ด้วยการที่อยากจะหาเทคนิคลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และผลกำไรสูงขึ้น ในสวนมะลิของ ชินกรณ์ จิ๋วเจนบุญ เกษตรกรผู้ปลูกมะลิแห่งนครชัยศรี จ.นครปฐม ผู้กล้าเปลี่ยน กล้าเริ่ม กล้าทำ นำเทคนิคใหม่ๆ มาใช้เพิ่มผลผลิตต้นมะลิ
เขาเล่าจุดเริ่มต้นการปลูกมะลิว่า เป็นคนนครชัยศรีโดยกำเนิด แต่ก่อนมีอาชีพทำสวนผลไม้ ต่อมาไม่นานพ่อแม่แยกทางกันจึงเลิกทำ แล้วผันตัวเองไปทำอาชีพขายดอกไม้ที่ปากคลองตลาด จากนั้นเมื่อเริ่มมีเงินทุนจึงขยับขยายออกมาปลูกมะลิขายเอง เนื่องจากที่บ้านเกิดของภรรยาเคยทำอาชีพปลูกมะลิมาก่อน จึงมีประสบการณ์ทางด้านนี้เป็นอย่างดี
ชินกรณ์เล่าต่อว่า “มะลิในสวนอายุ 10 ปีแล้ว กำลังจะขุดรื้อออก เพราะใบมีอาการเหลืองซีด ขาดธาตุอาหาร ผมบอกกับครอบครัวว่าอยากทดลองระบบชีวภาพก่อน พวก น้ําหมักชีวภาพ จุลินทรีย์ต่างๆ หมักเอง ทำเอง เช่น น้ําหมักผลไม้ มีแนวคิดอยากทำเกษตรอินทรีย์ตามรอยในหลวง เนื่องจากบริเวณใกล้เคียงสวนอยู่ติดกับชุมชนด้วย หากใช้สารเคมีจะเป็นพิษ ทั้งต่อตนเอง และคนรอบข้าง”
การทำปุ๋ย น้ําหมักชีวภาพ จาก สูตร น้ําหมักปลา และ สูตร น้ําหมักผลไม้
สูตรการทำปุ๋ย น้ําหมักปลา น้ําหมักชีวภาพ จากปลา ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของราก บำรุงต้นให้โตเร็ว
- ส่วนผสม : ปลาสด เช่น หัวปลา และเครื่องในปลา 40 กก. กากน้ำตาล 10 กก. และหัวเชื้อจุลินทรีย์ พด.3
- ขั้นตอนการทำ : ให้นำชิ้นส่วนของปลามาสับเป็นชิ้นเล็กๆ ยิ่งเล็กยิ่งใช้เวลาย่อยเร็วขึ้น ใส่ถังพลาสติก จากนั้นใส่กากน้ำตาล แล้วตามด้วยน้ำผสมหัวเชื้อจุลินทรีย์ ใส่น้ำพอท่วม ผสมให้เข้ากัน ปิดฝาทิ้งไว้ให้สนิท ทิ้งไว้ 30-45 วัน สามารถนำมาใช้ได้ ใช้ฉีดพ่นทางใบ หรือราดโคนต้น อัตราปุ๋ยอินทรีย์น้ำ 20 ซีซี. ต่อน้ำ 1 ลิตร
สูตรการทำปุ๋ย น้ําหมักผลไม้ น้ําหมักชีวภาพ จากผลไม้ ช่วยส่งเสริมการออกดอกดีขึ้น
- ส่วนผสม : มะละกอสุก+กล้วยน้ำว้า+ฟักทอง อย่างละ 2-3 กก. กากน้ำตาล 1 กก. และสารเร่ง พด.3
- ขั้นตอนการทำ : หั่นผลไม้เป็นลูกเต๋าเล็กๆ ใส่ถังพลาสติก ใส่กากน้ำตาล แล้วตามด้วยน้ำ ผสมสารเร่ง พด.3 ใส่พอท่วม ผสมให้เข้ากัน ปิดฝาให้สนิท ทิ้งไว้ 15-30 วัน สามารถนำมาใช้ได้ ใช้ฉีดพ่น หรือราดโคนต้น อัตราปุ๋ยอินทรีย์น้ำ 20 ซีซี. ต่อน้ำ 1 ลิตร น้ําหมักผลไม้ น้ําหมักผลไม้ น้ําหมักผลไม้ น้ําหมักผลไม้ น้ําหมักผลไม้
