การทำ เกษตรสวนผสม เล็บครุฑ เผือกหอม
คุณวินัย แก้วคำ เกษตรกรผู้ผลิตเล็บครุฑตัดใบ เล่าว่า “แต่ก่อนเป็นชาวสวนปลูกผักชนิดต่างๆ เช่น ผักบุ้งและคะน้า ต่อมาหันมาปลูกเตย แต่รายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย จึงหาหนทางอื่น จนมาพบ เล็บครุฑผักชี โดยมีลูกสาวขายดอกไม้ที่ปากคลองตลาด แนะนำว่าลองปลูกเล็บครุฑ และพุดตัดใบ มีแววอนาคตไกล ปลูกเลี้ยงง่าย งานสบาย ดูแลไม่ยุ่งยาก และสามารถทำสวนคนเดียวได้ทั้งหมด ไม่ต้องจ้างแรงงาน” ลุงวินัยเล่าจุดเริ่มต้นปลูกเล็บครุฑ
โดยมีแนวคิดทำเกษตรแบบผสมผสานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดมากกว่ากำไร จนได้รับรางวัลที่หนึ่งของกรุงเทพมหานคร พื้นที่ปลูก 7 ไร่ แบ่งพื้นที่สวนเป็น 15 ร่อง แต่ละร่องปลูกพืช 4 ชนิดผสมผสาน ได้แก่ กล้วยหอม ช่วยให้ร่มเงา, เล็บครุฑ, มะละกอฮอลแลนด์ และริมร่องติดชายน้ำปลูก เผือกหอม ปลูกไล่ระดับให้เกิดเป็นความสมดุลอย่างลงตัว และยังช่วยให้ดูแลสวนง่ายขึ้น รายได้หลักมาจากไม้ประดับตัดใบอย่างเล็บครุฑ
การใช้ เชื้อราไตรโคเดอร์มา
เชื้อราไตรโคเดอร์มา คือ เชื้อราชนิดหนึ่งที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากอินทรียวัตถุเป็นอาหารโดยไม่มีอันตรายกับพืช คน สัตว์ และแมลง มีคุณสมบัติในการควบคุมและทำลายเชื้อราสาเหตุโรคพืชทางดิน จึงทำให้พืชมีระบบรากสมบูรณ์ แข็งแรง หาอาหารเก่ง ให้ผลผลิตสูง และคุณภาพดี
วิธีการผลิต เชื้อราไตรโคเดอร์มา ชนิดสด
วิธีการผลิต เชื้อราไตรโคเดอร์มา ชนิดสด คือ หุงข้าวให้สุก แล้วตักข้าวใส่ถุงพลาสติกขนาด 8×12 นิ้ว ครึ่งถุง เกลี่ยข้าวให้แบนราบ และรอให้ข้าวอุ่น ทดสอบโดยการวางถุงข้าวบนมือว่าสามารถทนร้อนได้นาน 1 นาทีหรือไม่ จากนั้นเทหรือเหยาะหัวเชื้อลงบนข้าวในถุง และมัดปากถุงให้แน่น
ต่อมาให้บีบขยำคลุกเคล้าให้เชื้อกระจายให้ทั่วเมล็ดข้าว แล้วใช้เข็มสะอาดแทงรอบๆ บริเวณปากถุงที่รัดยางไว้ 15-20 รู/ถุง กดข้าวในถุงให้แผ่กระจายทั่วถุงในลักษณะแบนราบมากที่สุด เมื่อบ่มครบ 2 วัน ให้นำถุงมาขยำคลุกเคล้าอีกครั้งหนึ่ง ช่วยให้เส้นใยกระจายตัวเร็วขึ้น บ่มเชื้อต่ออีก 5 วัน จะเห็นเส้นใยสีเขียวปกคลุมเมล็ดข้าว นำไปใช้ทันที หรือเก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา สามารถเก็บเชื้อไว้ได้เป็นเวลาไม่เกิน 15 วัน
การนำไปใช้ ผสมน้ำฉีดพ่น ใช้ เชื้อราไตรโคเดอร์มา (เชื้อสด) 1 กก. ต่อน้ำ 100 ลิตร โดยกวนล้างสปอร์ในน้ำ 20 ลิตรก่อน จากนั้นกรองเอาเฉพาะน้ำสีเขียวเทลงถังฉีดพ่น และเติมน้ำจนครบ 100 ลิตร ใช้ฉีดพ่นในแปลงกล้า โคนต้นพืช และฉีดพ่นทางใบ เชื้อราไตรโคเดอร์มา เชื้อราไตรโคเดอร์มา เชื้อราไตรโคเดอร์มา เชื้อราไตรโคเดอร์มา
