สร้างบอนไซ หลากหลายทรง และเลี้ยงให้สวยสมบูรณ์ ฉบับมือใหม่

โฆษณา
AP Chemical Thailand

กระถางต้นไม้ P&U 336x280

คงมีใครหลายคนที่มีความฝันอยากเป็น “เจ้านาย” ของตัวเอง แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีหลายเงื่อนไขที่ทำให้ยังไปไม่ถึงจุดนั้น ด้วยเหตุผลว่าเรายังมีค่าใช้จ่ายประจำ และมีภาระที่ต้องดูแลอยู่ทุกเดือน ทำให้การทำตามฝันนั้นดูจะยากไปสักนิด สร้างบอนไซ

แต่รู้ไหมว่าในขณะที่เรายังเป็นพนักงานอยู่ก็สามารถพัฒนาศักยภาพในการทำธุรกิจของตัวเอง และเตรียมตัวก่อนจะไปเป็นผู้ประกอบการอย่างที่หวังในอนาคตได้

1.สวนบอนไซ
1.สวนบอนไซ สร้างบอนไซ สร้างบอนไซ สร้างบอนไซ สร้างบอนไซ สร้างบอนไซ สร้างบอนไซ สร้างบอนไซ

การปลูกเลี้ยงบอนไซ

ดังตัวอย่างของ คุณเอนก แก้วมณี (NV บอนไซ) นักเลี้ยง-นักเล่นบอนไซ และเจ้าของธุรกิจ ร้านบางแสนบอนไซ ที่เพิ่งเข้ามาในวงการได้เพียง 8 ปี ก็สามารถนำบอนไซมาสร้างเป็นอาชีพได้อย่างเต็มตัว

เขาพร้อมมาบอกเล่าประสบการณ์ และแนวทางการสร้างอาชีพบอนไซว่าจะมีเส้นทางเป็นอย่างไร

เอนกเล่าจุดเริ่มต้นว่า เมื่อก่อนมีอาชีพทำรถมือ 2 พร้อมกับขายต้นไม้ไปด้วย ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนขายรถหมด จึงเหลือเฉพาะต้นไม้ ก็เลยเปลี่ยนอาชีพทำต้นไม้อย่างเดียว

Advertisement-Banner-by-บริษัท-โซตัส-อินเตอร์เนชั่นแนล-จำกัด-www.sotus.co.th
Advertisement-Banner-by-บริษัท-โซตัส-อินเตอร์เนชั่นแนล-จำกัด-www.sotus.co.th

เริ่มต้น สร้างบอนไซ

ชวนชมเพชรบ้านนาเป็นไม้ตัวแรกๆ ที่เขาเริ่มสะสม พอทำได้ระยะหนึ่งก็เปลี่ยนมาทำบอนไซ เนื่องจากช่วงนั้นชวนชมในตลาดมีมากแล้ว ตลาดจึงไม่ค่อยดี เพราะเขาต้องการทำเป็นอาชีพเลย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

“แต่ผู้รู้ที่ผมไปศึกษา เรียนรู้วิชาด้วย บอกว่ามันทำเป็นอาชีพไม่ได้”

เขามีความตั้งใจ มุ่งมั่น ต้องการสร้างเป็นอาชีพให้ได้ ตั้งแต่นั้นมาเขาก็พยายามฝึกหัดวิธี สร้างบอนไซ มาตลอด เพื่อสร้างความคุ้นเคย จนสามารถพัฒนามาเป็นรายได้หลักในครอบครัว

“ถ้าเราทำเป็นอาชีพจริงๆ มันเลี้ยงครอบครัวได้นะ ถ้าเราคิดว่ามันได้ มันก็ได้ มันอยู่ที่ตัวเรา เราต้องสร้างเครดิตของตัวเองขึ้นมา สะสมประสบการณ์จนเป็นมืออาชีพ มีช่องทางหลากหลาย ทั้งทำเอง ไปดูแลไม้ให้ลูกค้า ไม่ใช่แค่ว่าเรามานั่งขายบอนไซเฉยๆ”

