โรคและแมลง ศัตรูของทุเรียน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การป้องกันกำจัดโรคและแมลง ในสวนทุเรียน

ทุเรียน  ได้ขึ้นชื่อว่าเป็น “ราชาผลไม้” ของไทยที่มากด้วยคุณค่าและมูลค่า ทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีการบริโภคทั้งภายในประเทศ และยังมีการส่งออกเพื่อนำรายได้เข้าสู่ประเทศเป็นจำนวนมากต่อปี ที่สำคัญ “ทุเรียน” ยังสามารถปลูกได้ในหลายพื้นที่ทุกภูมิภาคของประเทศไทย ซึ่งแต่ละพื้นที่นั้นมีสภาพแวดล้อมและสภาพพื้นที่ที่แตกต่างกัน ทำให้รสชาติของทุเรียนในแต่ละพื้นที่กลายเป็นจุดเด่นที่สร้างชื่อเสียงให้กับทุเรียนไทยมานาน

แต่ทว่าการทำสวนทุเรียนนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากต้นทุเรียนเป็นไม้เนื้ออ่อนที่มีการติดดอก ออกผลผลิต เป็นจำนวนมากต่อปี ทำให้ต้นทุเรียนอ่อนแอ ส่งผลให้โรคและแมลงเข้าโจมตีได้ง่าย

ดังนั้นกรมวิชาการเกษตรจึงได้มีการแนะนำให้เกษตรกรทราบถึงแนวทางในการป้องกันโรคและแมลงที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ดังนี้

1.หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน-ที่มา.กรมวิชาการเกษตร
1.หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน-ที่มา.กรมวิชาการเกษตร
โรคและแมลง หนอนกัดกินอยู่ภายในเมล็ดทุเรียน-ที่มา.กรมวิชาการเกษตร
โรคและแมลง หนอนกัดกินอยู่ภายในเมล็ดทุเรียน-ที่มา.กรมวิชาการเกษตร

ลักษณะของหนอนชนิดต่างๆ

หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน (Mudaris luteileprosa Holloway)

ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน วางไข่เป็นฟองเดี่ยวบนผลทุเรียนในขณะที่ยังอ่อน หนอนที่เพิ่งฟักจะเจาะเข้าไปกัดกินเมล็ดเป็นอาหาร โดยไม่สามารถสังเกตเห็นได้จากภายนอก และอาศัยภายในผลทุเรียนประมาณ 30-40 วัน หนอนวัยสุดท้ายจะเจาะรูออกมาเพื่อเข้าดักแด้ในดิน โดยมีระยะดักแด้ 1-9 เดือน ผีเสื้อตัวเต็มวัยออกจากดักแด้ในปีถัดไป

โดยมีฝนเป็นตัวกระตุ้นผีเสื้อตัวเต็มวัยมีอายุ 7-10 วัน ป้องกันกำจัดโดย พ่นสารไซเพอร์เมทริน / โฟซาโลน 6.25% / 22.5% อีซี อัตรา 40 มล. หรือไดอะซินอน 60% อีซี อัตรา 40 มล. หรือคาร์บาริล 85% ดับบลิวพี อัตรา 60 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือห่อผลด้วยถุงพลาสติกสีขาวขุ่นตั้งแต่ผลทุเรียนอายุ 1.5 เดือน

2.หนอนเจาะผล-ที่มา.กรมวิชาการเกษตร
2.หนอนเจาะผล-ที่มา.กรมวิชาการเกษตร
หนอนเจาะผลทำรังบริเวณเปลือก-ที่มา.กรมวิชาการเกษตร
หนอนเจาะผลทำรังบริเวณเปลือก-ที่มา.กรมวิชาการเกษตร

หนอนเจาะผลทุเรียน (Conogethes punctiferalis Guenee)