สายพันธุ์มะลิ และการปลูกมะลิ
สายพันธุ์มะลิที่เลือกปลูก คือ มะลิพันธุ์เพชรบุรี ลักษณะเด่น คือ ดอกดก ช่อใหญ่ ดอกจะออกเป็นรุ่น ค่อยๆ บานทีละดอก ทำให้มีดอกเก็บทุกวัน ไม่ต้องตัดแต่งกิ่งบ่อย
การปลูก ควรปลูกให้มะลิได้รับแสงแดดเต็มที่ เพื่อดอกจะได้ดกตามต้องการ นิยมปลูกช่วงต้นฤดูฝน การเตรียมดิน ใช้รถพรวนดินให้ละเอียด และปรับหน้าดินให้เรียบ ควรยกร่องปลูก หรือทำร่องให้มีการระบายน้ำดี เมื่อฝนตกลงมา รากต้นมะลิจะได้ไม่แฉะ จึงนำมะลิลงปลูก ระยะห่างระหว่างแถว 1.50 เมตร และระยะปลูกระหว่างต้น 50 ซม. หากต้องการให้เป็นทรงพุ่ม แถวยาว จะนิยมทิ้งระยะห่างเล็กน้อย
การดูแลรักษาต้นมะลิ
การให้น้ำ มะลิเป็นพืชที่ต้องการน้ำพอสมควร หากดินแฉะอยู่ไม่ควรรดน้ำ ควรรอจนดินแห้งหมาดๆ เสียก่อน โดยสวนใช้ระบบสปริงเกลอร์ ส่วนการให้ปุ๋ย น้ําหมักชีวภาพ ต่างๆ เจ้าของสวนบอกว่าจะไม่เดินฉีดพ่น แต่จะนำ น้ําหมักชีวภาพ ผสมน้ำตามอัตราส่วนต่างๆ ต่อไร่ และปล่อยไปกับน้ำตามระบบสปริงเกลอร์ หรือปล่อยน้ำไปตามร่องพื้น
การให้ปุ๋ย สวนแห่งนี้จะใช้ทั้งสารเคมี 20% และสารชีวภาพ 80% เนื่องจากเขาต้องการผลิตพืชปลอดภัยด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และตนเอง โดยใช้ปุ๋ย น้ําหมักชีวภาพ ในการกำจัดศัตรูพืช และฮอร์โมน
การป้องกันกำจัดโรคและแมลง
อีกส่วนหนึ่งที่เป็นปัญหาหลักเลย คือ ปัญหาศัตรูพืช ทั้งโรคและแมลง โดยเฉพาะตัวฮวบ ร้ายยิ่งกว่าหนอนหลายเท่า กำจัดยาก สร้างความเสียหายในพื้นที่เป็นวงกว้าง
โดยมีลักษณะการเข้าทำลายแบบเดียวกับในดอกกล้วยไม้ คือ ตัวหนอนจะกัดกินกลีบดอกด้านใน ทำให้กลีบดอกเกิดอาการผิดปกติ ทำให้ดอกตูมชะงักการเจริญเติบโต และมีอาการเน่าเหลือง ฉ่ำน้ำ และหลุดร่วงในที่สุด
ช่วงแรกเขากำจัดด้วยวิธีตัดแต่งกิ่งที่มีการระบาดนั้นออกไป แล้วฉีดพ่นด้วยสารฆ่าแมลง และต้องใช้สารเคมีชนิดใหม่มาสลับเปลี่ยนอยู่ตลอด ถ้าฉีดซ้ำ 2 ครั้ง จะเกิดการดื้อยา และไม่ตาย
“ผมจึงนำชีวภาพเข้ามาทดลองใช้ สามารถแก้ปัญหาได้ดี แมลงลดน้อยลง เช่น หนอนเจาะดอก เป็นต้น ส่วนตัวฮวบกำจัดได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์แล้ว”
สูตรน้ำหมักสมุนไพร น้ําหมักไล่แมลง ไว้ใช้เอง
น้ำหมักสมุนไพร น้ําหมักไล่แมลง ประกอบด้วยสมุนไพรที่มีกลิ่นฉุน รสขมจัด แสบตา เช่น สะเดา บอระเพ็ด ตะไคร้หอม หางไหล และอื่นๆ เช่น
