ประเทศไทยอดีตคืออู่ข้าว อู่น้ำ แต่ปัจจุบัน “ แหล่งน้ำ ” ตามธรรมชาติถูกทำลายด้วยมลพิษที่มาจากหลาย ๆ ทางกระทบต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยตรง ขณะเดียวกันภาวะ “ น้ำแล้ง – น้ำล้น ” กลายเป็นภัยพิฆาตที่ทำลายวงการผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมาตลอด และจะรุนแรงขึ้นเหตุจากภาวะโลกเดือดนั่นเอง
หน่วยงานภาครัฐทุกแห่ง ได้แต่ตั้งรับตามแก้ปัญหา วนเวียนอยู่ในวัฏจักรแห่งความล้มเหลว ภาคธุรกิจเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ บางคนประสบความสำเร็จทางธุรกิจอย่าง คุณกรเกียรติ พรมจวง เกษตรกรดีเด่น ด้านการปรับปรุงพันธุ์ตามหลักพันธุศาสตร์ดีเยี่ยม ระดับชาติเจ้าของ กรเกียรติฟาร์ม กำแพงเพชร ผู้พัฒนาตนเองด้านธุรกิจ จนเป็นบริษัทชั้นนำของประเทศ ด้านการผลิต ลูกพันธุ์ปลานิลสีนิล หัวเล็กตัวกว้าง ตัวใหญ่โตเร็ว กับปลาทับทิมเพชร ป้อนผู้เลี้ยงทั่วประเทศ และ ส่งออกต่างประเทศด้วยปริมาณลูกพันธุ์กว่า 100 ล้านตัว ในปีหน้าโดยใช้เวลาพัฒนาธุรกิจจากฟาร์มเล็กๆจนเป็นฟาร์มชั้นนำของประเทศ
กรเกียรติฟาร์ม จับมือ ส.ทรัพย์สำรวย (สุพจน์ฟาร์ม) จัดสัมมนา
ล่าสุด คุณกรเกียรติ จับมือกับ ส. ทรัพย์สำรวย (สุพจน์ฟาร์ม) พร้อมกับ พรทิพย์ฟาร์ม และ บริษัท อินเทคค์ โกลบอล จำกัด จัดสัมมนาให้ความรู้เชิงลึก เรื่อง “ เลี้ยงปลานิลอย่างไรให้รอด และรวยอย่างยั่งยืน ”
โดยเชิญ รศ.ดร.ประพันธ์ศักดิ์ ศรีษะภูมิ อาจารย์ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ บางเขน มาเป็นวิทยากรพิเศษ ให้ความรู้แก่เกษตรกร ณ ส.ทรัพย์สำรวย ฟาร์ม (สุพจน์ฟาร์ม) เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 67 โดยมีผู้เลี้ยงปลานิล – ทับทิม ร่วม 100 คน ในเขตอำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา มาร่วมงาน
นอกจากนี้ ยังมีเกษตรกรหัวก้าวหน้าจากจังหวัดอื่น ๆ เช่น บังเล็ก (คุณรัชชา แสงวิมาน) และ คุณเพชรลดา ดำรักษ์ (ศ.ศุภณัฐ ฟาร์ม) จังหวัดนครศรีธรรมราช มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การเลี้ยงปลานิล – ทับทิม ของกรเกียรติฟาร์ม ภายใต้การสนับสนุนการจัดงานของ ส.ทรัพย์สำรวย ฟาร์ม นอกจากนี้ยังมี บริษัท อินเทคค์ โกลบอล จำกัด บริษัทชื่อดัง ด้านอาหารปลา และ อาหารกุ้ง มาส่งเสริมเต็มที่
