ในสถานการณ์ “น้ำ” ขาดแคลน ชาวนาต้องชะลอการทำนา ฟากฝั่งคนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต่างเดือดร้อนไม่แพ้กัน แล้วถ้าพอมีน้ำเลี้ยง เช่น ในเขื่อน, อ่างเก็บน้ำ ถ้าจะช่วยเหลือพวกเขาได้ในฐานะผู้ผลิตอาหาร นายทุนใหญ่ ของวงการ ไม่ซ้ำเติมคนเลี้ยงพอจะมีหนทางไหม
โรงงานผลิตอาหารสัตว์ชั้นนำของประเทศ ชื่อบริษัทบ่งบอกอะไรได้บ้าง?
ประสบการณ์ แน่นอนว่าทุกบริษัทต้องสะสมประสบการณ์ไม่น้อยกว่า 20-30 ปี
สูตรอาหาร คำตอบจากปากคนเลี้ยง…สูตรอาหาร แต่ละบริษัทไม่แตกต่างกัน
วัตถุดิบอาหาร คือ หัวใจของคุณภาพอาหารที่ผลิตออกมา
ราคา นี่แหละที่เป็นตัวบ่งชี้คุณภาพหรือเป็นเพราะแบรนด์อัพราคาอาหารในกระสอบ
จากคำบอกเล่าของเกษตรกรบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่า ราคาอาหารขยับขึ้นแล้วไม่มีทางลง ส่วนหนึ่งอาจมาจากสภาพเศรษฐกิจ สถานการณ์โลก ทำให้วัตถุดิบมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
นี่คือผลกระทบที่ผู้ผลิตอาหารสัตว์น้ำและเกษตรกรคนเลี้ยงต้องเผชิญ
ปรึกษาฟรี! เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์ ติดต่อ
บริษัท เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์ จำกัด โรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำน้องใหม่ แต่เก๋าเกมในการผลิตอาหารสัตว์บกมาแล้วกว่า 40 ปี คุณสรพหล นิติกาญจนา กรรมการผู้จัดการ บริษัทในเครือ SPM Groupกล่าวว่า อาหารสัตว์บกจริงๆ แล้วเริ่มจากรุ่นคุณปู่ แต่ก่อนท่านทำฟาร์มหมู ฟาร์มไก่ มาก่อน ท่านเลี้ยงหมูตั้งแต่อายุ 20 กว่าๆ ประมาณ 25 ปีที่แล้ว คุณปู่ได้แตกธุรกิจ ทางคุณพ่อ (คุณ สมชาย นิติกาญจนา ) จึงออกมาตั้งบริษัท เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์ จำกัด ขึ้น ควบคู่กับการทำฟาร์มหมู กระทั่งปี 2549 หลังจากที่คุณ สรพหล สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท บริหารธุรกิจ (MBA) จาก Purdue University สหรัฐอเมริกา ได้เข้ามาปรับปรุงโรงงาน และสังเกตว่าระหว่างต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำมาก ต่ำชนิดที่ว่าฟาร์มอื่นๆ สนใจขอซื้ออาหาร เมื่อมีลูกค้าให้ความสนใจเยอะ ทางบริษัทเลยคิดว่าทำไมไม่ทำออกขายข้างนอก ตอนแรกก็คิดว่าจะสู้คนอื่นได้ไหม เราพยายามทำคุณภาพให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ลูกค้าให้การตอบรับดี เพราะบริษัทมีฟาร์มหมู มีศูนย์วิจัยหมูเอง จึงทำให้บริษัทเติบโตขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง เต็มกำลังการผลิต ในโรงงานที่1 และเริ่มขยายเข้าโรงงาน 2 ลูกค้าตอบรับเข้ามาเรื่อยๆ เกิดการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และพบจุดเปลี่ยนใหม่ว่า…ทำไมไม่ทำอาหารสัตว์น้ำ เนื่องจากมีลูกค้าเรียกร้องให้ทำอาหารสัตว์น้ำและอาหารสัตว์ประเภทอื่นๆเพ่ิมมากขึ้น เมื่อลูกค้าเรียกร้องมาก เกิดปัญหาการลอกเลียนแบบสินค้า ทั้งๆ ที่ 5 ปีที่ผ่านมา บริษัทไม่เคยทำอาหารปลา แต่กลับมีอาหารปลาของ SPM ออกจำหน่ายก่อนที่บริษัทจะผลิตอาหารปลาเสียอีกซึ่งตอนแรกบริษัทมองว่าเกษตรกรใช้อาหารหมูไปเลี้ยงปลา แต่พอสืบไปสืบมาพบว่ามีคน copy สินค้าของบริษัทเพราะอาหารสัตว์ของ SPM ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเหตุเหตุการณ์นี้เกิดเป็นแรงผลักดัน เกิดเป็นความมั่นใจในตัวสินค้า
สายการผลิตอาหารสัตว์บกและอาหารสัตว์น้ำแตกต่างกันอย่างไร ??
