ระบบสปริงเกลอร์ ในสวน มะกรูดตัดใบ สร้างรายได้ทุกวันได้ 50,000 บาท/เดือน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

กลายเป็นดาวรุ่งอีกตัวหนึ่งที่กำลังมาแรงในวงการเกษตรกรรมไทย และเป็นอนาคตสินค้าส่งออกชนิด “เครื่องเคียง” ไทยสู่ตลาดโลก ระบบสปริงเกลอร์

“มะกรูด” เป็นพืชพื้นบ้านที่นิยมใส่เป็นเครื่องเทศในอาหารคาวของไทยมาช้านาน ทั้งนี้ยังมีปรากฏในวรรณคดีไทยหลายเรื่องถึงคุณประโยชน์ในการนำมาสระผมในสมัยกรุงศรีอยุธยากันอย่างแพร่หลาย ทางด้านพิธีกรรม เช่น พระราชพิธี พระราชพิธีโสกันต์ ซึ่งระบุไว้ใน พระราชพิธีสิบสองเดือน ที่ต้องมีผลมะกรูดในพระราชพิธีด้วย

1.สวนมะกรูด
1.สวนมะกรูด

การปลูกมะกรูด

ทั้งนี้เป็นการแสดงถึงการนำมะกรูดมาใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ ของคนไทยมาช้านานแล้ว อย่างไรก็ตาม ณ ปัจจุบันความต้องการก็ยังคงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในภาคของครัวเรือน และภาคอุตสาหกรรมอาหาร แทบทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นโรงงานอาหารกล่องสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน

สำหรับชีวิตที่เร่งรีบของคนในเมืองใหญ่ หรือโรงงานผลิตน้ำพริกสำเร็จรูปพร้อมปรุงก็ตาม ยิ่งการตลาดที่เติบโตขึ้น ความต้องการเครื่องเทศกลุ่มนี้ก็อาจยิ่งทวีคูณขึ้นไปด้วย หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า “วงการผู้ผลิตเครื่องเทศเติบโตต่อไปได้อีกไกลในอนาคต”

2.ปรุงอาหารในครัวเรือน
2.ปรุงอาหารในครัวเรือน

ประโยชน์ของใบมะกรูด

จริงอยู่ที่ว่าอาหารไทยเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก แต่ในบางประเทศนั้นใช่ว่าจะรู้จัก “ใบมะกรูด” หรือเครื่องเทศของไทยทุกชนิดได้ ซึ่งส่วนมากแล้วจะเป็นที่รู้จักกันในกลุ่มทวีปเอเชีย เช่น ประเทศเพื่อนบ้าน อย่าง ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย และสิงคโปร์ เป็นต้น ที่ส่วนมากแล้วจะนำเข้าใบมะกรูดจากไทยเป็นส่วนใหญ่

ดังนั้นการส่งออกในรูปแบบน้ำพริกสำเร็จรูปสู่ต่างประเทศยังเป็นการเพิ่มศักยภาพอาหารไทยในตลาดโลกมากขึ้น พร้อมทั้งเครื่องเทศอบแห้งยังได้รับเสียงตอบรับจากต่างประเทศเป็นอย่างมากอีกด้วย ผลักดันการผลิตเครื่องแกงป้อนโรงงาน แนวทางเกษตรกรในอนาคต

โฆษณา
AP Chemical Thailand
3.คุณศิวาวุธ-สงวนทรัพย์-ปลูกมะกรูด-จ.นครปฐม
3.คุณศิวาวุธ-สงวนทรัพย์-ปลูกมะกรูด-จ.นครปฐม

คุณศิวาวุธ สงวนทรัพย์ ปลูกมะกรูด จ.นครปฐม

คุณศิวาวุธ สงวนทรัพย์ นักธุรกิจส่งออกเครื่องเทศไทยจำพวก กระเพรา โหระพา ออกต่างประเทศ ไม่เพียงเท่านั้นเขายังแจ้งเกิดในวงการเกษตรสมัยใหม่ ด้วยการผลิตใบมะกรูดป้อนตลาดผลิตน้ำพริกสำเร็จรูปอีกรายหนึ่งของประเทศ

