การเลี้ยงโคเนื้อ
ปัจจุบันตลาดผู้บริโภคเนื้อโค หรือเนื้อวัว มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และไม่มีทีท่าว่าจะลดลง สวนทางกับปริมาณเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อที่มีจำนวนจำกัด หรืออาจจะลดน้อยลงไปด้วยซ้ำ ในเมื่อความต้องการมาก แต่สินค้ามีไม่เพียงพอต่อความต้องการ ย่อมเป็นโอกาสสำหรับผู้ที่มีความพร้อมมากที่สุด ที่จะเดินหน้าทำตลาดขยายลูกพันธุ์ และเลี้ยงเป็นโคขุนส่งจำหน่ายเอง
สำหรับประเทศไทยแม้มีการส่งเสริมเลี้ยงโคเนื้อมาเป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษ แต่ช่วงแรกๆ การพัฒนาการเลี้ยงค่อนข้างจำกัด และเป็นการเลี้ยงคุณภาพต่ำ เพราะระบบเลี้ยงแบบปล่อยทุ่ง ทำให้โคที่เลี้ยงมีปัญหาด้านสุขภาพ คุณภาพเนื้อไม่มีมาตรฐาน เนื้อโคชำแหละที่ได้จะจำหน่ายออกสู่ตลาดล่าง ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงได้ผลตอบแทนต่ำ และจำนวนไม่น้อยต้องเลิกกิจการไป
อย่างไรก็ตามสำหรับเกษตรกรมือใหม่ หรือผู้ที่สนใจ จะก้าวมาสู่อาชีพผู้เลี้ยงโคเนื้อ ต้องรู้จักชนิดพันธุ์ของโคเนื้อเสียก่อน โดยต้องศึกษาแต่ละสายพันธุ์ ข้อดี-ข้อเสียของแต่ละสายพันธุ์ ยกตัวอย่างเช่น แม่โคพันธุ์ที่ตนเลือกเลี้ยงให้ผลผลิตออกมาเป็นที่น่าพอใจ ตามที่ตนต้องการ และง่ายต่อการคัดเลือกเพื่อประกวดเป็นอันดับต่อไป ดังนั้นการเลือกพันธุ์ของโคจึงขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้เลี้ยงว่าต้องการเลี้ยงเพื่อจุดประสงค์ใด จึงกำหนดเลือกพันธุ์ได้อย่างเหมาะสม
พลิกชีวิต นายช่าง สู่.. คนเลี้ยงวัว
“นิตยสารสัตว์บก” ได้บุกตะลุยมาถึง “โคสง่าฟาร์ม” อยู่ที่จังหวัดชัยภูมิ เพราะที่ฟาร์มแห่งนี้ขึ้นชื่อว่าเป็นฟาร์มปรับปรุงพัฒนาสายพันธุ์โคเนื้อลูกผสมสายพันธุ์ “บราห์มัน” ที่ได้มาตรฐานอันดับต้นๆ โดยเจ้าของฟาร์มเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อรุ่นใหม่ที่สืบทอดเจตนารมณ์ และอาชีพของคนรุ่นพ่อ นั่นคือ คุณสันชัย ภู่บัว (คุณหนุ่ม) อายุ 31 ปี ซึ่งจบการศึกษาปริญญาตรีด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ไม่มีความรู้และประสบการณ์ด้านปศุสัตว์มาก่อน แต่ด้วยความสำนึกรักอาชีพเกษตรกรที่สมัยรุ่นพ่อแม่ทำกันมา และอาชีพนี้ก็สามารถเลี้ยงตนเองและพี่น้องจนจบการศึกษาระดับ ป.โท-ป.ตรี ได้ จึงพลิกชีวิตจากมนุษย์เงินเดือนมาเป็น “เด็กเลี้ยงวัว” ที่ไม่ธรรมดา!?
