การปลูกผัก แบบผสมผสาน วิธีเปลี่ยนนาข้าวเป็นแปลงผัก ขายทั้งปี

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การปลูกผัก แบบผสามผสาน สามารถสร้างเราได้อย่างต่อเนื่ง นอกจากจะปลอดภัยต้องผู้บริโภคแล้ว ความต้องการของ ผักปลอดสาร ยังมีต่อเนื่องทุกวัน โดยเฉพาะช่วยหน้าหนาวที่ค่อยข้างขาดตลาด วันนี้ทีมงาน พลังเกษตร.com  จะพาท่านผู้อ่านไปดูตัวอย่างเกษตรกรที่หนองจอก กทม. ที่ทำแปลงผัก ผสมผสาน เน้นส่งขายตลาดมีนบุรี ใช้พื้นที่ จำนวน 19 ไร่ ที่เคยปลูกข้าวมาก่อน โดนจะมีเนื้อหาดังนี้

  1. ทำความรู้จัก คุณนารินทร์  กลึงกลางดอน และ คุณธนบดินทร์ แย้มเยื้อน
  2. การปลูกผัก พืชผสมผสานแซมในแปลงผัก
  3. การบริหารจัดการแปลงผัก
  4. การให้น้ำ – ให้ปุ๋ยในแปลงผัก
  5. การป้องกันกำจัดโรค และ แมลงในแปลงผัก
  6. ตลาด และ วิธีขายผัก ผสมผสาน
1.คุณธนบดินทร์-แย้มเยื้อน-เกษตรกรปลูกผักในเขตหนองจอก
1.คุณธนบดินทร์-แย้มเยื้อน-เกษตรกรปลูกผักในเขตหนองจอก

คุณนารินทร์  กลึงกลางดอน และ คุณธนบดินทร์ แย้มเยื้อน เกษตรกร ปลูกผักสวนครัว ในเขตหนองจอก

ปัจจุบันกระแสสุขภาพเริ่มมีบทบาทมากขึ้น เช่นเดียวกับ คุณนารินทร์  กลึงกลางดอน และ คุณธนบดินทร์ แย้มเยื้อน สองสามีภรรยาเกษตรกรในพื้นที่คลอง 9 เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร ที่ยึดอาชีพ ปลูกผักสวนครัว แบบผสมผสาน ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เลี้ยงชีพมานานร่วม 20 ปี ที่เน้น วิธีปลูกผัก ปลอดภัยด้วยชีวภัณฑ์ เก็บผักขายส่งให้กับลูกค้าประจำ และขายในแผงตนเองที่ตลาดมีนบุรี เพื่อตัดวงจรพ่อค้าคนกลาง เพื่อหวังให้ผู้บริโภคได้ทานผักปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง การันตีจากเกษตรกรผู้ปลูกเอง และสามารถตอบคำถามลูกค้าได้ทุกเรื่องเกี่ยวกับกระบวนการผลิตในทุกขั้นตอนที่ปลอดภัย ทั้งผู้ผลิต และผู้บริโภค

2.กระเพราใบใหญ่-เป็นที่ต้องการของตลาดและผู้บริโภค
2.กระเพราใบใหญ่-เป็นที่ต้องการของตลาดและผู้บริโภค
การปลูกกล้วยน้ำว้าบนคันล้อม
การปลูกกล้วยน้ำว้า บนคันล้อม

การปลูกผัก และพืชผสมผสานแซมในแปลงผัก

คุณธนบดินทร์ได้เปิดเผยเส้นทางอาชีพให้ทราบว่า เดิมทีครอบครัวของตนเองและเกษตรกรในพื้นที่เขตหนองจอก ส่วนใหญ่นิยมปลูกข้าวเป็นอาชีพหลักเพื่อสร้างรายได้ ด้วยสภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม แต่ด้วยราคาข้าว ในบางช่วงตกต่ำ จนต้องประสบปัญหาขาดทุน ทำให้คุณแม่ของคุณธนบดินทร์ได้แบ่งที่ดินบางส่วนหันมา ปลูกผักพื้นบ้าน ทั้ง กระเพรา และ โหระพา ส่งขายตลาดในพื้นที่

เพื่อเก็บผลผลิตส่งขายตลาดมีนบุรี เพื่อสร้างรายได้อีกทางหนึ่ง ต่อมาครอบครัวได้นำพื้นที่ทั้งหมดมา ปลูกผัก ทดแทนนาข้าว เพราะมีรายได้ที่มั่นคงกว่า โดยเริ่มต้นจากการปรับพื้นที่ใหม่ให้เหมาะสมกับ วิธีปลูกผัก ที่ต้องมีระบบร่องน้ำเข้ามารองรับการให้น้ำที่ดีตลอดการผลิต