นักศึกษาปริญญาโท ภาครัฐศาสตร์ คนนี้ เล่าว่า ก่อนหน้านี้เขาได้มีโอกาสเข้าทำงานด้านฝ่ายต่างประเทศมาก่อน เพียงแค่อาทิตย์กว่าๆ ก็ลาออกทันที เมื่อพบว่าตัวเองไม่ได้ชอบนั่งโต๊ะทำงานสักเท่าไหร่ ซึ่งเป็นปัญหาต่อเขามาก ตรงนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นผันตัวเองเข้ามาโคจรกับการเกษตรทุกวันนี้

“ตอนแรกคิดว่าจะปลูกมะนาว จึงเข้าร่วมกับทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทีนี้เขาก็มีหลักสูตรมะกรูดด้วย เลยลองเรียนดู พอเข้าไปเรียนดูแล้วเหมือนว่าจะง่ายกว่ามะนาว ดังนั้นจึงเลือกปลูกมะกรูด”

เขายังบอกอีกว่าเหมือนง่าย แต่ก็ยากพอควร เพราะกว่าที่เขาจะสามารถผลิตใบมะกรูดออกมาให้ใบใหญ่  และสวย เป็นความต้องการของตลาดเช่นนี้ “เคยโละทิ้งทั้งแปลงมาแล้ว”

โรคของการปลูกมะกรูด

ปัญหา 108 เรื่องโรคที่เข้ามาประดังช่วงหนึ่งยังไม่พอ เพราะด้วยพื้นที่ที่ซื้อไว้นั้นเขาเรียกว่า “เกาะ” ซึ่งรายล้อมไปด้วยแม่น้ำยายหอม ซึ่งเคยท่วมก่อนที่เขาจะมาซื้อเสียอีก และย่อมเป็นธรรมดาที่เขาจะกังวลกับเรื่องน้ำ  ดังนั้นหลังจากที่เขาซื้อที่ดินได้แล้ว ในปีแรกเขาจะต้องสังเกตการจัดการระบบน้ำเสียก่อน จากนั้นในปีถัดมาเขาจึงเริ่มปลูกต้นมะกรูดได้

ในบางพื้นที่ของประเทศไทยอาจประสบภัยน้ำขาดแคลนในการเกษตรอย่างหนัก ช่วงฤดูหนาวไปจนถึงฤดูร้อน และร่าเริงในช่วงหน้าฝน ซึ่งในบางพื้นที่หน้าฝนก็อาจเป็น “ฝันร้าย” สำหรับเกษตรกรได้เช่นกัน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

คุณศิวาวุธเองเผยว่าตัวเขาไม่เคยมีความรู้เรื่องการเกษตรมาก่อน แต่ด้วยความที่เป็นคนชอบอ่านหนังสือ โดยเฉพาะในหมวดหมู่การเกษตรต่างประเทศที่พัฒนาไปมาก จึงทำให้เขาสามารถเลือกใช้กระบวนการต่างๆ มาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม และเป็นระบบอินทรีย์ 100% ด้วย

ไม่เพียงการศึกษาด้วยตนเองเท่านั้น แต่เขายังบอกว่า “ผมมีที่ปรึกษาฟาร์มดี” จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ที่ให้คำแนะนำที่ดีแก่เขามาโดยตลอดนั่นเอง

4.ปลูกในโรงเรือนกางมุ้ง-ป้องกันหนอน
4.ปลูกในโรงเรือนกางมุ้ง-ป้องกันหนอน

เปลี่ยนบ่อกุ้งสู่แปลงมะกรูด

คุณศิวาวุธมีการปลูกมะนาว ทั้งในมุ้ง และกลางแจ้ง อีก ทั้งหมด 3 แปลง ซึ่ง 2 แปลง ที่เขาเพิ่งปลูกมาประมาณ 1 ปีกว่า เป็นบ่อเลี้ยงกุ้งเก่า ซึ่งไม่น่าแปลกใจเลย เนื่องจากบริเวณโดยรอบของ ต.ดอนยายหอม เป็นพื้นที่ที่มีน้ำสมบูรณ์ ระหว่างทางเข้า “สวนมะกรูดบ้านคุณปู่” จะเห็นบ่อกุ้งค่อนข้างหนาตาทีเดียว

เขาเองต้องไถกลบปอเทืองบ่อละประมาณ 2-3 ครั้ง และใส่ปุ๋ยคอก อย่าง ขี้หมู และขี้ไก่ แบบเหมาเป็นรถสิบล้อ อาจคำนวณคร่าวๆ เป็นหลายตัน เข้าบำรุงดินก่อนปลูกเสมอ จากนั้นจะขุดร่องลึกรอบแปลงปลูก ซึ่งเป็นกระบวนการระบายน้ำ ป้องกันน้ำขังที่จะส่งผลให้เกิดโรคเน่าได้