งานนี้วิทยากรชื่อดังโชว์เดี่ยว เพราะ 25 ปี ในวงการปลานิล อาจารย์ประพันธ์ศักดิ์ เข้าใจเรื่องปลาตระกูลนี้อย่างลึกซึ้ง โดยเฉพาะความก้าวหน้าของไทยในการพัฒนาพันธุกรรม ยอดเยี่ยมระดับโลก ถึงขนาด แอฟริกา และ อเมริกา สั่งลูกปลาไปเลี้ยงเชิงธุรกิจโดยเฉพาะอเมริกา นำเข้าปลานิล 6 แสนตัน/ปี เพราะใช้ทำอาหาร และผลิตภัณฑ์หลากหลาย “ ตอนนี้ปลานิลมูลค่าแซง สัตว์น้ำทุกตัวมูลค่า 9.2 พันล้านUS ดอลลาร์ ของโลก ” อาจารย์ประพันธศักดิ์ ฟันธง แต่การผลิตปลานิลในไทยป้อนตลาดในประเทศ 95% แต่ถ้าเอาปลานิลส่งออกสัก 10,000 ตัน/ปี ราคาปากบ่อจะเพิ่มขึ้น 20 -30 บาท/กก. โดยเฉพาะ ตลาดจีนต้องเจาะให้ได้
เลี้ยงปลานิลอย่างไรให้รอด และรวย อย่างยั่งยืน ??
หัวข้อที่ อาจารย์ประพันธ์ศักดิ์ ต้องบรรยายโดยระบุว่าอุตสาหกรรมปลานิลขึ้นกับ “การตลาด” เท่านั้น ถ้าเอา
การผลิตนำ เตรียมตัวตาย ถึงต้องบอกว่า ถ้ารัฐเอาปลานิลสัก 10,000 ตัน/ปี ส่งออก ราคาปลาปากบ่อขึ้น
20 -30 บาท ทันที
การเริ่มต้นการเลี้ยงต้องเตรียมอะไรบ้าง ?
ในส่วนของการผลิต เริ่มตั้งแต่ การเตรียมบ่อเลี้ยง ซึ่งอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเกษตรฯ สอนมาตลอดว่า เลี้ยงปลาต้อง “ เลี้ยงน้ำ ” เมื่อเลี้ยงน้ำได้แล้วต่อไปต้อง “ เลี้ยงดิน ” เพราะดินกับน้ำเป็นสิ่งเดียวกัน เพราะความสมบูรณ์ของแร่ธาตุในดินลดลงตลอด ดังนั้น ต้อง ตากบ่อ ให้แห้งหมาด ๆ และ ก้นบ่อต้องลดความเป็นกรดด้วยการใส่วัสดุปูนมาร์ล เพิ่มอัลคาไลน์ หรือด่างในน้ำ ระหว่างการเลี้ยง นอกจากนี้ต้องการให้ จุลินทรีย์ตัวดี ต้องการความชื้น จึงไม่ต้องเอาดินก้นบ่อออก ยกเว้น เลนหนาเกินเข่า ของเสียยังอยู่ต้องจัดการเอาออก เหลือ 5 -10 ซม. เวลาใส่ปูนขาว 100 – 160 กก./ไร่ ต้องอยู่เหนือลม ทิ้งไว้ 7 วันต้องไถพรวน หรือคราด เพื่อกลับหน้าดิน แล้วใสปูนขาวซ้ำอีกครั้ง ก่อนสูบน้ำเข้าบ่อใช้เวลา 1 -2 สัปดาห์