จนกระทั่งมีการส่งต่ออาชีพให้กับลูกหลานมา รวมทั้งคุณธนบดินทร์ด้วย ที่ได้หันมายึดอาชีพ ปลูกผัก เพื่อสร้างรายได้มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคุณธนบดินทร์จะเน้นปลูกผักบ้านจำพวกผักใบ โดยเฉพาะผักใบที่ตลาดมีความต้องการสูง ได้แก่ กะเพรา โหระพา แมงลัก เป็นหลัก

นอกจากนี้จะมี วิธีปลูกผัก จำพวก คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้งจีน ขึ้นอยู่กับช่วงจังหวะ และเทศกาลต่าง ๆ ที่มีความต้องการผักใบ ที่มีราคาผลผลิตค่อนข้างดี  รวมไปถึง วิธีปลูกผัก พืชผสมผสานแซมในพื้นที่ ทั้งกล้วย หน่อไม้ มะนาว พริกขี้หนูสวน เพื่อนำไปขาย และเป็นทางเลือกให้กับลูกค้าได้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ภายใต้การปลูกผักบนเนื้อที่ทั้งหมด 19 ไร่ เน้นใช้คนงานในการดูแลเพียง 2 คน เพื่อช่วยงานทุกอย่างภายในแปลงผัก ทั้ง วิธีปลูกผัก การดูแลรักษา และการเก็บผลผลิต เพื่อส่งขายออกสู่ตลาดทุกวัน

3.การปลูกผักต้นใหม่ในระบบร่องน้ำ
3.การปลูกผักต้นใหม่ในระบบร่องน้ำ

การบริหารจัดการแปลงผัก

การปลูกผัก ในพื้นที่ค่อนข้างง่ายกว่าปัจจุบันนี้มาก ส่วนหนึ่งนั้นอาจจะมาจากพื้นที่เดิมเป็นที่นาเก่า ที่มีสารอินทรียวัตถุและปุ๋ยตกค้างอยู่ในดินเป็นจำนวนมาก ทั้งเศษฟาง ปุ๋ยเคมีต่าง ๆ ที่ใช้บำรุงต้นข้าว ประกอบกับสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย ฝนตกต้องตามฤดูกาล โรคและแมลงก็ยังไม่เยอะเท่าปัจจุบัน ทำให้ผักที่ปลูกไว้โตเร็ว และสมบูรณ์มาก ขายได้ราคาดี เป็นที่ต้องการของตลาด และผู้บริโภค

คุณธนบดินทร์จึงได้ยึด การปลูกผัก ทั้งกระเพรา โหระพา  แมงลัก และ ผักบ้านทั่วไป ส่งขายตลาดเองมาตลอด จนกระทั่งได้มีผู้ส่งออกติดต่อเข้ามาขอรับซื้อผักปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน GAP เพื่อการส่งออก ภายใต้การทำสัญญาซื้อขายกันแบบล่วงหน้าในราคาประกันที่ 25 บาท / กก. ภายใต้กำลังการผลิตที่ 400-500 กก./วัน

ทางสวนต้องมีแผน การปลูกผัก อย่างเป็นระบบ บนเนื้อที่กว่า 19 ไร่ และ ทีมงานมากกว่า 8 คน รวมทั้งเจ้าแปลงผักด้วย เนื่องจากการทำแปลงผักเพื่อการส่งออกจำเป็นต้องมีการจัดการอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ผักสดที่มีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย และได้มาตรฐานทุกล็อต

นำมาซึ่งรายได้ที่ดี  แต่ด้วยปัญหาด้านแรงงานที่ขาดแคลน และไม่เพียงพอต่อการจัดการภายใน แปลงผัก ทำให้ต้องยกเลิกการผลิตผักป้อนให้กับผู้ส่งออกในเวลาต่อมา พร้อมกับได้หันมาทำผักป้อนให้กับลูกค้าประจำที่ต้องส่งผักให้ทุกวัน และเก็บผักเผื่อไว้บางส่วนเพื่อนำไปขายที่ตลาดมีนบุรี ที่ได้มีการเช่าแผงเอาไว้กับทางตลาด แม้ว่าจะมีกำลังการผลิตที่ไม่มากเหมือนกับการผลิตเพื่อการส่งออก แต่ก็ทำให้อาชีพนี้สามารถสร้างรายได้ที่ดีให้กับครอบครัวตลอดมา