ปัจจุบันเอนก บอนไซ เป็นอีกท่านหนึ่งที่หลงใหลศิลปะของบอนไซ และยึดเป็นอาชีพหลัก ที่ก้าวเข้าสู่วงการบอนไซมาเพียง 8 ปี ด้วยความอุตสาหะ มีความตั้งใจอยากทำเป็นอาชีพ จึงขยันเก็บเกี่ยวประสบการณ์ สะสม “ชั่วโมงบิน” เยอะ อยู่กับบอนไซ ทั้งวัน ทั้งคืน จนประสบความสำเร็จไปอีกขั้นหนึ่ง

ทีมงานซักถามต่อว่าหาความรู้บอนไซเรื่องต่างๆ มาจากไหน..??

เอนกเล่าว่าสมัยนั้นจะไม่ค่อยมีที่ให้ศึกษามากนัก จะอาศัยเรียนรู้จากคนที่เล่นอยู่ก่อนแล้ว และตามงานประกวดไม้ต่างๆ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

“ตอนแรกไม่รู้จะไปตรงไหน จึงเริ่มเข้างานประกวดไม้ ที่ไหนมีการประกวดจะไปหมด เพื่อไปเรียนรู้ จดจำ ถ่ายรูปมาเป็นตัวอย่าง แล้วมาทดลองทำเรื่อยๆ จนมีความชำนาญในการปลูกเลี้ยงมากขึ้น จึงพัฒนากลายมาเป็นอาชีพ”

2.บอนไซไม้มะขามต้นเด่นของสวน
2.บอนไซไม้มะขามต้นเด่นของสวน

บอนไซ สายอาชีพ

“อย่างพี่เขาเรียก สายสร้าง คือ ต้องการให้ถูกต้องตามตำราบอนไซ เน้นเรื่องความสวยงามเป็นหลัก ซึ่งต้องใช้เวลา เราไม่ใช่สายขาย ที่ซื้อมาขายไป คือ พวกนั้นจะเข้าไม่ลึก แต่สำหรับผมจะพยายามเข้าให้ลึกที่สุด”

บอนไซจะสวยและมีเสน่ห์ก็ต่อเมื่อไม้มีอายุมาก ทำให้เป็นเหตุผลหนึ่งที่มือสร้างไม้ไม่ค่อยอยากขาย แต่ถ้าจะขายก็อยากให้ไม้สวยก่อน จึงมาเป็นจุดเริ่มต้นของอาชีพบอนไซ

สำหรับคนที่เลี้ยงแล้วไม่มีเวลาดูแล แล้วต้องการคนดูแลรักษา หรือนำไม้มาฝากเลี้ยง เพราะบางคนรักบอนไซ อยากเลี้ยง แต่ไม่มีความรู้เรื่องบอนไซ คนกลุ่มนี้มีเยอะ เช่น ซื้อไปแล้วไม่รู้วิธีการดูแลรักษา การตัดแต่งกิ่ง กลัวไม้เสียทรง ลูกค้าคนกลุ่มนี้จะค่อนข้างมีความพร้อมเรื่องเงินทุน

“อย่างไปดูแลข้างนอกผมคิดเป็นรายวัน วันละ 2,000 บาท เป็นอุปกรณ์ของลูกค้าทั้งหมด ผมไปแต่ตัว แต่มันก็มีบางเคสที่เราต้องเอาเครื่องมือไปด้วย เช่น เครื่องมือเกาซาก แต่งานพวกนี้ก็ไม่ได้มีทุกวัน

“รายได้เดือนหนึ่งๆ ที่นำมาเลี้ยงสวน เลี้ยงครอบครัว อยู่ที่ 50,000 บาท มาจากที่เราไปรับจ้างทำต้นไม้ถึง 60-70% ส่วนเรื่องการจำหน่ายเป็นส่วนน้อย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

