ด้วยสายพันธุ์ สาวิต คินาบาลู และนวัตกรรม
มนุษย์ต้องบริโภค น้ำมันพืช ทดแทน น้ำมันสัตว์ มากขึ้น เพราะอิทธิพลของผู้ผลิตที่ยึด “ สุขภาพ ” เป็นดาบเชือดเฉือนคู่แข่ง กระบวนการผลิตน้ำมันได้ “ มูลค่า ” จากผลพลอยได้ เป็นผลิตภัณฑ์ของมนุษย์และสัตว์มาสนองการลงทุนทางธุรกิจ โดยเฉพาะน้ำมันอย่าง ปาล์มทะลาย กลายเป็นพืชเศรษฐกิจมูลค่าสูง เพราะสามารถปลูกในประเทศที่ตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรเป็นหลัก โดยเฉพาะ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และ ไทย 3 เสือแห่งโลกปาล์มน้ำมันในขณะที่ประเทศอื่นๆ ปลูกได้น้อย
เมื่อ น้ำมันดีเซล ราคาพุ่งจนคนใช้รถรับไม่ไหว น้ำมันปาล์ม จึงกลายเป็น “ ทางเลือก ” ของรัฐบาลในการนำผสมกับกับน้ำมันดีเซล กลายเป็น “ ไบโอดีเซล ” ใช้กันในหลายประเทศ
ในอนาคต “ ทุกส่วน ” ของปาล์มน้ำมันจะถูกวิจัยเชิงลึกเพื่อหา “ คุณค่า ” แปลงเป็น “ มูลค่า ” ทางเศรษฐกิจและแวดล้อมยุคโลกเดือด
เป็น ไฟท์บังคับ ที่มนุษย์ ต้องแสวงหาจาก ปาล์มน้ำมันโดยอัตโนมัติ
นี่ไม่ใช่การทำนายของ คณะบรรณาธิการนิตยสารและ เว็ปไซต์ พลังเกษตร.com แต่มันเป็นความจริงบนทางเลือกของมนุษย์ เนื่องจากมันเป็น อุตสาหกรรม ที่เกี่ยวข้องกับ พื้นที่ปลูก ปุ๋ย เคมีเกษตร การแปรรูป เงินทุน เทคโนโลยี และ ผู้บริโภค เป็นต้น ซึ่งพืชน้ำมัน เช่น “ ถั่วเหลือง ” ก็เป็นอุตสาหกรรมข้ามชาติอีกชนิดหนึ่งที่ 2 มหาอำนาจอย่าง สหรัฐอเมริกา และบราซิล เป็นผู้เล่นหลักโดยใช้ “ อียู ” คู่หูนอมินีบนเวทีโลก
กว่า 5 ทศวรรษ ที่ประเทศไทยเข้าสู่อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน โดยถอดแบบมาจากประเทศมาเลเซียตลอดห่วงโซ่อุตสาหกรรม
เป็นห้วงเวลาแห่งการพัฒนาที่ช้ามาก ๆ เนื่องจากพื้นที่ประกอบการเพาะปลูก จะกระจุกอยู่ในภาคใต้เป็นหลัก เพิ่งกระจายไปทั่วประเทศเมื่อ 25 ปี ที่ผ่านมา แต่ผลผลิตในภาคอื่น ๆ เป็นเพียงส่วนประกอบ สาเหตุเพราะว่าอาศัย “ น้ำฝน ” เป็นหลัก แม้แต่ภาคใต้และภาคตะวันออกเวลานี้ส่วนใหญ่ยังต้องอาศัยน้ำฝน ผลผลิต/ไร่จึงต่ำ ทำให้ โรงหีบ ทำงานไม่กี่เดือน
เมื่อโรงหีบกระจายไปภาคตะวันออก ตะวันตก เหนือตอนล่าง และภาคกลางไม่เกิน 9 แห่ง หากจะปลูกปาล์มเพิ่มก็ไม่จูงใจเกษตรกรเท่าที่ควร ยกเว้นเกษตรกรหัวก้าวหน้าที่กล้าลงทุน
ครม. ระดม 3 กระทรวงเข้าแก้ปัญหาปาล์มน้ำมัน
ในปีพุทธศักราช 2567 ซึ่งเป็นปีที่รัฐบาล เกษตรกรและนักลงทุนบางคนเริ่มเห็นประกายแห่งเพชรแท้ปาล์มน้ำมัน จึงกล้าตัดสินใจส่งเสริมร่วมกัน เห็นได้จาก มติ ครม. ชุดนี้ระดมทั้ง 3 กระทรวงเข้ามาแก้ปัญหาและพัฒนาทั้งระบบอย่างเต็มรูปแบบ
แต่กระบวนการพัฒนายังขาดองค์ความรู้เชิง นวัตกรรม ในการลดต้นทุน / เพิ่มผลผลิต ตลอดห่วงโซ่อุตสาหกรรม ขณะที่ขบวนการพัฒนายังคงใช้ บอร์ดปาล์ม ที่ขาดการระดมนวัตกรรมมาใช้ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำและ ความไม่เป็นธรรมระหว่าง “ ชาวสวน ” และห่วงโซ่ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ผลก็คือเกษตรกรต้องแบกความเสี่ยงทั้งหมด จึงไม่แปลกใจที่เกิดปรากฏการณ์ โค่นปาล์ม ปลูกทุเรียน ยางพารา หรือ โกโก้ในหลายๆจังหวัด เป็นวงจรวิบัติที่เกิดซ้ำซาก
ปาล์มน้ำมันสายพันธุ์ สาวิต คินาบาลู มาได้อย่างไร?