ในการเตรียมน้ำ ช่วงเตรียมบ่อจะมีน้ำอยู่ที่ผิวน้ำไม่ได้ เพราะต้องการให้อากาศได้สัมผัสกับดินโดยตรง หากบ่อเลี้ยงที่ไม่เคยเตรียมบ่อมาก่อน เลนจะหนาข้างล่างจะดำ ใส่ปูนรอบแรกบาง ๆ ไม่ต้องเยอะข้างบนจะกลายเป็นสีเทา จากสีเทาจะกลายเป็นสีน้ำตาล ดังนั้นเมื่อเตรียมบ่อ และน้ำที่ดี อาหารธรรมชาติเกิดได้มากขึ้น ลูกปลาแข็งแรง และอัตรารอดตายสูงขึ้น อัตราการเจริญเติบโตของปลาดีขึ้น คุณภาพน้ำเปลี่ยนแปลงยาก ปลาเกิดความเครียดได้ยาก เชื้อโรคเกิดยาก ปลาแข็งแรง ต้านทานต่อเชื้อต่าง ๆ ได้ดี ลดค่าใช้จ่าย ในการซื้อยา และ สารเคมี อย่างไรก็ดี อาจารย์ประพันธ์ศักดิ์ เห็นว่าไม่ควรปล่อยลูกปลาแบบหนาแน่น ต้องควบคุมอาหารให้เหมาะสม ควบคุมคุณภาพน้ำที่สำคัญๆ ให้ดี เพราะเมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงกะทันหัน จะมีผลต่ออุณหภูมิ และ ปริมาณออกซิเจนในน้ำ รวมทั้งมีผลต่อการกินอาหารของปลา “ ผมทดสอบโดยการวัดอุณหภูมิในน้ำทุกวันทุก ๆ ชั่วโมง โดยใช้เทอร์โมมิเตอร์ รายงานทุกครึ่งชั่วโมง พบว่าปลากินอาหารดีในช่วง 31-32 องศาเซลเซียส พอ 34-35 องศาเซลเซียส จะกินลดลง เพราะมันร้อน เกษตรกรให้อาหารแบบเหลือไว้ก่อนกลัวปลาไม่อิ่ม อาหารเหลือตามขอบบ่อ ขอบกระชังพงหญ้า ล้วนเป็นบ้านของเชื้อโรค ผมกลัวช่วงฤดูร้อนมากกว่าฤดูหนาว เหตุผลเพราะปลากินอาหารมากขึ้น ออกซิเจนที่ละลายในน้ำของปลา และ สิ่งมีชีวิตในน้ำสูงขึ้น ของเสียมากขึ้น อัตราการย่อยสลายของเสีย และ ปริมาณจุลชีพ และ แพลงตอนพืชในน้ำเพิ่มปริมาณสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เกิดการแยกชั้นของอุณหภูมิของน้ำได้ง่าย โดยแยกเป็นข้างบนเป็นน้ำร้อน ด้านล่างเย็น ถ้าแยกชั้นติดต่อกัน 3-4 วัน ปลาจะป่วยอย่างเห็นได้ชัด และ ออกซิเจนละลายน้ำได้น้อยลง ” อาจารย์ประพันธ์ศักดิ์ ให้ความเห็นอุณหภูมิช่วงหน้าร้อนจะทำให้ปลาแย่งออกซิเจน น้ำเกิดการขาดออกซิเจน ก่อให้เกิดสารพิษเช่น แอมโมเนียในน้ำสูงกว่าฤดูอื่น อุณหภูมิของน้ำ 27-28 องศาเซลเซียส ปลาเลยไม่ตาย แต่เมื่ออุณหภูมิของน้ำ 31-32 องศาเซลเซียส ติดต่อกัน 3-4 วัน เกษตรกรให้อาหารต่อเนื่อง ทำให้ปลาตายอย่างต่อเนื่อง เทคนิคคือวัดอุณหภูมิ และคุมอาหาร วันไหนอุณหภูมิอากาศ 38 องศาเซลเซียส ให้ลดอาหาร และให้ออกซิเจน 3 มิลลิกรัม เป็นต้นไป แต่ไม่ต้องให้ทุกวัน เหมือนบ่อกุ้ง แต่ถ้าร้อนติดต่อกัน ฟ้าครึ้ม ฝนตก ต้องให้ทุกวัน ป้องกันการแยกชั้นของน้ำ บริเวณไหนที่ความเค็ม 2-3 แต้ม น้ำจะแยกชั้นเร็วมากปลาจะป่วย อาจารย์ประพันธ์ศักดิ์ ได้ให้ความรู้หลายเรื่อง
การใช้โปรไบโอติกเสริมภูมิคุ้มกันให้ปลาได้อย่างไร?
