การผลิต สับปะรดสี หลายสกุล
“ สับปะรดสี ” (Bromeliad) ไม้ประดับหลากสี ที่หลายคนรู้จัก เป็นพืชอีกกลุ่มที่มีความน่าสนใจ เนื่องจากรูปร่าง สีสันสวยงาม แปลกตา และทนทานต่อสภาพแวดล้อม การใช้งานที่มีความหลากหลาย สามารถเป็นได้ทั้งไม้ประดับสวน ปลูกสับปะรดสี ประดับเป็นไม้กระถาง หรือการ ปลูกสับปะรดสี เป็นไม้ดอก
คุณณัฏฐิกา กฤดิกุล (โบว์) เจ้าของ สวนศิลป์สับปะรดสี เป็นอีกหนึ่งบุคคลที่มีความรู้เรื่อง สับปะรดสี ระดับตัวยงไม่แพ้ใครอีกท่านหนึ่ง เพราะมี สับปะรดสี สกุลหลักๆ อยู่หลายสกุล เช่น สกุลนีโอรีเจลยา (Neoregelia), วีร์เซีย (Vriesea), แอคเมีย (Aechmea), กุซแมเนีย (Guzmania) และทิลแลนด์เซีย (Tillandsia)
ผลิตเจาะตลาด ต้นสับปะรดสี โดยเฉพาะ รวมๆ แล้วมากกว่า 100 ชนิด ทั้งพันธุ์แท้ และลูกผสม ทำให้เกิดความหลากหลายของสายพันธุ์
ประโยชน์ของ ต้นสับปะรดสี
คุณณัฏฐิกา เล่าให้ฟังว่า ที่ชอบ สับปะรดสี คือ มันเลี้ยงง่าย ทนดี ไม่ต้องใส่ใจเยอะ มีแมลงและโรคภัยรบกวนน้อย การนำไปใช้งานจัดสวนได้หลากหลายรูปแบบ เพราะถ้าเป็นทิลแลนด์เซียมีพื้นที่น้อยก็ ปลูกสับปะรดสี ได้ แค่มีพื้นที่นอกชานชายคา หรือบริเวณระเบียงเล็กน้อย ก็สามารถ ปลูกสับปะรดสี ได้แล้ว ถือเป็นเสน่ห์ของพืชตระกูลนี้เลย
ไม่จำเป็นต้อง ปลูกสับปะรดสี ลงกระถางอย่างเดียว เช่น เกาะตอ ติดไม้ แขวนกลางอากาศก็ได้ หรือตั้งวางไว้เฉยๆ ก็ทำได้ โดยปราศจากวัสดุปลูก ทำให้เกิดมิติของการจัดสวนแบบไร้ขอบเขต
ประเภทกลุ่มของ ต้นสับปะรดสี
ตลาดไม้ประดับในปัจจุบัน ถือได้ว่าในการซื้อ ขายสับปะรดสี เป็นหนึ่งในพืชที่ได้รับความนิยมไม่น้อย
นีโอรีเจลยา เป็น สับปะรดสี กลุ่มใหญ่ที่สุด มีทรงต้นสวยงามคล้ายทรงแจกัน มีสีสันฉูดฉาด สวยงาม กลุ่มประเภทไม้อากาศ คือ สกุลทิลแลนด์เซีย และกลุ่มไม้ดอก เป็นสกุลวีร์เซีย สกุลดังกล่าวเป็นที่นิยมและตอบโจทย์ของตลาดไม้ประดับมากที่สุด
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการนำมาใช้งานด้วย เช่น ในพื้นที่ในร่ม นิยมใช้สกุลกุซแมเนีย และวีร์เซีย หากเป็นพื้นที่กลางแจ้งจะใช้กลุ่มนีโอฯ และแอคเมีย หรือสามารถใช้ประกอบร่วมกันได้หลายๆ ชนิดตามจังหวะพื้นที่
