กรมวิชาการเกษตรจับมือกรมส่งเสริมสหกรณ์ สร้างเกษตรกรเครือข่ายผลิตเมล็ด พันธุ์ข้าว และปลูกถั่ว ต่างๆ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การทำนาเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว

อธิบดีกรมวิชาการเกษตรเผยสิ่งสำคัญที่สุดในการพัฒนาการเกษตร คือ เกษตรกรทำการเกษตรให้ประสบความสำเร็จ ต้องไม่ทำการเกษตรแบบประเพณี ต้องกล้าคิดต่าง กล้าเปลี่ยนแปลง ใช้ความรู้ทางวิชาการมากกว่าความคุ้นเคย ย้ำ กรมฯ ขอเป็นส่วนหนึ่งกับเกษตรกรร่วมฝ่าวิกฤตภัยแล้งไปให้ได้

นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า การพัฒนาการเกษตรในประเทศไทย สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ เกษตรกร ที่ผ่านมากรมวิชาการเกษตรได้ศึกษา ค้นคว้า วิจัยพันธุ์พืช รวมทั้งเครื่องจักรกลการเกษตรออกมาเพื่อรองรับความต้องการของเกษตรกร

พันธุ์พืชบางพันธุ์ใช้เวลาในการวิจัยกว่า 15 ปี กว่าจะได้พันธุ์ที่ดี มีความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ เช่น ให้ผลผลิตสูง มีความต้านทานต่อโรคและแมลง ทนต่อสภาพดิน ฟ้า อากาศ ฯลฯ เพื่อให้เกษตรกรนำพันธุ์พืชเหล่านั้นไปปลูก หากไม่มีเกษตรกรนำผลงานวิจัยของ กรมวิชาการเกษตรไปใช้ ผลงานวิจัยที่เกิดขึ้นจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ

1.แปลงนาเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว
1.แปลงนาเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว
2.แปลงนาเมล็ดพันธุ์ข้าวไรซ์เบอร์รี่
2.แปลงนาเมล็ด พันธุ์ข้าว ไรซ์เบอร์รี่
เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพ
เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพ

สาย พันธุ์ข้าว

นอกจากนี้การทำอาชีพด้านการเกษตรไม่ใช่ทำการเกษตรแบบประเพณี หมายความว่า เมื่อ 30 ปีที่แล้วทำอย่างไร ปัจจุบันยังทำแบบเดิม อนาคตประชากรโลกจะเพิ่มเป็น 7-8 พันล้านคน ทุกคนต้องบริโภค นั่นหมายถึง การพัฒนาด้านการเกษตรต้องมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น เพื่อรองรับกับการบริโภคของประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งต้องปรับเปลี่ยนงานวิจัยเพื่อรองรับกับสภาพภูมิอากาศที่มีความเปลี่ยนแปลงด้วย

3.แปลงถั่วเหลืองเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์
3.แปลงถั่วเหลืองเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์
เมล็ดถั่วเขียวคุณภาพ
เมล็ดถั่วเขียวคุณภาพ

การปลูกถั่วเขียว ถั่วเหลือง และถั่วลิสง

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวต่อไปว่า จากสภาพภูมิอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงทำให้
ประเทศไทยประสบกับปัญหาภัยแล้งรุนแรงขึ้น ที่ผ่านมากรมวิชาการเกษตรได้ให้ข้อมูลทางวิชาการกับ
พี่น้องเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ภัยแล้งในฤดูกาลที่จะถึงนี้

