“ใบพลู” สมุนไพร มีอนาคต ปลูกใบพลู สร้างรายได้ไม่ต่ำกว่า 40,000 บาท/เดือน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การเคี้ยวหมากในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นสิ่งต้องห้าม ความนิยมในการกินหมากในช่วงนั้นต้องสะดุดหยุดลง เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายพัฒนาประเทศแบบตะวันตก จึงได้สั่งตัดต้น “หมาก” และ “พลู” ทิ้ง โดยเป็นที่น่าเสียดายยิ่งนัก โดยเฉพาะ “ใบพลู” ที่ใช้ประโยชน์เหมือนยาสามัญประจำบ้าน

ในปัจจุบัน “ใบพลู” มีบทบาทอย่างเด่นชัดในการเป็นเครื่องไหว้บูชาในงานพิธีสำคัญต่างๆ ควบคู่ไปกับ “หมาก” แต่การบริโภคหมากกับพลูอาจเรียกได้ว่ายังเหลือน้อยเต็มที จนทำให้ชาวสวนผลไม้จำนวนไม่น้อยหันหลังให้กับพืชชนิดนี้ และบางส่วนที่ยังปลูกอยู่ก็ดูเหมือนจะไร้ผู้สืบทอด แต่ในความเป็นจริงอนาคตของสวนพลูยังสดใส เพราะยังมีคนเห็นคุณค่า

อย่าง คุณธีรพล ขำขาว เจ้าของสวนพลู ในพื้นที่ 6 ไร่ จากเมื่อก่อนคุณธีรพลทำงานเป็นพนักงานบริษัทเอกชน แต่เพราะพ่อกับแม่ทำอาชีพเกษตรกรรม และอายุมากแล้ว เลยตัดสินใจลาออกจากงานอาชีพนี้ ซึ่งก็เป็นอาชีพที่เขาถนัด และยังได้สืบทอดอาชีพจากครอบครัวอีกด้วย

คุณธีรพล-ขำขาว-ปลูกใบพลูในพื้นที่-6-ไร่-จ.นครปฐม
คุณธีรพล-ขำขาว- ปลูกใบพลู ในพื้นที่-6-ไร่-จ.นครปฐม

รายได้จากการ ปลูกใบพลู

คุณธีรพลเล่าให้ทีมงานฟังว่า เขาเป็นเจ้าแรกๆ ที่ทำตลาดกิ่งชำพลูในตำบลคลองจินดา ซึ่งเป็นเจ้าเล็กๆ ที่กำลังเติบโต ถึงในช่วงที่ทำจะมีคนไม่เห็นด้วย เพราะตลาดยังไม่กว้างเท่าที่ควร แต่พอเริ่มมีลูกค้า กิ่งชำก็เริ่มขายได้เรื่อยๆ รวมทั้งการปลูกต้นใบพลูขายใบก็เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่สร้างรายได้เข้ากระเป๋าได้ดีทีเดียว โดยการใช้ต้นทุนที่ต่ำ ได้ผลกำไรสูง

ถึงแม้วัฒนธรรมการกินหมากของไทยจะค่อยๆ เลือนลางหายไป แต่ยังเหลือไว้เป็นเครื่องบูชาที่ขาดมิได้เท่านั้น ทำให้เกษตรกรผู้ ปลูกใบพลู ลดน้อยลง แต่คุณธีรพลกลับมองต่างว่าการ ปลูกใบพลู เป็นอาชีพที่สร้างรายได้เข้ากระเป๋าในแต่ละเดือนไม่น้อย แถมการลงทุนก็ต่ำกว่าพืชตัวอื่น ถึงจะเป็นพืชนอกสายตา แต่ก็สามารถสร้างรายได้ให้เขาไม่น้อยกว่า 40,000 บาท ต่อเดือน ซึ่งคุณธีรพลก็ภูมิใจ

ปลูกต้นทองหลางเพื่อเป็นเสาต้นพลูเลื้อยขึ้นได้
ปลูกต้นทองหลางเพื่อเป็นเสาต้นพลูเลื้อยขึ้นได้

ใครว่าตลาด ใบพลู ไม่กว้าง?

