุนการผลิตของคุณจะลดลง

เพราะเมื่อคุณมีผลผลิตเพิ่มขึ้น จำนวนกิโลกรัมที่เราขายไป เมื่อมาบวก ลบ คูณ หาร กับต้นทุนที่มีการจัดการแล้วมันจะถูกลง แต่ถ้าคุณลดใส่ปุ๋ย ใส่ยา ไปปรับปรุงโครงสร้างดิน ผลผลิตมันไม่ได้สูงขึ้น และต้นทุนพวกนี้จะแพงขึ้นกว่าเดิมด้วยซ้ำ เพราะมีเวิร์ดดิ้งอยู่คำหนึ่ง 27 ปี ผมพูดคำนี้ “ลดต้นทุนด้วยการเพิ่มผลผลิต (เท่านั้น)” ถ้าตัดคำว่า ด้วยการ ออกไปความหมายเพี้ยนเลย ลดต้นทุนเพิ่มผลผลิต มันไม่มีอะไรไปลดต้นทุนได้หรอก แต่คุณจะลดต้นทุนในการผลิตได้ คุณต้องทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น

5.ผลผลิตบนต้น
5.ผลผลิตบนต้น

การป้องกันและกำจัดโรคต้นทุเรียน

ถ้ามีบุคคลใดท่านใดสนใจที่จะเรียนรู้ทักษะการใส่ปุ๋ยอย่างชาญฉลาดตามแนวทางของ “พลังเขียวสร้างชาติ” ติดต่อมาได้เลย ยินดีให้ความรู้เบื้องต้นเพื่อให้ท่านประเมิน หากอยากได้ความรู้เพิ่มเติมว่าจะทำอย่างไรโดยใช้หลักวิทยาศาสตร์ในการใส่ปุ๋ยเพื่อตอบโจทย์พืชให้ได้ เราต้องเริ่มจากอะไร เอาแค่โรคพืช โรคพืชในโลกนี้โฟกัสแค่พืชทุเรียน โรคทุเรียนมี 2 ชนิดเท่านั้น คือ โรคที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต และสิ่งไม่มีชีวิต โรคที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต เช่น เชื้อรา แบคทีเรีย แมลงปากกัด แมลงปากดูด เพลี้ย ฯลฯ รวมทั้งเชื้อรารากเน่าโคนเน่า โรคกิ่งแห้ง ฯ เราเรียกว่าโรคที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต

วิธีแก้มีทั้งแบบเคมีและชีวภาพ แก้ได้ ทุเรียนเรียนจบ แต่แก้ไม่จบ มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นก็แก้ไปตามปัญหาที่เกิดขึ้นตามหน้างาน ฝนตก 3-10 วัน ฟ้าปิดทุเรียนเป็นเชื้อรา คุณก็ต้องรู้ฟ้าปิด 7 วัน พยากรณ์อากาศกรมอุตุฯ บอกแล้วว่าอาทิตย์หน้าฝนจะตกหนัก คุณก็ไปหาเชื้อชีวภัณฑ์มาฉีดคุมไว้มีหลากหลาย เอาไปใช้เพื่อป้องกัน อย่าให้เกิดโรคก่อนแล้วมากำจัด

วันนี้เกษตรกรใช้ทักษะการกำจัด แทนที่จะป้องกัน พอเป็นโรคก็ไปซื้อมาฉีดแทนที่จะทำให้ทุเรียนมีเซลล์ที่แข็งแรง แคลเซียม โบรอน ฉีดเข้าทางใบอย่างเดียวแบบนี้ไม่ได้ แคลเซียม โบรอน ควรใส่ทางดิน เพราะแคลเซียมเป็นธาตุที่เคลื่อนย้ายยากที่สุดในต้นพืช หรือเป็นธาตุที่ไม่เคลื่อนย้ายในต้นพืชไปทางท่อส่งน้ำเท่านั้นไม่ย้อนกลับ ฉะนั้นถ้าเกษตรกรไปฉีด แคลเซียม โบรอน ที่ใบ ก็อยู่ที่ใบไม่ย้อนมาที่ผนังเซลล์ของเปลือก ของกิ่ง หรือราก รากก็ถดถอยอยู่เรื่อยๆ เพราะไม่มีการเติมแคลเซียม โบรอน ทางดิน ไปฉีดทางใบอย่างเดียว ร้อยละ 95% มีประมาณ 5% ที่เริ่มรู้วิชาการ

