การปลูกสตรอเบอรี่ ขายให้นักท่องเที่ยว ผลขนาดจัมโบ้ราคาสูงสุดถึง 180 บาท/กก.

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ภาคการเกษตรในภาพรวมยังอยู่ระหว่างการเร่งรัดพัฒนาไปกับแผนงานนโยบายของภาครัฐมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการผลิตสินค้าเกษตรเพื่อให้ได้มาตรฐานคุณภาพสำหรับในการส่งออก และยังได้ทำควบคู่ไปพร้อมกับการผลิตสินค้าของภาคอุตสาหกรรมเพื่อให้มีสินค้าส่งออกได้ ทั้งในและนอกประเทศ การปลูกสตรอเบอรี่

1.ไร่สตรอเบอรี่
1.ไร่สตรอเบอรี่

ทั้งนี้สินค้าภาคการเกษตรยังได้นำนโยบาย หรือได้มีการนำโครงการพัฒนาอาชีพ วิธีการทำเกษตรกรรมในด้านต่างๆ มาปฏิบัติปรับปรุงใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกร ให้มีความสอดคล้องกับภาวะกลไกของราคาตามที่ทางด้านการตลาดต้องการ ดังนั้นการจัดการพัฒนาพื้นที่จึงถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งที่จะกระตุ้นยกระดับพื้นฐานระบบเศรษฐกิจเกิดขึ้นภายในท้องถิ่นให้กับเกษตรกร เป็นต้นว่าการส่งเสริม สร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ เป็นต้น

Advertisement-Banner-by-บริษัท-โซตัส-อินเตอร์เนชั่นแนล-จำกัด-www.sotus.co.th
Advertisement-Banner-by-บริษัท-โซตัส-อินเตอร์เนชั่นแนล-จำกัด-www.sotus.co.th

สภาพพื้นที่ การปลูกสตรอเบอรี่

ทั้งนี้พื้นที่ภาคเหนือในส่วนของโครงการหลวง หรือโครงการบนที่สูง ซึ่งเป็นโครงการที่ได้ลงมาพัฒนาพื้นที่ให้มีการจัดการตามแผนงานให้กับพื้นที่เพาะปลูกให้เหมาะสมกับพืช ได้ตรงตามกับสภาวะสภาพภูมิอากาศในโครงการดังกล่าว ได้มีหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน เข้ามาปรับปรุง สร้างกลไกประสานงานให้ความร่วมมือเกิดแก่เกษตรกรเพื่อให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น

ด้วยการสนับสนุนส่งเสริมการทำเกษตรให้สอดคล้องตามแนวทางนโยบายการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ให้เกิดเป็นรูปธรรม ในการพัฒนาหรือปรับปรุงพื้นที่ทำการเพาะปลูก เป็นต้นว่าการปลูกสตรอเบอรี่ซึ่งเป็นพืชเมืองหนาว เป็นพืชที่เหมาะสมกับพื้นที่เพื่อเป็นแนวทางนำไปสู่การท่องเที่ยวเชิงเกษตร และยังเป็นการช่วยกระตุ้นรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ หรือบุคคลในชุมชน โดยเฉพาะผู้ปลูกสตรอเบอรี่ได้มีรายได้เพิ่มขึ้น

2.คุณอินสอน-วงศ์วาน-ปลูกสตรอเบอรี่-จ.เชียงใหม่
2.คุณอินสอน-วงศ์วาน-ปลูกสตรอเบอรี่-จ.เชียงใหม่

การจำหน่ายสตรอเบอรี่

คุณอินสอน วงศ์วาน เจ้าของไร่วงศ์วานสะเมิง เชียงใหม่ เล่าว่า ปลูกสตรอเบอรี่สายพันธุ์ 329 และสายพันธุ์ 80 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ได้มาจากพระราชทานตามโครงการหลวง เข้ามาพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่ และได้แนะนำให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ได้ทำการเพาะปลูก