5.กิ่งตอนและวิธีการค้ำต้นช่วงเริ่มปลูก
5.กิ่งตอนและวิธีการค้ำต้นช่วงเริ่มปลูก
คลุมพลาสติกบนแปลงและในร่อง
คลุมพลาสติกบนแปลงและในร่อง ระบบสปริงเกลอร์ ระบบสปริงเกลอร์
นอกโรงเรือนกางมุ้งเต็มไปด้วยระบบน้ำหยดสปริงเกลอร์
นอกโรงเรือนกางมุ้งเต็มไปด้วยระบบน้ำหยด ระบบสปริงเกลอร์ ระบบสปริงเกลอร์

การปลูกมะกรูดด้วยกิ่งตอน

ถ้าถามจะให้ตามตำราแบบฉบับการปลูกมะกรูดตามระเบียบแบบแผน ที่นี่คงเป็นอีกหนึ่งสวนที่ฉีกตำราเหล่านั้นออกอย่างสิ้นเชิง ซึ่งแน่นอนว่าถ้าใช้วิธีการปลูกอีกแบบหนึ่งแล้วได้ผล ก็คงไม่จำเป็นต้องทำตามตำราเรียนก็ได้ ถือว่าเป็นการเรียนทางลัดเอา

คุณศิวาวุธมีวิธีการปลูกแบบง่ายๆ ไปเลยว่า “ใช้กิ่งตอนปลูก โดยไม่ต้องชำถุง” ซึ่งโดยทั่วไปแล้วสำหรับนักขยายกิ่งพันธุ์ หรือผู้ปลูกไม้ยืนต้น เมื่อรับซื้อกิ่งตอนมาใหม่ต้องมีการชำกิ่งในถุงดำเสียก่อนระยะหนึ่ง เพื่อให้รากปรับตัวในการเจริญเติบโต

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สวนมะกรูดบ้านคุณปู่มีวิธีการที่ไม่ต้องชำถุงดำให้เปลืองต้นทุนการผลิตมากยิ่งขึ้น คุณศิวาวุธอธิบายว่าปกติกิ่งตอนที่ตัดออกมาจากต้น หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ลงถุงดำจะสามารถเก็บไว้ได้ประมาณ 5-6 วัน กิ่งก็จะไม่ดีแล้ว แต่ช่วงที่เขาซื้อมาเป็นเวลาที่ทำการเตรียมดินในพื้นที่เรียบร้อย รอเพียงนำต้นมาลงเท่านั้น จึงไม่เป็นปัญหา

ก่อนอื่นต้องแกะถุงพลาสติกหุ้มตุ้มตอนออกก่อน แล้วนำไปปลูกในแปลงทันที ระยะห่าง 50×50 เซนติเมตร สลับฟันปลา ค้ำด้วยไม้ จากนั้นให้รดน้ำทันทีเพื่อให้ดินแน่น แล้วค่อยคลุมพลาสติกก่อน ตามด้วยระบบน้ำหยด

กิ่งพันธุ์มะกรูด

กิ่งพันธุ์มะกรูดที่เขารับมาจะเป็นกิ่งของสมาชิกกลุ่มที่ทำมาก่อนหน้านี้แล้ว ในราคากิ่งละ 25 บาท ซึ่งได้ประมาณการคร่าวๆ ในระยะที่ปลูกอยู่ที่ประมาณ 120,000 บาท/ไร่..!!!

6.ใช้รับสายน้ำหยด-นำเข้ามาจากประเทศอิสราเอล
6.ใช้รับสายน้ำหยด-นำเข้ามาจากประเทศอิสราเอล ระบบสปริงเกลอร์ ระบบสปริงเกลอร์ ระบบสปริงเกลอร์
ระบบการต่อแบบสายน้ำหยดเข้าแปลงมะกรูดที่-2-และ-3
ระบบการต่อแบบสายน้ำหยดเข้าแปลงมะกรูดที่-2-และ-3 ระบบสปริงเกลอร์
น้ำขี้หมูหมักเอง
น้ำขี้หมูหมักเอง
ระบบน้ำแบบสปริงเกลอร์
ระบบน้ำแบบ ระบบสปริงเกลอร์ ระบบสปริงเกลอร์ ระบบสปริงเกลอร์

