ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก ทำเอง ใช้ “มูลเป็ด” เพิ่มผลผลิตใส่นาข้าวไรซ์เบอรี่ 40 ไร่

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ด้วยความตื่นตัวของผู้บริโภคที่หันมาใส่ใจในเรื่องสุขภาพมากขึ้น จึงทำให้ปัจจุบันตลาดสินค้าอินทรีย์สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับข้าวอินทรีย์ที่ได้ชื่อว่า “ไรซ์เบอรี่” ด้วยคุณสมบัติที่เพียบพร้อมไปด้วยโภชนาการ และยังมีประโยชน์ในการยับยั้งโรคร้ายนานาชนิดได้เป็นอย่างดี จึงทำให้มีผู้นิยมอย่างมากในปัจจุบัน ส่งผลให้ชาวนาหันมาปลูกข้าวไรซ์เบอรี่กันมากขึ้นในปัจจุบัน ปุ๋ยอินทรีย์

เช่นเดียวกับ คุณอรุณ เอี่ยมเกิด ชาวนาในพื้นที่อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ที่ผันชีวิตจากเซลล์ขายของในจังหวัดภูเก็ต มาเป็นเกษตรกรชาวนาในบ้านเกิด จ.สุพรรณบุรี โดยใช้พื้นที่ของตนที่มีอยู่กว่า 20 ไร่ ทำนาควบคู่กับการเลี้ยงเป็ดไข่ เพื่อหวังเกื้อกูลกันทางธุรกิจ

1.ข้าวไรซ์เบอรี่กำลังออกรวงสวย
1.ข้าวไรซ์เบอรี่กำลังออกรวงสวย

การปลูกข้าวไรซ์เบอรี่

จากสายเลือดชาวนาที่มีอยู่ ทำให้คุณอรุณพอมีความรู้ในการทำนาอยู่บ้าง จึงได้นำความรู้เหล่านี้มาปรับใช้ในการทำนาของตน พร้อมทั้งยังมีการศึกษาหาความรู้ และเทคนิคการทำนาใหม่ๆ จากสื่อต่างๆ ตลอดเวลา  และในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นข้าวไรซ์เบอรี่มีราคาสูงกว่าข้าวพันธุ์อื่น จึงทำให้เขาตัดสินใจซื้อข้าวพันธุ์ไรซ์เบอรี่มาปลูก ในราคาถังละ 1,200 บาท

ในตอนนั้นผมมองเห็นว่าไรซ์เบอรี่จะเป็นตัวแปรที่สำคัญ ที่จะทำให้ชาวนาอย่างผมนั้นอยู่ได้ เพราะมีราคาสูงกว่าข้าวทั่วไป ตลอดจนยังเป็นข้าวที่ได้รับความนิยมอย่างมากของผู้บริโภค เพราะมีคุณค่าทางสารอาหารที่สูง และที่สำคัญหากจะปลูกข้าวขาวทั่วไปคงอยู่ได้ยาก” คุณอรุณเผยถึงสาเหตุการตัดสินใจหันมาปลูกข้าวไรซ์เบอรี่

2.คุณอรุณ-เอี่ยมเกิด-กับแปลงนาข้าวไรซ์เบอรี่
2.คุณอรุณ-เอี่ยมเกิด-กับแปลงนาข้าวไรซ์เบอรี่
3.แปลงนาข้าวไรซ์เบอรี่
3.แปลงนาข้าวไรซ์เบอรี่

การดำนาข้าว

ในการทำนาครั้งแรกนั้น คุณอรุณเล่าว่า จะเน้นคุณภาพข้าวเป็นอันดับแรก เพื่อต้องการให้ข้าวของตนมีคุณภาพที่ดี ปลอดสารพิษ ซึ่งจะยึดแนวทางการทำนาแบบอินทรีย์ เพื่อหวังเป็นการช่วยลดต้นทุน ตลอดจนทำให้ตัวเขานั้นปลอดภัยจากสารพิษ และสารเคมีต่างๆ นั่นเอง ในส่วนของรูปแบบการปลูกข้าวนั้นจะใช้วิธีการดำ เพราะจะทำให้ต้นข้าวสามารถแตกกอ และเจริญเติบโตได้ดี ตลอดจนการทำนาดำนั้นยังง่ายต่อการเก็บพันธุ์ปน และที่สำคัญ สามารถกำจัดวัชพืชได้ง่าย โรค และแมลง ไม่ค่อยรบกวน

