เรียนลัดเทคนิคการ เลี้ยงบอนไซ และ การเลือกไม้มาทำบอนไซ (แบบละเอียด)

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การปลูก เลี้ยงบอนไซ

กระถางต้นไม้ P&U 336x280

จากการลงพื้นที่พบปะคนในวงการบอนไซของทีมงาน ทำให้ทราบว่าบอนไซยังคงเป็นไม้อมตะ (Never Dies) และยังได้รับความนิยมจากคนในวงการ ไม่มีวี่แววว่ากระแสจะแผ่วลงเลยสักนิด..!! ในทางกลับกันยิ่งส่งผลให้เกิดเทคนิคการสร้างสรรค์จากคนรุ่นใหม่ ทำให้การสร้างบอนไซมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น

Advertisement-Banner-by-บริษัท-โซตัส-อินเตอร์เนชั่นแนล-จำกัด-www.sotus.co.th
Advertisement-Banner-by-บริษัท-โซตัส-อินเตอร์เนชั่นแนล-จำกัด-www.sotus.co.th

การสร้างบอนไซ สิ่งแรกที่นักเล่นทุกคนต้องเรียนรู้ คือ พื้นฐาน ถือเป็นส่วนสำคัญ เพราะสามารถนำไปประยุกต์ปรับใช้เป็นไกด์ไลน์ (Guideline) ต่อยอดทางความคิดได้

เช่นเดียวกับ คุณอิทธิพล หัชวลัญช์ หรือคนในวงการรู้จักในนาม ปอง สายห้า นักเลี้ยง-นักเล่นบอนไซมือเก่า เจ้าของสวนสิรญา

1.ต้นบอนไซ
1.ต้นบอนไซ

ปอง สายห้า เป็นนักเลี้ยงท่านหนึ่งที่หลงใหลศิลปะทางธรรมชาติของบอนไซอย่างถอนตัวไม่ขึ้น และก้าวเข้าสู่วงการบอนไซมาตั้งแต่เมื่อ 16 ปีที่แล้ว

“พื้นฐานผมชอบต้นไม้อยู่แล้ว เริ่มแรกผม เลี้ยงบอนไซ จากงานอดิเรก เพราะนอกจากจะสวยงามแล้ว ยังช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย เราเอาบอนไซมาตกแต่งสวนในบ้าน ต่อมาไม่นานพอดีกับช่วงนั้นเกิดเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ทำให้ต้องออกจากงานประจำ ผมจึงนำต้นไม้ออกมาขาย เมื่อเห็นว่าบอนไซพอมีลู่ทางไปได้ จึงเข้ามาทำอย่างเต็มตัว โดยศึกษาหาความรู้จากหนังสือ ศึกษาจากผู้มีความรู้ ความชำนาญ เกี่ยวกับบอนไซ และไปเรียนรู้วิชาต่างๆ” คุณอิทธิพลเล่าที่มาของสวนบอนไซสิรญาให้ทีมงานฟัง

2.คุณอิทธิพล-หัชวลัญช์-หรือคนในวงการรู้จักในนาม-ปอง-สายห้า
2.คุณอิทธิพล-หัชวลัญช์-หรือคนในวงการรู้จักในนาม-ปอง-สายห้า
3.เรียนลัดเทคนิคการ เลี้ยงบอนไซ และ การเลือกไม้มาทำบอนไซ (แบบละเอียด)
3.เรียนลัดเทคนิคการ เลี้ยงบอนไซ และ การเลือกไม้มาทำบอนไซ (แบบละเอียด)

ลักษณะเด่นของบอนไซ

ในมุมมองของนักปลูกเลี้ยงท่านนี้ เสน่ห์ของบอนไซ คือ ความสงบ เมื่อได้เห็นและช่วยให้รู้สึกสงบ มีความน่าค้นหา บอนไซแต่ละต้นมีลักษณะเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนกัน ทั้งลีลาต้น และลีลากิ่ง คือ เราต้องเป็นฝ่ายที่ต้องเข้าใจเขา จึงกลายเป็นเสน่ห์ที่น่าท้าทายของบอนไซ และเมื่อเราสร้างบอนไซขึ้นมาสำเร็จสักต้นหนึ่ง เรามีความภาคภูมิใจในสิ่งที่เราทำ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

