ชาวสวนปาล์มน้ำมันหนองเสือ
ใช้ปุ๋ยอินทรีย์โวก้า ลดต้นทุนในสวนปาล์ม 40%
ณ ทุ่งรังสิต ที่แห่งนี้อดีตเป็นแหล่งปลูกส้มระบบร่องที่ให้ผลผลิตดี ย้อนไปเมื่อปี 2549 หลังจากการทำสวนส้มในพื้นที่ทุ่งรังสิตเจอปัญหาโรคกรีนนิ่งจนต้องเลิกปลูกส้ม พื้นที่กลายเป็นทุ่งร้าง ด้วยความมุ่งมั่นในการทำอาชีพของเกษตรกรทุ่งรังสิต จึงได้ปรับมาปลูกปาล์มน้ำมันบนร่องสวนส้มเก่า วันนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก
คุณสมนึก และ คุณสมคิด กิ่งก้าน เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันยุคแรก ๆ ของ “ ทุ่งรังสิต ” อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี บนพื้นที่สวนส้มร้าง เริ่มจากทดลองปลูกปาล์มน้ำมัน จำนวน 15 ไร่ (จำนวน 330 ต้น) จากการส่งเสริมของบริษัท สุขสมบูรณ์ฯ โดยซื้อต้นกล้าปาล์มน้ำมันมาในราคา 65 บาท/ต้น นำมาปรับร่องสวนส้มเก่าให้เหมาะกับการปลูกปาล์ม ระยะ 9 x 9 เมตร ถึงแม้ตอนนั้นจะยังไม่มีองค์ความรู้ และความมั่นใจว่าปาล์มน้ำมันจะให้ผลผลิต และ มีตลาดรับซื้อหรือไม่ เพราะในพื้นที่ขณะนั้นไม่มีลานรับซื้อปาล์มน้ำมันเลย แต่หลังจากผ่านความล้มเหลวจากสวนส้มจึงต้องเสี่ยงเพราะไม่มีอะไรจะเสียแล้ว แต่ก็ถือว่าไม่เป็นอุปสรรคในการทำสวนปาล์มช่วงเริ่มต้นนัก เพราะกล้าปาล์มที่ปลูกไว้ไม่ค่อยเสียหาย อีกทั้งในร่องสวนส้มเก่ามีธาตุอาหารในดินสะสมไว้เมื่อตอนที่ทำสวนส้ม ช่วงเริ่มต้นจึงไม่ค่อยได้ใส่ปุ๋ยเท่าไหร่นัก
“ แรกๆ ไม่มั่นใจเลยว่าปาล์มน้ำมันปลูกแล้วจะเป็นยังไง มีคำถามในหัวเต็มไปหมด ตอนนั้นมีบริษัทฯ เข้ามาส่งเสริมให้ปลูก เรามีที่ดินว่างไม่ได้ทำอะไร เพราะเป็นสวนส้มเก่า จำนวน 15 ไร่ ก็เลยลองเสี่ยงซื้อต้นกล้าปาล์มน้ำมันมาลองปลูก ดีกว่าปล่อยที่ทิ้งร้าง ” คุณสมนึก กล่าวถึงช่วงเริ่มต้นปลูกปาล์มน้ำมัน
ขณะเดียวกัน เมื่อปลูกปาล์มน้ำมันทิ้งไว้ แต่ด้วยการปลูกส้มในยุคนั้นสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ จึงทำให้ครอบครัวคุณสมนึกย้ายไปลงทุนเช่าที่ดินเพื่อปลูกส้มในพื้นที่ อ.ขาณุวรลักษณ์ จ.กำแพงเพชร กับญาติพี่น้อง จำนวน 100 ไร่ ในราคา 1,500 บาท/ปี สัญญาเช่า 15 ปี เหมือนกับชาวสวนส้มในทุ่งรังสิตรายอื่น ๆ ต้องยอมรับว่าการทำสวนส้มในยุคนั้นสามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำจริง ๆ เป็นเวลา 8 ปี ในการบุกเบิกปลูกส้มในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร ไม่นานนัก ชาวสวนส้มต้องพบกับปัญหาด้านราคาตกต่ำ 3-4 บาท/กก. และส้มเริ่มเป็นโรคเช่นเดียวกับทุ่งรังสิต ขณะเดียวกันปาล์มน้ำมันที่ได้ลงทุนปลูกไว้ จำนวน 15 ไร่ ที่รังสิตเริ่มทยอยให้ผลผลิต มีรายได้จากการตัดทะลายปาล์ม ส่งขายที่ลานปาล์มที่มาเปิดในพื้นที่ทุกๆ 15-20 วัน