การดำนานั้นจะมีการจ้างรถดำนาของ “คูโบต้า” ในพื้นที่ ทั้งนี้เขายังเผยถึงสาเหตุการใช้รถดำนาคูโบต้าว่า สามารถช่วยลดอัตราความสูญเสียของระยะต้นข้าวได้มากกว่ารถดำนาของที่อื่น ตลอดจนเมื่อดำไปแล้วจะเห็นถึงความเป็นระเบียบเรียบร้อยของต้นข้าว ที่เว้นระยะห่างได้อย่างเหมาะเจาะ ทำให้ง่ายต่อการเก็บพันธุ์ปน และทำให้ไม่เป็นแหล่งหมักหมมของเชื้อโรค และแบคทีเรีย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ซึ่งค่าใช้จ่ายในการจ้างรถดำนานั้นจะอยู่ที่ประมาณ 1,300 บาทต่อไร่  โดยการนำพันธุ์ข้าวไปให้เพาะ เมื่อกล้าข้าวอายุได้ประมาณ 15-20 วัน ก็จะนำมาดำให้ต่อไป ซึ่งจะมีต้นทุนการทำนาอยู่ที่ประมาณ 3,500 บาทต่อไร่ และมีผลผลิตอยู่ที่ประมาณ 50-55 ถัง/ไร่

4.ไรซ์เบอรี่พร้อมเก็บเกี่ยว
4.ไรซ์เบอรี่พร้อมเก็บเกี่ยว

ผลผลิตข้าวไรซ์เบอรี่

ผลผลิตข้าวที่ได้นั้นจะมีการเอาไปแปรรูปเป็นข้าวสาร โดยจะมีการนำไปสีในจังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นโรงสีของ อาจารย์เชาว์วัช หนูทอง

ทั้งนี้เขายังเผยถึงสาเหตุที่นำข้าวไปสีในโรงสีของอาจารย์เชาว์วัชว่า จากการที่นำไปสีในครั้งแรกนั้นพบว่า ไม่มีข้าวขาวปน สีออกมาแล้วเมล็ดสวย เพราะทางโรงสีนั้นมีตัวคัดแยกข้าวขาว โดยผ่านกระบวนการเลเซอร์ของเครื่องคัด ทำให้ไม่มีข้าวปน และนี่ก็เป็นสิ่งที่ทำให้เขาประทับใจ จึงทำให้ทุกครั้งในการสีข้าวคุณอรุณจะมาใช้บริการโรงสีแห่งนี้อย่างต่อเนื่อง

5.เครื่องแพ็คข้าว
5.เครื่องแพ็คข้าว
ข้าวไรซ์เบอรี่ของคุณอรุณ
ข้าวไรซ์เบอรี่ของคุณอรุณ

ด้านตลาดข้าวไรซ์เบอรี่

จากความสำเร็จในการปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ในครั้งแรก ทำให้ในฤดูกาลต่อมาคุณอรุณได้ใช้พื้นที่กว่า 40 ไร่ ทำการปลูกข้าวไรซ์เบอรี่เพื่อหวังสร้างรายได้ให้กับครอบครัว ซึ่งมีราคาสูงกว่าการขายข้าวขาวทั่วไป ทั้งนี้เขาได้มีการวางกลยุทธ์ทางการตลาดโดยการนำข้าวไรซ์เบอรี่ที่ได้นั้นมาทำแพ็คเก็จ และทำเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวจำหน่ายภายได้แบรนด์ “ข้าวไรซ์เบอรี่ ปุ๋ยมูลเป็ด” ผลิตโดยอรุณฟาร์ม

