จังหวัดระยองเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกผลไม้มากเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ และยังเป็นแหล่งปลูกยางพาราอันดับต้นๆ ในภาคตะวันออก ด้วยสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม เกษตรกรจึงหันมาทำสวนยางพาราเป็นจำนวนมาก
แต่สำหรับคนที่ไม่มีที่ดินก็ยังยึดอาชีพรับจ้างทั่วไป โดยเฉพาะการรับจ้างกรีดยางพารา และเก็บผลไม้เพื่อนำรายได้มาจุนเจือครอบครัว เฉกเช่นเดียวกับ คุณนิภา นิสสัยซื่อ หรือป้าแป๊ด และครอบครัว ที่ต้องทำงานรับจ้างกรีดยางพาราในช่วงเช้าของทุกวัน เพื่อนำเงินมาใช้จ่ายในครอบครัว แต่ด้วยความไม่หยุดนิ่งที่ต้องการหารายได้เสริม
นอกจากรับจ้างกรีดยาง คุณนิภาจึงรับทำขนมหวานตามงานต่างๆ และยังขายน้ำกะทิส่งแม่ค้าในตลาด อีกทั้งยังได้ทดลอง การเพาะเห็ดนางฟ้า ภูฐานเพื่อเปิดดอกเห็ดเก็บผลผลิตขาย ทำให้มีเงินมาจุนเจือครอบครัวได้หลากหลายช่องทาง โดยเฉพาะ การเพาะเห็ดนางฟ้า ภูฐาน และขาย ก้อนเชื้อเห็ด ที่สามารถสร้างรายได้ทุกวัน เนื่องจากเห็ดสามารถให้เปิดดอกได้ทุกวันนั่นเอง
ผลผลิตจาก ก้อนเชื้อเห็ด
คุณนิภายอมรับว่าเริ่มหันมาจับธุรกิจเห็ดจากคำแนะนำของ ผู้ใหญ่บ้านนายบุญเลิศ แวววับศรี ที่เข้ามาส่งเสริมอาชีพ และสอน การเพาะเห็ดนางฟ้า พร้อมมอบเงินทุนกู้ยืมในการทำธุรกิจให้จำนวน 9,500 บาท เมื่อปี 2555 หรือเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ด้วยเห็นว่าธุรกิจ การเพาะเห็ดนางฟ้า ขายน่าจะไปได้ดี ด้วยกระแสคนรักสุขภาพที่หันมารับประทานผักและผลไม้มากขึ้น ทำให้ราคาผักตามท้องตลาดมีราคาสูงขึ้น
อีกทั้งการเพาะเห็ด การเพาะเห็ดนางฟ้า ขายยังสามารถนำเม็ดเงินเข้ามาจุนเจือครอบครัวได้อีกทาง โดยที่ไม่ต้องออกไปรับจ้างแรงงานเพิ่ม เมื่อคิดได้เช่นนี้ คุณนิภาจึงนำเงินที่ผู้ใหญ่ให้กู้ยืมมาซื้ออุปกรณ์การทำ ก้อนเชื้อเห็ด ทั้งขี้เลื่อย ส่วนผสมต่างๆ ในการทำก้อนเชื้อ หัวเชื้อเห็ด และสร้างโรงเรือนเพาะเห็ด 1 หลัง แต่ด้วยเงินทุนที่มีจำกัด เมื่อซื้ออุปกรณ์การทำก้อนเชื้อ และสร้างโรงเรือน เงินทุนก็ได้หมดลง