ท่ามกลาง “ความมืดบอด” ก็มีเกษตรกรระดับนำเข้า มาทุ่มเทศึกษาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันอย่างจริงจัง โดยเฉพาะ “ พันธุกรรม ” จนตกผลึกลงทุนนำเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมัน สายพันธ์ “สาวิต คินาบาลู (Sawit Kinabalu)” เข้ามาเพาะและอนุบาลจนได้ต้นกล้าพันธุ์คุณภาพ แล้วนำไปปลูกหลายไร่ ปรากฏว่า 19 เดือน ได้ผลผลิตตามคุณสมบัติของปาล์มน้ำมันสายพันธุ์นี้ เพื่อความมั่นใจได้นำเมล็ดปาล์มไปให้คนอื่นทดสอบด้วย เขาคือ คุณรัฐนันท์ (อัยยุฟ) หมาดดำ ผู้ก่อตั้ง บริษัท แม่โจ้ พันธุ์ปาล์ม จำกัด ในวันนี้ โดยคุณรัฐนันท์ (อัยยุฟ) หมาดดำ เป็นหัวหน้าผู้บริหาร (ซีอีโอ), คุณชณัณทิพย์ หมาดดำ ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ, คุณฟาฮัส หมาดดำ ตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการ และคุณฟาอิส หมาดดำ ตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการ เป็นคณะกรรมการขับเคลื่อน
ย้อนไปในปีพุทธศักราช 2558 คุณรัฐนันท์ หรือคุณอัยยุฟ หมาดดำ ได้ปลูกปาล์มน้ำมันสายพันธุ์หนึ่ง ในเนื้อที่100 กว่าไร่ที่ จังหวัดพังงา ปรากฏว่าต้นปาล์มบางต้นผิดปกติ โดยทดลองปลูกระยะห่าง 10 x 10 x 10 เมตร แบบฟันปลา และบาง แปลงปลูกระยะห่าง 11 x 11 x 11 เมตร แบบฟันปลา เพื่อเปรียบเทียบข้อแตกต่าง ปรากฎว่า ผลผลิตปาล์ม ต่อทะลาย ไม่เป็นไปตามที่นำเสนอก่อนปลูก ซึ่งคุณอัยยุฟได้ซื้อต้นกล้าพันธุ์ในราคาต้นละ 120 บาท และได้ข้อสรุปว่า ปลูกระยะ 10 x 10 x 10 เมตร แบบฟันปลา เป็นระยะที่ดีที่สุด เพราะไม่ต้องลงทุนตัดหญ้าและต้นจะเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ เมื่อปาล์มน้ำมัน สายพันธุ์ดังกล่าว ไม่ตอบโจทย์ในทางธุรกิจ แต่ได้องค์ความรู้มากมาย ในฐานะศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่ จึงได้ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการผสมยีนส์ของพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปาล์มน้ำมัน เพื่อต้องการต้องแสวงหา สายพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ดีที่สุดและคุ้มค่าแก่การลงทุน จึงได้ปรึกษากับคุณชณัณทิพย์ และลูกชาย ในที่สุดก็ได้คุณรอมซี นอร์ดิน (Mr.Romzi Nordin) ซึ่งเป็นเพื่อนในวงการปาล์มน้ำมันจากประเทศมาเลเซียแนะนำให้ปลูกปาล์มน้ำมันสายพันธุ์ สาวิต คินาบาลู (Sawit Kinabalu (SKSB) โดยสั่ง “ เมล็ด ” เข้ามาเพาะในประเทศไทย
วิธีการเพาะต้นกล้าปาล์มน้ำมันสายพันธุ์ สาวิต คินาบาลู
ด้วยองค์ความรู้ทางด้านพันธุกรรม เมื่อมีจังหวะจึงตัดสินใจลงทุน นำเมล็ดมาลงถาดเพาะโดยศึกษา กระบวนการเพาะต้นกล้าพันธุ์ให้ได้คุณภาพด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นวัสดุเพาะ, สารเร่งราก, ดินเพาะ, ความสูงของการฝังเมล็ด, การย้ายจากถาดมาลงถุงเพาะชำ, การคัดต้นกล้าคุณภาพและการให้น้ำแต่ละช่วงอายุ เป็นต้น เป็นกระบวนการท้าทายแห่งการเรียนรู้เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ทั้งสิ้น
“ หลังจากลงถุงแล้วต้องเลี้ยงต่ออีก 6 เดือน แล้วคัดอีกรอบ เพื่อคัดต้นผิดปกติทิ้งโดยไม่ต้องเสียเวลาให้ปุ๋ย รดน้ำ พอ 8-9 เดือน ก็คัดอีกครั้ง มันมี 4 ขั้นตอนในการคัดเมล็ดพันธุ์ ผมทำมาหลายรุ่น ” คุณอัยยุฟ เปิดเผยถึงกระบวนการผลิตต้นกล้าพันธุ์จนได้ข้อสรุปทางสถิติว่า ปาล์มน้ำมันสายพันธุ์ สาวิต คินาบาลู (Sawit Kinabalu) ได้คุณภาพประมาณ 80-90% ซึ่งเขาได้รายงานให้ผู้ผลิตในประเทศมาเลเซียทราบเพื่อพัฒนาเมล็ดพันธุ์ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
ต้นกล้าพันธุ์ที่ขายให้เกษตรกรจะถูกลงทะเบียนเพื่อศึกษาอัตราการเจริญเติบโตแต่ละพื้นที่แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์แล้วสังเคราะห์ให้ทางมาเลเซียนำไปพัฒนา ดังนั้นไม่แปลกที่ วันนี้มีคนนำเมล็ดปาล์มของเขาไปเพาะตามองค์ความรู้ที่ถ่ายทอดให้เป็นแปลงภาคีของบริษัทโดยตรง ซึ่งจะต้องผ่านคัดกรอง “ คุณสมบัติ ”ก่อน เช่น ไม่ขายรวมกับสายพันธุ์อื่น เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อรักษาคุณภาพของสายพันธุ์ สาวิต คินาบาลู (Sawit Kinabalu) 100% เพราะ บริษัท แม่โจ้ พันธุ์ปาล์ม จำกัด มีแผนจะรับซื้อปาล์มทะลายทั้งหมด เข้าโรงหีบมาตรฐาน เนื่องจากผลลัพธ์ที่ได้จากน้ำมันปาล์ม (CPO) สูงประมาณ 34% ซึ่งสูงมากพอที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจตลอดในอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน
แปลงปลูกของ บริษัท แม่โจ้ พันธุ์ปาล์ม มีอยู่ที่ไหนบ้าง?
ปัจจุบัน บริษัท แม่โจ้ พันธุ์ปาล์ม จำกัด มีแปลงเพาะ 5 แปลง ซึ่งคุณอัยยุฟ ได้วางกลยุทธ์กระจายต้นกล้าพันธุ์เพื่อให้ความสะดวกแก่เกษตรกรที่ซื้อไปปลูก เช่น 2 แปลง ที่ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สามารถกระจายไปยังภาคกลาง ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกและภาคใต้บางส่วน 1 แปลงที่ จังหวัดนราธิวาส เพื่อกระจายไปจังหวัดสงขลา จังหวัดพัทลุงและจังหวัดปัตตานี 1 แปลงที่จังหวัดพังงา และอีก 1 แปลงที่จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยทุกแปลงจะมีมาตรฐานเดียวกันหมด ทั้งอายุ ขนาดและรูปทรง เป็นต้น ซึ่งถูกควบคุมจากส่วนกลางทั้งหมด
“ ตอนนี้มีคนอยากมาร่วมมากเพราะเราไม่ทำตามกระแส แต่ทำตามคุณภาพ ในอนาคตต่อไปเราจะทำ GPS ปักหมุดแหล่งที่ปลูกของเกษตรกร ” คุณอัยยุฟ เปิดเผยถึงความสำเร็จเบื้องต้นว่าด้วยการพัฒนาพันธุ์ปาล์มน้ำมันสายพันธุ์ดี แต่ขายต้นกล้าพันธุ์ในราคาที่ต่ำกว่าตลาด เมื่อปลูกแล้วได้ “ น้ำมัน ” มาก มีกำไรมาก ก็จะปลูกกันมากขึ้น บริษัท ฯ ก็เปิดโรงหีบได้เร็วขึ้นนั่นเอง
แบ่งกันรวยด้วยปาล์มน้ำมัน Sawit Kinabalu (SKSB) จากประเทศมาเลเซีย น้ำหนัก 20 – 25 กก./ทะลาย ให้น้ำมัน 34.24% และผลผลิต 5 -5.5 ตัน/ไร่/ปี นอกจากนี้ อยู่ในระหว่างดำเนินการนำเข้า สายพันธุ์ ไอ-คาลิกซ์ (iCalix) ทะลายละ 15-20 กก. 5.5-6 ตัน/ไร่/ปี และ น้ำมัน 34.24% จากประเทศอินโดนีเซีย
ผู้เชี่ยวชาญเรื่องดินและธาตุอาหารพืชฟันธงเรื่องผลผลิตปาล์มทะลาย
เพื่อให้เห็นศักยภาพของสายพันธุ์ สาวิต คินาบาลู (Sawit Kinabalu) ในทางธุรกิจ จึงได้เปิดใจคุยกับ
คุณธนธรณ์ (รินทร์) ธิปกกุลนันท์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องดินและธาตุอาหารพืช เป็นที่ปรึกษาชาวสวนปาล์มน้ำมันจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งพื้นที่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช หลายหมื่นไร่ได้นำพันธุ์ปาล์ม 18 สายพันธุ์ มาทดลองปลูกเพื่อทดสอบดิน ปุ๋ยและน้ำ ว่าพันธุ์ไหนดีที่สุด เขาฟันธงว่า เรื่องผลผลิตปาล์มทะลายสำคัญอยู่ที่กลยุทธ์ในการใส่ปุ๋ยให้ถูกต้อง ถูกวิธีและถูกเวลา ดังนั้นเขาจึงต้องผลิตสารปุ๋ยมาใช้กับปาล์มโดยเฉพาะทำให้สวนปาล์มที่เขาดูแลได้ผลผลิต/ต้น/ปี สูง ลานปาล์มในพื้นที่ต้องการมาก โดยเฉพาะ สายพันธุ์สาวิต คินาบาลู ตอบโจทย์ปุ๋ยได้ดี ให้ผลผลิต/ทะลายต่อเนื่อง ช่อดอกตัวเมียเกิน 95% บางต้นให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นอีกกว่า 1 ตัน/ปี เนื่องจากการปลูกปาล์มในภาคใต้ อาศัยน้ำฝนเป็นหลัก จึงต้องทำให้ดินเก็บ “ ความชื้น ” นั่นคือ ต้องใช้ แร่ยิบซั่ม บำรุงดินเพราะมันจะดึงความชื้นจากอากาศมาเก็บไว้ เมื่อเจอภัยแล้งก็พอแก้ปัญหาได้ระดับหนึ่ง
จากการบริหารปาล์มน้ำมันในปีพุทธศักราช 2566 ได้ผลลัพธ์เฉลี่ยต้นทุน ต้นละ 2.15 บาท/กก. ขายปาล์มทะลาย 5.30 บาท/กก. ก็พอมีกำไร สนใจแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องปุ๋ยปาล์ม โทร. 089-763-8091
คุณอัยยุฟ หลังจบจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ก็ลุยธุรกิจกล้ายางพาราเพราะมีสวนยางแต่เขามองว่า ยางพาราตอบโจทย์ธุรกิจน้อยกว่าจึงใช้เงิน กยท.ล้มยาง มาปลูกปาล์มเมื่อปี 2558 จนในที่สุดเข้าสู่ธุรกิจปาล์มน้ำมันด้วย 2 สายพันธุ์ที่มั่นใจกลายเป็น “ คลื่นลูกใหม่ ” ที่มาแรงในวงการ
จะเห็นได้ว่าเมื่อสายพันธุ์ถูกต้อง ผลผลิตและเปอร์เซ็นต์น้ำมันมาก หลาก ลานเท หรือ โรงหีบ ซื้อปาล์มทะลายตามเปอร์เซ็นต์น้ำมันก็จะมี กำไร มากขึ้น ส่วนน้ำเสีย ทะลายเปล่า เส้นใย จะกลายเป็น
“ วัสดุดิบ ” สำคัญในการแปรรูปด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น ไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอนไนเซชัน ได้ธาตุอาหารพืช 19 ชนิด และ Black Pellet ทดแทนถ่านหิน แม้แต่น้ำมันพืชใช้แล้ว ยังเป็นน้ำมันเครื่องบิน (SAF) ที่โลกต้องการมากขึ้น ทุกฝ่ายได้ประโยชน์จาก คาร์บอนเครดิต เป็นมิตรต่อโลก
ประเทศไทย ควรร่วมกันปฏิวัติความคิดและการกระทำเข้าสู่ “ กรีนปาล์ม ” อุตสาหกรรมสีเขียวโดยแท้
บริษัท แม่โจ้ พันธุ์ปาล์ม จำกัด เลขที่ 79/10 หมู่ 2 ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
โทร. 095-040-6147
ขอบขอบคุณข้อมูล และ ภาพจาก บริษัท แม่โจ้ พันธุ์ปาล์ม จำกัด
อ้างอิงนิตยสาร พลังเกษตร ฉบับ 40