ที่บอกว่าไม่ธรรมดา เพราะคุณสันชัย หรือ “คุณหนุ่ม” ได้พัฒนาสายพันธุ์โคเนื้อลูกผสมสายพันธุ์ “บราห์มัน” ไปถึงระดับที่มีตลาดรองรับตลอด จนมีกลุ่มลูกค้าที่เข้ามาจับจองโคเนื้อที่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์แล้วจาก “โคสง่าฟาร์ม” ชนิดที่ว่าหัวกะไดไม่เคยแห้ง
การประกวดโคเนื้อ วัวงาม
ปัจจุบัน “โคสง่าฟาร์ม” ได้รับการยอมรับและเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางจากการส่งโคเนื้อ วัวงาม เข้าประกวดแข่งขันชิงชัยในโครงการ และนิทรรศการประกวดโค-กระบือตามสถานที่ต่างๆ การันตีส่งประกวด 7 ครั้ง เป็นแชมป์ และแกรนแชมป์ โคลูกผสม วัวบรามัน 7 ครั้งรวด!!
นอกจากนี้คุณหนุ่มยังได้รับถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยชนะเลิศการประกวดโคเนื้อ เมื่อปี พ.ศ.2554 ที่งานเกษตรแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และเมื่อปี พ.ศ.2556 ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น นับเป็นสิริมงคล และเป็นเกียรติแด่วงศ์ตระกูลของคุณสันชัย ภู่บัว หรือคุณหนุ่มสูงสุดในชีวิต
วัวลูกผสม จะขายได้ราคาไม่ต่ำกว่า 80,000 บาท
สำหรับการเลี้ยงวัว หรือโคเนื้อ โดยทั่วไประยะเวลาการขายวัว คือ 8 เดือน หลังจากคลอด แต่สำหรับ “โคสง่าฟาร์ม” ถ้าเป็นวัวลูกผสม จะขายได้ราคาไม่ต่ำกว่า 80,000 บาท ไปจนถึงราคาหลักแสน โดยมาตรฐานน้ำหนักของวัว 8 เดือน จะอยู่ที่ประมาณ 300 กิโลกรัม
ในส่วน “น้ำเชื้อ” คุณหนุ่มสั่งนำเข้ามาจากต่างประเทศ และบางส่วนที่สั่งจากซัพพลายเออร์รายใหญ่ในประเทศ โดยมีราคาตั้งแต่หลอดละ 500 บาท ไปจนถึงราคาหลอดละ 5,000 บาท โดยคุณหนุ่มจ้างหมอปศุสัตว์ให้มาช่วยในเรื่องขั้นตอนการผสมเทียม
การผสมเทียมโค
สำหรับขั้นตอนการผสมเทียม และการปรับปรุงพันธุ์ คุณหนุ่มกล่าวว่าจะใช้วิธีการผสมเทียมก่อนทุกตัว ยกเว้นตัวที่ผ่านการผสมเทียมมาแล้วหลายรอบแล้วไม่ติดจึงทำการผสมจริง เพื่อไม่ให้เป็นการเสียโอกาส และเสียเวลา ที่ควรจะได้ลูกวัวของปีนั้นๆ ในส่วนการผสมเทียม คุณหนุ่มจะทำการผสมเทียมวัวอายุได้ 24 เดือน เป็นหลัก หรือถ้าวัวตัวไหนมีความสมบูรณ์พันธุ์ อาจจะเป็นสัดก่อนอายุ 24 เดือน ก็เป็นได้ ซึ่งถ้าเป็นสัดครั้งแรก และครั้งที่สอง จะยังไม่ผสม เพราะเป็นขั้นตอนการสังเกตการณ์ เพื่อศึกษาการจับสัดให้แน่นอน และแม่นยำเสียก่อน จึงจะทำการผสมในรอบที่สาม วัวงาม วัวงาม วัวงาม วัวงาม วัวงาม วัวงาม วัวงาม วัวงาม