คุณนิภาจึงต้องทำการผสมขี้เลื่อยเอง จากนั้นจะบรรจุขี้เลื่อยลงถุงด้วยตัวเอง โดยใช้แรงงานทั้งหมดภายในครัวเรือน ยังไม่มีการจ้าง เนื่องจากยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ซึ่งขณะนั้นครอบครัวสามารถผลิต ก้อนเชื้อเห็ด ได้ประมาณ 100-200 ก้อนต่อวัน เท่านั้น
เก็บดอกเห็ดในครั้งแรกออกขายได้เงินมากกว่า 40,000 บาท
เมื่อคุณนิภาผลิตก้อนเชื้อเห็ดได้ทั้งหมด 1,500 ก้อน จากนั้นจะต้องนำก้อนเชื้อเห็ดทั้งหมดไปจ้าง “อบก้อนเชื้อเห็ด” ในราคาก้อนละ 1 บาท จากนั้นจะนำก้อนเชื้อเห็ดมาเรียงในโรงเรือนเพาะเห็ด รดน้ำทุก 3-4 วัน ก้อนเชื้อเห็ดจะเริ่มออกดอก คุณนิภาสามารถเก็บดอกเห็ดในครั้งแรกออกขายได้เงินมากกว่า 40,000 บาท
จากนั้นจึงนำเงินดังกล่าวไปซื้อ “เครื่องตอกขี้เลื่อย” ราคา 20,000 บาท ครั้นจะรอให้ก้อนเชื้อเห็ดออกดอกรอบที่ 2 กลับไม่เป็นอย่างใจคิด เมื่อเกิดเชื้อราเขียว และราดำ เข้าก้อนเชื้อเห็ด ทำให้เห็ดเสียหายทั้งโรงเรือน ต้องทิ้งทั้งหมด ด้วยเหตุนี้คุณนิภาจึงเริ่มหาข้อมูลว่าจะทำอย่างไรให้ก้อนเชื้อเห็ดไม่เป็นโรคเชื้อราอีก
จนกระทั่งได้รู้จักผลิตภัณฑ์ปุ๋ยน้ำดำ PCของ บริษัท พรชัยเกษตร 1 ชีวภาพ พีซี จำกัด ว่าเป็นผลิตภัณฑ์อินทรีย์ และช่วยรักษาเรื่องโรคเชื้อราได้ จึงตัดสินใจไปหาซื้อผลิตภัณฑ์มาทดลองใช้ ตั้งแต่การผสมขี้เลื่อยจนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิต และได้กู้เงินอีก 80,000 บาท เพื่อมาซื้อเครื่องผสมขี้เลื่อยในราคา 20,000 บาท ที่เหลือนำมาลงทุนผลิตก้อนเชื้อเห็ดใหม่ทั้งหมด
ขั้นตอนการผลิตก้อนเชื้อเห็ด
โดยขั้นตอนในการผลิตก้อนเชื้อเห็ดของคุณนิภาเริ่มต้นจากการนำขี้เลื่อยยางพาราล้วนๆ ซึ่งจะซื้อขี้เลื่อยจากโรงงานไม้ยางพาราเท่านั้น เพื่อไม่ให้มีไม้อื่นมาปน เนื่องจากไม้ยางพารามีอาหารอยู่ในเนื้อไม้ค่อนข้างเยอะ เมื่อนำมาทำก้อนเชื้อเห็ด ดอกเห็ดที่ออกมาจะสมบูรณ์ ดอกใหญ่ นั่นเอง
เมื่อได้ขี้เลื่อยยางพารามาแล้วจะต้องนำมาพักทิ้งไว้ 7 วันขึ้นไป เพื่อให้ขี้เลื่อยคลายความร้อน จากนั้นนำมาร่อนเพื่อเอาเศษหินออก และให้ขี้เลื่อยแตกตัว ไม่จับเป็นก้อน จากนั้นนำขี้เลื่อย 50 กิโลกรัม มาผสมกับรำ 2.5 กิโลกรัม ปูนขาวครึ่งกิโลกรัม ดีเกลือ 1ขีด และปุ๋ยน้ำดำ ฝาสีดำ ฝาสีเขียว และฝาสีชมพู อย่างละ 1 ฝา หรือ 60 ซีซี.