“พูดจริงๆ แล้วเรามาสร้างไม้ของตนเองดีกว่า พอเรามาอยู่ตรงนี้เราก็เคยชินว่าจะทำงานตอนไหนก็ได้ แต่พอเราไปทำให้ลูกค้าจะมีเวลากำหนดเข้างาน-เลิกงาน มีเวลาพัก กินข้าว พอทำไปสักพักรู้สึกอึดอัด ไม่อยากทำ บางทีก็มีเบื่อเหมือนกัน” เอนกบอกเล่ารายรับ-รายจ่ายของอาชีพนี้

เนื่องจากคนเลี้ยงบอนไซจะค่อนข้างมีอิสระทางความคิด ไม่ยึดติดกับหลักการใดๆ มากนัก ไม่จำเป็นต้องกดดันตัวเอง เพราะจะทำให้ไม่มีความสุข

3.บรรยากาศภายในสวนบางแสน-บอนไซ
3.บรรยากาศภายในสวนบางแสน-บอนไซ

การวางแผนในอนาคต

แผนต่อไปเอนกวางแผนทำธุรกิจร้านกาแฟ เนื่องจากที่นี่มีลูกค้าเข้ามาเยี่ยมชมสวนจำนวนมาก มาเป็นครอบครัว  ใครชอบบอนไซก็จะไปเดินดูบอนไซ ส่วนภรรยาและลูกจะนั่งคอยอยู่ในรถ เพราะสวนไม่มีพื้นที่สำหรับนั่งพักผ่อนมากนัก จึงมีแนวความคิดอยากเปิดร้านกาแฟ เพื่อเป็นสถานที่ต้อนรับและบริการลูกค้าให้ได้รับความสะดวก สบาย นั่นเอง

“งานหลักของเราก็คือ บอนไซ ตรงนั้นมันจะเป็นอะไรที่เป็นผลพลอยได้ แต่ถ้ามันเกิดเวิร์คขึ้นมาก็แต่อย่างน้อยเราก็ถือว่าได้บริการลูกค้า

“พี่อยากทำให้สวนบอนไซเป็นที่รู้จัก ให้คนมาเดินเล่นได้ มาเสพได้ โดยไม่ต้องซื้อ คือ เมื่อก่อนใครอยากชมต้องซื้อกลับบ้าน แต่ที่นี่พี่อยากให้มาเดินดู ชื่นชม ก็โอเคแล้ว” เอนกบอกเล่าจุดประสงค์ของร้านกาแฟ

ปัจจุบัน NV บอนไซ รับสร้างไม้-ดูแลไม้ รายได้วันละ 2,000 บาท/ราย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

“ผมเล่นไม้มา 8 ปี ได้ค่าแรงประมาณนี้ถือว่าเดินเร็วนะ ก็ตั้งใจจะเดินให้เร็ว อยากให้วงการเดินไปข้างหน้า อยากให้ภาพลักษณ์วงการไม้ของเราเปลี่ยน เช่น จากไม้บ้านเราที่เล่นกันอยู่มีไม่กี่ทรง ซึ่งก็สวยนะ แต่เราอยากให้เกิดความหลากหลายมากขึ้น เหมือนการเล่นของต่างประเทศ” เอนกแสดงความคิดเห็น

4.บอนไซเทียนทะเลไม้ซากต้นจิ๋วแต่แจ๋ว
4. สร้างบอนไซ เทียนทะเลไม้ซากต้นจิ๋วแต่แจ๋ว

เครื่องปลูกบอนไซ

 จากประสบการณ์ เอนก บอนไซ บอกว่าการเล่นบอนไซแบบต่างประเทศส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ แล้วแต่ความชอบของแต่ละบุคคล คือ การทำบอนไซมันจะมีลายมือ เอกลักษณ์ของตัวเอง