4.การให้น้ำแปลงผักทั้งเช้าและเย็น
4.การให้น้ำแปลงผักทั้งเช้าและเย็น

การให้น้ำ – ให้ปุ๋ยในแปลงผัก

ด้วยสภาพอากาศที่แปรเปลี่ยนไป เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว เดี๋ยวฝน การผลิตผักในปัจจุบัน ส่งผลให้การจัดการยากขึ้น  ผลผลิตไม่ออกอย่างสม่ำเสมอ ในบางฤดูกาล ประกอบกับโรคและแมลงเข้าทำลายมากขึ้น ทำให้มีต้นทุนการจัดการที่สูงขึ้น อีกทั้งแรงงานก็หายาก ทำให้ทุกวันนี้การทำผักจึงเน้นทำผักแบบพอเพียงตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงมากกว่าการผลิตในเชิงการค้าอย่างในอดีต โดยเฉพาะการ “ ผลิตผักปลอดภัย ” ทั้ง “กระเพรา โหระพา แมงลัก” ป้อนให้กับตลาด ทุกวันนี้จะเน้นการจัดการแบบ “ ชีวภัณฑ์ 

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โดยจะเริ่มต้นผลิตผัก ตั้งแต่กระบวนการเพาะเบี้ยแบบหว่านจากเมล็ดพันธุ์ที่เก็บรักษาเอาไว้ เพื่อลดต้นทุนด้านเมล็ดพันธุ์ ก่อนจะนำเมล็ดพันธุ์มาเพาะในแปลงเพาะขนาด 1 x 1 เมตร เน้นให้น้ำเช้าและเย็น ควบคู่ไปกับการเตรียมแปลงปลูกเอาไว้ก่อนโดยการไถพลิกหน้าดิน และตากดินทิ้งไว้ก่อน 1 เดือน

เมื่อเบี้ยมีอายุ 1 เดือน หรือมีความสูงประมาณ 1 คืบ ก็จะถอนต้นกล้ามาลงปลูกในแปลงที่เตรียมไว้ได้  เน้นการปลูกในระยะ 30 – 40 เซนติเมตร เพื่อง่ายต่อการจัดการ และเก็บเกี่ยวผลผลิต ที่มีสัดส่วนใน การปลูกโหระพา มากกว่ากระเพรา และแมงลัก ตามลำดับ เนื่องจากทางสวนมีลูกค้าประจำที่ต้องการผักโหระพามากกว่าผักอื่น อีกทั้งการปลูกในแต่ละแปลงจะมีกำหนดปลูกผักให้ห่างกันประมาณ 10 วัน / รอบ เพื่อให้มีผักหมุนเวียนเก็บเกี่ยวผลผลิตป้อนตลาดได้ทุกวัน

5.การป้องกันกำจัดโรคและแมลงในแปลงผัก
5.การป้องกันกำจัดโรคและแมลงในแปลงผัก

การป้องกันกำจัดโรค และ แมลงในแปลงผัก

หลังจากที่ถอนต้นกล้ามาลงปลูกในแปลงแล้วจะมีการดูแลรดน้ำแบบเช้าและเย็นทุกวัน ก่อนจะให้ปุ๋ยคอกจำพวกขี้หมู ขี้ไก่ เพื่อบำรุงต้นผักให้แข็งแรง สมบูรณ์ ก่อนจะใช้ ชีวภัณฑ์ และ น้ำหมักชีวภาพ ฉีดพ่นเพื่อป้องกันโรคและแมลงเข้าทำลายใบผักให้เสียหาย

เมื่อต้นผักมีอายุได้ประมาณ 1 เดือน ก็จะสามารถตัดยอดออกจำหน่ายได้เป็นรุ่นแรก โดยการเลือกตัดกิ่งที่มีความสมบูรณ์ ใบใหญ่ กิ่งใหญ่ เท่านั้น เพื่อให้ได้ผักคุณภาพตรงกับที่ตลาดต้องการ

ซึ่ง การปลูกผัก แต่ละครั้งสามารถตัดเก็บผลผลิตขายได้นานถึง 7 – 8 เดือน หรือขึ้นอยู่กับการบำรุงดูแลรักษา หากบางช่วงที่มีการดูแลรักษาที่ดีจะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นานถึง 1 ปี

ที่สำคัญในช่วงหน้าฝนจะมีโรคและแมลงเข้าทำลายผักมากที่สุด และผักเป็น “โรคใบเหลือง” ค่อนข้างมาก เนื่องจากความชื้น และเชื้อรา ซึ่งช่วงนี้ทางสวนจะไม่เน้นใส่ปุ๋ยเคมี แต่จะใส่ปุ๋ยคอกและสารชีวภาพในการบำรุงแทน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เพื่อป้องกันโรคและแมลงต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัยทั้งเกษตรกรเอง และผู้บริโภคด้วย ในขณะที่การใส่ปุ๋ยเคมีจะเน้นใส่ในช่วงที่ต้นพืชโทรม และชะงักการเจริญเติบโตเท่านั้น ซึ่งผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าผักที่สวนแห่งนี้ปลอดภัยแน่นอน เพราะแปลงผักที่ปลูกขาย และเก็บทานภายในครอบครัวก็คือแปลงเดียวกัน

