การปลูกมะละกอฮอลแลนด์ แบบไม่มีโรคและแมลง สร้างรายได้ 20,000 บาท/สัปดาห์

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ทางทีมงาน นิตยสาร เมืองไม้ผล&พืชสุขภาพ เดินทางไปติดตามเรื่องราวชีวิตของ คุณกัลยา อาระวิล เจ้าของสวนมะละกอ ต.โพธิ์รังนก อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง ที่ยึดอาชีพเกษตรกรรมเพื่อเป็นอาชีพหลักของครอบครัว เพราะเชื่อว่าเป็นอาชีพที่สร้างรายได้หล่อเลี้ยงครอบครัวได้เป็นอย่างดี

คุณกัลยาเล่าว่า จากเมื่อก่อนประกอบอาชีพเป็นแม่ค้าขายของ ก็เริ่มผันตัวเองมาทำอาชีพเกษตรกรรม เริ่มทำชะอม พอถูกน้ำท่วมก็เปลี่ยนมาปลูก มะละกอฮอลแลนด์ ในปี 2549 จึงได้ไปซื้อเมล็ดพันธุ์จากสุพรรณบุรีมาลองเพาะ ลองผิดลองถูก เรียนรู้วิธีการปลูกมะละกอมาอย่างจริงจัง จนสามารถปลูก มะละกอฮอลแลนด์ ด้สำเร็จโดยที่ไม่มีโรคเลย

จากประสบการณ์ที่เก็บเกี่ยวมาด้วยตัวเอง ทำให้การทำอาชีพการปลูก มะละกอฮอลแลนด์ เริ่มพัฒนา และเป็นที่รู้จักของวงการมะละกอกันมากขึ้น จึงทำให้อาชีพนี้มีช่องทางการตลาดมากขึ้น ต้องบอกว่าความเอาใจใส่อย่างจริงจังทำให้การเดินหน้าปลูก มะละกอฮอลแลนด์ ยังคงต่อยอด และจะขยายพื้นที่การปลูกเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน

เนื่องจากกำลังผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด เพราะมะละกอเป็นพืชที่คนไทยนิยมรับประทาน โดยเฉพาะมะละกอที่นำไปตำส้มตำ เป็นเมนูยอดนิยมจนเป็นที่รู้จักไปจนถึงต่างแดน จนมีร้านส้มตำอินเตอร์ไปขายกันถึงต่างประเทศ คนต่างชาติได้รับประทานแล้วเป็นที่ติดใจในรสชาติที่อร่อย

1.มะละกอให้ผลดก
1.มะละกอให้ผลดก
Advertisement Banner by บริษัท โซตัส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด www.sotus.co.th
Advertisement Banner by บริษัท โซตัส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด www.sotus.co.th
2.คุณป้ากัลยา-ปลูกมะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์-จ.อ่างทอง-และคุณลุงสุนทร-อาระวิล
2.คุณป้ากัลยา- การปลูกมะละกอฮอลแลนด์ -จ.อ่างทอง-และคุณลุงสุนทร-อาระวิล

ด้านตลาดมะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์

ด้วยลักษณะที่ดีของมะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์ เนื้อแน่น หนา รสชาติหวาน อร่อย เป็นที่ต้องการของตลาด จึงทำให้เส้นทางของมะละกอพันธุ์นี้ยังคงมีช่องทางตลาดที่กว้าง และสดใส อยู่เสมอ อีกอย่าง การปลูกมะละกอฮอลแลนด์ ถ้ามีวิธีการดูแลไม่ดี ต้องศึกษาเรียนรู้อย่างแท้จริง จึงจะสามารถปลูกในเชิงการค้าได้สำเร็จ เพราะถ้าขาดความรู้ และประสบการณ์ การปลูกมะละกอฮอลแลนด์ มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคสูง เป็นแล้วควบคุมได้ยาก เนื่องจากเชื้อโรคส่วนใหญ่เป็นไวรัส