“อย่างการสร้างกิ่ง ใครเห็นจะรู้ได้ทันทีว่าใครเป็นคนทำ มันจะเหมือนลายเซ็นที่คนเห็นแล้วจำได้ เอกลักษณ์ของเรา ทุกอย่างใช้เป็นรูปแบบลายมือของเราที่ค่อยๆ ทำขึ้นมา ผ่านการปรับหลายครั้งกว่าจะได้แบบนี้ ปรับปรุง เรียนรู้ไปเรื่อยๆ”

ตอนนี้ที่สวนมีไม้สายพันธุ์หลัก คือ เทียนทะเล เป็นเทียนทะเลจากภาคใต้ 80% และภาคตะวันออก 20% ทั้ง 2 แห่ง แตกต่างกันที่ลักษณะใบมี 3 แบบ ได้แก่ ใบเรียว ใบกลม และใบใหญ่ บางต้นข้อห่าง บางต้นข้อถี่

เครื่องปลูก สามารถใช้ได้หลายรูปแบบ เช่น ขุยมะพร้าวผสมทราย หินภูเขาไฟผสมพีทมอส เป็นต้น ขึ้นอยู่กับความชื้น

ยกตัวอย่าง เมื่อก่อนสวนจะใช้ขุยมะพร้าวผสมทราย บางสวนก็ใช้ขุยมะพร้าวอย่างเดียว แต่ผมเอาทราย และเปลือกหอยผสมด้วย เนื่องจากเทียนทะเลเป็นไม้ที่ต้องการความชื้นสูง ขุยมะพร้าวจึงตอบโจทย์ได้อย่างดี เพราะมีคุณสมบัติอุ้มน้ำ และเก็บความชื้นเป็นอย่างดี 70-80% แต่วัสดุปลูกก็ต้องระบายน้ำได้ดีด้วย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ปัจจุบันใช้หินภูเขาไฟ ข้อดี คือ มีความโปร่ง ระบายน้ำดี ไม่เป็นโคลน รากเดินดี มีข้อเสีย คือ วัสดุปลูกแห้งเร็ว แก้ไขด้วยโดยใช้ผสมกับพีทมอสและกาบมะพร้าวเล็กน้อยที่โคนต้น เพื่อเก็บรักษาความชื้น

5.บอนไซเทียนทะเลต้นสวย
5.บอนไซเทียนทะเลต้นสวย

การให้น้ำและปุ๋ยบอนไซ

เรื่องน้ำ สำหรับไม้ที่สร้างจบแล้ว ช่วงฤดูร้อนตามจริงควรรด 3 รอบ/วัน แต่ด้วยสวนมีต้นจำนวนมาก ทำให้บางครั้งจะเหลือ 1-2 รอบ/วัน ช่วงเวลาเช้ากับเย็น

หากเป็นไม้โครงสร้างให้รดวันละ 1 ครั้ง ในช่วงเย็นประมาณ 5 โมงเย็น

น้ำที่ใช้รด สวนใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ 2 ส่วน และน้ำประปา  1 ส่วน

“ต้นที่ปลูกอยู่ หากเครื่องปลูกมีลักษณะเป็นโคลนแล้วน้ำขัง อาจทำให้ต้นเทียนทะเลตายได้ เนื่องจากเทียนทะเลเป็นไม้ที่รดน้ำเยอะได้  แต่ไม่ควรให้น้ำขัง หรือเฉอะแฉะ หินภูเขาไฟจึงมีข้อเด่นในเรื่องการระบายน้ำและอากาศได้ดี”

เรื่องปุ๋ย ทางสวนจะใช้ปุ๋ยคอก จะไม่ใช้ปุ๋ยเคมีเลย โดยเริ่มแรกสวนใช้ปุ๋ยขี้ไก่ ระยะหลังฟาร์มเขาผสมอะไรมาไม่รู้ทำให้ไม้มีปัญหา ปัจจุบันสวนเปลี่ยนมาใช้เป็นปุ๋ยขี้หมูเนื้อแทน ปรากฏว่าใช้ดี เป็นที่น่าพอใจ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