“บอนไซมีสไตล์การเลี้ยงหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบจีน และแบบญี่ปุ่น ซึ่งแต่ละแบบก็สามารถแยกออกไปได้อีกหลายสำนัก หลากหลายวิธีการทำ เมื่อเราศึกษาในหลายรูปแบบแล้ว ผมก็นำสิ่งที่ชอบในแต่ละอย่างมาผสมผสานเป็นตัวเอง เราชอบวิธีสร้างกิ่งของทางไหน วิธีดูลำต้น การแก้ทรง แก้แบบของอาจารย์ท่านไหน เราก็นำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับตัวเราเอง เป็นลายมือของตัวเอง ต้นไม้เกือบทุกต้น เราสร้างด้วยมือของเราเอง คือ การทำบอนไซมันจะมีลายมือ ทุกอย่างใช้เป็นรูปแบบลายมือของเราเองค่อยๆ ทำขึ้นมา”

4.ไม้แต่ละต้นมีโครงสร้างและอัตลักษณ์เป็นของตนเอง
4.ไม้แต่ละต้นมีโครงสร้างและอัตลักษณ์เป็นของตนเอง

เทคนิคการ เลี้ยงบอนไซ

ด้วยประสบการณ์และสินค้าบอนไซคุณภาพ ทำให้เขาได้รับความไว้วางใจ เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางจากนักเล่นบอนไซทั่วประเทศ เขาพร้อมกับนำเทคนิคการ เลี้ยงบอนไซ พื้นฐานมาบอกเล่ากับผู้ที่สนใจการ เลี้ยงบอนไซ

บอนไซ คือ การมองไม้ให้เป็นศิลปะ ไม้แต่ละต้นมีโครงสร้าง และอัตลักษณ์เป็นของตนเอง ไม้แทบทุกชนิดสามารถนำมาสร้างบอนไซได้ แต่ทางที่ดีควรต้องเป็นไม้ยืนต้น เพราะการสร้างบอนไซใช้ระยะเวลานาน หากใช้ไม้อายุสั้น หรือไม้ล้มลุก อาจต้องเปลี่ยนไม้บ่อย

คุณสมบัติที่สำคัญต้องเป็นไม้ที่มีใบเล็ก ละเอียด ข้อถี่ ไม่ทิ้งกิ่ง เวลาตัดแล้วไม้ต้องกระชับทรง ตัดแล้วข้อไม่ยืด ไม้ที่ข้อถี่กระชับ เช่น ตะโก ไทรจีน โพธิ์ ไทร ไกร มะนาวเทศ โมก หมากเล็กหมากน้อย และพุด เป็นต้น

5.ลักษณะทรงต้นต้องมีโคนใหญ่-ปลายเรียว-และรากแผ่กระจายโดยรอบ
5.ลักษณะทรงต้นต้องมีโคนใหญ่-ปลายเรียว-และรากแผ่กระจายโดยรอบ

การเลือกไม้มาทำบอนไซ

การเลือกไม้มาทำบอนไซ โครงสร้างเป็นสิ่งสำคัญ เช่น ลักษณะทรงต้นที่ดี ต้องมีโคนใหญ่ ปลายเรียว มีรากแผ่กระจายโดยรอบ ถือเป็นปัจจัยหลักอย่างหนึ่งในการสร้างบอนไซได้ดี ขั้นต่อไป คือ การเรียนรู้เรื่อง การปลูกไม้แต่ละชนิดต้องการดินปลูกที่แตกต่างกัน

ดินที่นิยมใช้ปลูก เลี้ยงบอนไซ คือ ดินใบก้ามปู คุณลักษณะของดินใบก้ามปู คือ เนื้อดินโปร่ง ระบายน้ำและอากาศได้ดี ธาตุอาหารสูง ทำให้รากเดินสะดวก เหมาะสำหรับไม้ที่มีรากฝอยจำนวนมาก เช่น โพธิ์ โมก ไทร และเชอร์รี่ เป็นต้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand
6.เชอรี่แคระเกาะหิน-ดอกสะพรั่ง-และชมพูหวาน
6.เชอรี่แคระเกาะหิน-ดอกสะพรั่ง-และชมพูหวาน

