เชื้อราไตรโครเดอร์มา และแบคทีเรีย สายพันธุ์ใหม่ เพื่อการควบคุม ป้องกัน และแก้ปัญหา โรครากเน่า โคนเน่า ราสีชมพู ในสวนทุเรียนได้ดียิ่งขึ้น!
การระบาดของโรครากเน่า โคนเน่า และโรคราสีชมพู ในต้นทุเรียน
ปัจจุบันนี้เกษตรกรหลายท่านนิยมหันมาปลูกทุเรียน และเพิ่มพื้นที่การปลูกทุเรียนขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยมีการขยายพื้นที่ปลูกไปทั่วประเทศ สืบเนื่องมาจากทุเรียนเป็นไม้ผลที่มีราคาดีมากในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา
แต่อย่างไรก็ตามในช่วงเวลาเดียวกันนี้สภาพแวดล้อมและสภาพอากาศของไทยที่มีฝนตกชุกมากเกือบตลอดทั้งปี บางครั้งก็มีพายุรุนแรงเกิดขึ้น จึงทำให้ 2-3 ปีที่ผ่านมา สภาพแวดล้อม สภาพอากาศ เหมาะสมต่อการเกิดการระบาดของโรคต่างๆ ในสวนทุเรียน โดยเฉพาะ โรครากเน่า โคนเน่า และราสีชมพู
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือขอรับคำปรึกษาได้ที่ บริษัท พีค อโกรเคมี2 จำกัด
โทร. 087-977-1590
การระบาดของโรคทั้งสองชนิดนี้รุนแรงมาก ทำความเสียหายให้สวนทุเรียนอย่างหนัก สร้างความสูญเสียให้แก่เกษตรกรชาวสวนทุเรียนกันทั่วหน้า โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ที่มีการปลูกทุเรียนเป็นจำนวนมาก นั่นก็คือ ภาคตะวันออก เช่น จังหวัดตราด จันทบุรี ระยอง และในพื้นที่ภาคใต้ เช่น จังหวัด ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานีนครศรีธรรมราช และยะลา เป็นต้น
การป้องกันและแก้ปัญหาโรครากเน่า และโรคราสีชมพู ในต้นทุเรียน
เมื่อมีปัญหาเรื่องการระบาดของโรครากเน่า และโรคราสีชมพู เกษตรกรชาวสวนทุเรียนก็ได้ใช้ความพยายามทุกวิธีในการแก้ปัญหา แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ค่อยจะประสบผลดีเท่าที่ควร ยังคงมีความเสียหายเกิดขึ้น และสร้างความสูญเสียให้แก่เกษตรกรชาวสวนทุเรียนอย่างต่อเนื่อง บางสวนเสียหายหนักถึงขั้นที่มีทุเรียนตายเป็นจำนวนมาก ส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจากเชื้อราอันเป็นสาเหตุของโรครากเน่า และโรคราสีชมพู นั้น มีการต้านทานต่อสารเคมีกำจัดเชื้อรา ที่ชาวสวนใช้ในการรักษากันอยู่เป็นประจำ หรือเรียกง่ายๆ ว่า การดื้อยานั่นเอง
ด้วยเหตุนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการพัฒนาการใช้เชื้อรา และแบคทีเรีย ในการป้องกันควบคุมและแก้ปัญหาเรื่องโรคพืช จึงได้มีการคิดค้นและพัฒนาสายพันธุ์ชนิดใหม่ๆ ขึ้นมา เพื่อให้ใช้ควบคุม เชื้อโรคได้ดียิ่งขึ้น และเพื่อต้องการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนในการแก้ปัญหาและรักษาพืชผลต่างๆ ที่ป่วยเป็น โรครากเน่า และโรคราสีชมพู
คุณสมบัติของเชื้อราไตรโครเดอร์มา
ผลจากการค้นคว้าและพัฒนาเชื้อรา และแบคทีเรีย ที่สามารถควบคุม และแก้ปัญหาโรคพืชนั้น มีดังนี้