หรือถ้าเป็นประเภทไม้สะสม อย่าง สกุลดิกเคีย (Dyckia) และสกุลโฮเฮนเบอร์เกีย (Hohenbergia) จะมีลูกเล่นมากกว่าการนำมาใช้จัดสวน ขึ้นกับการนำมาใช้งาน
“ชื่นชอบที่มันอดทนนี่แหละ ไม่ต้องดูแลเยอะ ไม่ต้องเปลืองเวลารดน้ำวันเว้นวัน หรืออาทิตย์ละ 2 ครั้ง ก็ได้ ถ้าเป็นไม้ชนิดอื่นอาจจะต้องรดทุกวัน สับปะรดสีมีแอ่งเก็บน้ำในตัว จึงไม่ต้องรดน้ำทุกวัน” ณัฏฐิกาพูดข้อดีของ สับปะรดสี
การเลี้ยงและ ปลูกสับปะรดสี บรอมีเลียด
โรงเรือน หรือสถานที่ตั้งวาง อย่างกลุ่มประเภทไม้ดอก เช่น สกุลวีร์เซีย และกุซแมเนีย จะไม่ค่อยชอบแดดแรง ควรมีการกรองแสงเพื่อลดความรุนแรงอย่างน้อย 60% หรือร่มรำไร ในกลุ่มนีโอฯ จะพรางแสง 50% ขึ้นอยู่กับชนิดของ สับปะรดสี
บางสายพันธุ์สามารถ ปลูกสับปะรดสี หรืออยู่กลางแจ้งแดดจัด 100% ได้ เช่น Aechmea blanchetiana เป็นสับปะรดสีใบแข็ง มีความทนทานสูง เพราะหากเลี้ยงในที่ร่มจะทำให้สีซีดลง ฟอร์มไม่สวย
ทำให้ ต้นสับปะรดสี มีบทบาทด้านการจัดสวนมากขึ้น เนื่องจากนำไปใช้งานได้หลากหลาย
การเลือกวัสดุในการ ปลูกสับปะรดสี
การเลือกวัสดุ ปลูกสับปะรดสี ในการปลูกเลี้ยงย่อมมีความแตกต่างกันในแต่ละสกุล วัสดุ ปลูกสับปะรดสี ที่ดี มีความเหมาะสม ควรมีคุณสมบัติที่ระบายน้ำและอากาศได้ดี เช่น กาบมะพร้าวสับ ใบไม้ผุ หรือการผสมถ่านลงในวัสดุปลูก เป็นต้น แต่สวนแห่งนี้เนื่องจากผลิตในเชิงการค้า จึงเลือกใช้กาบมะพร้าวสับเพียงอย่างเดียว ที่นอกจากจะมีราคาถูกแล้วยังมีลักษณะเหมือนฟองน้ำนุ่มๆ ที่โปร่ง และอุ้มน้ำได้ดี
“เราต้องมีเทคนิคของแต่ละสวนในการเลี้ยงไม้ให้สวย เพราะถ้าเราเลี้ยงสวย ลูกค้านำไปใช้ก็สวย ก็ชอบ ขายของไม่สวย ลูกค้าก็รู้สึกไม่ดี ไม่อยากซื้อ เพราะเขาก็อยากได้ของสวยๆ ไปอยู่ที่บ้าน”
การ ปลูกสับปะรด สีควรเลือกขนาดกระถางที่ไม่ใหญ่จนเกินไป โดยเลือกให้ใหญ่กว่า ต้นสับปะรดสี เล็กน้อย และปลูกให้เครื่อง ปลูกสับปะรดสี อยู่ระดับโคนใบ