การบำรุงดูแลรักษาบอนไซ

คุณอิทธิพลเผยกลเม็ดเคล็ดไม่ลับการดูแล เลี้ยงบอนไซ โดยใช้สูตรดินที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ไม้ ได้แก่ ดินใบก้ามปูหมักด้วย EM ก่อนจะนำมาร่อนละเอียด มักใช้กับไม้บอนไซทั่วไป

-สูตรดินใบก้ามปูผสมคลุกกับขุยมะพร้าวประมาณ 10% ผสมให้เข้ากัน สูตรนี้สวนใช้สำหรับปลูกต้นโมก

-สูตรดินใบก้ามปูผสมทรายหยาบ หรือหินภูเขาไฟ ใช้ปลูกกับไม้บอนไซไทยบางชนิด

ส่วนไม้ต่างประเทศ อย่างพวกสน เขาบอกว่าจะใช้หินภูเขาไฟอย่างเดียว หรือดินอาคาดามะผสมด้วยก็ได้ เพราะสนต้องการระบายน้ำที่ดี แต่ส่วนใหญ่จะใช้เครื่องปลูกตามต้นตำรับที่ได้มา หากจะเปลี่ยนวัสดุปลูก ต้นอาจจะไม่แข็งแรง เพราะสภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลงไปจากแหล่งกำเนิด

7.รูปทรงของต้นไม้จากธรรมชาติ-อย่างต้นนี้เป็นทรงคนคู่
7.รูปทรงของต้นไม้จากธรรมชาติ-อย่างต้นนี้เป็นทรงคนคู่

รูปทรงของต้นไม้ที่นำมาทำบอนไซ

ขั้นต่อไปคือ การเรียนรู้เรื่อง รูปทรง การจำลองรูปทรงของต้นไม้จากธรรมชาติ รูปแบบที่นิยมทำบอนไซ เช่น ทรงต้น ทรงคนคู่ ทรงกลุ่มกอ ทรงไม้ตกกระถาง ทรงเอนชาย และไม้เกาะหิน รูปแบบเหล่านี้ คือ รูปทรงที่มนุษย์เลียนแบบธรรมชาติขึ้นมา

สิ่งสำคัญของการเลือกรูปทรงไม้ให้เหมาะสมกับแต่ละต้น ผู้ปลูกเลี้ยงต้องรู้จักหน้าไม้ก่อน เพราะหน้าไม้จะส่งผลถึงการคัดเลือกกิ่งเพื่อกำหนดรูปทรงไม้ ตำแหน่งที่เหมาะสมในการเลือกเป็นหน้าไม้มากที่สุด ให้ดูจากฐานนั่นคือ ราก  เลือกรากที่หน้าสวยที่สุด มีสันรากขนาดใหญ่ ซ้าย-ขวา ชัดเจน “ขึ้นอยู่กับโครงสร้าง ได้โครงสร้างมาแบบไหน เราจะสร้างตามโครงสร้างที่ได้มา ถ้าเป็นไม้เกาะหินจะใช้เป็นกิ่งตอมา แล้วนำรากมาเกาะบนหิน การเลือกโครงสร้างมีหลายอย่าง ถ้าสร้างจากตอ จะเป็นไม้จากกิ่งตอนและขุดจากป่า ให้เลือกโครงสร้างตั้งแต่ตอนนั้นแล้ว”

โฆษณา
AP Chemical Thailand
8.วางกิ่งกระจายไปรอบต้น-ทำให้เกิดความสมดุลและเป็นเอกภาพ
8.วางกิ่งกระจายไปรอบต้น-ทำให้เกิดความสมดุลและเป็นเอกภาพ