สำหรับข้อดีของการผสมจริง คือ แม่วัวตัวที่ผสมเทียมยาก ผู้เลี้ยงสามารถนำพ่อวัวมาผสมได้เลย และติดแน่นอน ถ้าแม่วัวตัวนั้นเคยมีลูกมาแล้ว แต่ข้อเสีย คือ ผู้เลี้ยงไม่สามารถใช้น้ำเชื้อพ่อพันธุ์ที่จะมาบรีดตามแนวทางที่ได้วางแผนเอาไว้ ในส่วนการผสมเทียม ข้อดี คือ ผู้เลี้ยงสามารถเลือกพ่อพันธุ์ได้หลายๆ ตัว ขึ้นอยู่กับแนวทางการบรีดวัวของผู้เลี้ยง วัวงาม วัวงาม วัวงาม วัวงาม วัวงาม วัวงาม วัวงาม วัวงาม วัวงาม วัวงาม วัวงาม วัวงาม วัวงาม วัวงาม
การบริหารจัดการโคเนื้อ
สำหรับพื้นที่การเลี้ยงโคเนื้อของคุณหนุ่มมีพื้นที่ประมาณ 30 ไร่ แบ่งเป็นโรงเลี้ยงโคพื้นที่ 1 ไร่ 2 งาน การออกแบบโรงเลี้ยงวัวเป็นแบบเกษตรกรทั่วไป คือ ทำมุ้งไว้ครอบป้องกันยุง และแมลง ทั้งนี้พื้นที่โดยรอบมีการปลูก หญ้าแพงโกล่า และหญ้าเนเปียร์ เอาไว้อีกประมาณ 5 ไร่ ที่เหลือเป็นแปลงหญ้ารูซี่ และหญ้าฮามาต้า เอาไว้ให้วัวเดินแทะเล็ม โดย หญ้าแพงโกล่า และหญ้าเนเปียร์ สามารถปลูกเอาไว้ให้วัวกินได้ตลอดทั้งปี
คุณหนุ่มเล่าถึงกิจวัตรและการจัดการเลี้ยงโคเนื้อ หรือวัว ในแต่ละวัน โดยเริ่มจากตอนเย็นจะตัดหญ้าทิ้งเอาไว้นำไปไว้ในรางอาหาร พอเช้าวันรุ่งขึ้นก็ปล่อยวัวออกมากินหญ้าในแปลง และฟาง โดยให้กินฟางจำนวน 1 ก้อน ซึ่งคุณหนุ่มจะเข้าไปทำความสะอาดโรงเลี้ยงไม่ให้เกิดการสะสมและสกปรก หลังจากนั้นช่วงสายๆ จะนำหญ้าสดที่ตัดเตรียมไว้เสริมให้อีก ส่วนน้ำดื่มให้วัวก็ใช้น้ำบาดาลซึ่งผ่านการตรวจวัดค่ามาตรฐาน มีให้วัวได้ดื่มกินตลอด
สูบน้ำขี้หมูมาใส่ในแปลง หญ้าแพงโกล่า 5 ไร่
“ฟาร์มของผมโชคดีที่มีฟาร์มหมูอยู่ใกล้ๆ ซึ่งเป็นของคุณอา ผมจึงขอสูบน้ำขี้หมูมาใส่ในแปลงหญ้า 5 ไร่ ที่ปลูกเอาไว้อยู่แล้ว ช่วยให้หญ้ายาวงอกงามขึ้นทันเวลาให้วัวได้กินทุกๆ วัน ในส่วนเรื่องของการให้อาหาร สำหรับอาหารข้นผมไม่ได้ซื้อ แต่ใช้จากไร่มันสำปะหลังที่ผมปลูกเอาไว้ ประกอบกับที่บ้านมีเครื่องสีข้าวขนาดเล็ก ผมจึงขุดมันฯ มาบดแล้วตากแห้ง จากนั้นนำมาผสมกับรำข้าวที่สี ได้เมล็ดข้าวมาก็เก็บไว้กินเอง ส่วนรำข้าวกับปลายข้าวก็นำมาผสมกับมันแห้งผสมให้วัวกิน โดยผมจะให้อาหารข้นนี้สำหรับวัวที่ตัวผอม หรือขุนวัวที่จะส่งเข้าประกวด เท่านั้น” คุณหนุ่มกล่าวเสริม หญ้าแพงโกล่า หญ้าแพงโกล่า หญ้าแพงโกล่า หญ้าแพงโกล่า หญ้าแพงโกล่า หญ้าแพงโกล่า
ทั้งนี้สภาพอากาศฝนชุกมีผลกระทบต่อวัวเช่นกัน โดยคุณหนุ่มใช้ยาช่วยฉีดไล่ยุง และแมลง รวมถึงการจุดไฟไล่ก็เป็นวิธีที่ช่วยได้สำหรับมูลวัว คุณหนุ่มนำไปกองรวมกันตากให้แห้ง และนำไปเป็นอาหารเลี้ยงให้ปลานิล อีกส่วนหนึ่งแบ่งขายเป็นปุ๋ยให้พี่น้องเกษตรกรมารับซื้อ โดยขายกระสอบละ 30 บาท หญ้าแพงโกล่า หญ้าแพงโกล่า หญ้าแพงโกล่า