เพราะฉะนั้นการปลูกในเชิงพาณิชย์จึงมีการปลูกไม่มาก ทำให้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด เกษตรกรท่านใดสนใจปลูกในเชิงพาณิชย์ ถ้าศึกษาเรียนรู้การปลูก การดูแล อย่างจริงจัง เมื่อเข้าใจดีแล้ว การปลูกมะละกอฮอลแลนด์ ไม่ยากอย่างที่คิด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การเจาะตลาดของคุณกัลยาจะเลือกไม่ผ่านแม่ค้าคนกลาง เพราะจะถูกตัดราคา ได้ราคาไม่ดี จึงเลือกส่งโดยไม่ผ่านแม่ค้าคนกลางมาโดยตลอด ส่วนใหญ่จะส่งแม่ค้าตลาดในเมืองอ่างทอง ตลาดสิงห์บุรี และแม่ค้าในกรุงเทพฯ

จะเก็บผลผลิตและทำการคัดไซส์ไว้ แม่ค้าจะมารับถึงหน้าสวน มะละกอฮอลแลนด์ จะคัด 3 ไซส์ ดังนี้

  1. ไซส์ A ราคากิโลกรัมละ 18 บาท
  2. ไซส์ B ราคากิโลกรัมละ 15 บาท
  3. ไซส์ C ราคากิโลกรัมละ 10 บาท

ผลของ มะละกอฮอลแลนด์ จะมีรายได้ประมาณ 20,000 บาท/สัปดาห์ กิ่งตอน 100 กิ่ง ต่อเดือน ต้นกล้า 10,000 ถุง/เดือน เมล็ด 5,000 ถุง/เดือน ส่วนมากต้นกล้าจะจำหน่ายดีกว่า เพราะนำไปปลูกได้เลย เพราะมะละกอไทยสวย รสชาติดี มะละกอมาเลเซียรสชาติไม่หวานเท่าของไทย เนื้อไม่แน่น ของไทยเนื้อแน่น หนา รสชาติหวาน ผลสวย เชื่อได้ว่ามะละกอของไทยไม่ตัน ช่องทางตลาดสดใส

3.เมล็ดพันธุ์มะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์
3.เมล็ดพันธุ์มะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์

ขั้นตอน การปลูกมะละกอฮอลแลนด์

อันดับแรกหัวใจสำคัญต้องดูดิน เวลาฝนตกลงมามีทางน้ำไหลผ่าน พื้นที่เราน้ำท่วม เพราะเป็นที่ราบลุ่ม ต้องถมหรือยกร่อง เพราะมะละกอเป็นพืชที่ไม่ชอบน้ำ ถ้าดินปลูกพืชชนิดอื่นมาก่อนให้ใช้ปูนขาวโรยป้องกันเชื้อราก่อนปลูก อาจมีการใช้เคมีช่วยบ้าง เพราะเชื้อราเป็นเชื้อที่น่ากลัวสำหรับมะละกอ

จากนั้นขุดหลุมครึ่งฟุต ใส่ปุ๋ยหมัก หรือเคมี รองก้นหลุม ระยะปลูก 2.5 เมตร ถ้าเป็นกิ่งตอนต้องลึก เพราะไม่มีรากแก้ว การยึดเกาะดินอาจไม่ดี ควรปลูกลึกกว่าการปลูกต้นกล้า หรือเมล็ด ใน 1 หลุม จะปลูก 2-3 ต้น เพื่อไว้คัดเพศ พอออกดอกเราจะคัดเอากระเทยไว้เพียงต้นเดียว เพื่อการเจริญเติบโตของพืชได้เร็วขึ้น ลดการแย่งอาหาร

เนื่องจากการคัดเพศเพื่อเอาเพศที่เป็นกระเทยไว้จะให้ผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ ผลดกสวย จึงต้องมีการคัดเพศระหว่างปลูก ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญหนึ่งในกระบวนการทำให้ผลผลิตดี ผลสวย เป็นที่ต้องการของตลาด เพราะลักษณะเด่นของพันธุ์ฮอลแลนด์ เนื้อแน่น หวาน อร่อย อยู่แล้ว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การนำเมล็ด มะละกอฮอลแลนด์ มาปลูก

คุณกัลยาไปซื้อเมล็ดมะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์ที่สุพรรณบุรี 5,000 เมล็ด เมล็ดละ 1 บาท มาปลูกในพื้นที่ปลูก 7 ไร่ ได้ 1,000 กว่าต้น และปลูกเพิ่มอีก 3 ปีหลังที่ผ่านมาอีก 5 ไร่ รวมทั้งหมดที่ปลูกมะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์ 12 ไร่