จากนั้นนำส่วนผสมทั้งหมดมาผสมกัน และกรอกบรรจุในถุงให้ได้น้ำหนักประมาณ 8 ขีดต่อ 1 ถุง ซึ่งขี้เลื่อย 100 กิโลกรัม จะสามารถทำก้อนเชื้อเห็ดได้ทั้งหมด 200-240 ก้อน เมื่อได้ก้อนเชื้อเห็ดแล้วจะบรรจุลงในตะแกรงเหล็ก และนำเข้าถังอบ
ซึ่งสามีคุณนิภาได้ทำเครื่องอบก้อนเชื้อเห็ดขึ้นมา โดยดัดแปลงถังอบก้อนเชื้อเห็ดจากการต้มเหล้าของคนสมัยโบราณที่ใช้ไอน้ำในการต้ม โดยทำหม้อต้มน้ำขึ้นมา และต่อท่อเพื่อให้ไอน้ำเดินไปยังถังใส่ก้อนเชื้อเห็ด ในส่วนปลายท่อจะติดตั้งเครื่องวัดอุณหภูมิความร้อน ซึ่งปัจจุบันคุณนิภา มีถังอบก้อนเชื้อเห็ดทั้งหมด 8 ถัง ซึ่ง 1 ถัง จะสามารถบรรจุก้อนเชื้อเห็ดได้ประมาณ 63 ก้อน และในอนาคตจะขยายถังอบเห็ดไปอีก 14 ถัง เพื่อให้เพียงพอการผลิตก้อนเชื้อเห็ด
โดยการอบก้อนเชื้อเห็ดแต่ละครั้งจะอบอุณหภูมิ 100 องศา นาน 8 ชั่วโมง โดยจะนับตั้งแต่การเริ่มติดไฟที่หม้อต้มน้ำ ซึ่งคุณนิภาจะใช้ “ฟืน” ในการต้มน้ำ เนื่องจากในพื้นที่มีไม้ค่อนข้างมาก รวมทั้ง “กะลามะพร้าว” ของเสียชั้นดีจากการขายกะทิของคุณนิภา อีกทั้งยังช่วยประหยัดต้นทุนได้อีกด้วย
เมื่อครบเวลาในการนึ่งก้อนเชื้อเห็ดแล้วจะปล่อยก้อนเชื้อเห็ดทิ้งไว้ในถังอบ 1 วัน เพื่อให้ก้อนเชื้อเห็ดเย็นลง จากนั้นนำก้อนเชื้อเห็ดออกมาใส่ตะกร้า และหยอด “เชื้อเม็ดข้าวฟ่างเห็ดนางฟ้าภูฐาน” เข้าไปในก้อนเชื้อเห็ด ซึ่งหัวเชื้อ 1 ขวด จะสามารถหยอดก้อนเชื้อเห็ดได้ประมาณ 30-40 ก้อน ขึ้นอยู่กับความต้องการของเกษตรกร แต่หากหยอดได้จำนวนก้อนเชื้อเห็ดน้อย คุณภาพของก้อนเชื้อเห็ดก็จะสูง สามารถออกดอกได้ง่ายอีกด้วย
วิธีการเก็บเห็ด
เมื่อหยอดหัวเชื้อเห็ดไปแล้วจะต้องตั้งก้อนเชื้อเห็ดทิ้งไว้ประมาณ 25-30 วัน เพื่อให้เชื้อเห็ดเดินเต็มถุง ก่อนนำไปเรียงในโรงเพาะเห็ด เปิดฝาออก โดยคุณนิภาจะไม่เขี่ยเม็ดข้าวฟ่างปากขวดออก เนื่องจากดอกเห็ดที่ออกมาจะสมบูรณ์มากกว่า และออกเร็วกว่า
การเขี่ยเม็ดข้าวฟ่าง เนื่องจากการสร้างเส้นใยเห็ดต้องใช้ระยะเวลานานหลายวันนั่นเอง จากนั้นรดน้ำทุก 3-4 วัน โดยใช้สปริงเกลอร์ที่ติดอยู่ในโรงเรือน ผ่านไปประมาณ 1 อาทิตย์ ก้อนเชื้อเห็ดก็จะเริ่มออกดอกมาให้เห็น และสามารถเก็บขายได้