ใบพลู นอกจากใช้กินหมากแล้วยังสามารถนำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหยได้ ซึ่งจะมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราได้หลายชนิด เหมาะสำหรับใช้เป็นส่วนผสมในครีมและน้ำมันนวดบริเวณช่องท้องเพื่อดูแลระบบทางเดินอาหาร

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ประเทศไทยในปัจจุบันถึงจะไม่เห็นคนกินหมากกันมากนัก แต่ประเทศเพื่อนบ้าน อย่าง อินโดนีเซีย เวียดนาม หรือพม่า ก็ยังนิยมกินหมากกัน ซึ่งอาจจะเป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาจากสมัยก่อน

แต่ถึงอย่างไรตลาดของการซื้อขายพลูในประเทศไทยก็ยังดำเนินไปได้ด้วยดี เพราะการผลิตหรือการปลูกยังน้อยและไม่แพร่หลาย แต่ในอนาคตการวิจัยหรือแปรรูปไปทางด้านสุขภาพ อย่างเช่น การนำใบพลูมาสกัดทำยารักษาโรค หรืออาจจะอยู่ในรูปของเครื่องสำอางรักษาความงามเหล่านี้ ถ้ามีปัจจัยการผลิตมากขึ้น ตลาดก็ยังสามารถขยายความต้องการมากขึ้นไปอีกด้วย

การจำหน่ายใบพลู
การจำหน่ายใบพลู

การบริหารจัดการต้นพลู

พลูจะขยายพันธุ์โดยการปักชำด้วยเถา โดยใช้ขุยมะพร้าวกรองใส่ถุงแล้วนำเถาพลูที่เตรียมไว้มาปักชำ รอจนรากขึ้นจึงนำไปปลูกลงแปลงได้ การปลูกพลูนิยมปลูกกับต้น “ทองหลาง” เพราะต้นทุนจะถูกกว่าซื้อเสาปูน (สำหรับเลื้อย) และยังช่วยในเรื่องของการกันลมและพายุได้ดีกว่าการฝังเสาปูนแล้วคลุมสแลน

ขั้นตอนแรกต้องยกร่องตีดินแล้วกลับหน้าดิน นำต้นทองหลางมาปลูก พอได้ต้นทองหลางเริ่มแตกยอด จึงนำพลูมาลงปลูกเพื่อไม่ให้แสงแดดส่องต้นพลูมากเกินไป ควรนำทางมะพร้าวมาปักให้ร่มเงาในช่วงแรกๆ ด้วย ประมาณ 20 กว่าวัน พอต้นพลูตั้งต้นได้จึงนำทางมะพร้าวออก

การให้น้ำของต้นพลู ควรรดน้ำเช้า-เย็น อาจรดวันเว้นวัน หรือรดทุกวันก็ได้ ขึ้นอยู่กับสภาพดินหรืออากาศ ปุ๋ยที่ใช้อาจเป็นสูตรเสมอ 16-16-16 หรือ 25-7-7 ก็ได้ ถ้ามีการดูแลที่ดีภายในระยะเวลา 6 เดือน ก็สามารถเก็บใบส่งขายได้แล้ว

กิ่งพันธุ์พร้อมจำหน่าย
กิ่งพันธุ์พร้อมจำหน่าย

สรรพคุณมหาศาลจาก ใบพลู 

สารสำคัญใน ใบพลู มีหลายชนิด เช่น เป็นยาชง และช่วยในการกระตุ้นการไหลเวียนทางโลหิต ยับยั้งการเติบโต และฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของวัณโรค และเชื้อหนอง ต้านเชื้อราของโรคผิวหนัง และกลาก เกลื้อน ฮ่องกงฟุต น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ลดการปวดบวมของกล้ามเนื้อเคล็ดขัดยอก

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ใบจะช่วยกระตุ้นน้ำลาย ขับเสมหะ ขับเหงื่อ แก้ปวดท้อง แก้ลมพิษ และฆ่าพยาธิ ช่วยรักษาแผลช้ำบวม เลือดกำเดาออก แก้ลมพิษ แก้อาการคัน น้ำมันจากใบแก้คัดจมูก อมกลั้วคอแก้เจ็บคอ ดับกลิ่นปาก และอีกหลายๆ อย่าง

หากท่านผู้อ่านหรือเกษตรกรท่านใดสนใจข้อมูลในการปลูกใบพลู รวมไปถึงสนใจกิ่งพันธุ์ สามารถสอบถามได้ที่ คุณธีรพล ขำขาว 68 ม.5 ต.คลองจินดา อ.สามพราน จ.นครปฐม 73110 โทร.09-0095-5602