การวางกิ่งบอนไซ

เขาอธิบายเพิ่มเติมพร้อมยกตัวอย่างว่า โครงสร้างทรงต้นจะมีการวางตำแหน่งแบบกิ่ง 1 กิ่ง 2 กิ่ง 3 หมายความว่า ในลักษณะของไม้ทรงต้น กิ่งที่ 1 คือ กิ่งที่อยู่ด้านล่างสุด จะอยู่ซ้ายหรือขวามือก็ได้ กิ่งที่ 2 คือ กิ่งที่อยู่ตรงข้าม และสูงกว่ากิ่งที่ 1 กิ่งที่ 3 บางคนจะเรียกว่า กิ่งหลัง จะอยู่ระหว่างกิ่งที่ 1 กับกิ่งที่ 2 ก็ได้ หรืออยู่เหนือกิ่ง 2 ก็ได้ กิ่งนี้มีความสำคัญ ทำให้ต้นไม้ดูลึก มีมิติ ส่วนกิ่งที่ 4 คือ กิ่งที่อยู่ตรงข้ามกับกิ่งที่ 2 เยื้องมาทางด้านหน้าเล็กน้อย ส่วนกิ่งต่อๆ ไปจะวนไปรอบต้น นี่คือการวางพื้นฐานของไม้ทรงต้น

ส่วนใหญ่นิยมการวางกิ่งในลักษณะเช่นนี้ กิ่งกระจายไปรอบต้น ทำให้เกิดความสมดุลและความเป็นเอกภาพ “โดยทั่วไปจะมีจังหวะการวางกิ่ง จะกี่กิ่งก็ได้ ทุกอย่างดูที่ความเหมาะสม โดยโครงสร้างของแต่ละต้นจะบังคับตัวมันเอง สมมุติว่าเป็นต้นเล็ก เราจะมาวางกิ่งเยอะเกินไปก็จะแออัด ต้องดูที่จังหวะ ความเหมาะสมของโครงสร้างด้วย”

กรณีสร้างบอนไซจากตอจะมีการกำหนดกิ่ง เราสามารถคำนวณความสูงของต้นเต็มวัยได้ว่าต้นนี้จะจบได้ที่ความสูงเท่าไหร่ ในลักษณะของทรงต้น เช่น ขนาดตอใหญ่ 1 นิ้ว ไม้ต้นนั้นจะจบที่ความสูง 6 นิ้ว หรือแบ่งได้ 6 ส่วน โดยกิ่งที่ 1 จึงควรอยู่ที่ 1 ใน 3 ของความสูงของต้น สูงประมาณ 2 นิ้ว กิ่งที่ 2 ให้อยู่ตรงข้ามที่สูง เหนือขึ้นไป กิ่งที่ 3 จะอยู่เยื้องด้านหลัง ลักษณะคล้ายดาวสามแฉก เพื่อให้เกิดความสมดุล ได้สัดส่วนของทรงต้น เป็นต้น

9.ไม้แทบทุกชนิดนำมาสร้างบอนไซได้-แต่ต้องเป็นไม้ยืนต้น
9.ไม้แทบทุกชนิดนำมาสร้างบอนไซได้-แต่ต้องเป็นไม้ยืนต้น

การบริหารจัดการบอนไซ

บอนไซ คือ ศิลปะ การจัดรูปทรงไม้อย่างมีศิลปะ จึงมีองค์ประกอบของศิลปะรวมอยู่ด้วย นั่นคือสัดส่วน สมดุล และเอกภาพ และสัดส่วนหมายความว่า ต้นต้องโคนใหญ่ ปลายเรียว และกิ่งที่ 1 ต้องใหญ่กว่ากิ่งที่ 2 กิ่งด้านบนจะเรียงลำดับเล็กลงไปเรื่อยๆ รวมไปถึงการเลือกกระถาง กระถางควรมีขนาดเล็กกว่าทรงพุ่มเล็กน้อย เพื่อให้ได้สัดส่วนของต้นไม้ ส่วนความหมายของสมดุล คือ ทรงต้นที่ประสานกลมกลืนกัน ความพอเหมาะพอดีของส่วนต่างๆ