แสง เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของ เล็บครุฑผักชี หากได้รับปริมาณแสงที่มากเกินไป ใบจะเปลี่ยนสีไปจากเดิม และหากได้รับแสงน้อยกว่าปกติ จะมีการตอบสนองโดยการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางสัณฐานวิทยา เช่น การยืดยาวเข้าหาแสง การขยายขนาดใบ เป็นต้น ซึ่งหากมีการจัดการที่เหมาะสมย่อมจะทำให้ต้นมีการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นได้ นับเป็นเรื่องดี เชื้อราไตรโคเดอร์มา เชื้อราไตรโคเดอร์มา เชื้อราไตรโคเดอร์มา เชื้อราไตรโคเดอร์มา
การปลูกไม้ตัดใบ
ไม้ใบประดับเป็นพืชอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความสำคัญ ถือเป็นอาชีพแขนงหนึ่งของวงการไม้ดอกไม้ประดับ มีปริมาณและมูลค่าการส่งออกเพิ่มมากขึ้น ใช้พื้นที่ปลูกเลี้ยงน้อย ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตสูง เนื่องจากมีลักษณะภูมิประเทศ และภูมิอากาศ ที่เหมาะสม
ประเทศไทยในอดีตมีการใช้ไม้ตัดใบไม่มากนัก แต่ปัจจุบันมีการใช้งานมากขึ้น เนื่องจากมีการพัฒนารูปแบบการจัดแจกัน จัดตกแต่งสถานที่ โดยนำใบไม้ กิ่งไม้ มาเป็นส่วนประกอบของการตกแต่งมากขึ้น ทำให้ตลาดมีความต้องการไม้ตัดใบจำนวนมาก เกษตรกรจึงหันมาปลูกไม้ตัดใบกันอย่างแพร่หลาย
ลักษณะของ เล็บครุฑผักชี
เล็บครุฑผักชี (Polyscias fruticosa (L.) Harm.) เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 2 เมตร ต้นเป็นข้อ ลำต้นส่วนนอกมีสีเขียวอ่อนแกมน้ำตาล เมื่อแก่เต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน แตกกิ่งก้านตามส่วนข้อของลำต้น ก้านใบส่วนมากที่ติดกับลำต้นมีลักษณะเป็นกาบ
โดย 1 ก้านใบหลักประกอบด้วย 3 ก้านใบย่อย แต่ละก้านใบย่อยแบ่งออกเป็น 3 ใบเล็ก ก้านใบย่อยออกตรงข้าม แต่ใบย่อยออกกระจายไม่เป็นระเบียบ ปลายใบย่อยแยกออกเป็น 3 แฉก ขอบใบหยักละเอียด มีหนามเล็กๆ สีน้ำตาล
การปลูกเล็บครุฑผักชี
การลงทุนเริ่มแรกลุงวินัยจะลงทุนแต่น้อย แล้วขยายขึ้นเรื่อยๆ ลงทุน 1 ร่อง มีต้นทุน 4-5 พันบาท กิ่งพันธุ์สามารถหาซื้อได้ตามตลาดทั่วไป แหล่งผลิตไม้ตัดใบส่วนใหญ่อยู่ในภาคกลาง บริเวณรอบๆ กรุงเทพฯ ได้แก่ จังหวัดสมุทรปราการ, นนทบุรี, ปทุมธานี, นครปฐม, ราชบุรี, ชลบุรี และในภาคเหนือบริเวณที่สูง เช่น จังหวัดเชียงใหม่ และเชียงราย เป็นต้น
การขยายพันธุ์ เล็บครุฑผักชี
การขยายพันธุ์ หลังจากได้กิ่งพันธุ์มาแล้วจะนำมาเพาะขยายพันธุ์ด้วยวิธีปักชำ โดยตัดลำต้นเป็นท่อนๆ ยาวประมาณ 1 คืบ ใน 1 กิ่ง จะได้ 3-4 ท่อน ใช้ได้ทั้งกิ่งอ่อนและแก่ แล้วนำไปปักปลูกได้เลย ลงทุนครั้งเดียวเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ถึง 10 ปี