เนื่องจากพื้นที่อำเภอสะเมิงตามสภาวะอากาศค่อนข้างจะหนาวเย็น จึงเหมาะสมกับพืชเมืองหนาว อย่างเช่น สตรอเบอรี่ อย่างไรก็ตามในขณะช่วงแรกตามโครงการหลวงที่ได้เข้ามาให้ความรู้ใน การปลูกสตรอเบอรี่ นั้น เธอจึงได้นำมาปลูกทดลองเป็นรายแรกในพื้นที่ 6 ไร่ เมื่อปี 2547 ทั้งที่ไม่มีความรู้ ทั้งเรื่องของการปลูก และการดูแลรักษา  ในช่วงทดลองปลูกอยู่นั้นก็ได้ศึกษาหาความรู้อย่างลองผิดลองถูก “ล้มลุกคลุกคลาน” ด้วยความที่ไม่เข้าใจ รู้นิสัยธรรมชาติ ความต้องการของพืช

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ส่วนผลผลิตจะเน้นออกจำหน่ายขายให้พ่อค้า แม่ค้า คนกลาง ผลจะคัดเอาเกรด ทั้งความสวยของสีผิว และลักษณะรูปทรง ขนาด ของผล เพื่อให้ได้ตามอย่างที่พ่อค้า แม่ค้า ต้องการ โดยผลจะเริ่มจากผลรุ่นจิ๋ว เล็ก กลาง ใหญ่ และผลจัมโบ้ ส่วนราคาก็จะอยู่ที่ กก.ละ 50 บาท ขึ้นไป อย่างเช่น ผลรุ่นจิ๋ว ราคา 50 บาท/กก. เล็ก 80 บาท/กก. กลาง 120 บาท/กก. ใหญ่ 150 บาท/กก. และผลขนาดรุ่นจัมโบ้ราคาสูงสุดอยู่ที่ 180 บาท/กก. เป็นต้น

3.สายพันธุ์สตรอเบอรี่
3.สายพันธุ์สตรอเบอรี่

สายพันธุ์สตรอเบอรี่

แต่ด้วยความที่ว่าพื้นที่ไร่วงศ์วานปลูกสตรอเบอรี่ 2 สายพันธุ์ อย่างที่กล่าวมา และได้อยู่ในละแวกไกลกับตัวเมืองอำเภอสะเมิง ซึ่งเป็นเขตที่นักท่องเที่ยว ที่มีทั้งคนไทย และคนต่างประเทศ จะนิยมเข้ามาเที่ยว ทั้งมาจับจ่ายใช้สอย ของกิน ของใช้ และเข้ามาลองลิ้มชิมรสผลไม้ที่เป็นของดีประจำถิ่นในพื้นที่นี้

ทั้งนี้ การปลูกสตรอเบอ รี่ของไร่วงศ์วานยังอยู่ในระหว่างลองผิดลองถูก กับ การปลูกสตรอเบอรี่ ส่งขายให้กับพ่อค้า แม่ค้า คนกลางอยู่นั้น ทำให้ผลผลิตสตรอเบอรี่ที่ขายออกไปในแต่ละรอบทำให้รายได้ไม่คุ้มกับการที่ลงทุนไป ซึ่งเกิดขึ้นอยู่ในช่วงเวลา 2-3 ปีแรกนั้น

แต่พอมาระยะหลังทำให้เข้าใจในหลักการระบบการจัดการพืชอย่างสตรอเบอรี่ โดยได้จากการผ่านประสบการณ์ สะสมการเรียนรู้ในการผลิต อย่างเช่น วิธีการปลูกสตรอเบอรี่ เพื่อให้ได้คุณภาพด้วยระบบการดูแลการป้องกันกำจัดโรคพืช รวมทั้งการป้องกันการปราบแมลงศัตรูต่างๆ