“การเลือกภาชนะ ปลูกสับปะรดสี ไม่ค่อยมีผลต่อสับปะรดสีเท่าไร ถ้าในทางการค้าต้องเลือกกระถางพลาสติก เพราะสะดวกในการขนส่ง มีน้ำหนักเบา และยกซ้อนกันง่าย ประหยัดต้นทุน
“แต่สำหรับลูกค้าที่ซื้อไป สามารถนำไปเปลี่ยนถ่ายกระถาง หรือภาชนะประเภทอื่นๆ ได้ เช่น กระถางเซรามิค กระถางดินเผา มีข้อดี คือ เรื่องอุณหภูมิความเย็น ถ่ายเทอากาศ และระบายน้ำได้ดี อยู่ที่กำลังทรัพย์ของลูกค้า” คุณณัฏฐิกาพูดการเลือกประเภทกระถางแทบไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของสับปะรดสี
การรดน้ำ-ใส่ ปุ๋ยสับปะรดสี
การรดน้ำ อาทิตย์ละ 2 ครั้ง กำลังดี ควรดูสภาพอากาศประกอบด้วย เช่น ช่วงไหนฝนตกติดต่อกันหลายวันไม่ต้องรด เพราะน้ำฝนสามารถกักเก็บไว้ในยอด หรือกาบใบ ได้ สังเกตว่าถ้ามีน้ำขังที่ยอดสับปะรดสีมากก็ไม่ต้องรด
เรื่อง ปุ๋ยสับปะรดสี ใช้ชนิดเดียวกับปุ๋ยกล้วยไม้ ได้ทั้งชนิดน้ำ และชนิดเกล็ดละลายน้ำ การสร้างฟอร์มก็ง่ายๆ เพียงแค่ไม่ต้องให้ ปุ๋ยสับปะรดสี เยอะ เพราะใบจะเขียว และยืดยาว ไม่สวย
การดูแลเรื่อง ปุ๋ยสับปะรดสี ทางสวนศิลป์ให้เฉพาะสับปะรดสีประเภทดอก พวกกุซแมเนีย และวีร์เซีย สามารถให้ ปุ๋ยสับปะรดสี ได้ แต่หากเป็นตระกูลนีโอฯ และแอคเมีย นิยมให้ ปุ๋ยสับปะรดสี เฉพาะระยะแรกที่ ปลูกสับปะรดสี ลงกระถางครั้งเดียว
การใส่ ปุ๋ยสับปะรดสี มีข้อเสีย คือ ต้องรอนานกว่าต้นจะให้ฟอร์มสวย มีคุณภาพ
การป้องกันกำจัดโรคและแมลง
ศัตรูสับปะรดสีของสวนศิลป์ คือ ตั๊กแตน กัดกินใบ และยอด ทำให้ ต้นสับปะรดสี ใบแหว่ง มีตำหนิ ไม่มีคุณภาพ ไม่สวย ราคาตก ป้องกันกำจัดโดยสารเคมีกำจัดแมลงเดือนละครั้ง หรือ 2 เดือน/ครั้ง ขึ้นอยู่กับการระบาดแต่ละช่วงฤดูกาล
ส่วนโรคที่เป็นกันมากในสับปะรดสี คือ โรคเน่าที่โคนต้น ป้องกันด้วยยาป้องกันเชื้อรา หรือพยายามอย่าให้วัสดุที่ใช้ ปลูกสับปะรดสี ชื้นแฉะตลอดเวลาเท่านี้เอง
“สารเคมี ไม่ว่าจะเป็นยาป้องกัน หรือกำจัดอะไร คือ ไม่ควรให้ยาที่มีส่วนผสมของทองแดง (Copper: Cu) เพราะส่งผลให้ใบสับปะรดสีไหม้ มีปัญหาตามมา” คุณณัฏฐิกาพูดข้อควรระวังการใช้สารเคมี