- สูตรพริกแกง ใส่ 1 ขีด ผสมน้ำ 20 ลิตร กรองเอาน้ำด้วยผ้าบางๆ ก่อนใช้ให้ผสมสารจับใบ เช่น น้ำยาล้างจาน หรือแชมพูไป 1 หยด แล้วนำไปฉีดทุกๆ 7 วัน ช่วยไล่พวกมด เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ หนอนผีเสื้อ
- สูตรตะไคร้หอม ขิง ข่า และใบมะกรูด ทำวิธีเดียวกับสูตรพริก ช่วยไล่พวกหนอนต่างๆ
- สูตรกระเทียม และขมิ้น ใช้อย่างละ 2 ขีด โขลกหรือบดให้ละเอียด ใส่กากน้ำตาล 40 ซีซี. ผสมน้ำ 1 ลิตร ผสมให้เข้ากัน ปิดฝาให้สนิท ทิ้งไว้ 30 วัน สามารถนำมาใช้ได้ อัตราปุ๋ยอินทรีย์น้ำ 20 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร
การใช้ น้ําหมักชีวภาพ +ปุ๋ยอินทรีย์ ลดต้นทุนและเพิ่มกำไรสูงสุดถึง 400,000 บาท
โดยเขาใช้ น้ําหมักชีวภาพ สูตรต่างๆ เช่น น้ําหมักผลไม้ เหล่านี้ ควบคู่กับปุ๋ยอินทรีย์ สามารถผลผลิตเพิ่ม และกำไรก็เพิ่ม ลงทุนต่ำ ตราโวก้า ของ บริษัท เกษตรนำโชค จำกัด
ทำให้ประหยัดต้นทุนเรื่องปุ๋ยลงได้มาก เพราะปุ๋ยอินทรีย์โวก้าช่วยปรับสภาพดิน ทำให้ดินร่วนซุย ไม่แน่น ไม่เหนียว ไม่แข็ง เนื่องจากมีแอคทีฟซิลิคอน มีคุณสมบัติพิเศษแก้ปัญหาดินเปรี้ยว-ดินเค็ม ให้ดินร่วนซุย ใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีได้ ป้องกันเชื้อรา ต้นพืชแข็งแรง ผลผลิตสูง ลดการใช้ยาฆ่าแมลง ช่วยปลดปล่อยธาตุอาหารในดินให้กับพืช สามารถนำไปใช้ได้ทันที น้ําหมักไล่แมลง น้ําหมักไล่แมลง น้ําหมักไล่แมลง น้ําหมักไล่แมลง น้ําหมักไล่แมลง น้ําหมักไล่แมลง
ที่สำคัญลดการใช้ปุ๋ยมากถึง 80% สามารถลดต้นทุนปุ๋ยลงได้อย่างดี
ปกติจะใส่ปุ๋ยเคมีไร่ละ 1 กระสอบ คิดเฉลี่ยไร่ละ 1,000 บาท/ครั้ง แต่หลังจากเปลี่ยนมาใช้สินค้าตัวนี้ 1 ไร่ ลดเหลือเพียงครึ่งกระสอบ หรือ 25 กก. และสามารถใส่เยอะได้ ดินและต้นไม่โทรม เขาใส่ทุก 15 วัน/ครั้ง ต้นมะลิกินปุ๋ยได้นานขึ้น 3-6 เดือน ทําปุ๋ยใช้เอง ทําปุ๋ยใช้เอง ทําปุ๋ยใช้เอง ทําปุ๋ยใช้เอง ทําปุ๋ยใช้เอง ทําปุ๋ยใช้เอง
“เมื่อเทียบกับการใช้ปุ๋ยเคมี เมื่อใช้เยอะต้นจะโทรมเร็ว 5-6 ปี ต้องรื้อทิ้งปลูกใหม่แล้ว แต่ตรงนี้ผมเปลี่ยนมาใช้โวก้าได้เพียงเดือนครึ่ง อายุต้นประมาณ 12 ปี ต้นมะลิจากโทรมเริ่มฟื้นตัวมาแตกกิ่ง และออกดอก ดีขึ้น สามารถเพิ่มผลผลิตขึ้นมาได้ เคยทำกำไรสูงสุดถึง 400,000 บาท/รอบ ช่วงมะลิมีราคาสูง ทําปุ๋ยใช้เอง ทําปุ๋ยใช้เอง