6.คุณธนบดินทร์และภรรยาคู่ใจกับผักโหระพาคุณภาพเพื่อผู้บริโภค
6.คุณธนบดินทร์และภรรยาคู่ใจกับผักโหระพาคุณภาพเพื่อผู้บริโภค
โหระพาที่พร้อมเก็บขาย
โหระพาที่พร้อมเก็บขาย
ต้นไผ่ตงลืมแล้งเพื่อเก็บหน่อไม้ขาย
ต้นไผ่ตงลืมแล้งเพื่อเก็บหน่อไม้ขาย

ตลาด และ วิธีขายผัก ผสมผสาน

จุดเด่นของที่นี่ก็คือ เน้นการผลิตที่ให้ปลอดภัยทั้งผู้ผลิต และผู้บริโภค  ผักสดใหม่ทุกวัน สะอาด ปลอดภัย ผักสดนานกว่าผักทั่วไป ผักไม่เหี่ยวง่าย ไม่เน่าง่าย ที่ทำให้ลูกค้าที่นี่ติดใจ และมีการซื้อขายกันเป็นลูกค้าประจำตลอดมา เพราะคุณธนบดินทร์จะใส่ใจในทุกขั้นตอนการผลิต

ตั้งแต่ การปลูกผัก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว ที่เน้นเก็บยอดใหญ่สมบูรณ์ คัดผักที่ไม่สมบูรณ์ออกให้ลูกค้า เน้นการขนส่งที่ให้ผักบอบช้ำ และเสียหายน้อยที่สุด ที่สำคัญทางสวนจะเน้นตัดผักขายให้พอดีกับยอดสั่งจองของลูกค้าเป็นหลักประมาณวันละ 160 – 180  กิโลกรัม ในราคาขายส่งที่กิโลกรัมละ 40  บาท ในช่วงหน้าฝน

และราคาในหน้าหนาวจะขยับสูงขึ้นมาที่ 60 – 70 บาท / กิโลกรัม หรือ ขึ้นอยู่กับราคาตามท้องตลาดในแต่ละช่วง ก่อนจะเก็บผักให้เหลือผักไว้เพียง 20 กิโลกรัมต่อวัน เพื่อนำไปขายที่หน้าร้านของตนเองในตลาดมีนบุรีด้วย

นอกจาก ปลูกผักสวนครัว ตามที่กล่าวมาแล้วยังมีบ่อปลา 1 บ่อ หลากหลายสายพันธุ์ มี การปลูกกล้วยน้ำว้า ปลูกไผ่ เพื่อเก็บหน่อไม้ขาย ปลูกพริก และมะนาว แบบผสมผสาน เพื่อสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัว ภายใต้ ปลูกผักสวนครัว ที่เน้นขายเอง ที่ทำให้รู้ถึงความเป็นไปของตลาดและกลไกต่าง ๆ ของตลาดที่เกิดขึ้น

แต่ท้ายที่สุดแล้วการทำผักให้ได้คุณภาพ ทำผักให้สวย และปลอดภัย เท่านั้น คือ คำตอบสุดท้ายที่ตลาดและผู้บริโภคต้องการมากที่สุด อีกทั้งการเป็นเกษตรกรที่ปลูกผักเอง และนำพืชผลผลิตมาขายเอง ทำให้ขายผลผลิตได้ราคาดีกว่าขายส่งที่หน้าสวนทั่วไป นำมาซึ่งอาชีพที่มั่นคงและรายได้ที่ดี อยู่ได้แบบพอเพียง ประหยัด อดออม ขยันหมั่นเพียร เน้นทำผักให้ดี และปลอดภัย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สนใจผักบ้านที่ปลอดภัย และ ผักสดคุณภาพ ติดต่อ

คุณนารินทร์  กลึงกลางดอน และ คุณธนบดินทร์ แย้มเยื้อน

26 หมู่ 3 คลอง 10  เขตหนองจอก กทม.10510

โทร. 061-015-9088

การปลูกผัก วิธีปลูกผัก ผสมผสาน ปลูกผักสวนครัว การปลูกผักสวนครัว พืชผักสวนครัว สวนปลูกผัก การจัดการแปลงผัก การป้องกันกำจัดโร แมลง การปลูกผัก ตลาดผัก ขายผัก