การขยายพันธุ์ แยกหน่ออย่างเดียว เพราะเน้นทำจำนวนและปริมาณได้
ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของสับปะรดสี
แสงแดด ถือได้ว่ามีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต ส่วนใหญ่สับปะรดสีสวยได้เพราะแสงแดด ยกเว้นสับปะรดสีประเภทดอก พวกวีร์เซีย และกุซแมเนีย ไม่ค่อยชอบแดด ถ้าถูกแสงแดดมากใบจะไหม้ตาย ขึ้นอยู่กับชนิดของสับปะรดสี เช่น สกุลที่มีใบแข็งหนา ขอบใบมีหนาม เช่น สกุลแอคเมีย เฮคเทีย ดิคเกีย นีโอเรเจลยา และทิลแลนด์เซีย ที่มีใบเทาเงิน มักต้องการแสงมากกว่าสกุลที่มีใบอ่อนนิ่ม และไม่มีหนาม
อุณหภูมิ ความเย็นมีผลต่อสับปะรดสี ถ้าอุณหภูมิกลางวันกับกลางคืนต่างกันมาก เช่น ฤดูหนาว กลางวันอากาศร้อนจัด ช่วงกลางคืนอากาศหนาว หรือเย็น จะช่วยให้ใบมีสีสันมากขึ้น
“ถ้านำไปเลี้ยงที่เชียงใหม่ อากาศเย็นกว่ากรุงเทพฯ สีจะหวานสด แต่ใบจะบางกว่าเลี้ยงในพื้นที่ภาคกลาง แต่หากซื้อต้นไม้จากภาคเหนือมาเลี้ยงภาคกลาง ไม่เกินหนึ่งอาทิตย์สีจะซีดลง เพราะอุณหภูมิมีความต่างกัน และอาจใบไหม้ด้วย” ณัฏฐิกาให้ความเห็นจากประสบการณ์
สรุปสีสันของ สับปะรดสี จะมีความสวยงาม ฉูดฉาด เพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับความชื้น ปริมาณแสงแดด และอุณหภูมิ ถ้าอยู่ในร่มเกินไปจะทำให้ใบมีสีเขียว
การใช้สารเคมีชักนำและกระตุ้นการออกดอกของสับปะรดสี
หนึ่งในสารเคมีที่ใช้กันนั้น คือ สารเคมีเอธิฟอน ชื่อการค้า Ethrel จะมีหน้าที่หรือกลไกทำให้ ต้นสับปะรดสี ปลดปล่อยเอนไซม์ชนิดหนึ่งออกมา ซึ่งมีหน้าที่หยุดการเจริญเติบโตทางใบ (vegetative growth) ในบริเวณเนื้อเยื่อเจริญ และเอนไซม์อื่นๆ จะปรับเปลี่ยนเนื้อเยื่อเจริญบริเวณนี้เพื่อเจริญเป็นช่อดอกต่อไป
“ถ้าอยากบังคับให้มันออกดอก ใช้เอธิฟอนหยอดที่ยอดกลางลำต้น เป็นสารเคมีเดียวกับสับปะรดกินลูก
“การใช้ก็ไม่ใช่จะหยอดสุ่มสี่สุ่มห้า อย่าง ต้นเล็ก ต้นดอกจะเล็ก แป๊บเดียวก็ฝ่อ เพราะสภาพต้นไม่สมบูรณ์ ฉะนั้นควรเลือกต้นไซส์ใหญ่ ปริมาณการใช้ดูฉลากข้างขวด”