การให้ปุ๋ยและน้ำ ระบบสปริงเกลอร์ กับต้นมะกรูด

การจัดระบบน้ำให้ทั่วแปลงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน และค่อนข้างยุ่งยากพอตัว เพื่อให้ครอบคลุมกับพื้นที่ทั้งหมด ที่สำคัญยังเป็นศูนย์กลางของการจับจ่ายน้ำ และปุ๋ยทั้งแปลงอีกด้วย

คุณศิวาวุธสร้างโรงพักเครื่องสูบระบบจับจ่ายน้ำไว้เฉพาะจุดเดียว “ไม่ต้องเดินให้น้ำเอง อยู่แค่จุดเดียวผสมปุ๋ยก็พอ”

ณ ตรงนี้เขาจะใช้เป็นสูตรแม่ปุ๋ยแล้วนำมาผสมเอง มีทั้งปุ๋ยยูเรียสูตร 46-0-0 และแม่ปุ๋ยที่นำเข้าจากประเทศอิสราเอล ผ่านบริษัทนำเข้าที่สามารถหาซื้อในประเทศไทยได้ง่ายมากขึ้น เป็นสูตร 12-60-0 และ 0-0-60 นำมาละลายน้ำก่อนให้ทางสายน้ำหยด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สูตรปุ๋ยที่คิดค้นเองโดยการคำนวณจากจำนวนต้นเป็นหลัก 3 กรัม/ต้น/อาทิตย์

โดยการคำนวณจากจำนวนต้นเป็นหลัก 3 กรัม/ต้น/อาทิตย์ นำไปคูณกับจำนวนต้นทั้งหมด จะเป็นปริมาณปุ๋ยแต่ละตัวที่ต้องให้ต้นมะกรูดในแต่ละอาทิตย์ออกมา

ไม่เพียงแค่ปุ๋ย 3 ตัวนี้เท่านั้นที่เขาใช้ แต่เป็นการสลับกับน้ำขี้หมูด้วย หลักการง่ายๆ คือ เขาเลือกซื้อขี้หมูที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกัน และที่สำคัญ คือไม่มีการใส่โซดาไฟใดๆ ทั้งสิ้น จากนั้นนำมาห่อด้วยถุงตาข่าย แช่น้ำในถัง 200 ลิตร ประมาณ 24 ชม. แล้วเอาขี้หมูออก จะเหลือใช้เพียงน้ำเท่านั้น เพราะน้ำขี้หมูตัวนี้เขาก็บอกว่าตัวไนโตรเจน หรือ N สูงมาก และวิธีการหมักแบบนี้ก็ไม่มีกลิ่นด้วย และจะใส่สลับกับแม่ปุ๋ยอย่างละ 1 สัปดาห์/ครั้ง

ระบบน้ำทั้งสวนจะมีทั้งน้ำหยดที่ใช้เป็นหลักวันละ 2 ครั้ง ตามสภาพภูมิอากาศ และ ระบบสปริงเกลอร์ ที่มีจุดประสงค์หลัก คือ สามารถป้องกันเพลี้ยไฟได้มากถึง 50% !!! ทั้งนี้เนื่องจากว่าเพลี้ยไฟไม่ชอบความชื้นแฉะมากนั่นเอง…

7.กำจัดแมลงและศัตรูพืช
7.กำจัดแมลงและศัตรูพืช

การกำจัดหนอน เพลี้ยไฟ และไรแดง

คุณศิวาวุธเล่าให้ทีมงานฟังว่าก่อนหน้านี้ช่วงที่เขาเริ่มปลูกมะกรูดใหม่ๆ “หนอน” ระบาดเยอะมาก “จับหนอนแทบจะทุกวัน” พอหลังจากที่หนอนลงแล้ว พวกเพลี้ยไฟ ไรแดง โรคต่างๆ นาๆ ก็เข้ามารุมเร้าทันที เป็นผลพลอยได้ของต้นมะกรูดไปเลย

เป็นช่วงระยะหนึ่งที่ลงจำพวกสารเคมีค่อนข้างหนักพอดู ใช้ไปใช้มาก็เริ่มรู้สึกว่าเอาไม่อยู่แล้ว แมลงเริ่มเกิดการดื้อยาหนักเข้าไปอีก ตรงนี้ก็ทำให้ต้นตายไปแล้วบางส่วน ที่เหลือก็ตัดต้นทิ้ง เหลือเพียงแค่ต้นตอโผล่ออกมานิดเดียวเท่านั้น