หนอนเจาะผลเข้าทำลายทุเรียนตั้งแต่ผลเล็กจนถึงผลใหญ่ โดยใช้มูลทำรังบนเปลือกทุเรียน ผลทุเรียนที่อยู่ชิดติดกันจะพบการทำลายของหนอนชนิดนี้มากกว่าผลที่อยู่เดี่ยวๆ ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ป้องกันกำจัดโดย ตัดแต่งให้เป็นผลเดี่ยว หรือใช้ไม้คั่นระหว่างผล หรือพ่นด้วยสารแลมป์ดาไซฮาโลทริน 2.5% อีซี อัตรา 20 มล. หรือคลอร์ไพรีฟอส 40% อีซี อัตรา 20 มล. หรือคาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 50 มล. หรือไซเพอร์เมทริน / โฟซาโลน 6.25% / 22.5% อีซี อัตรา 40 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร

โฆษณา
AP Chemical Thailand
3.เพลี้ยแป้ง-ที่มา.กรมวิชาการเกษตร
3.เพลี้ยแป้ง-ที่มา.กรมวิชาการเกษตร
ผลทุเรียนแคระแกร็นเนื่องจากเพลี้ยแป้ง-ที่มา.กรมวิชาการเกษตร
ผลทุเรียนแคระแกร็นเนื่องจากเพลี้ยแป้ง-ที่มา.กรมวิชาการเกษตร

ลักษณะของเพลี้ยชนิดต่างๆ

เพลี้ยแป้ง (Planococcus minor (Maskell), (Planococcus lilacinus (Cockerell)

เพลี้ยแป้งทำความเสียหายต่อทุเรียน โดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากบริเวณยอดอ่อน ดอก และผล โดยมีมดช่วยในการแพร่กระจายนำไปยังส่วนต่างๆ ของต้นทุเรียน ส่วนที่ถูกทำลายจะแคระแกรน น้ำหวานที่เพลี้ยแป้งขับออกมาเป็นเหตุให้ราดำเข้าทำลายซ้ำ ป้องกันกำจัดโดย พ่นสารคลอร์ไพรีฟอส 20% อีซี อัตรา 30 มล. หรือคลอร์ไพรีฟอส / ไซเพอร์เมทริน 50% / 5% อีซี อัตรา 30 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร

เพลี้ยไฟ (Scirtothrips dorsalis (Hood)

เพลี้ยไฟที่พบมาก คือ เพลี้ยไฟพริก ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆ ของทุเรียน ทำให้ใบและยอดอ่อนชะงักการเจริญเติบโต โค้งงอ แคระแกรน และไหม้ ดอกแห้งและร่วง ผลแคระแกรน และปลายหนามแห้ง ป้องกันกำจัดโดย พ่นสารคาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 40 มล. หรืออิมิดาโคลพริด 10% เอสแอล อัตรา 10 มล. หรือฟิโปรนิล 5% เอสซี อัตรา 10 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร

เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียนดูดกินน้ำเลี้ยงบนใบอ่อนทุเรียน-ที่มา.กรมวิชาการเกษตร
เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียนดูดกินน้ำเลี้ยงบนใบอ่อนทุเรียน-ที่มา.กรมวิชาการเกษตร

เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน (Allocaridara malayensis Crawford)

ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนทุเรียน ทำให้ใบหงิกงอ และถ้าเพลี้ยไก่แจ้เข้าทำลายในช่วงที่ใบอ่อนยังเล็กมาก และใบยังไม่คลี่ออก จะทำให้ใบแห้งและร่วง ตัวอ่อนของเพลี้ยไก่แจ้จะขับสารเหนียวสีขาวออกมาปกคลุมใบทุเรียน เป็นสาเหตุให้เกิดเชื้อราดำตามที่สารนี้ถูกขับออกมา ป้องกันกำจัดโดย พ่นสารแลมป์ดาไซฮาโลทริน 2.5% อีซี อัตรา 10 มล. หรือคาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 50 มล. หรือคาร์บาริล 85% ดับบลิวพี อัตรา 60 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

เพลี้ยจักจั่นฝอย (Amrasca durianae Hongsaprug)

ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยจักจั่นฝอยดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดและใบอ่อนทุเรียน ทำให้ยอดใบไหม้ และโค้งงอ ถ้าเพลี้ยจักจั่นฝอยเข้าทำลายในช่วงใบอ่อนยังไม่คลี่จะทำให้ใบร่วงเหลือแต่กิ่งก้าน ทำความเสียหายมากกว่าเพลี้ยไก่แจ้ ตัวอ่อนเคลื่อนไหวรวดเร็ว โดยเดินเอาด้านข้างไป ตัวเต็มวัยกระโดด และบินเร็วมาก เมื่อถูกรบกวน ป้องกันกำจัดโดย พ่นสารคาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 50 มล. หรือไซเพอร์เมทริน / โฟซาโลน 6.25% / 22.5% อีซี อัตรา 40 มล. หรืออิมิดาโคลพริด 10% เอสแอล อัตรา 10 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร

4.หนอนด้วงหนวดยาวกัดกินส่วนที่เป็นท่อน้ำ-ท่ออาหารใต้เปลือกไม้-ที่มา.กรมวิชาการเกษตร
4.หนอนด้วงหนวดยาวกัดกินส่วนที่เป็นท่อน้ำ-ท่ออาหารใต้เปลือกไม้-ที่มา.กรมวิชาการเกษตร

ลักษณะของหนอนด้วงหนวดยาว

หนอนด้วงหนวดยาวเจาะลำต้น (Batocera rufomaculata De Geer)

ตัวเต็มวัยเป็นด้วงหนวดยาว จะบินเข้ามาวางไข่ในลำต้นทุเรียนในเวลากลางคืน ตัวหนอนจะกัดกินไชชอนไปตามเปลือกไม้ด้านใน หรืออาจกัดควั่นเปลือกรอบต้น ทำให้ทุเรียนทรุดโทรม ใบแห้ง และยืนต้นตายได้ จะเห็นรอยทำลายซึ่งเป็นขุยไม้เมื่อหนอนโตแล้ว

ป้องกันกำจัดโดย เก็บทำลายไข่และหนอนเพื่อตัดวงจรการระบาด หรือพ่นด้วยสารไทอะมีไทแซม / แลมป์ดาไซฮาโลทริน 14.1% / 10.6% แซดซี อัตรา 40 มล. หรือคลอไทอะนิดิน 16% เอสจี อัตรา 20 กรัม หรืออิมิโคลพริด 10% เอสแอล อัตรา 30 มล. หรืออะเซททามิพริด 20% เอสพี อัตรา 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้โชกเฉพาะบริเวณลำต้น 2 ครั้ง ห่างกัน 14 วัน และดักจับตัวเต็มวัย โดยใช้ตาข่ายพันรอบลำต้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand
5.ที่มา.กรมวิชาการเกษตร
5.ที่มา.กรมวิชาการเกษตร

ลักษณะของมอด

มอดเจาะลำต้น (Xyleborus fornicatus (Eichhoff)

หนอนและตัวเต็มวัยเจาะเนื้อไม้ที่กิ่งและลำต้นของทุเรียน ส่วนมากพบทำลายบริเวณโคนต้นที่เป็นโรครากเน่า-โคนเน่า รอยเจาะของมอดจะเป็นทางให้เชื้อโรคแพร่ไปยังส่วนอื่นของต้นทุเรียน ถ้าเป็นทุเรียนต้นเล็กทำให้ทุเรียนตายได้ สำหรับต้นใหญ่หากมอดทำลายน้อยจะไม่เป็นอันตรายมากนัก  ป้องกันกำจัดโดย ตัดกิ่งแห้งที่ถูกมอดทำลายเผาทิ้ง สำหรับส่วน ลำต้นและกิ่งใหญ่ให้พ่นด้วยสารคลอร์ไพริฟอส 40% อีซี อัตรา 40 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร

สอบถามข้อมูลเพิ่ม

กลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ โทร.0-2579-5583

โรคและแมลง โรคและแมลง โรคและแมลง โรคและแมลง โรคและแมลง โรคและแมลง โรคและแมลง โรคและแมลง โรคและแมลง โรคและแมลง โรคและแมลง โรคและแมลง โรคและแมลง โรคและแมลง โรคและแมลง