การทำปาล์มน้ำมัน คุณสมนึกบอกว่าไม่ยุ่งยากเหมือนทำสวนส้ม แต่มีรายได้ต่อเนื่อง เขาจึงตัดสินใจกลับมาทำสวนปาล์มน้ำมันเต็มตัว ขณะเดียวกันภาครัฐอย่างกรมส่งเสริมการเกษตรฯ ได้เข้ามาทำโครงการสนับสนุนปลูกปาล์มน้ำมันแก่ชาวสวนส้มทุ่งรังสิต คุณสมนึกจึงขอเข้าร่วมโครงการเพื่อรับต้นกล้าปาล์มน้ำมัน (จำนวน 220 ต้น) เพื่อนำมาปลูกเพิ่ม อีก 10 ไร่ ด้วยการปลูกปาล์มที่ทุ่งรังสิต เป็นพื้นที่สมบูรณ์ทั้งดิน และน้ำอยู่แล้ว เพราะเป็นสวนส้มเก่าจึงมีปุ๋ยสะสมในดินส่วนหนึ่ง ทำให้เมื่อนำมาปลูกปาล์มน้ำมันในช่วงแรก ๆ จึงใส่ปุ๋ยน้อยมาก และสังเกตว่าปาล์มน้ำมันให้ผลผลิตเร็วตั้งแต่อายุ 2 ปีกว่า ๆ ปัจจุบันต้นปาล์มน้ำมันที่ปลูกไว้แปลงแรก มีอายุได้ 18 ปี และแปลงที่ 2 มีอายุ ได้ 12 ปี ผลผลิตเฉลี่ย 6 ตัน/ไร่/ปี ส่วนการใส่ปุ๋ย 2-3 เดือน/ครั้ง ซึ่งสูตรปุ๋ยเคมีจะสลับกันไปมา ดูจากต้นปาล์มเป็นหลัก เช่น สูตร 21-0-0 , 0-0-60 , 12-12-17, 15-15-15 จำนวน 3.5 กก./ต้น/ครั้ง และเสริมด้วย ขี้ไก่ แกลบ และ ขี้วัว
ยอมรับว่าการทำสวนปาล์มระบบร่องมีข้อได้เปรียบเพราะสามารถรดน้ำ และใส่ปุ๋ยได้ตลอดทั้งปี ไม่ต้องรอฝนเหมือนพื้นที่อื่นๆ ด้วยเหตุนี้ทำให้ผลผลิตปาล์มน้ำมันของที่นี่ออกตลอดทั้งปี ไม่ขาดคอ เมื่อปาล์มอายุมากขึ้นก็พบกับปัญหากับระบบรากปาล์มชนกับร่องน้ำส่งผลต่อผลผลิตเช่นกัน คุณสมนึก จึงต้องดูดเลนจากท้องร่องสวนขึ้นมาใส่บนหลังคันร่อง ในราคา 600 บาท/ไร่ เพื่อเพิ่มดินบนคันร่อง และเพิ่มความชื้นให้กับหน้าดิน และมีธาตุอาหารให้กับต้นปาล์มอีกทางให้ต้นปาล์มทางใบสมบูรณ์ใบเขียวตลอด ที่สำคัญช่วยลดต้นทุนการใส่ปุ๋ยเคมีได้อีกทางหนึ่ง เมื่อเห็นว่า ปาล์มน้ำมันแปลงที่ 1 และ 2 มีรายได้ต่อเนื่อง ปี 2565 คุณสมนึก จึงได้ ลงทุนปลูกปาล์มน้ำมันเพิ่ม อีก 30 ไร่ เริ่มต้นด้วยการปรับร่องให้กว้างขึ้น 8 เมตร และเลือกสายพันธุ์โกเด้นเทเนอร่า KB4 เพราะเห็นว่าเป็นปาล์มน้ำมันพันธุ์ใหม่ ทางสั้น ต้นเตี้ย คอใหญ่ ออกผลผลิตเร็ว ทะลายดกเปอร์เซ็นต์น้ำมันดี ปัจจุบันปาล์มน้ำมันพันธุ์โกเด้นเทเนอร่า KB4 เริ่มให้ผลผลิต 3-5 กก./ทะลาย ตัดส่งลานปาล์มได้ 8 รอบแล้ว
ทำไม เกษตรกรจึงหันมาเปิดใจใช้ ปุ๋ยอินทรีย์ โวก้า ?