เมื่อหยอดสารเคมีไปแล้ว ถามว่าเมื่อไรถึงออกดอก เธอตอบว่า แล้วแต่สายพันธุ์ บางพันธุ์ใช้เวลา 2 เดือน บางพันธุ์ใช้เวลา 1 เดือน จะค่อยๆ พัฒนาเป็นช่อดอกขึ้นมา เพราะหากรอตามธรรมชาติ ต้นสับปะรดสี ให้ดอกเพียงปีละครั้งเดียว หรือหลายครั้ง ขึ้นกับความสมบูรณ์ แต่เนื่องจากสวนทำเป็นเชิงธุรกิจ จึงต้องบังคับให้ ต้นสับปะรดสี มีดอก เพื่อให้มีจำหน่ายตลอดทั้งปีนั่นเอง
สำหรับลูกค้าที่ซื้อนำไปเลี้ยงที่บ้าน คุณณัฏฐิกายืนยันว่า ต้นสับปะรดสี สามารถออกดอกเองได้ อย่างต้นที่นำมาจำหน่ายที่ตลาดต้นไม้จตุจักร เธอบอกว่าไม่ได้หยดสารเคมีเร่งดอกมาเลย เป็นการออกดอกตามธรรมชาติ
การออกดอกของ สับปะรดสี ขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ก็จะทำให้มีดอกได้เหมือนกัน
จุดเด่นเฉพาะของ สับปะรดสี แต่ละชนิด
ต้นสับปะรดสี อีกสกุลหนึ่งที่น่าสนใจ “ทิลแลนด์เซีย” มีความสวยงามอย่างน่าอัศจรรย์ มีการกระจายพันธุ์ในแถบอเมริกากลาง อเมริกาใต้ เหมือน ต้นสับปะรดสี ทั่วไป ไม่ได้กำเนิดที่เมืองไทย แต่สวนศิลป์สามารถนำเข้ามาเลี้ยงได้
ทิลแลนด์เซียอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้มาก ตั้งแต่ป่าฝนเขตร้อนจนถึงสภาพทะเลทราย และพืชสกุลนี้ยังสามารถอาศัยอยู่ได้เกือบทุกที่
การนำมาปลูกเลี้ยงในเมืองไทย ต้องคัดเลือกชนิดและสายพันธุ์ เพราะบางชนิดอาศัยอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมากเกินไป ก็ไม่สามารถอาศัยอยู่เมืองไทยได้ เช่น กลางวันร้อน กลางคืนเย็น หรืออากาศในฤดูหนาวเย็นมาก เป็นต้น โดยทำการทดลอง ปลูกสับปะรดสี และคัดเลือกชนิดพันธุ์ ที่ค่อนข้างอดทน สามารถทนต่อสภาพอากาศเมืองไทยได้ดี ที่สำคัญต้องตอบโจทย์ตลาด
แต่การเจริญเติบโตและการขยายพันธุ์เป็นไปได้ช้า ทำให้มีราคา ขายสับปะรดสี สูง ผู้บริโภคไม่มีกำลังซื้อมากนัก
“ส่วนใหญ่ทิลแลนด์เซียเลี้ยงง่ายเหมือนกันหมด เพียงแต่ทำจำนวนและปริมาณได้น้อย ต้นแตกหน่อได้น้อย เพียง 3-4 หน่อ/ต้น ผลิตได้น้อย ราคา ขายสับปะรดสี จึงแพง ตามกลไกตลาด” ณัฏฐิกาพูดถึงการผลิตทิลแลนด์เซีย