โรงเรือนเพาะต้นกล้า
โรงเรือนเพาะต้นกล้า
ต้นกล้าที่เพาะได้
ต้นกล้าที่เพาะได้
4.ระยะปลูกมะละกอ-2.50-เมตร
4.ระยะปลูกมะละกอ-2.50-เมตร

การใส่ปุ๋ยและน้ำต้นมะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์

ก่อนปลูกเราก็จะให้ปุ๋ยรองไว้ในก้นหลุมก่อน เป็นปุ๋ยหมักชีวภาพ หรือเป็นเคมี ก็ได้ ปุ๋ยชีวภาพกับปุ๋ยเคมีจะให้สลับกัน 15 วัน/ครั้ง โรยรอบๆ หลุม โดยปุ๋ยเคมีจะใช้สูตร 16-16-16 เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพของดิน จะใส่สลับกันทุกเดือน ให้ตามอายุต้น ต้นเล็กให้น้อย ต้นโตก็ให้มาก

พออายุได้ 3 เดือน จะใช้ฮอร์โมนช่วยในการเร่งดอก สูตร 8-24-24 ถ้าต้นกล้าเล็กๆ จะให้ประมาณ 3 หยิบมือ ต้นใหญ่ประมาณ 2 กำมือ เพราะต้นใหญ่ ทั้งผลและต้น จะใช้ในปริมาณที่มากกว่า ความต้องการไปใช้มีหลายทาง เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของพืช จะได้เจริญเติบโตให้ผลผลิตตามที่ต้องการ

ต้องดูตามสภาพของดิน ถ้าดินยังมีความชื้นอยู่ก็ยังไม่ต้องให้ ส่วนใหญ่จะเป็นฤดูฝน ต้องสังเกตที่ดิน ส่วนฤดูแล้งจะให้น้ำวันเว้นวัน มะละกอเป็นพืชที่ไม่ชอบน้ำ ชอบน้ำชุ่ม แต่ไม่ชอบน้ำขัง พื้นที่จังหวัดอ่างทองเป็นที่ราบลุ่ม จึงต้องยกร่องปลูกเพื่อป้องกันน้ำขังในฤดูฝน

ธาตุอาหารที่ใช้ คือ แคลเซียม โบรอน ฉีดพ่นทางใบ และปุ๋ยหวานทางใบ สูตร 13-13-21 จะให้ช่วงใกล้เก็บผลผลิต จะให้ตั้งแต่เล็กๆ 15 วัน/ครั้ง ดูแลดี ให้ปุ๋ยตามตารางสม่ำเสมอ ก็จะให้ผลผลิตดี ไม่มีโรค

5.ปุ๋ยที่ใช้ได้ผลดี
5.ปุ๋ยที่ใช้ได้ผลดี
6.ฉีดพ่นกำจัดแมลง
6.ฉีดพ่นกำจัดแมลง

การป้องกันกำจัดโรคและแมลง

ส่วนมากจะเป็นเพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย ที่เกาะผล กำจัดโดยใช้สารเคมีฉีดพ่น ผสมยาแคลเซียมฉีดรวมกันเลยกับธาตุอาหาร จะฉีดพ่นในช่วงเช้า หรือเย็น ก็ได้ เพราะช่วงเช้า-เย็น ตาใบจะเปิด ฉีดพ่น 15 วัน/ครั้ง เพราะเพลี้ยเหล่านี้จะส่งผลต่อผิวของมะละกอ ทำให้ผิวไม่สวย ตลาดไม่ต้องการ ผลผลิตก็จะเสียหาย ราคาตกต่ำตามคุณภาพ อาจใช้ยาเคลือบผิวช่วยให้ผิวสวย แต่ไม่เป็นอันตราย จะมีระยะปลอดภัย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

วัชพืชกำจัดโดยใช้เครื่องตัดหญ้าตัดเพื่อป้องกันต้นมะละกอเสียหาย ถ้าใช้ยาฆ่าหญ้าจะมีผลต่อต้นมะละกอ เพราะรากจะดูดซึมสารพิษที่ตกค้างจากยาฆ่าหญ้าที่อยู่ในดินเข้าไป ทำให้ต้นอาจตายได้ ต้องเสียเวลาปลูกใหม่