ซึ่งจะมีการจำหน่ายในช่องทางโซเซียลมีเดีย เช่น เฟสบุ๊ค เป็นหลัก และนอกจากนี้จะมีการวางขายตามร้านค้าทั่วไปในพื้นที่ชุมชน โดยตั้งราคาขายข้าวไรซ์เบอรี่ในราคา 60 บาท/กก. นอกจากนี้ในแผนการตลาดนั้นจะมีการนำข้าวไรซ์เบอรี่บางส่วนที่ผ่านจากการแพ็คแล้ว แต่ยังไม่ได้ติดสติ๊กเกอร์ ก็จะมีการส่งไปยังลูกค้าต่างจังหวัดอีกด้วย ทั้งนี้เขาบอกต่อว่าการที่ทำการตลาดในลักษณะนี้ก็เพื่อต้องการให้ลูกค้านำข้าวไรซ์เบอรี่ของตนไปติดแบรนด์เป็นของตัวเอง

ปัจจุบันข้าวไรซ์เบอรี่ของคุณอรุณได้รับความนิยมอย่างมาก จากกลุ่มลูกค้าในพื้นที่ และกลุ่มลูกค้าที่สั่งผ่านทางเฟสบุ๊ค ส่งผลให้คุณอรุณและครอบครัวมีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นมาก ซึ่งในอนาคตคุณอรุณจะมีการนำ “ข้าวญี่ปุ่น” มาทดลองปลูก เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภคอีกด้วย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ในการปลูกข้าวของผมนั้นจะเน้นเรื่องคุณภาพข้าวมาก่อนผลผลิต เพราะต้องการให้ผู้บริโภคได้บริโภคข้าวที่มีคุณภาพจริงๆ ” คุณอรุณเผยถึงจุดยืนในการทำนา

6.ฟาร์มเป็ดของคุณอรุณ
6.ฟาร์มเป็ดของคุณอรุณ
มูลเป็ดที่นำไปใช้บำรุงดิน
มูลเป็ดที่นำไปใช้บำรุงดิน

การเตรียมดินด้วยมูลเป็ด

จากการที่คุณอรุณทำฟาร์มเป็ดควบคู่กับการทำนาไปด้วยนั้น ทำให้เขาได้นำมูลเป็ดที่ได้จากฟาร์มมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยหลังจากเก็บเกี่ยวจะนำมูลเป็ดมาใส่ในแปลงนา เพื่อเป็นการเพิ่มแร่ธาตุสารอาหารแบบปุ๋ยคอก   จากนั้นจะมีการไถกลบหน้าดิน เพื่อให้ดินมีลักษณะร่วนซุย และก็ทำการสูบน้ำเข้า และหมักตอซังฟางข้าวแทนการเผา ซึ่งจะใช้ระยะเวลาการหมักประมาณ 10-15 วัน เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการดังกล่าวก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการทำเทือก  ในส่วนการทำเทือกนั้นเขาบอกว่าเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนอย่างมาก หากพื้นที่ไม่มีความสม่ำเสมอกันก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาเรื่องวัชพืชตามมา

นอกจากนี้ยังมีการปล่อยเป็ดลงไปในแปลงนาในช่วงต้นข้าวใบคุมกันหมด ซึ่งจะปล่อยเป็ดประมาณ 1 ฝูง ลงไปในแปลง เพื่อต้องการให้เป็ดนั้นได้เหยียบย่ำวัชพืช กินวัชพืช ตลอดจนกินแมลง ซึ่งถือได้ว่าเป็นการกำจัดแมลงศัตรูพืชได้อย่างดี อีกทั้งผลพลอยได้จากการปล่อยเป็ดลงแปลงนานั้นก็คือ เมื่อเป็ดนั้นถ่ายลงพื้นดิน ก็จะทำให้เป็นปุ๋ย ช่วยบำรุงต้นข้าว และบำรุงดิน ได้อีกทาง เมื่อต้นข้าวได้รับปุ๋ยส่งผลให้สามารถเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว  สมบูรณ์ไปด้วยแร่ธาตุสารอาหารในที่สุด และในขั้นตอนดังกล่าวนั้นยังทำให้ประหยัดต้นทุนในเรื่องของการใช้ปุ๋ยได้อย่างดี เรียกได้ว่าได้ประโยชน์ 2 ต่อ