ชนิดที่คนไทยรู้จักอย่างแพร่หลาย คือ T. ionantha มีหลายวาไรตี้ เลี้ยงง่าย ปีหนึ่งออกดอกได้หลายครั้ง แต่หากนำไปเลี้ยง รดน้ำทุกวัน ต้นจะแตกกอ ไม่มีดอกให้เห็น ฉะนั้นต้องวางในที่มีแสง ให้น้ำไม่ต้องเยอะ 2 อาทิตย์/ครั้ง พันธุ์นี้เลี้ยงง่ายที่สุด เป็นจุดเริ่มต้นที่คนเล่นทิลแลนด์เซียต้องซื้อ
แต่จริงๆ ทิลแลนด์เซียส่วนใหญ่นิยมดูที่รูปทรงต้นมากกว่าที่ดอก อย่าง T. duratii ชนิดนี้นานมากกว่าจะให้ดอก ดอกมีสีม่วง ดอกบานได้นาน และส่งกลิ่นหอม เห็นรูปร่างหงิกๆ เบี้ยวๆ นี่แหละราคา ขายสับปะรดสี สูงทีเดียว
บางครั้งการตั้งราคา ขายสับปะรดสี อาจอยู่ที่จุดเด่นเฉพาะของแต่ละชนิด เพราะทิลแลนด์เซียส่วนใหญ่ดอกไม่หอม แต่มีความสวยงาม ส่วน T. duratii ทั้งดอกสวย และกลิ่นหอม ก็เลยหายาก และทำจำนวนได้น้อย ราคา ขายสับปะรดสี จึงสูง
T. xerographica เป็นพันธุ์ใหญ่ อยู่ได้เป็น 10 ปี เลี้ยงไป 5-7 ปี เพิ่งเห็นดอก แต่ส่วนใหญ่คนเลี้ยงไม่อยากให้ออกดอก เพราะต้นจะโทรมสิ้นสุดความสวยแล้วจากไป จะได้หน่อลูกหลานมาแทน ดังนั้นนักเล่นจะนิยมดูรูปทรงต้น ดูฟอร์ม ดูใบ แค่นี้ก็มีความสุขแล้ว
ส่วนการเลี้ยง ปลูกสับปะรดสี ในกลุ่มทิลแลนด์เซีย เป็นไม้อากาศ จะเลี้ยงแยกโซนกับ ต้นสับปะรดสี สกุลนีโอฯ แต่สามารถอยู่รวมกับพวกสกุลวีร์เซีย และกุซแมเนียได้ เพราะพืชกลุ่มนี้ไม่ชอบแสงแดดรุนแรงมาก จึงพรางแสง 60% เช่นเดียวกับ สับปะรดสี ประเภทดอก
การเลี้ยงให้ฟอร์มสวย จะเป็นสูตรเดียวกับ ต้นสับปะรดสี ทั่วไป คือ ไม่เน้น ปุ๋ยสับปะรดสี มาก ได้รับแสงที่พอเหมาะ เช่น T. xerographica ชอบแสงมาก ต้องนำไปเลี้ยงที่มีแสงแดด เพราะหากเลี้ยงในที่ร่ม แสงน้อย ต้นมักซูบซีด ไม่แข็งแรง สดใส และเน่าได้ง่าย
ความต้องการแสงของทิลแลนด์เซียจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดและลักษณะทั่วไปของต้น เช่น ต้นที่มีใบสีเทาหนา มักจะมีลักษณะทนแล้ง และต้องการแสงแดดจัดได้ ในทางตรงกันข้ามต้นที่มีใบบางกว่าย่อมทนแล้ง และทนต่อแสงแดดได้น้อยกว่า
ถามว่า..ในปีนี้ มีลูกไม้ใหม่ออกสู่ตลาดไหม…??