1.มีการพัฒนาสายพันธุ์เชื้อราไตรโครเดอร์มา ซึ่งจากเดิมมีเชื้อราไตรโครเดอร์มาที่ใช้เพื่อควบคุมโรครากเน่า โคนเน่า เพียงสายพันธุ์เดียว คือ สายพันธุ์ Trichoderma harzianum
แต่ตอนนี้ได้มีการพัฒนาเพิ่มขึ้นมาใหม่อีก 4 สายพันธุ์ ได้แก่
- Trichodermahamatun
- Trichoderma koningii
- Trichoderma psuedokoningii
- Trichoderma vivide
คุณสมบัติพิเศษที่ดียิ่งขึ้นของเชื้อราไตรโครเดอร์มาสายพันธุ์ใหม่ทั้ง 4 สายพันธุ์ คือ
- ทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดีขึ้น
- เชื้อมีความสมบูรณ์แข็งแรงมากขึ้น
- เชื้อสามารถขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนได้เร็วขึ้น
- สามารถควบคุมโรคได้ดีขึ้น
- สามารถควบคุมโรครากเน่าที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียได้ด้วย
ซึ่งในขบวนการผลิตเชื้อได้พัฒนาจนสามารถผลิตเชื้อได้ปริมาณถึง 2.5×109 ต่อ 1 กรัม จากเดิมที่สามารถผลิตเชื้อได้ 1×109 ต่อ 1 กรัม เท่านั้น
นอกจากนั้นเชื้อที่พัฒนาขึ้นยังประกอบไปด้วยเชื้อแบบเต็มวัย ตัวอ่อน และสปอร์ จึงทำให้สามารถควบคุมและกำจัด เชื้อราโรคพืชได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2.มีการพัฒนาเชื้อแบคทีเรียบางสายพันธุ์ขึ้นมาสำหรับใช้ร่วมกับเชื้อราไตรโครเดอร์มา เพื่อให้สามารถควบคุม โรครากเน่า และโรคราสีชมพู ให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
ข้อดีของเชื้อแบคทีเรีย
เชื้อแบคทีเรียที่ได้พัฒนาขึ้นใหม่มีทั้งหมด 12 สายพันธุ์ ดังนี้
- Azotobacter
- Aspergillosis
- Azospirillum
- Bukholderia
- Emericella
- Psedomonas
- Saccharomyces
- Streptomyces
- และ Bacillus อีก 4 สายพันธุ์
ข้อดีของแบคทีเรียในกลุ่มนี้คือ
- ขยายพันธุ์และออกฤทธิ์ได้รวดเร็ว สามารถออกฤทธิ์ได้ประมาณ 6 ชั่วโมง หลังจากการใช้ (เทียบกับเชื้อรา ไตรโครเดอร์มาซึ่งปกติจะใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน)
- เชื้อแบคทีเรียมีความทนทานต่อสภาพพื้นที่ที่มีความชื้นแฉะมากได้ดี (เชื้อราไตรโครเดอร์มา ไม่ค่อยทน และไม่ชอบสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นแฉะมาก)
- สามารถป้องกันและกำจัดโรคราสีชมพูได้ดียิ่งขึ้น
- สามารถควบคุมโรคได้หลายชนิด
- และข้อที่สำคัญที่สุดของเชื้อแบคทีเรียกลุ่มนี้ คือ สามารถใช้ร่วมกับเชื้อราไตรโครเดอร์มาได้เป็นอย่างดี โดยจะไปช่วยเสริมฤทธิ์ และเสริมประสิทธิภาพซึ่งกันและกัน สามารถใช้พร้อมกันได้ ทำให้การป้องกันและกำจัดโรครากเน่าและโรคราสีชมพูมีประสิทธิภาพดีมากยิ่งขึ้น
การใช้เชื้อราไตรโครเดอร์มา และเชื้อแบคทีเรีย ร่วมกับพีค รูทเตอร์ ในต้นทุเรียน