“แต่ที่เคยใช้มาผมว่าขี้หมูโอเคสุด บางคนไม่ชอบขี้หมู ใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ก็ได้นะ สะดวกดี”

การให้ปุ๋ย สวนใช้วิธีสังเกตไม้เป็นหลัก ไม่ได้มีกำหนดว่ากี่วันครั้ง เพราะอาการของไม้แต่ละต้นไม่เหมือนกัน

เอนกบอกว่า สังเกตเอา เทียนทะเลเป็นไม้ที่ดูแลค่อนข้างง่าย ถ้าใบดูไม่สด ไม่เขียว อาจเป็นสัญญาณว่าปุ๋ยหมด ถ้าใบเหลืองมากๆ อาจมาจากใส่ปุ๋ยเยอะไป เราต้องฝึกสังเกตไม้ทุกต้น

“อย่างไซส์กระถาง 50 เซนติเมตร เราจะไม่ผสมปุ๋ยในดิน แต่จะโรยบนดิน จากนั้นรดน้ำให้ปุ๋ยละลายลงไป เพราะถ้าคลุกผสมไปกับเครื่องปลูกเลย ดินจะเป็นโคลนเร็ว มีผลให้รากไม่เดิน ต้นไม่โต” เอนกพูดถึงการให้ปุ๋ยบอนไซเทียนทะเล

ศัตรูพืช ที่พบเห็น เช่น หนอนกระทู้  ไรแดง เพลี้ยแป้ง และไส้เดือนฝอย

ต้นที่ถูกไรแดงเข้าทำลายมากๆ ไม้จะมีอาการช็อค คือ  ต้นชะงักการเจริญเติบโต และต้นอาจตายได้

โฆษณา
AP Chemical Thailand
6.บอนไซเทียนทะเล
6.บอนไซเทียนทะเล

การดูแลรักษาบอนไซ

เอนกบอกเล่าเทคนิคการเปลี่ยนดินจากประสบการณ์ตรงว่า แต่ก่อนเปลี่ยนดินครั้งหนึ่ง จะรอให้ฝนตกก่อน เพื่ออาศัยความชื้นจากอากาศ เพราะโอกาสที่ไม้จะช็อคเสียหายน้อยกว่า

ต่อมาได้เรียนรู้ว่าสามารถเปลี่ยนดินตอนไหนก็ได้ แล้วถ้าต้นช็อคจะแสดงอาการภายใน 8 ชั่วโมง สังเกตได้จากใบเหี่ยว เนื่องจากระบบรากได้รับความกระทบกระเทือนเสียหาย

เวลาเปลี่ยนดิน เปลี่ยนกระถาง แต่ละครั้ง ทางที่ดีควรต้องริดใบออกด้วย เพื่อลดการคายน้ำของพืช

ใช้วิธีเดียวกับการปักชำไม้เลย ถ้าไม่ตัดใบออกครึ่งหนึ่ง ใบจะคายน้ำออกจากต้นมาก มีผลทำให้ต้นเหี่ยวเฉา รากนำอาหารมาเลี้ยงต้นไม่ทัน ต้นก็ตาย

“ผมว่าเทียนทะเลเป็นไม้ที่เลี้ยงง่ายกว่าไม้ชนิดอื่นนะ การดูแลจะอาศัยวิธีการสังเกตตัวไม้เป็นหลัก เช่น ถ้าไม้กินปุ๋ยเยอะ ต้นจะแสดงอาการทางใบเลย ใบจะออกเหลืองนิดๆ แต่ที่ว่าเหลืองไม่ใช่เหลืองแบบเป็นโรค แต่อาการจะเห็นเลยว่าใบมีความเขียวดรอปลง ออกเหลืองๆ ให้ลดปุ๋ยใส่ 2 เดือน/ครั้ง” เอนกกล่าว