ควรปลูกก่อนฤดูฝน หรือช่วงฤดูฝน จะดีมาก มีอัตราการรอดสูง ต้นสมบูรณ์ มีผลผลิตออกมาก เล็บครุฑสามารถปลูกได้ในดินทุกชนิด แต่พื้นที่ปลูกควรเป็นพื้นที่ดอนไม่มีน้ำขัง เพราะเล็บครุฑเป็นพืชที่ไม่ชอบแฉะ หรือมีน้ำขัง แต่ชอบดินชื้น
การเตรียมดินก่อนปลูก
พื้นร่องสวนที่นี่เป็นดินนาค่อนข้างเหนียว ก่อนปลูกต้องเตรียมดิน โดยไถพรวนดินให้ร่วนซุย เช่นเดียวกันกับการปลูกพืชผัก ตากหน้าดินทิ้งไว้ประมาณ 10 วัน จะช่วยป้องกันกำจัดโรค-แมลง และศัตรูพืช ที่ฝังตัวอยู่ในดิน จากนั้นยกร่องเป็นแปลงปลูกกว้าง 3 เมตร ส่วนความยาวแปลงตามขนาดความยาวของพื้นที่ ระหว่างแปลงปลูกจัดเป็นร่องน้ำ หรือทางเดินกว้าง 50 เซนติเมตร สำหรับระยะปลูก หรือปักชำ ที่เหมาะสม ด้านละ 15×15 เซนติเมตร
หลังจากทำการเตรียมดิน ยกร่องแปลงเรียบร้อยแล้ว ก่อนปลูก 1 วัน เจ้าของสวนแนะนำว่าควรรดน้ำให้ทั่วแปลง ดินเปียกชุ่ม เพื่อง่ายต่อการปลูก หรือปักชำ ปลูกเลี้ยงภายใต้ตาข่ายพรางแสง 60% ทำให้ต้นมีจำนวนใบมากขึ้น พื้นที่ใบน้อยลง ข้อปล้องใหญ่ขึ้น ต้นโตเต็มที่ ใช้ระยะเวลา 6 เดือน สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตจำหน่ายได้
การดูแลรักษาเล็บครุฑผักชี
ให้น้ำ ลุงวินัยเล่าว่า มีการดูแลง่าย หากไม่มีฝนตก ให้รดน้ำด้วยระบบสปริงเกลอร์วันละ 1 ครั้ง ช่วงเช้าดีที่สุด
ใส่ปุ๋ย ครั้งแรกเมื่อมีอายุได้ 2 เดือน ต้นแข็งแรง มีราก ควรใส่ปุ๋ยบำรุงต้นสูตร 16-16-16 อัตรา 10 กิโลกรัม/ร่อง 40 วา หว่านให้ทั่วแปลง และจะมาใส่ปุ๋ยครั้งที่สอง เมื่อต้นมีอายุ 4 เดือน สูตรเดียวกัน เมื่อครบอายุ 6 เดือน สามารถเก็บขายได้
“แต่สวนของลุงจะใช้วิธีชีวภาพร่วมด้วย เป็นน้ำหมักหน่อกล้วย ช่วยให้ใบเขียว เงามันวาว ถ้าใบเป็นสีเหลืองขายไม่ได้ราคา และยังช่วยให้ต้นเจริญเติบโตดี สมบูรณ์งอกงาม วิธีใช้น้ำหมัก 2-3 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร”
การป้องกันกำจัดโรค-แมลง และศัตรูพืช
ศัตรูพืช ลุงวินัยบอกว่า “มีน้อยมาก แทบจะไม่ได้ฉีดพ่นยาอะไรเลย ถ้าหากมีแมลงระบาดจะไม่ใช้สารเคมีแต่จะป้องกันด้วยวิธีชีวภาพ เช่น ยาฉุน ใบพลู ตะไคร้หอม นำมาหมักรวมกันใช้ไล่แมลง เป็นต้น
“สวนลุงวินัยใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ป้องกันและควบคุมโรคเชื้อรา โรคใบจุด และโรคเน่า ในช่วงฤดูฝน”
การเก็บเกี่ยวผลผลิตเล็บครุฑผักชี
ให้สังเกตความสูงของต้น และขนาดของกิ่ง เป็นหลัก ขนาดมาตรฐานประมาณ 100 เซนติเมตรขึ้นไป
การจัดการของสวน คือ มีแปลงปลูกเล็บครุฑ 7 ร่อง จะทยอยตัดกิ่งต้น เล็บครุฑผักชี ขายทุกวันตามออเดอร์ลูกค้า หากตัดร่องแปลงแรกหมดแล้วจะใส่ปุ๋ย 1 ครั้ง ในการตัดควรจะเหลือต้นตอประมาณ 20 เซนติเมตร เพื่อให้ต้นแตกยอดใหม่ได้ง่าย และเร็วขึ้น การตัดครั้งต่อไปรออีก 45 วัน ให้ต้นโตเต็มที่ จากนั้นไปตัดร่องที่สองต่อเวียนเป็นวัฎจักรไปเรื่อยๆ เมื่อครบร่องที่เจ็ด ต้นร่องที่หนึ่งต้นเต็มที่พอดีสามารถมาตัดต่อได้อีก