เมื่อทั้งหมดมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขององค์ประกอบศิลป์ ทั้งด้านรูปลักษณะ เนื้อหาเรื่องราว  ประสานเป็นส่วนต่างๆ เรียกว่า เอกภาพ “ทุกอย่างจะถูกนำมาใช้ในหลักการนี้ทั้งหมด เมื่อไม้ต้นหนึ่งมีความเป็นเอกภาพ ไม้ต้นนั้นจะมีความสง่างามอยู่ในตัวมันเอง แม้กระทั่งการเลือกกระถาง ถ้าลำต้นกว้าง 1 นิ้ว ให้เลือกกระถางลึก 1 นิ้ว แต่ถ้าต้นเล็กแล้วปลูกลงกระถางก้นลึกจะดูผิดสัดส่วนกัน ทำให้ดูไม่สมดุลกัน” คุณอิทธิพล บอกเล่าถึงความเกี่ยวข้องระหว่างบอนไซและงานศิลปะ

การดัดกิ่งเป็นการบังคับกิ่งให้ไปทิศทางที่ต้องการ และเวลาดัดกิ่งต้องไม่ซ้อนทับกัน หากมีกิ่งไหนทับซ้อนกันเกิดขึ้น กิ่งที่ถูกบังแดดจะทิ้งกิ่ง การทำให้กิ่งกระจายออกไปทุกทิศทางมีผลทำให้แสงแดดส่องถึงได้ในทุกกิ่ง ไม้เกิดความสมดุล การทำกิ่งแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน แต่พื้นฐานง่ายๆ ของกิ่งก็คือ จากกิ่งแขนงเป็นกิ่งย่อย แต่ละกิ่งจะสลับซ้าย-ขวา เหมือนกัน เมื่อต้นแตกใบก็จะได้พุ่ม

โฆษณา
AP Chemical Thailand
10.ด้านที่มีรากสวย-สันรากขนาดใหญ่-เหมาะในการเลือกเป็นหน้าไม้
10.ด้านที่มีรากสวย-สันรากขนาดใหญ่-เหมาะในการเลือกเป็นหน้าไม้

การให้น้ำและปุ๋ยบอนไซ

นอกจากการเรียนรู้เรื่องเครื่องปลูกแล้ว ผู้ปลูกเลี้ยงยังต้องศึกษาวิธีการดูแลบอนไซ ตั้งแต่เรื่องน้ำ แสงแดด การเปลี่ยนดิน และการให้ปุ๋ย

หัวใจสำคัญของการปลูก เลี้ยงบอนไซ คือ น้ำ และแสงแดด เขาบอกว่าบอนไซต้องการน้ำมากกว่าที่เราคิด  บางคนอาจคิดว่าการ เลี้ยงบอนไซ หรือไม้แคระ จะต้องให้น้ำน้อยๆ เป็นความเข้าใจที่ผิด! ในความเป็นจริงบอนไซต้องได้น้ำอย่างเต็มที่ เนื่องจากกระถางมีขนาดเล็ก อาหารมีจำกัด ต้องให้น้ำอย่างเพียงพอสำหรับการเติบโตของต้น และแสงแดด บอนไซต้องเป็นไม้ที่เลี้ยงกลางแดด เพราะบอนไซต้องมีความกระชับ อยู่ทรง ซึ่งต้องเลี้ยงกลางแดด หรืออย่างน้อยครึ่งวัน จะครึ่งเช้าหรือบ่ายก็ได้ และสถานที่ตั้งวางควรมีอากาศถ่ายเทได้ดี

การเปลี่ยนดิน สำหรับบอนไซที่สร้างจบแล้วโดยทั่วๆ ไป เดือนละ 1 ครั้ง หรือ 2 เดือน/ครั้ง การเปลี่ยนดินจะขึ้นอยู่กับขนาดกระถาง และพันธุ์ไม้ด้วย เช่น ขนาดกระถางที่ไม่เกิน 30 ซม. จะเปลี่ยนดินปีละ 1 ครั้ง ส่วนกระถางใหญ่ที่มากกว่า 40 ซม. เป็นต้นไป จะเปลี่ยนดิน 2 ปี/ครั้ง “ถ้าเป็นไม้ที่มีรากเดินเร็ว อย่างไทร กระถางใหญ่ 2 ปี ก็ต้องเปลี่ยนแล้ว หากเป็นไม้รากเดินช้า เช่น ตะโก และพุดป่า ก็อาจจะถึง 3 ปี/ครั้ง”