เพื่อให้การผลิตปาล์มน้ำมันให้ได้ผลผลิตที่ต่อเนื่อง และมีต้นทุน/ไร่ต่ำ คุณสมนึกได้นำปุ๋ยอินทรีย์ผสมร่วมกับปุ๋ยเคมีสัดส่วน 1:1 ผสมกันแล้วใส่แทนเคมีล้วนๆ เพราะปุ๋ยอินทรีย์ราคาไม่แพงมากนัก แต่ก็ไม่ตอบโจทย์เรื่องผลผลิตเท่าไหร่นัก จนได้เปิดใจทดลองใช้ “ ปุ๋ยอินทรีย์โวก้า ” จำนวน 5 กระสอบ มาใส่ต้นปาล์มจำนวน 3 กก./ต้น แบบไม่ได้ผสมกับปุ๋ยเคมีเลย ผ่านไป 15 วันเริ่มเห็นว่าปาล์มน้ำมัน มีใบเขียวขึ้น และสมบูรณ์ขึ้น จึงได้สั่งมาใช้กับปาล์มน้ำมันทั้งหมด 50 ไร่
“ ก่อนหน้านี้ผมก็ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ยี่ห้ออื่นอยู่ ก็ไม่ค่อยเห็นผลเท่าที่ควร ราคาถูกก็จริง แต่พอมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์โวก้าผสมร่วมกับปุ๋ยเคมี ผมใช้มาหลายเดือนแล้ว ใบปาล์มเขียวมัน หนา เมล็ดเต่ง น้ำหนัก/ทะลายดี ที่สำคัญดินดีขึ้น ร่วนซุยไม่เหมือนใส่เคมีเดี่ยว ๆ ตอนแรก ผมทดลองปุ๋ยอินทรีย์โวก้า มาใส่เดี่ยว ๆ กับต้นปาล์มที่มีสภาพดินไม่ค่อยดี หน้าดินแข็งกระด้าง ผ่านไป 2 สัปดาห์ เห็นว่าดินดีขึ้นกว่าเดิม ใบปาล์มเขียวมัน และเขียวนานขึ้น การออกทะลายสม่ำเสมอ น้ำหนัก/ทะลายดี ทะลายใหญ่ขึ้น ส่วนปุ๋ยมูลสัตว์ ผมก็ใส่บ้างปีละครั้ง อย่า งขี้ไก่ แกลบ ขี้วัว เราจะใส่ปีละครั้ง โดยใส่ระหว่างต้นครั้งละ 1 กระสอบ ” คุณสมนึก อธิบายการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อให้ผลผลิตต่อเนื่องและมีคุณภาพได้น้ำหนัก
คุณสมบัติของ ปุ๋ยอินทรีย์ โวก้า
ปุ๋ยอินทรีย์ โวก้า ซึ่งอุดมไปด้วยธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม ครบถ้วน เช่น N, P, K, Si, Ca, Mg, S, Fe, Zn, B ฯลฯ ปุ๋ยอินทรีย์โวก้า เสริมแอคทีฟซิลิคอน มีปริมาณ อินทรียวัตถุหรือ OM สูง และสารเพิ่มผลผลิตซิลิคอนโวก้า ซึ่งเป็นสารธรรมชาติ ให้ธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืช ทั้งธาตุอาหารหลัก รอง เสริม และแอคทีฟซิลิคอน ช่วยปรับปรุงสภาพดิน เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุ และฮิวมัส ในดิน ทำให้ดินร่วนซุย แก้ปัญหาดินเปรี้ยว ลดปัญหาดินเค็ม มีแอคทีฟซิลิคอนในปริมาณสูง เพิ่มอัตราการแลกเปลี่ยนประจุบวกของดิน (CEC) ทำให้ดินอุ้มธาตุอาหารได้ดี ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ทำให้ผนังเซลล์พืชแข็งแรง ช่วยให้พืชต้านทานโรค แมลง และเชื้อรา ลดการใช้ยาฆ่าแมลง เหมาะสำหรับการทำเกษตรปลอดสารพิษ ซิลิคอนที่สะสมในผิวใบ ทำให้ใบมันเงา ลดการคายน้ำได้ถึง 30% ทำให้พืชทนแล้งได้ดีขึ้น ช่วยปลดปล่อยฟอสฟอรัสในดิน แก้ปัญหาพืชไม่ออกดอก ทำให้พืชผักคงความสดไว้ได้นาน ผลไม้รสชาติดี ดอกไม้ขนาดใหญ่ สีสวย ทั้งยังช่วยป้องกันเชื้อราในดิน
การใช้ ปุ๋ยอินทรีย์โวก้า กับปาล์มน้ำมัน
การใช้ ปุ๋ยอินทรีย์โวก้า กับปาล์มน้ำมัน ซึ่งเป็นพืชอยู่ในตระกูลใบเลี้ยงเดี่ยวจะช่วยทำให้เปอร์เซ็นต์น้ำมัน และผลผลิตปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นได้ ไม่ต่ำกว่า 20-30 % เปอร์เซ็นต์ และยังช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์น้ำมันปาล์มดิบ (CPO) ได้สูงสุดตรงตามพันธุกรรม
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
คุณสมนึก กิ่งก้าน โทร.089-2238389, 090-0590599
อ้างอิง : นิตยสารพลังเกษตร ฉบับ 41/2567