แต่เรื่องหนึ่งที่ทันกับสถานการณ์ภาวะโลกเดือดได้แก่ การใช้ โปรไปโอติก (Probiotics) หรือ จุลินทรีย์ เสริมเข้าไปในน้ำ หรือในอาหาร จะทำให้เกิดการคุมเชื้อโรคต่าง ๆ กระตุ้น และสร้างภูมิคุ้มกันให้ปลา ปรับปรุงคุณภาพน้ำ “ การเลือกใช้ โปรไบโอติกส์ ผมมั่นใจว่า สายพันธุ์ท้องถิ่น ผมเลือกเก็บมาศึกษาจะมีโอกาสได้ใช้ 5 – 6 ตัว ปีหน้าจะออกมาเป็น โปรไบโอติกส์ประเทศไทย ใช้ผสมก็ได้ สาดน้ำก็ได้ หลักการสำคัญคือ 2 สัปดาห์แรก ต้องให้ทุกวัน จากนั้นให้ซ้ำทุกสัปดาห์จนถึงจับ การใส่จุลินทรัย์ตั้งแต่เริ่มต้นเพื่อให้ไปอยู่กับตัวปลาปรับตัวให้ได้ก่อน จากนั้นฝนจะตก น้ำจะท่วม อากาศจะเปลี่ยน ต้องให้ทุกสัปดาห์ ที่สำคัญ เมื่อไหร่ที่ให้โปรไบโอติกส์ จะขาดอากาศไม่ได้ ห้ามใช้ยาปฏิชีวนะ และสารเคมีร่วมกับโปรไบโอติกส์ ” อาจารย์ประพันธ์ศักดิ์ ให้ความเห็น จะเห็นได้ชัดว่า กรเกียรติฟาร์ม มุ่งใช้นวัตกรรม และเทคโนโลยี ในการพัฒนาพันธุกรรม ปลานิล-ทับทิม จนได้สายพันธุ์ ปลานิลศรีนิล และ ทับทิมเพชร ที่ตอบโจทย์ทางธุรกิจให้เกษตรกร ทั่วประเทศ
ดังนั้น เมื่อจังหวะเหมาะสม จะนำทีมงานลงพื้นที่พบปะเกษตรกร เอเย่น แพปลา อาหารปลา ที่เป็น “ ภาคีธุรกิจ ” เพื่อนำนวัตกรรมจากสถาบันการศึกษา และของฟาร์ม ไปประยุกต์ใช้ในการเพิ่มผลผลิต ก่อให้เกิด “ กำไร ” แก่เกษตรกร และคู่ค้าชัดเจน แม้กระทั่ง การติดตามการประเมินผลลูกค้าที่ซื้อปลาไปเลี้ยงอย่าง กลุ่มพานทอง ชลบุรี เมื่อมีจังหวะก็นำทีมงานเข้าไปสุ่มตรวจ การเติบโตของปลาในแต่ละฟาร์ม เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567
ต้องการสั่งซื้อสินค้า หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม บริษัท กรเกียรติฟาร์ม 789 จำกัด
เลขที่ 342 บ้านวังแขม หมู่ 2 ต.วังแขม อ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร 62120
Facebook : กรเกียรติฟาร์ม 789 e-mail : [email protected]
Tel. 065-628-9391 (ภาคเหนือ) , 065-628-9454 (ภาคกลาง)
099-282-4149 (ภาคอีสาน) , 096-263-9564 (ภาคใต้)
อ้างอิง : นิตยสารสัตว์น้ำ ฉบับ 424 (ธ.ค 67)