27 ปีที่ผ่านมา ยังมีบุคคลเพียงน้อยนิดที่จะเข้าใจเรื่องธาตุแคลเซียม และโบรอน หลายคนไม่เคยรู้จักด้วยซ้ำ บางคนถาม “ใส่ได้เหรอ เขามีแต่ฉีดอย่างเดียว ไปถามร้านค้าแล้วร้านค้าบอกว่าใส่ทางดินไม่ได้ ต้องฉีดทางใบอย่างเดียว” อาจารย์แนะนำในสิ่งที่ถูกต้องมาแนะนำให้ท่านมีความรู้ในการดูแลรักษารากทุเรียนหลังจากที่ท่านฉีดสารมาอย่างหนัก ไปหยุดการเจริญเติบโตด้วยการแผ่กระจายของราก และคุณไปฉีดแคลเซียมทางใบ มันไม่ได้เป็นประโยชน์ มันไม่ลงกลับมาที่ราก แล้วรากของคุณจะสร้างรากแต่ละครั้งจะสร้างอย่างไร

โฆษณา
AP Chemical Thailand
6.ผลใหญ่ พูเต็ม สวย
6.ผลใหญ่ พูเต็ม สวย

การบำรุงดูแลต้นทุเรียน

บางท่านก็บอกว่ารากทุเรียนไม่ดี รากไม่เดิน ก็ไปร้านปุ๋ย ร้านก็บอกว่าเอาตัวนี้ไปเร่งราก ล้างผลาญ เข้าทางโจร และในส่วนของโรคที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต คือ ภาวะอาการขาดธาตุหรือมีธาตุเกิน ธาตุเกินก็คือเป็นพิษ แต่ทุเรียนไม่โกหกเรา สภาพใบอ่อน ใบแก่ โชว์ให้เราเห็นหมด ใส่ปุ๋ยผิดสูตร ถ้ากิ่งกระโดง กิ่งน้ำค้างเยอะ กิ่งแขนงเยอะ อันนี้ใส่ปุ๋ยตัวกลางเยอะ ไนโตรเจนต่ำ ยอดหรือฉัตรแต่ละฉัตรสั้น ข้อปล้องของแต่ละฉัตรไม่ยาว แบบนี้เรียกว่าภาวะที่ไนโตรเจนน้อย หรือเทียบเท่ากับตัวฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม

เมื่อพืชเอา 3 ธาตุ ไปใช้พร้อมกัน การไหลของยอดที่จะให้ยาวออกมาในแต่ละฉัตรมันไม่ยาว ที่เราไปรู้จักปุ๋ยในตลาดเขาจะใส่ปุ๋ยตัวหน้าสูง ตัวหลังสูง ตัวกลางสูง เขาเรียกโยกหน้าโยกหลัง มันเป็นเรื่องความต้องการของพืช เพราะฉะนั้นเกษตรกรต้องรู้ตรงนี้ด้วยว่าช่วงไหนใส่ปุ๋ยไนโตรเจนเยอะ อย่าเอาสูตร 15-15-15 ไปใส่ มันกดยอด กดไนโตรเจน

แต่เราจะไปพูดยังไง ในเมื่อเกษตรกรร่ำเรียนมาตั้งแต่รุ่นปู่ ปู่ก็ทำแบบนี้ ฟื้นต้น 15-15-15 , 16-16-16 รุ่นพ่อก็ใส่แบบนี้มา แล้วจนฟอสฟอรัสหรือฟอสเฟตตกค้างในดินเยอะ ใบที่ออกมาเล็กแคบใหญ่กว่าหัวแม่โป้งนิดเดียว แล้วมีใบบิด ขอบใบมีปัญหามาก แล้วบอก “ทุเรียนฉันใบไม่สวยเลย” พอติดลูกปุ๊บพลังงานที่ใบไม่มี มันจะเอาตรงไหนมา เมื่อมีใบสามชุดใบนะดีใจ สามชุดใบอย่าดีใจนะ ถ้าใบเล็ก แคบ น้ำตาลที่สะสมอยู่ในใบมันไม่พอเลี้ยงลูก

แต่คุณไปฉีดสารพวกแคลเซียม โบรอน หยุดการหลุดร่วงของดอกไว้ ดอกติดเยอะ ลูกก็มาเยอะ ถามว่าพลังงานที่ใบจะพอเลี้ยงลูกมั้ย ไม่พอ พอไม่พอก็วิ่งไปร้านปุ๋ย ร้านปุ๋ยก็ขายน้ำตาลทางด่วนให้ “พี่ต้องฉีดน้ำตาลทางด่วนนะ” เข้าทางเลย และเมื่อฉีดน้ำตาลทางด่วนไป เพลี้ยไฟ ไรแดง จะตามมา และพอมีแมลงมาก็จะวิ่งหาร้านค้าอีก หาสารกำจัดแมลงฉีดไปอีก ถามว่ายากำจัดแมลงป้องกันเชื้อราได้มั้ย ไม่ได้ ก็ต้องฉีดสารกำจัดเชื้อราอีก ก็เลยเป็นแบบนี้ นี่เป็นสิ่งที่เกษตรกรวนอยู่แบบนี้ แล้วมาบอกว่าทุเรียนเรียนไม่จบ ก็คุณไม่เรียนแล้วมันจะจบได้อย่างไร ทุเรียนเรียนจบ