ด้วยประสบการณ์ครั้งนั้น ตัวเขาจึงเริ่มศึกษาจากทั้งทางอินเตอร์เน็ตบ้าง หนังสือ ตำราต่างๆ บ้าง และทำให้ได้มารู้จักกับเชื้อแบคทีเรีย บาซิลัส ทูริงเยนซิส (บีที) เป็นจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งในธรรมชาติ ที่มีฤทธิ์ในการทำลายแมลง โดยเฉพาะหนอนผีเสื้อ และเชื้อราบิวเวอร์เรีย ที่เป็นพวกเชื้อราทำลายแมลง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โดยปกติการทำลายของแมลงมักเข้าทำลายเฉพาะใบอ่อนเท่านั้น ดังนั้นหากจัดการในช่วงของใบอ่อนได้ก็ไม่เป็นปัญหา หากจะเลือกใช้เป็นประเภทเคมี เขาแนะนำว่าสามารถใช้เป็นพวกอะบาเม็กติน หรือไซเพอร์เมทริน ก็ได้ ให้ฉีดพ่นวันแรกที่ใบเริ่มแตกออกมา พ่นอีกที คือ วันที่ 4 หลังจากพ่นรอบแรกแล้ว และวันที่ 7 อีกครั้งหนึ่ง  เรียกสูตรนี้ว่า 1-4-7 พอผ่านวันที่ 7 ไปแล้ว ใบจะเริ่มคลี่ออกมา และแก่ขึ้น แมลงต่างๆ ก็จะไม่ลงแล้ว หรือถ้าเป็นไรแดงก็ให้พ่นกำมะถัน แต่ตรงนี้จะไม่เข้าไปทำลายไข่ ให้ใช้โพรพาไกต์ ฉีดพ่นประมาณ 2 รอบ

เชื้อราบิวเวอร์เรียที่ต่อเชื้อลงเมล็ดข้าวเปลือก
เชื้อราบิวเวอร์เรียที่ต่อเชื้อลงเมล็ดข้าวเปลือก

ขั้นตอนการทำหัวเชื้อบิวเวอร์เรียลงในเมล็ดข้าวเปลือก

ประเด็น คือ เขาเลือกใช้วิธีการแบบอินทรีย์เข้ามากำจัดศัตรูพืชมากกว่า เช่น บิวเวอร์เรีย ก็สามารถป้องกันได้ประมาณ 80%..!!! ในสวนของเขา ซึ่งนำมาจากศูนย์บริหารศัตรูพืชจังหวัดสุพรรณบุรี และบีทีที่สามารถหาซื้อได้จากทางอินเตอร์เน็ต

ต่อหัวเชื้อบิวเวอร์เรียลงในเมล็ดข้าวเปลือก บางคนที่เคยต่อหัวเชื้อไตรโคเดอร์มาก็เป็นวิธีเดียวกัน ซึ่งสามารถทำได้ด้วยตนเอง ดังนี้

ต้มข้าวเปลือกให้สุกพองประมาณ 1 ชม. 30 นาที แล้วนำไปผึ่งให้พอหมาด และเย็น ก่อนนำมาใส่ถุงประมาณ ½ กก./ถุง หยอดหัวเชื้อเมล็ดข้าวฟ่างพอประมาณ จึงจะมัดปากถุงให้เรียบร้อย ก่อนนำเข็มเบอร์ 12 เจาะตามถุงเพื่อระบายอากาศ จากนั้นก็รอให้เชื้อเดินเต็มเมล็ดข้าวฟ่าง อีกประมาณ 8 วัน ก็สามารถนำไปใช้ได้ ซึ่งเขาบอกว่าหัวเชื้อเมล็ดข้าวฟ่าง 1 ขวด สามารถนำมาต่อได้ประมาณ 10-15 กก. ทีเดียว และเก็บไว้ในตู้เย็นได้นาน 1-2 อาทิตย์ เพราะอาจทำให้หัวเชื้ออ่อนแอ ประสิทธิภาพอาจลดลงตามไปด้วย

บาซิลัส-ทูริงเยนซิส-บีที
บาซิลัส-ทูริงเยนซิส-บีที

ขั้นตอนการขยายเชื้อบีที

สำหรับวิธีการใช้ในสวนมะกรูดบ้านคุณปู่ จะใช้ในอัตราส่วน 1 กก./น้ำ 200 ลิตร หรือประมาณ 2 ถุง นั่นเอง