7.ผลผลิตที่เก็บได้
7.ผลผลิตที่เก็บได้

การเก็บเกี่ยวผลผลิตมะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์

การเก็บเกี่ยวผลผลิตของมะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์จะแบ่งเป็น 3 ไซส์ ด้วยกัน คือ ไซส์ A, B และ C พอเก็บผลผลิตมาก็จะมาคัดแยกตามไซส์ ราคาก็จะแตกต่างกันไป ถ้าปลูกจากเมล็ดในระยะ 4 เดือน จะเริ่มออกดอก ช่วงนี้เราก็จะทำการคัดเพศ เอาเพศกระเทยไว้ต้นเดียว อีก 4 เดือน ให้ผลผลิต รวมแล้วถ้าปลูกจากเมล็ด 8 เดือน เก็บผลผลิตได้

ปลูกจากต้นกล้าเช่นเดียวกับปลูกจากเมล็ด ระยะเวลา 4 เดือน ออกดอก คัดเพศกระเทยไว้ อีก 4 เดือน ให้ผลผลิต รวมแล้วปลูกทั้งหมด 8 เดือน เก็บผลผลิตได้

แต่ถ้าเป็นกิ่งตอนจะให้ผลผลิตที่เร็วกว่า ปลูกระยะเวลา 5 เดือน เก็บผลผลิตได้ เพราะฉะนั้นการปลูกจากกิ่งตอนจะช่วยให้ระยะเวลาในการให้ผลผลิตที่สั้นลง การดูแลบำรุงรักษาก็จะไม่สิ้นเปลือง ช่วยประหยัดในเรื่องของปุ๋ย และยา ได้มาก เป็นการช่วยลดต้นทุนให้ผลผลิตที่เร็วขึ้น

8.บรรจุลงในตะกร้าผลไม้
8.บรรจุลงในตะกร้าผลไม้
9.ปลูกมะละกอตามแนวร่อง
9. การปลูกมะละกอฮอลแลนด์ ตามแนวร่อง

อนาคตของ มะละกอฮอลแลนด์

ในอนาคตคุณกัลยาจะขยาย การปลูกมะละกอฮอลแลนด์ เพิ่มอีกแน่นอน เมื่อเขาหาที่ปลูกได้ เพราะเป็นพันธุ์ที่ผู้บริโภคนิยมรับประทาน ตลาดราคาดี โดยเฉพาะเมืองท่องเที่ยวจะได้ราคาที่สูงกว่าที่อื่นๆ อย่าง พันธุ์แขกนวล แขกดำ ใช้ระยะเวลาปลูกเท่ากัน แต่ราคาแตกต่างกัน เราก็ต้องเลือกสิ่งที่ดีที่สุดอยู่แล้ว

ถ้าปลูกมาก 20-30 ไร่ ต้องส่งแบบเหมาสวน เพราะส่งแม่ค้าหลายเจ้าทำไม่ทันแน่นอน โดยเหมารวม ไม่มีการแยก หรือคัดไซส์ ไซส์ A, B และ C เหมารวมกันในราคาเดียวเลย แค่ราคากิโลกรัมละ 10 บาท ก็อยู่ได้แล้ว ให้เปรียบเทียบทำนา 12 ไร่ กับ มะละกอฮอลแลนด์ 12 ไร่

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ทำนา ค่าปุ๋ย-ยา มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างมาก ถ้าทำไม่ได้เองก็จะไม่ได้อะไรมาก สู้มะละกอไม่ได้สามารถจำหน่ายได้เรื่อยๆ สามารถทำได้แบบไม่ต้องจ้างแรงงาน ลดต้นทุนเรื่องจ้างแรงงาน สร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้ดี

10.กิ่งแขนงขนาดข้อมือเด็ก
10.กิ่งแขนงขนาดข้อมือเด็ก

การตอนกิ่งมะละกอ

เลือกจากกิ่งที่สมบูรณ์ ขนาดประมาณเท่าข้อมือเด็กเล็ก ใช้มีดเล็กปาดเป็นปากฉลาม จะปาดขึ้นหรือลงก็ได้ตามแต่ถนัด ลึกประมาณ ¼ ของกิ่ง ใช้ถุงบรรจุขุยมะพร้าว ขุยมะพร้าวต้องชุ่มน้ำให้มีความชื้น อาจผสมพลูคาวป้องกันมด แมลง จากนั้นมัดปากถุงให้แน่น นำไม้ลูกชิ้นจิ้มให้เกิดรูรอบๆ ถุง เพื่อให้มีช่องระบายอากาศ