เลี้ยงโคเนื้อเป็นหลัก ผสมผสาน การปลูกมันสำปะหลัง และปลูกข้าว พื้นที่ 30 ไร่
ปัจจุบันคุณหนุ่มยึดอาชีพเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อเป็นหลัก โดยเน้นรูปแบบพัฒนาสายพันทางพันธุกรรม โดยสายพันธุ์ที่เลี้ยงและพัฒนา ได้แก่ “ วัวบรามัน ลูกผสม ” และ “ วัวบรามัน เลือดร้อย” ประกอบกับมีการปลูกไร่มันสำปะหลัง และปลูกข้าว บริเวณพื้นที่ของตัวเองประมาณ 30 ไร่ โดยคุณหนุ่มเล่าให้ฟังว่า ได้คลุกคลีอยู่กับวัวสมัยรุ่นคุณพ่อที่เป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงวัวเช่นกัน ซึ่งเลี้ยงปล่อยตามไล่ทุ่งจำนวนกว่า 100 ตัว ทำให้ดูแลบริหารจัดการไม่ไหว จึงขายทิ้งไปบางส่วน แล้วหันมาเน้นเลี้ยงรูปแบบเชิงคุณภาพ โดยการพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์มาตลอดจนถึงทุกวันนี้
“ปัจจุบันฟาร์มของผมมีวัวจำนวน 15 ตัว แบ่งเป็นเลือดร้อย 8 ตัว และลูกผสม 7 ตัว ทั้งนี้มีวัวแม่พันธุ์จำนวน 9 ตัว ที่เกิดจากการปรับปรุงสายพันธุ์ของฟาร์มเราเอง และบางส่วนได้มาจากศูนย์วิจัยพันธุ์สัตว์ จ.มหาสารคาม
ส่วนเหตุผลที่เลือกเลี้ยง วัวบรามัน เพราะเลี้ยงง่าย โตเร็ว ทนร้อน ทนหนาว ทนต่อโรค และแมลง ตลอดจนโคเนื้อเป็นที่ต้องการของตลาด ผู้เลี้ยงสามารถขายเป็นเนื้อก็ได้ หรือพัฒนาสายพันธุ์แล้วขายก็ได้ เป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้เลี้ยงมีรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งการขายรูปแบบพัฒนาสายพันธุ์จะได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ามากกว่าการขายเนื้อหลายเท่า” คุณหนุ่มกล่าว
การเลี้ยงและการดูแลโคที่จะส่งเข้าประกวด
นอกจากนี้คุณหนุ่มยังเผยเทคนิคการดูแลเอาใจใส่วัวที่จะส่งเข้าประกวดเป็นการเตรียมความพร้อมอย่างง่ายๆ คือ นำเอาออกมาอาบน้ำขัดสีฉวีวรรณ และฝึกฝนวัวบ้าง เช่น จูงวัว หรือให้มันรู้คำสั่ง และภาษากาย ของผู้เลี้ยง ซึ่งคุณหนุ่มครูพักลักจำมาจากการได้ไปดูงานจัดประกวดวัวแต่ละแห่ง
ทำให้ได้รู้แจ้งเห็นจริง ได้ประสบการณ์ใหม่ และได้รู้จักเพื่อนฝูงในวงการ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคนิคการเลี้ยง และนำมาปรับปรุงในฟาร์มของตนเอง ทั้งนี้ปัจจุบันคุณหนุ่มมีเพื่อนฝูงในวงการผู้เลี้ยงโคเนื้อโดยเป็นสมาชิกใน “สมาคมส่งเสริมผู้เลี้ยงโคเนื้อบราห์มันแห่งประเทศไทย”
หลักเกณฑ์การประกวด
“โดยทั่วไปการประกวดวัวจะมีเกณฑ์แบ่งตามอายุ/ปี เช่น ตั้งแต่ 6 เดือน และไม่เกิน 1 ปี ตั้งแต่ 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี และที่อายุเกิน 2 ปี แต่ไม่เกิน 4 ปี เป็นต้น คือ มีอยู่ 3 รุ่น ที่ผมเคยมีโอกาสส่งประกวด ซึ่งการคัดเลือกวัวส่งเข้าประกวด ตลอดจนรวมถึงการคัดเลือกแม่พันธุ์เพื่อนำมาพัฒนาสายพันธุ์ มีหลักการคัดเลือกที่ไม่แตกต่างกันมากนัก
กล่าวคือ ต้องดูแลตั้งแต่ตอนคลอดออกมาเลย ดูสรีระตั้งแต่หัวจรดเท้า เพศเมียต้องใบหน้าเล็กกว่าเพศผู้ และต้องสังเกตการเจริญเติบโตทุกสัปดาห์ ดูลักษณะลำตัวสวยงามได้รูป ตัวเมียเต้านมต้องกระชับทั้ง 4 เต้า เหนียงคอไม่หย่อนยาน กีบเท้าต้องเล็ก แต่ดูแล้วแข็งแรง เหมาะสมที่จะรับน้ำหนักลูกในครรภ์ตอนท้องโตได้ เป็นต้น” คุณหนุ่มให้ความเห็นถึงการส่งโคเข้าประกวด
ปัญหาอุปสรรคในการเลี้ยง หรือการผสมสายพันธุ์วัว
เมื่อถามถึงปัญหาอุปสรรคในการเลี้ยง หรือการผสมสายพันธุ์วัว คุณหนุ่มบอกว่ามีปัจจัยที่เกิดขึ้นจาก 3 สาเหตุ คือ
- เกิดจากตัวเองที่อาจจะยังจับสัตว์ยังไม่แม่น
- น้ำเชื้อที่ได้มามีคุณภาพแตกต่างกันก็มีส่วนเช่นกัน
- ความชำนาญของหมอปศุสัตว์ที่ผสมเทียมก็มีส่วนด้วย ซึ่งเชื่อว่าฟาร์มรายอื่นก็น่าจะประสบปัญหาไม่แตกต่างกัน
อย่างไรก็ตามคุณหนุ่มบอกว่ายังต้องพัฒนาสายพันธุ์ต่อไปเรื่อยๆ ตามยุคสมัย และตามความต้องการของตลาด ทั้งนี้การเลี้ยงหรือพัฒนาสายพันธุ์วัวไม่ใช่จะพัฒนากันแค่วัน สองวัน แต่ต้องใช้เวลาพัฒนาเป็นนานนับปี หรือเป็นสิบปี โดยส่วนตัวถ้าทำเองทั้งหมดคงไม่ได้ขนาดนี้ แต่ที่ก้าวมายืนอยู่จุดนี้ได้เพราะสานต่อมาจากรุ่นคุณพ่อ
ด้านการตลาดและช่องทางจำหน่าย
ด้านการตลาดและช่องทางจำหน่าย ปัจจุบัน “โคสง่าฟาร์ม” มีลูกค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเกิดจากการทำตลาดผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย และเกิดจากลูกค้ารายเดิมที่มาซื้อโคเนื้อลูกผสมสายพันธุ์ “ วัวบรามัน ” ที่ได้รับการพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์แล้วได้คุณภาพ จึงบอกกันปากต่อปากอีกทอดหนึ่ง
ซึ่งลูกค้าบางรายมีการวางมัดจำสั่งจองโคเนื้อลูกผสมสายพันธุ์เอาไว้ก่อนล่วงหน้า ทั้งนี้คุณหนุ่มจำหน่ายโคเนื้อลูกผสมสายพันธุ์ วัวบรามัน โดยผ่านการเลี้ยงดูจนครบ 8 เดือน แล้วให้กับลูกค้า โดยส่วนใหญ่เป็นลูกค้าที่มาจากในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา และบุรีรัมย์ หญ้าแพงโกล่า หญ้าแพงโกล่า หญ้าแพงโกล่า
การวางเป้าหมายในอนาคต