สัตว์บกกับสัตว์น้ำจะต่างกัน หลังจากขบวนการผสม คือในขั้นตอนการชั่ง การเตรียม เหมือนกัน เราสามารถทำในสายการผลิตเดียวกันได้ อาหารสัตว์บกเมื่อผ่านกระบวนการผสมสามารถเข้ากระบวนการอัดเม็ดได้เลย แต่สัตว์น้ำนั้นหลังจากผ่านกระบวนการผสมวัตถุดิบหลักแล้ว อาหารจะต้องไปผ่านการโม่ละเอียด (Post grinding )ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการผสมรอบที่ 2 ซึ่งจะทำการผสมวัตถุดิบบางตัวที่ไม่อยากให้ไปปนเปื้อนในอาหารสัตว์บก
เมื่อผสมเสร็จจะนำไปผ่านกระบวนการขึ้นรูปออกมา แล้วไปผ่านกระบวนการอบแห้ง จากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการเคลือบไขมันและลดอุณหภูมิก่อนบรรจุกระสอบงบประมาณที่บริษัทลงทุนเพิ่มเฉพาะในสายการผลิตอาหารสัตว์น้ำกว่า 100 ล้านบาท( ไม่รวมมูลค่าการลงทุนของอาคารและเครื่องจักรหลักที่ใช้ร่วมกับสัตว์บก ) ถือเป็นการลดต้นทุนเพราะมีสายการผลิตสัตว์บกที่สามารถใช้ร่วมกันกับสัตว์น้ำ ถ้าลงลึกจริงๆ เต็มระบบจำนวนเงินจะมากกว่านี้
จุดแข็งในการผลิตอาหารสัตว์น้ำ
ธุรกิจอาหารสัตว์มีบางช่วงที่หดตัว จากความมั่นใจในเรื่องแบรนด์ที่ค่อนข้างแข็ง ลูกค้าเรียกร้องให้ผลิตอาหารเพิ่ม และความตั้งใจที่ต้องการให้ตัวแทนจำหน่ายหรือเอเยนต์เป็นจุดศูนย์รวม เพราะเหตุผลที่ว่าร้านจำหน่ายอาหารสัตว์ส่วนใหญ่ จะมีทั้งอาหารสัตว์บกและสัตว์น้ำ ทางบริษัทมีอาหารสัตว์น้ำ ควบคู่กับอาหารสัตว์บก เอเยนต์จะมีตัวเลือกเพิ่มขึ้น เกิดความหลากหลายมากขึ้น ซึ่งในสถานการณ์ตลาดสามารถไปได้ จุดแข็งของบริษัทที่จะสู้กับตลาดอาหารสัตว์น้ำอื่นๆน่าจะมีอยู่ 3 จุดหลักๆ คือ
- ความความเข้าใจและเข้าถึงวัตถุดิบ คนที่ผ่านอาหารสัตว์บกมาอย่างโชกโชนมีความได้เปรียบ เพราะความชำนาญ ความเข้าใจ ในเรื่องของวัตถุดิบที่มีความหลากหลาย
- ราคาวัตถุดิบ เนื่องจากบริษัทผลิตอาหารสัตว์บก 4-5 หมื่นตัน/เดือน อยู่แล้วจึงสามารถจัดซื้อและจัดเก็บวัตถุดิบปริมาณมหาศาลได้ในราคาที่ต่ำกว่า ประกอบกับวัตถุบางชนิด สามารถนำเข้าจากต่างประเทศได้โดยตรงเนื่องจากใช้ปริมาณมากจึงทำให้ต้นทุนต่ำกว่า