7.ต้นข้าวสมบูรณ์ดี ด้วย ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก
7.ต้นข้าวสมบูรณ์ดี ด้วย ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก

ใส่ ปุ๋ยอินทรีย์ 2 ครั้ง

คุณอรุณจะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ สำเร็จรูป เพื่อเป็นการบำรุงต้นข้าวให้อุดมสมบูรณ์มากขึ้น ตลอดจนเป็นการกระตุ้นผลผลิตข้าว ในการใส่ปุ๋ยนั้นจะมีการใส่ 2 รอบ ทั้งนี้จะมีการสังเกตต้นข้าวเป็นอันดับแรกก่อนการใส่ปุ๋ย โดยปกติจะใส่ปุ๋ยรอบแรกในช่วงข้าวเริ่มรัดตัว  ซึ่งข้าวจะมีอายุประมาณ 1 เดือน โดยสังเกตจากต้นข้าวก่อน “เมื่อข้าวใบเริ่มออก และพุ่งตัวขึ้นมา” ก็จะทำการใส่ปุ๋ยเลย ซึ่งในการใส่ปุ๋ยรอบ 2 ก็จะใช้วิธีการเดียวกัน โดยหลักๆ จะสังเกตต้นข้าวเป็นหลักมากกว่า

8.คุณอรุณโชว์ข้าวไรซ์เบอรี่
8.คุณอรุณโชว์ข้าวไรซ์เบอรี่ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์

ทางเลือกและทางรอดของชาวนา

คุณภาพของข้าวเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ชาวนาหากยังไม่ปรับตัวในเรื่องของการผลิตข้าวให้ได้คุณภาพ โดยการลด ละ เลิก การใช้สารเคมี แล้วล่ะก็ลำบากแน่ๆ โดยเฉพาะตอนนี้ราคาข้าวยังตกต่ำอยู่อย่างนี้ หากยังทำนาเคมีแบบ 100% ยังไงก็ไม่มีกำไร เพราะฉะนั้นแล้วการทำนาอินทรีย์ปลอดสารพิษถือเป็นทางออกสำหรับปัญหานี้ เพราะจะช่วยให้ข้าวมีคุณภาพมากขึ้น ตลอดจนเป็นแนวทางช่วยในการลดต้นทุน ที่จะทำให้ชาวนายืนอยู่ได้อย่างมั่นคง

ชาวนาไทยต้องพยายามลดต้นทุนให้ได้มากที่สุดเป็นอันดับแรก ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับตัวของชาวนาเองด้วย ให้เลิกการจ้างแรงงานในการดูแลแปลงนา ค่าใช้จ่ายอันไหนลดได้ ก็ต้องลดกันไป ส่วนแนวทางการลดต้นทุนต่างๆ นั้น ขอแนะนำการทำนาอินทรีย์ ที่จะเรียกได้ว่าเป็นทางเลือกและทางรอดของชาวนาในขณะนี้ ซึ่งผมมีทุกวันนี้ได้ก็เพราะการทำนาอินทรีย์ ” อรุณย้ำถึงความจำเป็นในการลดต้นทุนการทำนา

โฆษณา
AP Chemical Thailand
จำหน่ายข้าว-ปุ๋ยขี้เป็ด
จำหน่ายข้าว-ปุ๋ยขี้เป็ด

ขอขอบคุณ คุณอรุณ เอี่ยมเกิด 101/1 หมู่ 4 ต.ทุ่งคลี่ อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี