“ ไม่ว่าจะเลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ หัวใจคือ เอาใจใส่ในงาน ” คำพูดบนเวทีสัมมนากุ้งใต้ล่าง ครั้งที่ 13
จุดเริ่มต้นก่อนจะมาเป็น สุขใจปลากาญฟาร์ม
15 ปีที่ คุณเสรี พีระณรงค์ เจ้าของสุขใจปลากาญฟาร์มลุยธุรกิจตัวนี้จนใคร ๆ มองว่า รวยเพราะการเลี้ยงปลาทับทิมในกระชัง ทั้ง ๆ ที่ความจริงแล้ว เขาล้มแล้วลุก ด้วยขวากหนามทั้งสิ้น แต่เพราะเขา “ เอาใจใส่และต่อสู้ ” ในเนื้องานจึงแก้ปัญหาและพัฒนาจนร่ำรวย
เรื่องแรกคือ “ ทักษะ ” สะสมจาการเป็นลูกจ้างของ บริษัทยักษ์ใหญ่การเกษตร ที่ถูกย้ายเขตงาน ถูกย้ายที่ทำงานบ่อยๆ จึงได้เห็นหลาย ๆ สปีชีส์สัตว์น้ำ ได้เห็นปลาหมอในสุราษฎร์ฯ ปลาทับทิมในเมืองกาญฯ และ ปลานิลที่เชียงราย ได้แก้ปัญหาต่าง ๆ ให้ฟาร์มเหล่านั้น จึงคิดว่าเมื่อแก้ปัญหาให้ทุกคนได้ ก็ต้องแก้ปัญหาให้ตัวเราได้เช่นกัน จึงลาออกมาทำเองเมื่อ 15 ปีที่แล้ว แต่ทำ ฟาร์มปลาทับทิม 12 ปี ในนาม สุขใจปลากาญฟาร์ม กาญจนบุรี
ทำไมต้องยึดแม่น้ำแม่กลองเป็นชัยภูมิ เลี้ยงปลาทับทิมในกระชัง ??
ต้นน้ำแม่กลอง เป็นแหล่งน้ำคุณภาพดี ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรม และไม่มีการปล่อยน้ำเสียจากชุมชน มี 2 เขื่อนได้แก่ เขื่อนศรีนครินทร์ และ เขื่อนวชิราลงกรณ์ ที่ควบคุม “ ปริมาณ ” น้ำให้สม่ำเสมอตลอดปี “ กาญจนบุรี คือ ชัยภูมิในการเลี้ยง และไม่ไกลจาก กรุงเทพฯ ไม่ไกลจากตลาด ” คำยืนยันของเขาที่เลือกทำเลแห่งนี้ เพราะ “ แหล่งน้ำ ” เป็นปัจจัยสำคัญที่สุด กาญจบุรี มีปริมาณน้ำมากที่สุดในประเทศ เขื่อนศรีนครินทร์ใหญ่ อันดับ 1 ของประเทศ และ เขื่อนวชิราลงกรณ์ อันดับ 4 เขาจึงตัดสินใจยึดแม่น้ำแม่กลอง เป็นแหล่งปั๊มเงินจากปลาทับทิม
เริ่มต้นเลี้ยงเลี้ยงปลาทับทิมได้อย่างไร ??
ความกล้าของเขา และภรรยา พร้อมรถ 1 คัน ในการลาออกจากบริษัท และ เงินสด 4 แสนบาท เพื่อเลี้ยงกุ้งก้ามกรามปนกุ้งขาว เลี้ยงกบ ส่งภูเก็็็ต ทำทุกอย่างให้ดีที่สุด
บางครั้งก็แปลงวิฤตเป็นโอกาส เช่นขาย วิตามิน แบบเครดิต ให้กับฟาร์มเลี้ยงเป็ด ถูกเบี้ยวหนี้ แก้ปัญหาด้วยการขอ เป็ดเนื้อ ของลูกค้าแล้วไปหาผู้ซื้อ โดยใช้รถคันเดิมเร่ขายจนได้ทุนกลับมาสมทบกับทุนเดิม แล้วเริ่มเลี้ยง ปลาทับทิม ในกระชัง ปี 2555 เป็นทั้งฟาร์มอนุบาลลูกปลาขนาด 0.3 กรัม ให้โต 30 กรัม โดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ จากนั้นก็นำไปเลี้ยงในกระชังจนได้ไซส์ 900 -1,000 กรัม ตามความต้องการของตลาดโมเดิร์นเทรด และ ห้องเย็น รวมทั้งศูนย์จำหน่ายต่าง ๆ ที่ต้องการ
กว่าทศวรรษที่ สามี ภรรยา ลุยเพาะเลี้ยงปลาทับทิม จนมั่นใจได้ว่า สามารถวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับตลาดได้ เขาถูกทดสอบจาก อุทกภัย ปลาตายกว่า 150 ตัน แต่ทั้งคู่ก็ไม่ถอย ต่อสู้จนชนะ ผลิตปลาไร้ยาปฏิชีวนะ เพราะให้เกียรติ และ เคารพต่อผู้บริโภค
การทำตลาดของ สุขใจปลากาญฟาร์ม
วิกฤตอุทกภัยครั้งนั้น คุณเสรี มองว่า มันสนุกแปรเปลี่ยนวิกฤตให้ เป็นโอกาส “ บางคนทุกข์ บางคนร้องไห้ อยากฆ่าตัวตาย ผมบอกว่าคุณยังอยู่ คุณยังมีลมหายใจ ควรคิดแก้ปัญหาอย่างไรดีกว่า สำหรับผมจึงเริ่มย้ายฟาร์ม จากแม่น้ำแควมาอยู่ที่แม่น้ำแม่กลอง และบางส่วนย้ายมาเลี้ยงบนผ้าใบ ” คุณเสรี เปิดเผย ข้อคิดเห็นของทางอาจารย์ที่สอนเขาว่า ถ้าเอ็งเรียนเกษตร ไม่ว่าจะอยู่บนดิน ใต้ดิน บนฟ้า หรือ ในน้ำ เอ็งสามารถเปลี่ยนเป็นเงินได้ทั้งหมดขึ้นอยู่กับว่าเจ๋งจริงรึป่าว ซึ่งยากที่สุดคือ “ การตลาด ” เหตุนี้เขาจึงต้อง ลงทุนด้านอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อนำทุกส่วนของปลาทับทิม มาแปรรูป เป็นผลิตภัณฑ์ เพิ่มมูลค่า เช่น ไส้กรอกปลาทับทิมสมุนไพร ปลาทับทิมแดดเดียว ไส้กรอกปลาทับทิมอีสาน กุนเชียงปลาทับทิม ไส้กรอกปลาทับทิมเวียนนา สเต็กปลาทับทิม และ จะเร่งทำ ห่อหมกปลาทับทิม ข้าวต้มปลาทับทิม และ แกงส้มปลาทับทิม เป็นต้น
ดังนั้น คุณเสรี จึงพยายามไม่ขายปลาให้ แพปลา เพราะถูกกดราคา และ น้ำหนัก แต่ขายในราคาที่แพงกว่าตลาด ด้วยเงินสดอย่างเดียว ขายหน้าฟาร์ม ขายโมเดิร์นเทรด และขายปลีก คู่ขนานกับขายผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่า พูดได้ว่า วันนี้ สุขใจปลากาญ ฟาร์ม ทำธุรกิจปลาทับทิม ครบวงจร
บุคลากร หรือ แรงงานในฟาร์มสำคัญอย่างไร ??
บุคลากร หรือ แรงงาน ในฟาร์มก็สำคัญ คุณเสรี จะเน้นเป็นพิเศษ เพราะรับผิดชอบต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ 24 ชั่วโมง ปัญหาสารพัดเกิดได้ตลอดเวลา แม้แต่ ขโมย ก็ต้องป้องกันด้วยการสร้าง แพเล็ก ๆ กระจายเป็นจุด ๆ ในแม่น้ำติดไฟให้สว่าง โดยให้ลูกน้องนอนเฝ้า และ ติดกล้องวงจรปิด “ ลูกน้องสำคัญที่สุด ธุรกิจจะเติบโตได้เร็วอยู่ที่คน ถ้าเจ้าของกิจการได้คนดี ๆ อย่าว่าร้อยล้านเลย หมื่นล้าน ก็ได้ไม่ยากเย็น ” ลูกน้องไม่ดีมีเท่าไหร่ก็หมด คุณเสรี ยืนยัน ถึงการมีลูกน้องดี ธุรกิจเติบโต
พูดได้เต็มที่ว่า สุขใจปลากาญ ฟาร์ม ผงาดสู่ราชาแห่งปลาทับทิมครบวงจร เพราะฝีมือ และ ความมุ่งมั่นโดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค สร้าง จุดแข็ง ทั้งการผลิต และ การตลาด โอกาสโตยังมีมาก
ติดต่อ สุขใจปลากาญฟาร์ม
ตั้งอยู่เลขที่ 99/9 หมู่ 7 ต.วังเย็น อ.เมือง จ. กาญจนบุรี 71000
โทร. 092 263 4757
อ้างอิง : นิตยสารสัตว์น้ำ ฉบับ 423/2567 (พ.ย 67)