เมื่อถามถึงเป้าหมายในอนาคตสำหรับการบริหารจัดการ “โคสง่าฟาร์ม” คุณหนุ่มบอกว่าตั้งใจจะพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์ต่อไปเรื่อยๆ ให้ตามยุคสมัย และตามตลาดต้องการ โดยอนาคตมองว่าตลาดโคเนื้อจะเติบโตมากกว่านี้ เพราะพฤติกรรมผู้บริโภครับประทานเนื้อกันมากขึ้น ในขณะที่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ หรือโคขุน มีจำนวนไม่มากนัก ถ้าไม่นับรวมการนำเข้าเนื้อวัวมาจากต่างประเทศ ถือว่าเนื้อวัวที่ได้คุณภาพที่ผลิตในประเทศไทยยังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค
นอกจากนี้คุณหนุ่มวางแผนที่จะกลับไปทำฟาร์มหมูอีกครั้ง หลังจากที่เคยทำสมัยอดีต ซึ่งวางแผนดำเนินการสร้างแล้วไม่เกินสิ้นปี 2560 นี้ หรือต้นปี 2561 น่าจะได้ลงหมู ส่วนเหตุผลที่กลับมาทำฟาร์มหมูอีกครั้ง เพราะคุณหนุ่มต้องการที่จะนำน้ำขี้หมูที่ได้มาบริหารจัดการกับแปลงหญ้า คือ อาศัยปล่อยน้ำขี้หมูมาใส่แปลงหญ้า แล้วนำหญ้านั้นมาเลี้ยงวัว เป็นการทำปศุสัตว์แบบครบวงจร ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ไม่ต้องเสียเงินซื้อปุ๋ย
โดยหมูที่คุณหนุ่มจะเลี้ยงตั้งอยู่บริเวณไม่ห่างกับพื้นที่เลี้ยงวัวประมาณ 200 เมตร เท่านั้น ส่วนความตั้งใจที่จะเลี้ยง คือ เลี้ยงหมูขุน โดยลงหมูไม่เกิน 650-750 ตัว และสร้างระบบเลี้ยงแบบปิด หรืออีแวป (EVAP) ทั้งนี้จากประสบการณ์การเลี้ยงหมูของคุณหนุ่ม การเลี้ยงหมู 1 โรงเรือนนั้น จะใช้เงินลงทุนประมาณ 2,500,000 บาท/โรงเรือน รวมต้นทุนการสร้างโรงเรือน การวางระบบ อุปกรณ์ฟาร์ม ค่าอาหาร ค่ายา ค่าน้ำ ค่าไฟ และต้นทุนแฝงทุกอย่างแล้ว ส่วนหมูสามารถเลี้ยงรูปแบบคอนแทรคฟาร์มมิ่งได้
ฝากถึง…เกษตรกรผู้เลี้ยงโค วัวบรามัน
ในตอนท้ายคุณหนุ่มยังได้ฝากถึงเกษตรกรผู้เลี้ยงวัวด้วยกัน หรือผู้ที่คิดจะเริ่มต้นเข้าสู่แวดวงการเลี้ยงโคเนื้อว่า “อาชีพเกษตรกรทุกอย่าง ไม่ว่าทำเกษตร หรือทำปศุสัตว์ อาจดูเหมือนทำยาก แต่ถ้าเราให้ความสำคัญ หรือรักที่จะทำมันจริงๆ จะไม่ได้ยากอย่างที่คิด หญ้าแพงโกล่า หญ้าแพงโกล่า หญ้าแพงโกล่า หญ้าแพงโกล่า หญ้าแพงโกล่า
ขอเพียงคุณศึกษาเรียนรู้ และวางแผนบริหารจัดการทุกอย่าง เป็นระบบ จะทำให้การทำงานง่ายขึ้น ซึ่งผมเชื่อว่าหากทำได้เช่นนี้ เกษตรกรทุกคนไม่อดตายแน่นอน และขอให้ภูมิใจว่าอาชีพนี้สามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้ แถมยังมีเวลาให้กับครอบครัวอีกด้วย” วั วบรามัน วัวบรามัน วัวบรามัน วัวบรามัน วัวบรามัน วัวบรามัน วัวบรามัน วัวบรามัน
ขอขอบคุณ นายสันชัย ภู่บัว (คุณหนุ่ม) เจ้าของ “โคสง่าฟาร์ม” ติดต่อได้ตามที่อยู่ เลขที่ 230 หมู่ 9 ต.กะฮาด อ.เนินสง่า จ.ชัยภูมิ 36130 โทร.084-477-5533