วิธีการขยายเชื้อบีที ก่อนอื่นต้องนำหัวเชื้อที่สั่งซื้อทางอินเตอร์เน็ตมาผสมกับน้ำ 20 ลิตร ใส่น้ำตาลทราย 1 กก. กับนมข้นหวาน 1 กก. จากนั้นเป่าอากาศทิ้งไว้ประมาณ 3 วัน เติมน้ำตาลทรายไปอีก 1 กก. และนมข้นหวานอีก 1 กระป๋อง พักไว้อีก 3 วัน ก็สามารถนำไปใช้ หรือบรรจุลงขวดเก็บไว้ในตู้เย็นได้ประมาณ 2 เดือน หลักการนำไปใช้ต้องนำไปผสมน้ำก่อน โดยใช้บีที 1 ลิตร/น้ำ 200 ลิตร ในการฉีดพ่นแต่ละครั้ง

โฆษณา
AP Chemical Thailand
8.มะกรูดที่เพิ่งตัดออกจำหน่ายได้ประมาณ-2-อาทิตย์
8.มะกรูดที่เพิ่งตัดออกจำหน่ายได้ประมาณ-2-อาทิตย์

ด้านตลาดใบมะกรูด

“ที่สวนจะขายแต่ใบเพียงอย่างเดียว ก่อนหน้านี้จะขายส่งตลาดก่อน แต่พอมีคนเห็นว่าที่นี่ใบสวย และใหญ่พักหลังเขาก็จะเข้ามาจองเอง และที่ปลูกอยู่นี้ก็มีคนจองไปหมดแล้ว ซึ่งตอนนี้ก็ส่งให้กับบริษัทส่งออก และโรงงานน้ำพริก และโรงงานอบแห้ง”

ซึ่งคุณศิวาวุธทำเป็น คอนแทรคฟาร์มมิ่ง (Contract Farming) คือ เป็นการทำสัญญาระหว่างเจ้าของฟาร์มกับผู้ซื้อ ด้านการซื้อขายในราคาที่ตกลงกันไว้ หรือที่เรียกว่า “ราคาประกัน”

9.ระบบสปริงเกลอร์ ในสวน มะกรูดตัดใบ สร้างรายได้ทุกวันได้ 50,000 บาท/เดือน
9.ระบบสปริงเกลอร์ ในสวน มะกรูดตัดใบ สร้างรายได้ทุกวันได้ 50,000 บาท/เดือน

รายได้จากใบมะกรูด

ณ ปัจจุบันนี้ราคาใบมะกรูดจากสวน เฉพาะใบอยู่ที่ไม่ต่ำกว่า 100 บาท/กก. หรือถ้าเป็นกิ่งติดใบด้วยประมาณ 40-50 บาท/กก. เฉลี่ยคร่าวๆ ได้ว่าเขาสามารถสร้างรายได้เข้าสวนประมาณ 50,000 บาท/เดือน เพราะต้องเก็บทุกวัน หมุนเวียนเก็บผลผลิตไปเรื่อยๆ จึงทำให้เขามีรายได้ทุกวันไม่ขาดมือ

อย่างไรก็ตามเส้นทางการเกษตรก็ไม่เคยถูกเรียกว่าหยุดนิ่ง สร้างโอกาสให้กับผู้ที่เดินเร็วกว่าเสมอ ดังนั้นไม่ใช่เพียงว่าต้องเดินตามให้ทันเท่านั้น แต่ต้องเดินให้นำ มีแนวคิด วิธีการที่เด่นชัดเป็นของตัวเอง จากคุณศิวาวุธที่แสดงให้เห็นว่า การเรียนรู้ และการศึกษาค้นคว้า อยู่เสมอ ทำให้เขามองเห็นโอกาสของพืชพื้นบ้านเล็กๆ ที่ความต้องการต่อครัวเรือนน้อย แต่เป็นความต้องการเกือบทุกครัวเรือนต่างหาก ที่เป็นประเด็นสำคัญ

ขอขอบคุณ คุณศิวาวุธ สงวนทรัพย์  559  ต.สนามจันทร์ อ.เมือง จ.นครปฐม 73000

โทร.09-0004-8097 facebook สวนมะกรูดบ้านคุณปู่

โฆษณา
AP Chemical Thailand