ซึ่งวิธีการเก็บเห็ดจะใช้ด้ามช้อนแคะโคนเห็ด และระวังไม่ให้ขี้เลื่อยหล่นในโรงเรือนเด็ดขาด เพราะจะนำมาซึ่งเชื้อราต่างๆ ทำให้ก้อนเชื้อเห็ดเสียหายนั่นเอง อีกทั้งหลังจากที่ได้ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยน้ำดำ PC ฝาสีดำ ฝาสีเขียว และฝาสีชมพู ของบริษัท พรชัยเกษตร 1 ชีวภาพ พีซี จำกัด แล้ว ปรากฏว่า ก้อนเชื้อเห็ดไม่มีเชื้อราเขียว ราดำ ขึ้น
อีกทั้ง ก้อนเชื้อเห็ด ยังให้ดอกได้หลายรุ่น หลายเดือน สูงสุดนานถึง 5-6 เดือน อีกทั้งลักษณะดอกเห็ดที่ออกมายังสมบูรณ์ ดอกใหญ่ อวบอิ่ม ปลายดอกไม่แตกง่าย เมื่อนำมาปรุงอาหารแล้วรสชาติหวาน กรอบ อีกทั้งยังปลอดภัยต่อผู้บริโภค และตัวของเกษตรกรเอง เนื่องจากการผลิตเห็ดไม่มีการใช้ปุ๋ย-ยา หรือฮอร์โมน ในการเร่งดอกเห็ดเลย
รายได้จากการเก็บดอกเห็ด
ในปัจจุบันคุณนิภาจะเก็บดอกเห็ดทุกวัน วันละ 2 รอบ คือ เช้า และเย็น จากนั้นนำส่งขายในตลาด โดยมีราคาส่งอยู่ที่กิโลกรัมละ 60 บาท ส่วนเห็ดที่เหลือจะนำใส่ถุงและขายเอง โดยคุณนิภาจะเช่าแผงขายอยู่ในตลาดในราคาเดือนละ 300 บาท และขายเห็ดในราคากิโลกรัมละ 100 บาท สร้างรายได้ที่ดี
คุณนิภากล่าวว่า “ การเพาะเห็ดนางฟ้า ขายมันสร้างรายได้ให้เราได้ทุกวัน อีกทั้งยังเป็นงานที่ไม่เหนื่อย ไม่ต้องไปรับจ้างที่ไหนไกลเพิ่ม ตอนเช้ามืดก็รับจ้างกรีดยาง กลับมาก็เก็บเห็ดรอบแรก เอาไปขาย ตกเย็นมาก็เก็บอีกรอบ มันทำให้เรามีรายได้ทุกวัน ถึงจะไม่มากมายก็ตาม อีกทั้งตอนนี้ยังได้แปรรูปเห็ดเป็นเห็ดกรอบ 3 รส ซึ่งได้รับการตอบรับจากลูกค้าค่อนข้างดี เพราะสามารถเก็บไว้ทานได้นาน”
การวางแผน การเพาะเห็ดนางฟ้า และทำฟาร์มเห็ด
นอกจากคุณนิภามีแผนจะทำฟาร์มเห็ดในบ้านของตนเอง และเข้าโครงการ 9101 ของรัฐบาล รวมกลุ่มกับเกษตรกรในพื้นที่ด้วย โดยพี่นิภาเป็นที่ปรึกษาโครงการ ในฐานะเกษตรกรที่มีความรู้และประสบการณ์ใน การเพาะเห็ดนางฟ้า มาก่อน ซึ่งขณะนี้ ก้อนเชื้อเห็ด ของโครงการกำลังออกดอกให้เก็บเกี่ยวผลผลิต สร้างรายได้เข้ากลุ่มได้เป็นอย่างดี
สนใจสั่งซื้อก้อนเชื้อเห็ดอินทรีย์คุณภาพ ติดต่อ คุณนิภา นิสสัยซื่อ (ป้าแป๊ด) คุณประทุม นิสสัยซื่อ (ลุงหนู)
116/6 หมู่ 11 ต.ทุ่งควายกิน อ.แกลง จ.ระยอง โทร : 085-435-7932 (ลุงหนู-ป้าแป๊ด)