การตลาด เล็บครุฑผักชี
สวนลุงวินัยมีทั้งขายส่ง และขายปลีก ลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้าประจำ ทั้งจากตลาดสดย่านภาษีเจริญปากคลองตลาด ร้านจัดดอกไม้ และโรงแรม ส่วนลูกค้าขาจรจะมีมากในช่วงเทศกาล เช่น งานบวช งานแต่งงาน เป็นต้น โดยจะขายเป็นกำๆ ละ 10 บาท ราคานิ่งทั้งปี ใน 1 กำ มี 5-6 กิ่ง ขึ้นอยู่กับขนาดของกิ่งว่าใหญ่ หรือเล็ก
นอกจากนี้ยังมีลูกค้าที่รวบรวมผลผลิตขายต่างประเทศด้วย เช่น ประเทศกัมพูชา และเมียนมา เป็นต้น “ที่สวนมีขายกิ่งพันธุ์ด้วย ขายกิ่งละ 1 บาท เท่านั้น เราขายไม่แพง ไม่เอากำไรเยอะ ล่าสุดขายได้ 3,000 กิ่ง”
รูปแบบการใช้ประโยชน์ เล็บครุฑผักชี
เล็บครุฑผักชี นิยมใช้ประโยชน์ในการวางประดับอาคาร และจัดตกแต่งสถานที่ เนื่องจากเป็นไม้พุ่มขนาดเล็กแตกกิ่งก้านสาขาได้ดี ใบแน่น เป็นทรงพุ่มหนาทึบ และค่อนข้างมีความคงทนต่อการใช้งานมากกว่าเล็บครุฑพันธุ์อื่นๆ นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มว่าจะมีการใช้เป็นไม้ตัดใบเพื่อประดับแจกันร่วมกับการจัดดอกไม้ในพิธีต่างๆ เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากก้านมีลักษณะไม่ช้ำง่าย ใบเป็นช่อ แผ่นใบมีความมันวาว ขอบใบหยัก ละเอียด สวยงาม หากนำมาปักแจกันที่มีน้ำหล่อเลี้ยงตลอดเวลาจะมีอายุการใช้งานยาวนาน 2-4 สัปดาห์
ใบเล็บครุฑนอกจากจะใช้ประกอบการจัดดอกไม้แล้วยังสามารถนำมาทำอาหารกินได้ เช่น ชุบแป้งทอด หรือใช้ยอดใบที่ไม่อ่อน และไม่แก่ จนเกินไป รองห่อหมกร่วมกับผักชนิดอื่น เล็บครุฑจะให้กลิ่นและรสชาติที่เป็นกลิ่นเฉพาะตัว
คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นเล็บครุฑไว้ประจำบ้านจะช่วยคุ้มครองและป้องกันภัย เพราะคำว่า ครุฑ หรือ คุตติ หมายถึง การคุ้มครองรักษาให้เกิดความสงบสุข ปลอดภัย ด้วยลักษณะของใบคล้ายเล็บของพญาครุฑ มีความเชื่อว่าจะช่วยป้องกันภัยอันตราย
การเปิดศูนย์การเรียนรู้การจัดการศัตรูพืช
สวนลุงวินัยยังเปิดเป็นศูนย์การเรียนรู้การจัดการศัตรูพืชชุมชนแขวงคลองขวาง ของสำนักงานเกษตรเขตทวีวัฒนาอีกด้วย เชื้อราไตรโคเดอร์มา เชื้อราไตรโคเดอร์มา เชื้อราไตรโคเดอร์มา
หากสนใจสั่งซื้อเล็บครุฑตัดใบ กิ่งพันธุ์ หรือต้องการปลูกเล็บครุฑเพื่อการค้า ก่อนตัดสินใจปลูกสามารถเข้าศึกษาดูงาน ขอคำปรึกษาเรื่องการปลูกเลี้ยง ตลาดรองรับผลผลิต สามารถแวะเวียนมาเยี่ยมชมสวน หรือติดต่อสอบถามได้ตามเบอร์ด้านล่าง
ขอขอบคุณ คุณวินัย แก้วคำ 52 ถ.บางแวก ซ.บางแวก 83 แขวงคลองขวาง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ 10160 โทรศัพท์ 08-9760-8838