การพัฒนานี้ถือเป็นข่าวดีของพี่น้องเกษตรกรชาวสวนทุเรียนเป็นอย่างยิ่ง แต่อย่างไรก็ตามการใช้เชื้อราไตรโครเดอร์มา และการใช้เชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นการใช้สิ่งมีชีวิตไปควบคุมเชื้อโรคที่ซึ่งก็เป็นสิ่งมีชีวิตเหมือนกัน ดังนั้นเพื่อทำให้สิ่งมีชีวิตทั้งเชื้อราไตรโครเดอร์มา และเชื้อแบคทีเรีย ออกฤทธิ์และทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
เพื่อที่จะเอาชนะ เชื้อโรคให้ได้อย่างเด็ดขาดนั้น จำเป็นต้องทำให้สิ่งมีชีวิตทั้งสองกลุ่มนี้ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว มีความสมบูรณ์ แข็งแรง สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น และมีชีวิตอยู่ยาวนานขึ้น จึงควรใช้ร่วมกับธาตุอาหารที่มีความเหมาะสมกับเชื้อราไตรโครเดอร์มา และเชื้อแบคทีเรีย ทั้งสองกลุ่มนี้ นั่นก็คือ การใช้ร่วมกับ พีค รูทเตอร์
พีค รูทเตอร์ เป็นตัวที่จะช่วยเสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรง ช่วยในการเพิ่มจำนวนให้กับเชื้อทั้งสองชนิด และยังช่วยเสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรงให้กับพืชอีกด้วย นอกจากนั้นยังทำหน้าที่ในการปรับปรุงโครงสร้างดิน ทำให้ดินมีการระบายน้ำและอากาศได้ดี จึงช่วยลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรค และยังช่วยเพิ่มการแตกรากใหม่ขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงทำให้พืชสามารถดูดกินธาตุอาหารต่างๆ ไปใช้ได้เต็มที่ ทำให้พืชฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว
พีค รูทเตอร์ เป็นธาตุอาหารที่ดี ปลอดภัย เหมาะในการใช้เพื่อช่วยในการฟื้นฟูต้นทุเรียน หรือพืชต่างๆ ที่ป่วยจากโรครากเน่า และโรคราสีชมพู เพราะใช้ง่าย สะดวก ได้ผลจริง และยังช่วยประหยัดต้นทุนได้อีกด้วย
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือขอรับคำปรึกษาได้ที่ บริษัท พีค อโกรเคมี2 จำกัด
โทร. 087-977-1590, 02-598-9207, 081-533-8499
Line: @peakagrokemee2
Facebook : พีค อโกรเคมี 2
Youtube : ค้นหาคำว่า Peak Agro Channel
ร้านค้าตัวแทนจำหน่ายพื้นที่ต่างๆ
จังหวัดจันทบุรี
1.ร้านสามเกษตร อ.ขลุง โทร.088-582-8919
2.ร้านอัมรินทร์การเกษตร อ.ขลุง โทร.091-009-5594
3.ร้านอิสระการเกษตร อ.เมือง โทร.081-941-3425
4.ร้านเกษตรสร้างสรรค์(กระทิง) โทร.081-912-8529
5.ร้านต้นพืชการเกษตร (จันทเขลม) โทร.098-363-4562
6.สหกรณ์การเกษตรใกล้บ้านท่านในจังหวัดจันทบุรี
จังหวัดตราด
1..คุณจันทนา สมานโสตร โทร.095-749-5615
2.สหกรณ์การเกษตรใกล้บ้านท่านในจังหวัดตราด
จังหวัดระยอง
1.ร้านสองเกษตร (ตลาดผลไม้เขาดิน) อ.แกลง โทร.089-834-1393
2.ร้านพรรณกรการเกษตร อ.แกลง โทร.088-529-7974
จังหวัดเชียงใหม่
คุณอินสอน วงษ์ตา โทร.087-177-5051
จังหวัดพิษณุโลก
ร้านบิ๊กบอส การเกษตร โทร.087-739-9533