4.ผลผลิตสตรอเบอรี่
4.ผลผลิตสตรอเบอรี่

ด้านตลาดสตรอเบอรี่

ทั้งนี้ยังได้เล็งมองเห็นช่องทางด้านการตลาดได้กว้างมากขึ้น ตลาดเป้าหมายหลัก คือ ลูกค้าที่เป็นนักท่องเที่ยวทั่วไปที่มักจะเข้ามาเที่ยวชมไร่ และเข้ามาซื้อผลของสตรอเบอรี่ จึงได้เปลี่ยนจากการผลิตที่ได้เคยมุ่งขายให้พ่อค้า แม่ค้า คนกลาง มาเป็นลูกค้าที่เป็นนักท่องเที่ยวโดยตรง

อย่างไรก็ตามจากที่ได้หันมาขายให้นักท่องเที่ยวนั้น ซึ่งในแต่ละปีนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวในไร่ก็จะซื้อสตรอเบอรี่ และในแต่ละวันก็จะเข้ามาหลายร้อยคน โดยเฉพาะวันหยุดก็จะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาจำนวนมากขึ้น บ้างก็ซื้อสตรอเบอรี่กลับบ้านไปเป็นของฝาก หรือซื้อไปรับประทานเอง บ้างก็มีนักท่องเที่ยวที่ต้องการเข้ามาสัมผัสบรรยากาศ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โดยเข้ามาพักโรงแรม กางเต็นท์นอนพักผ่อน หรือเข้ามาพักที่โฮมสเตย์ “มีอาหารประเภทปิ้ง ย่าง ครบ” ซึ่งทางไร่วงศ์วานก็มีให้บริการ ทำให้มีรายได้เป็นเงินจำนวนมากในแต่ละสัปดาห์

5.ผลผลิตที่เก็บในไร่วงค์วานจาก-การปลูกสตรอเบอรี่
5.ผลผลิตที่เก็บในไร่วงค์วานจาก-การปลูกสตรอเบอรี่

การเก็บเกี่ยวผลผลิตสตรอเบอรี่

คุณอินสอนยังเล่าอีกว่า การปลูกสตรอเบอรี่ หากนำเมล็ดมาเพาะกล้าปลูกก็จะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เมื่ออายุถึง 5 เดือน ทั้งนี้แต่ถ้านำต้นไหล “คือ สวนที่เจริญเติบโตออกจากต้นแม่ตามลำต้น หรือข้อ” ลงปลูก เมื่อได้ปลูกลงดินแล้วก็จะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในระยะเวลา 2 เดือน ซึ่งส่วนมากเกษตรกรก็จะนิยมนำเอาต้นไหลลงปลูก

อย่างไรก็ตามโดยปกติธรรมชาติสตรอเบอรี่หลังจากปลูกเสร็จ รวมทั้งดูแลรักษามาเป็นระบบอย่างดี สตรอเบอรี่ก็จะออกผลผลิตมาให้เก็บเกี่ยวได้ถึง 2 ชุด และ การปลูกสตรอเบอรี่ ของเกษตรกรนั้นก็จะปลูกกันในเดือนกันยายน ผลผลิตก็จะออกมาให้เริ่มเก็บเกี่ยวได้เต็มที่ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ธันวาคม ไปสิ้นสุดในเดือนเมษายน สตรอเบอรี่ก็จะหยุดให้ผลผลิต

6.การไถพรวนดินแบบยกระบบคันร่อง
6.การไถพรวนดินแบบยกระบบคันร่อง

ขั้นตอนการปลูกสตรอเบอรี่

อย่างไรก็ตามการปลูกสตรอเบอรี่ที่ไร่วงศ์วานโดยในขั้นแรกนั้นก็จะไถพรวนดินแบบยกระบบคันร่อง หลังจากนั้นก็ขุดหลุมปลูกให้พอดีกับต้นกล้า ในส่วนของการขุดหลุมนั้นก็จะไม่ขุดหลุมให้ลึก หรือตื้น มากเกินไป และเอาปุ๋ยคอกมูลค้างคาว หรือปุ๋ยหมักชีวภาพ รองก้นหลุม