“แต่ถึงมะลิจะราคาถูก ก็ยังพอมีกำไรอยู่ หรือหากมะลิราคาสูง เราก็ได้กำไรเพิ่มขึ้น”
การใช้สารชีวภาพในการปรับสภาพฟื้นฟูดิน
ล่าสุดเขากำลังเริ่มปลูกใหม่บนพื้นที่ 2 งาน แต่ก่อนเขาบอกว่าที่ดินตรงนี้เป็นดินดาน มีทั้งดินเค็ม และดินเปรี้ยว ระยะแรกนำดาวเรืองมาปลูกก่อน ปรากฏว่าต้นตายทั้งหมด ปัจจุบันจึงทดลองปลูกมะลิ โดยใช้สารชีวภาพในการปรับสภาพฟื้นฟูดิน ทั้งมูลวัว และมูลหมู จนกระทั่งมาเห็นผลกับปุ๋ยอินทรีย์โวก้าตัวนี้
“ใช้แล้วต้นเริ่มมีการเปลี่ยนสี สมบูรณ์ขึ้น และปกติต้นมะลิจะมีการเรียงตัวของใบแบบสลับ แต่เมื่อใช้ปุ๋ยโวก้าแล้วปรากฏว่าใบแตกออกเป็นคู่ กระตุ้นการแทงดอกมากขึ้น ดอกจะออกตามข้อใบของทุกข้อ และช่วงอากาศร้อนต้นจะไม่เหี่ยวเฉาด้วย ทรงพุ่มขยายใหญ่ขึ้น ต้นสมบูรณ์แข็งแรง พวกหนอนที่มาวางไข่มีน้อยลง”
“แต่ถ้าหากเป็นสารเคมีทั่วไป ช่วงอากาศร้อนๆ พืชจะปิดปากใบ ไม่สามารถปรุงอาหารได้ เพราะอากาศร้อนจัด ผลตามมา คือ พืชกินอาหารไม่พอ ผลผลิตได้น้อย ทำให้ต้องให้น้ำเพิ่ม ให้ปุ๋ยเพิ่ม แต่เมื่อมาใช้สารชีวภาพตัวนี้ พืชสามารถดูดซึมธาตุอาหารได้ตลอด เพราะเป็นเหมือนธาตุเย็น”
ข้อดีของการตัดแต่งกิ่งต้นมะลิ
การตัดแต่งกิ่ง จะต้องรู้ระดับการตัดแต่งทรงพุ่ม และแต่ละฤดูกาลจะตัดแต่งแตกต่างกัน จากประสบการณ์ของเขาหน้าร้อนสามารถตัดแต่งให้ต้นสั้นเตี้ยลงได้ เพราะมะลิชอบอากาศร้อน จะแตกกิ่งเร็ว ถ้าเป็นฤดูหนาวไม่ควรตัดแต่งมากเกินไป เพราะถ้าไม่มีใบ ต้นจะแตกยอดช้า การตัดแต่งก็ขึ้นอยู่กับเทคนิควิธีการของแต่ละบุคคลด้วย
ข้อดีการตัดแต่ง คือ ลดแหล่งสะสมโรคและแมลง ตัดแต่งเพื่อให้ต้นออกทรงพุ่มใหม่ ออกดอกได้ดีขึ้น เนื่องจากกิ่งแก่ๆ มักไม่ค่อยให้ดอก หรือมีดอกน้อยลง จึงจำเป็นต้องตัดทำสาวใหม่
รายได้จากผลผลิตมะลิ
ขณะที่ชินกรณ์กำลังเตรียมขยายพื้นที่เพิ่มอีก 6 ไร่ จึงยังเป็นกำลังในการสร้างรายได้ให้ครอบครัวโดยไม่มีผลกระทบต่อราคามะลิตามกลไกตลาดมากนัก เพราะ “ความกล้า” ที่จะเสาะหาเทคนิคใหม่ๆ ในการลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิตมะลิในสวน โดยแทบไม่ต้องลงทุนเพิ่ม เพียงแต่ทำสวนมะลิพื้นที่เดิมให้สมบูรณ์ มีผลผลิตสูงขึ้นเท่านั้น
ขอขอบคุณ คุณชินกรณ์ จิ๋วเจนบุญ 36/2 ม.4 ต.บางพระ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม โทรศัพท์ 06-2592-7951