การให้ปุ๋ย สำหรับไม้ที่สร้างจบแล้ว ช่วงที่เปลี่ยนดินหรือเปลี่ยนกระถางจะให้ปุ๋ยละลายช้า สูตร 3 เดือน รองก้นกระถาง และในแต่ละเดือนจะให้ปุ๋ยทางใบ ก่อนฉีดพ่นทุกครั้งควรอย่าให้ต้นไม้ขาดน้ำ และจะให้ปุ๋ยช่วงเย็น

11.สนญี่ปุ่นเป็นเกลียวกอดรัด-ลำต้นมี-2-สีตัดกันสวยงาม
11.สนญี่ปุ่นเป็นเกลียวกอดรัด-ลำต้นมี-2-สีตัดกันสวยงาม

ความแตกต่างระหว่างบอนไซไม้นอก กับไม้ไทย

ทีมงานได้ซักถาม ปอง สายห้า ว่า ความแตกต่างระหว่างบอนไซไม้นอก กับไม้ไทย? โดยเขาตอบว่า ก่อนอื่นต้องมาแยกว่าเป็นไม้ของประเทศไหน อย่าง ญี่ปุ่น ส่วนมากจะมีสน วิธีการทำของต้นสนจะต่างจากไม้ของไทย บ้านเราจะเรียกว่า ไม้ใบ ส่วนต้นสนมีใบเล็กละเอียด วิธีทำจะต่างกัน วิธีการวางรายละเอียดกิ่งจะต่างกัน เพราะลักษณะใบไม่เหมือนกัน กิ่งเป็นแบบทอดยอดลงมามองในภาพรวมมากกว่า

โครงสร้างก็แตกต่างกันตามสภาพการปลูกเลี้ยงสน หรือโดยธรรมชาติของสนที่เติบโตในถิ่นทุรกันดาร ลำต้นมีการบิดงอ คือ มีความแห้ง และทิ้งกิ่ง ทำให้ต้นมีซากไม้ ส่วนไม้ไทยส่วนใหญ่เป็นมีลักษณะทรงต้นมากกว่า และเนื้อไม้อ่อน จะไม่สามารถทำซากหรือแผลได้ ต้นจะผุ เช่น ไทร และโพธิ์ เนื้อไม้ไม่เหมาะแก่การทำซาก ไม้ที่ทำซากได้ต้องเป็นไม้เนื้อแข็ง เช่น ตะโก และที่นิยมมาก คือ เทียนทะเล

โฆษณา
AP Chemical Thailand
12.มะนาวเทศ
12.มะนาวเทศ

ฝากถึงคนที่จะ เลี้ยงบอนไซ

ในตอนท้ายคุณอิทธิพลแสดงทัศนคติไว้ว่า “คนที่จะ เลี้ยงบอนไซ ต้องมีอิสระทางความคิด จะไม่อยู่ในกรอบของหลักการ หลักเกณฑ์เป็นเหมือนแค่ไกด์ไลน์ชี้นำทาง ให้อิสระกับตัวเอง ไม่ยึดติดกับหลักการใดๆ แบบตายตัว โดยดูจากโครงสร้างทรงต้นเป็นหลักว่าเราต้องสร้างบอนไซไปในทิศทางไหน เราชอบวิธีการไหน ไม่จำเป็นต้องกดดันตัวเองตามทฤษฏีเป๊ะๆ เพราะจะทำให้ไม่มีความสุข และผมจะเล่นต้นไม้ทุกชนิด การไม่จำกัด ทำให้เราเรียนรู้ต้นไม้หลายอย่าง และวิธีการทำได้หลายอย่าง”

ขอขอบคุณ อิทธิพล หัชวลัญช์ (ปอง) สวนสิรญา 69/2 ม.10 ถ.พุทธมณฑลสาย 5 ต.ไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม โทร.08-1933-1376