ถ้าเป็นตัวใหม่ๆ สวนศิลป์เน้น ขายสับปะรดสี สกุลทิลแลนด์เซียมากกว่า เพราะลูกค้าต่างประเทศชอบ อีกทั้งสะดวกในการขนส่ง น้ำหนักเบา ไม่มีวัสดุปลูกใดๆ จึงเป็นที่นิยมในกลุ่มตลาดต่างประเทศอย่างมาก
“ทิลแลนด์เซียซื้อเสร็จบางทีเขาก็เดินหิ้วพกกลับบ้านได้สะดวก ไม่จำเป็นต้องให้เราส่งของตามหลัง แต่สับปะรดต้องขอเอกสารอะไรลำบากกว่า ก็จะส่งออกยากกว่า
“อีกอย่างหากส่งไปประเทศที่อากาศหนาว ถ้าเลี้ยงไม่ถูกแดด สีจะเปลี่ยน ไม่สวย แตกต่างจากทิลแลนด์เซียที่ชอบอากาศเย็น สามารถอาศัยอยู่ในโรงเรือนกระจกได้ หรือตั้งวางไว้ในบ้าน ในห้องครัว ห้องนั่งเล่น ได้ ทำให้โอกาสการใช้งาน หรือการดูแลของ สับปะรดสี ที่เป็นต้นจึงยากกว่า” ณัฏฐิกากล่าว เรื่องการ ขายสับปะรดสี ไว้
ทางด้านการตลาดการ ขายสับปะรดสี
ช่องทางจำหน่ายส่วนใหญ่เน้นขายตรง มีหน้าร้านอยู่ตลาดนัดจตุจักร ในวันอังคาร-พฤหัสฯ และอีกร้านหนึ่งอยู่ตลาดต้นไม้บิ๊กการ์เด้น อ.บางใหญ่ หรือติดต่อทางอีเมล์ ลูกค้านัดล่วงหน้าเข้าชมสวนแล้วมาซื้อ-ขายกัน
“ตลาดย่านบางใหญ่ ขายสับปะรดสี ไม่ค่อยดีเท่าไร เพราะร้านค้ามันเยอะ สมัยก่อนไม่มีบางใหญ่ มีแต่จตุจักร ทำให้ขายดี เพราะไม่มีช้อยให้เลือกเยอะ ตอนนี้ที่มีปัญหา คือ ติดปัญหาเรื่องที่จอดรถหายาก บางทีลูกค้าต้องไปจอดรถถึงเจเจมอล หรือ อตก.จอดรถไกล ต้องอาศัยรถเข็น หรือลูกค้าต้องวนรถมาเอาของ” เจ้าของร้านพูดออกมาอย่างนั้น
“ปีที่แล้วยังทรงตัว คนยังไม่ค่อยจับจ่ายใช้สอย ประหยัดการใช้เงินมากขึ้น คิดมากขึ้น เพราะต้นไม้เป็นของฟุ่มเฟือย ไม่ใช่ปัจจัยสี่ ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติ พี่ว่าตลาดเงียบๆ ทรงตัว ยังอยู่ได้ เพราะบางทีตลาดในไทยไม่ค่อยดี ซบเซาลง แต่เราก็ได้ตลาดต่างประเทศเข้ามาชดเชย ส่วนใหญ่ต้นไม้จะขายดีในช่วงปลายปี นำไปจัดบ้าน แต่งสถานที่รับเทศกาลต่างๆ” ณัฏฐิกาพูดถึงตลาดการ ขายสับปะรดสี ในปีที่ผ่านมา
โครงการในอนาคตจะเปิดร้านสาขาใหม่เพิ่มในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ขายทุกอย่างเกี่ยวกับต้นไม้ และจะสานฝันต่อ กำลังเซ็ตทีมงานจัดสวน เพื่อเพิ่มคุณค่าและความงดงามกับ ต้นสับปะรดสี ให้มากขึ้น
สวนศิลป์ ผลิต- ขายสับปะรดสี ป้อนตลาดจัดสวน
สวนศิลป์ สับปะรดสี ผลิตสินค้าสวย คุณภาพ ราคา ขายสับปะรดสี สมเหตุสมผล ขณะเดียวกันต้องแข่งกับต้นทุนที่สูงขึ้นตลอดเวลา แต่มาวันนี้สวนศิลป์ สับปะรดสี ก็ยังไม่ลดละกับการเพิ่มคุณค่าและความสวยงามให้กับ สับปะรดสี จนกลายเป็นที่ยอมรับ
นี่คือความสำเร็จของสวนศิลป์ แต่เธอบอกว่าเป็นเพียงขั้นเริ่มต้นเท่านั้น
ขอขอบคุณ
คุณณัฏฐิกา กฤดิกุล (โบว์)
สวนศิลป์ สับปะรดสี อยู่ใกล้อ่างเก็บน้ำหนองค้อ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
นัดล่วงหน้าก่อนเข้าสวนโทร.08-1983-1755