- ต้นทุนการผลิตที่ค่อนข้างต่ำเนื่องจากมีการเฉลี่ยต้นทุนการผลิตจากเครื่องจักรและระบบการผลิตต่างๆกับอาหารสัตว์บกซึ่งมีกำลังการผลิตสูงกว่าสัตว์น้ำเกือบ 10 เท่า ประกอบกับบริษัทมีนโยบายในการตั้งสัดส่วนผลกำไรจาการขายของสัตว์น้ำในระดับเดียวกับอาหารสัตว์บกคือที่ประมาณ 2% เท่านั้น ซึ่งต่ำมากเมื่อเทียบกับอาหารสัตว์น้ำทั่วไปที่จะมีกำไรประมาณ 10% เนื่องจาก บริษัทมีกำไรและยอดขายส่วนหนึ่งจากอาหารสัตว์บกอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องเอากำไรจากสัตว์น้ำมากนัก ก็สามารถอยู่ได้ ทำให้บริษัทมีสัดส่วนต้นทุนเหลือที่จะเอาเข้าไปเพิ่มคุณภาพของวัตถุดิบได้มากกว่าปกตินั่นเองดังนั้นอาหารปลาของบริษัท อาจจะไม่ใช่สินค้าราคาถูกสุดในตลาดเพราะบริษัทได้เอาส่วนต่างด้านต้นทุนการผลิตและผลกำไรที่ได้ไปคืนกลับสู่เกษตรกรด้วยการเพิ่มคุณภาพของวัตถุดิบแทน จึงเห็นได้ว่า ราคา/คุณภาพ ของโมโม่น่าจะดีกว่าสินค้าจากโรงงานอื่นอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้บริษัทยังมีโครงการพัฒนาวัตถุดิบอาหารสัตว์ใหม่ที่นำไปใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอาหารสัตว์ ตัวอย่างเช่น “ข้าวไฮโดรไลซ์”เพราะข้าวเป็นหนึ่งในกลุ่มวัตถุดิบพลังงานที่ใช้ในการผลิตอาหารสัตว์ ซึ่งถ้าเทียบประสิทธิภาพการย่อยแล้ว ข้าวจะดีกว่าข้าวโพด ดีกว่ามันสำปะหลัง ซึ่งบริษัทยอมรับว่าวัตถุดิบข้าวย่อยได้ง่าย แต่สัตว์ก็ยังไม่สามารถย่อยและใช้ประโยชน์จากข้าวได้อย่างเต็มที่เนื่องจาก กระบวนการให้ความร้อนและความดันในระหว่างกระบวนการเอ็กทูชั่นนั้น ไม่สามารถทำให้ความสุกได้หมด 100% เพราะในการผลิตอาหารสัตว์ไม่ใช่มีแค่ข้าวอย่างเดียว มีวัตถุดิบหลายๆ อย่าง เป็นก้อนๆรวมกัน แล้วใช้ความร้อนให้เกิดการบีบตัว ข้าวที่อยู่ตรงกลางความร้อนอาจจะไม่ถึงทุกเม็ด จาก100% จะได้ประมาณ 67% แต่ถ้านำไปผ่านขบวนการ “โฮโดรไลซ์ซีน( hydrolysis)” ทำให้เกิดการแตกตัว ข้าวจะสุก ประมาณ 99.2% จากตัวอย่างนี้มีการทดลองผลปรากฏว่าข้าวธรรมดาที่โม่แล้วเมื่อถูกน้ำเป็นอีกแบบหนึ่ง แต่ถ้าเป็นข้าวไฮโดรไลซ์เมื่อถูกน้ำจะกลายเป็นโจ๊ก แสดงให้เห็นถึงโครงสร้างความสุก 100% ซึ่งความสุกนั้นสำคัญเกี่ยวกับระบบการย่อย ของสัตว์น้ำเป็นอย่างมาก
ติดตามอ่านต่อ ตอนที่ 2
[wpdevart_like_box profile_id=”377357182296025″ connections=”show” width=”300″ height=”220″ header=”big” cover_photo=”show” locale=”th_TH”]