ทั้งการให้ความรู้กับเกษตรกรในรูปของการจัดกิจกรรม อบรม เอกสารวิชาการ รวมทั้งลงพื้นที่เพื่อพบปะกับพี่น้องเกษตรกรโดยตรง เพื่อรับทราบปัญหาที่แท้จริง และหาทางออกให้กับเกษตรกร โดยกรมวิชาการเกษตรให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อเมล็ดพันธุ์พืชที่พี่น้องเกษตรกรจะนำไปปลูกในช่วงฤดูแล้งนี้ เช่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วลิสง เป็นต้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เนื่องจากเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อยในการเจริญเติบโตจนถึงอายุการเก็บเกี่ยว โดยถั่วเขียวใช้น้ำ 320-400 ลบ.ม/ไร่ ถั่วเหลือง 480-560 ลบ.ม./ไร่ และถั่วลิสง 610 ลบ.ม/ไร่ เมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกข้าวที่พี่น้องเกษตรกรมีความคุ้นเคย ซึ่งใช้น้ำในปริมาณมาก ในการทำนาปรังจะใช้น้ำถึง 1,920 ลบ.ม/ไร่ และพืชทั้ง 3 ชนิดดังกล่าวก็มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น 65- 100 วัน เท่านั้น ทำให้ความเสี่ยงจากการขาดแคลนน้ำก่อนเก็บเกี่ยวในภาวะวิกฤตเช่นนี้จึงมีไม่มาก

ทั้งนี้จะเกิดความเสี่ยง ถ้าหากพี่น้องเกษตรกรจะปลูกข้าวในช่วงฤดูแล้งนี้ ข้าวอาจจะตายเพราะขาดน้ำ ผลผลิตไม่ได้ตามที่คาดหวังไว้ นอกจากนี้การปลูกถั่วชนิดต่าง ๆ ยังสามารถตรึงธาตุอาหารจากอากาศเข้าไปในดิน ทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ในดิน ถึงแม้ว่าการเปลี่ยนจากการปลูกข้าวมาเป็นปลูกถั่วจะสร้างรายได้ไม่มากนัก แต่ในทางกลับกันถ้าพี่น้องเกษตรกรปลูกข้าวในช่วงฤดูแล้งนี้อาจจะเก็บเกี่ยวผลผลิตไม่ได้เลย

4.จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพ
4.จำหน่ายเมล็ด พันธุ์ข้าว คุณภาพ

การจำหน่ายเมล็ด พันธุ์ข้าว คุณภาพ

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวย้ำว่า สำหรับความร่วมมือระหว่างกรมวิชาการเกษตรกับ
กรมส่งเสริมสหกรณ์ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง และถั่วเขียว คุณภาพดี ให้สหกรณ์เป็นผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ในลักษณะเครือข่ายเมล็ดพันธุ์ดี

โดยการอบรมให้ความรู้กับสมาชิกสหกรณ์ในเรื่องการผลิตเมล็ดพันธุ์ให้ได้คุณภาพตามมาตรฐาน และสหกรณ์เป็นผู้รับซื้อเมล็ดพันธุ์คืน และจำหน่ายเป็นเมล็ดพันธุ์คุณภาพต่อไป เป็นการช่วยเหลือสมาชิกสหกรณ์ในด้านเงินลงทุน ปัจจัยการผลิต และที่สำคัญจะช่วยสมาชิกในด้านการตลาด ดูแลสมาชิกซึ่งเป็นเกษตรกร ในภาพรวมเป็นการบูรณาการร่วมมือกันพัฒนาและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ที่สำคัญที่สุดจะเป็นการลดต้นทุนการผลิตให้กับพี่น้องเกษตรกร สนองนโยบายของ พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ได้ให้ไว้

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวสรุปว่า การทำการเกษตรในปัจจุบันต้องกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง ต้องคิดให้รอบคอบ ไม่ทำการเกษตรแบบประเพณี ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพดิน ฟ้า อากาศ กล้าคิดต่าง
โดยใช้ความรู้ทางวิชาการมากกว่าใช้ความคุ้นเคย จึงจะทำให้อาชีพเกษตรกรรมและเกษตรกรอยู่รอด และ
กรมวิชาการเกษตรขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะเดินร่วมไปกับพี่น้องเกษตรกรเพื่อให้ฝ่าวิกฤตภัยแล้งครั้งนี้ไปให้ได้

ขอขอบคุณข้อมูล กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ กรมวิชาการเกษตร โทรศัพท์ 0 2561 2825

โฆษณา
AP Chemical Thailand