7.ทุเรียน7

การให้ความรู้แก่เกษตรกร

ขอให้สมาชิกของพลังเขียวสร้างชาติฟังพลังเขียวสร้างชาติ และติดตามพลังเขียวสร้างชาติ ถ้าอยากรู้เรื่องอะไร เทคนิคการใส่ปุ๋ยอย่างชาญฉลาดในพืชทุกชนิด พลังเขียวสร้างชาติ ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะไปแนะนำส่งเสริมเกษตรกร จะได้มีต้นทุนในการผลิตลดลง

ในส่วนที่ภาครัฐวางทาร์เก็ตการส่งออกทุเรียนไว้ให้ได้มูลค่า 2 แสนล้านบาท ไม่อยากเอาเกษตรกรไปผูกกับนโยบายรัฐบาล ไม่ได้บอกว่านโยบายดีจะเป็นปัญหาดีหรือไม่ดี คือ มันเป็นปัญหาระดับมหาภาค เอาแค่โฟกัสรายตัวของเกษตรกรให้ได้ก่อนว่าคุณจะทำอย่างไรให้ผลผลิตมันได้ดี คุณไปให้เกษตรกรปลูกเยอะๆ เพื่อต้องการทำยอด 2 แสนล้านบาท เกษตรกรขาดทุน แล้วรัฐบาลช่วยขาดทุนมั้ย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ทุเรียนปลูกไม่โต ไม่แตก ล้ม หาย ตาย จาก เจ๊งกันไปเท่าไหร่ ไม่ได้สนใจในเรื่องตรงนั้น เอายอดให้ได้ 2 แสนล้าน คุณจะไปปลูกกันตรงไหนไม่รู้ ทุเรียนตายก็เป็นหน้าที่เกษตรกรไปเสี่ยงกันเอาเอง นี่ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง นโยบายใช่ แต่วิธีการในการปฏิบัติเพื่อให้เกิดมีมูลค่า 2 แสนล้านบาท

ต้องเป็นกระบวนการแบบที่พลังเขียวสร้างชาติคิด ต้องมีคลัตเตอร์เอาตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ต้องมีคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งทำอยู่เหมือนที่ผมทำ ร้อยคนที่อยู่ในกลุ่มก้อนเล็กๆ เข้าไปพูดคุยกันจากพลังเขียวสร้างชาติที่มีสมาชิกอยู่หลายแสนคน เอาเป็น 1% ของสมาชิกทั้งหมดมานั่งคุยกันว่าจะทำอย่างไร เริ่มจากบุคคล อย่างนี้จะเป็นคลัตเตอร์ได้ ต้องเริ่ม ต้องใช้เวลา

ผมทำมา 27 ปี ก่อนที่จะมีนักวิชาการต่างๆ มาเริ่มนั่งคุยกันในยูทูป มาให้ความรู้เกษตรกรเพิ่มขึ้น ผมทำแนวราบมา 27 ปี ก็คือ ลงไปเจอมาหมดทุกพืช เมื่อวันนี้เกษตรกรมีพลังเขียวสร้างชาติอยู่แล้ว ก็จะให้ใช้พลังเขียวสร้างชาติเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ เพื่อสวนท่านจะมีผลผลิตที่เพิ่มขึ้น และต้นทุนในการผลิตก็จะลดลง ในภาวะที่ปุ๋ยแพงขนาดนี้

อย่าใส่ปุ๋ยโดยใช้หลักไสยศาสตร์ ทุกครั้งที่จะใส่ปุ๋ยต้องถามดินและพืช แต่ถ้าคุณไม่รู้ว่าจะถามดินอย่างไร คุยกับพืชอย่างไร พลังเขียวสร้างชาติพร้อมที่จะไปให้ความรู้ กระทั่งเป็นกลุ่มก้อนเล็กๆ ไม่ต้องถึง 100 คน 5-7 คน พลังเขียวสร้างชาติก็จะไปคุยกับคุณให้เข้าใจ” อาจารย์มานพให้ความเห็นด้วยการเปิดใจ ต้องการรายละเอียดของการใช้ปุ๋ยและยาอย่างชาญฉลาด ติดต่อ พลังเขียวสร้างชาติ โทร 092-293-1492, 082-659-9716

อ้างอิง : นิตยสารพลังเกษตร ฉบับที่ 26