จากนั้นใช้ไม้ขนาดใหญ่กว่าไม้ลูกชิ้นนำไปคั่นแผลที่ปาดไว้เพื่อป้องกันไม่ให้แผลติดกัน ใช้ถุงขุยมะพร้าวที่เตรียมไว้ผ่าตามยาวให้ถุงพลาสติกขาด นำไปประกอบกับแผลกิ่งตอนที่ทำไว้ อาจป้ายด้วยน้ำยาเร่งรากที่แผลตอนก่อนก็ได้ เมื่อนำขุยมะพร้าวมาประกอบกับแผลกิ่งตอนแล้ว นำเชือกมามัดหัว-ท้ายให้แน่น เพียงแค่นี้รอประมาณ 2 สัปดาห์ ออกราก ฤดูแล้งขุยมะพร้าวจะแห้งต้องให้น้ำกับขุยมะพร้าวให้ชุ่ม

11.ต้นมะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์
11.ต้น มะละกอฮอลแลนด์

ลักษณะเด่นของ มะละกอฮอลแลนด์

ลำต้นใหญ่ สีเขียว ใบมี 11 แฉกใหญ่ กลางใบมีกระโดงใบ 1 ใบ ก้านใบมีสีเขียวตั้งขึ้น ดอกออกเป็นช่อ ติดผลดก รูปทรงกระบอกคล้ายลูกฟักอ่อน อายุเก็บเกี่ยว 3 เดือน เนื้อสีแดงอมส้ม เนื้อหนา ความหวานวัดได้ 11-13 องศาบริกซ์

ลักษณะเด่นของ มะละกอฮอลแลนด์ คือ ไม่มีกลิ่นยาง เนื้อหนา รสหวาน เปลือกหนา ทนต่อโรค ทนทานต่อการขนส่ง ให้ผลดก เนื้อแน่นแข็ง น้ำหนักดี มีตลาดรองรับ

12.ขนาดของผลความยาวกว่าหนึ่งคืบ
12.ขนาดของผลความยาวกว่าหนึ่งคืบ

ประโยชน์ของมะละกอ

เริ่มจากส่วนที่เป็นใบและยอดของมะละกอนำมาใช้ปรุงอาหารได้ ส่วนลำต้นของมะละกอภายในจะเป็นเนื้อสีขาวครีม ลักษณะเนื้อจะอ่อนนุ่มคล้ายกับหัวผักกาดจีนที่สามารถนำไปปรุงอาหารได้เหมือนกัน จะเป็นการดองเค็ม หรือตากแห้ง เก็บไว้รับประทานได้ ประโยชน์ของมะละกอเมื่อนำมาปรุงอาหารจะมีคุณค่าโภชนาการสูง มีสารอาหารที่สำคัญหลายอย่าง เช่น วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี ธาตุเหล็ก และแคลเซียม

โฆษณา
AP Chemical Thailand
  • ผลสุก เป็นยาระบาย แก้เลือดออกตามไรฟัน
  • ยางจากผลดิบ เป็นยาช่วยย่อย ฆ่าพยาธิ
  • ราก ช่วยในเรื่องของการขับปัสสาวะ
13.ยกร่องปลูกมะละกอ
13.ยกร่อง การปลูกมะละกอฮอลแลนด์

ฝากถึง…เกษตรกรผู้สนใจ

“ถ้าสนใจ การปลูกมะละกอฮอลแลนด์ โทรหาเราได้ สามารถให้คำแนะนำได้ทุกอย่าง ตั้งแต่การเตรียมพื้นที่ปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิต รวมถึงการหาช่องทางตลาด ไม่ว่าจะซื้อต้นกล้า หรือเมล็ดพันธุ์ ที่ใดก็ตาม เรายินดีให้คำแนะนำ และคำปรึกษา ถ้าเกษตรกรท่านใดสนใจที่อยากจะปลูกจริงจัง ขอให้มีใจอยากจะทำจริง ใจรัก สนใจ การปลูกมะละกอฮอลแลนด์ ” คุณกัลยากล่าว

หากเกษตรกรท่านใดสนใจสามารถติดต่อได้ที่ คุณกัลยา อาระวิล 103 ม.3 ต.โพธิ์รังนก อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง 14120 โทร.08-9611-3425