7.สร้างบอนไซ เทียนทะเลทรงป่ารากเดียว
7.สร้างบอนไซ เทียนทะเลทรงป่ารากเดียว

การแนะนำนักเล่นรุ่นใหม่ ด้านการ สร้างบอนไซ

คุณเอนกแสดงทัศนคติว่า สำหรับคนที่อยากเลี้ยง อยากจะทำบอนไซ เป็นจริงๆ ต้องพยายามเข้าหาแหล่ง หรือกลุ่มคนที่เขาทำอยู่ก่อนแล้ว เราจะได้มีแรงบันดาลใจ เกิดแรงผลักดัน ช่วยให้มีความกระตือรือร้นอยากทำมากขึ้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เขาแนะนำมือใหม่ที่เลี้ยงไม้อยู่ที่บ้านว่า “ทางที่ดีควรนำไม้มาหาผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์ เพราะบางครั้งการทำคนเดียวอาจนึกภาพไม่ออกว่าต้องเป็นแบบไหน ตัดกิ่งไหน แต่ถ้ามีคนคอยแนะนำจะสามารถร่นระยะเวลาในการฝึก สร้างบอนไซ จาก 3 ปี อาจเหลือ 1 ปีกว่า จะเรียนรู้ได้เร็วกว่า มีความรู้ดีๆ รออยู่มากมาย ไม่จำเป็นต้องเรียนถูกผิดไปซะหมด มาเรียนให้ถูกวิธีเลยดีกว่า”

เมื่อถึงจุดๆ หนึ่งที่คนเลี้ยงไม้ทุกคนต้องฝ่าฟันไปให้ได้ นั่นคือ ความเบื่อ

ดังนั้นเราต้องกำหนดเป้าหมายที่ท้าทายมากขึ้น ความทะเยอทะยานจะนำเราสู่เป้าหมายที่สูงขึ้น แต่การกำหนดจุดมุ่งหมายที่สูงขึ้นจะต้องอยู่ในขอบเขตที่สามารถทำได้จริง และระบุเป้าหมายให้แน่ชัด

เอนกบอกเล่าว่าเป็นจุดที่ไม่รู้จะทำอะไรต่อไป ดังนั้นเรายิ่งต้องพยายามเข้าไปหากลุ่มนักเล่น ค้นหาสิ่งแปลกใหม่ให้กับตนเอง พอเราผ่านตรงนั้นมาได้ เริ่มทำไม้เป็นรูปเป็นร่างได้ 1 ทรง เราจะเกิดกำลังใจอยากสร้างไม้ทรงอื่นต่อ

“ผมบอกน้องๆ เสมอว่า ถ้าเราอยากจะนอกกรอบ อยากทำไม้ทรงอื่น เราต้องผ่านทรงมาตรฐานให้ได้ก่อน เมื่อมีพื้นฐานแล้วจะสามารถนำไปประยุกต์ปรับใช้กับไม้ทรงอะไรก็ได้ เพราะใช้หลักการตัวเดียวกัน

“ถ้าเรามองภาพออก และเข้าใจ จะง่ายนิดเดียว หลักๆ แล้วบอนไซจะมองเรื่องความสมดุล ทำอย่างไรให้เกิดเอกภาพ แล้วต้นจะสวยด้วยตัวมันเอง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

“พี่เคยบอกกับคนในกลุ่มว่าอาชีพสุดท้ายของพี่ก็คือ บอนไซ ขอจบที่บอนไซ ไม่อยากทำอย่างอื่นแล้ว” เจ้าของร้านบางแสนบอนไซกล่าวทิ้งท้าย

ขอขอบคุณ เอนก แก้วมณี (NV บอนไซ) ร้านบางแสน บอนไซ 55 ถ.แสนสุข ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี

โทร.08-1159-5435

เครดิต นิตยสาร ไม้ดอกไม้ประดับ