เธอยังเล่าอีกว่าหากไม่ได้ใช้มูลค้างคาว เธอก็จะเอาเศษอาหารที่เป็นของทอดมารองก้นหลุม เนื่องจากปุ๋ยดังกล่าวจะเกิดปฏิกิริยาให้ผลดีต่อต้นสตรอเบอรี่ ช่วยบำรุงระบบรากให้เกิดความแข็งแรง ทั้งนี้หากแต่ใส่ปุ๋ยเคมีรองก้นหลุม บางทีก็อาจจะทำให้เกิดเป็นดินเค็ม ในขณะที่ต้นสตรอเบอรี่ยังอ่อนแอก็จะทำให้เน่าเสีย หรือตายได้

“ปีที่แล้วเราปลูกใช้เศษอาหารที่เป็นของทอดรองก้นหลุม ช่วงนั้นก็ดูแลอย่างดี รวมทั้งระบบการให้น้ำ ทำให้ต้นเกิดขึ้นมาสวย พร้อมกับให้ลูกออกมาผิวสีแดง สมบูรณ์ จึงได้เอาไปประกวดในงานสตรอเบอรี่ก็ได้ที่หนึ่ง” เธอเล่าถึงการดูแลที่ถูกวิธี

โฆษณา
AP Chemical Thailand
7.ดอกสตรอเบอรี่บาน
7.ดอกสตรอเบอรี่บาน

การให้น้ำและปุ๋ยสตรอเบอรี่

ทั้งนี้การให้น้ำสตรอเบอรี่ของไร่วงศ์วานจะใช้ระบบน้ำหยด ส่วนการให้น้ำหากแต่ให้น้ำมากหรือน้อยเกินไป ใช้ระบบน้ำไม่ดี ก็จะทำให้ผลผลิตไม่ได้ตามที่ต้องการ หรือไม่คุ้มกับการที่ลงทุนไป เนื่องจากสตรอเบอรี่เป็นพืชล้มลุก รากตื้น อยู่ใกล้กับผิวดิน จึงจำเป็นต้องดูแลเอาใจใส่ในช่วงตลอดระยะ 120 วัน ไม่ควรละเว้นแม้แต่วันหยุด

โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ปลูกเสร็จใหม่ๆ ซึ่งต้นยังไม่แข็งแรง ในระยะนี้ก็จะให้น้ำวันละ 2 ครั้ง ในช่วงเช้าและเย็น หรือในขณะเดียวกันนั้นก็ต้องดูลักษณะความชื้นของดินเป็นเกณฑ์วัดว่าควรจะให้น้ำน้อยหรือมากเพียงใด ที่มีผลต่อต้นสตรอเบอรี่จะเจริญเติบโต เกิดระบบรากแข็งแรงหรือไม่ หากแต่เกิดมีระบบรากที่แข็งแรงแล้ว การให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ อย่างกรณีฝนไม่ตกก็จะให้น้ำทุกวัน การปล่อยน้ำหยดก็จะปล่อยออกนานถึง 15 นาที เฉพาะช่วงเช้า ทั้งนี้การให้น้ำดังกล่าวก็จะให้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเก็บเกี่ยวผลผลิตหมด หรือสตรอเบอรี่ได้หยุดให้การเก็บเกี่ยว

สำหรับการให้ปุ๋ยสตรอเบอรี่ หากแต่ได้ปลูกลงดินแล้ว โดยปกติธรรมชาติของต้นสตรอเบอรี่ระหว่างดินที่ลงปลูกกับสภาวะสภาพภูมิอากาศ ก็จะเป็นธาตุอาหารหลัก หรืออาหารเสริม กับการปลูกสตรอเบอรี่ ทั้งนี้หากแต่จะมีมากหรือน้อยเพียงใดก็มักจะอยู่ที่สภาวะของพื้นที่ อย่างไรก็ตามในส่วนการให้ปุ๋ยก็จะให้หลังจากที่ปลูกประมาณ 20 วัน ต้นกำลังแข็งแรง

โดยจะให้ปุ๋ยชีวภาพ หรือปุ๋ยคอก นอกจากนี้ก็จะให้ปุ๋ยอินทรีย์โกรออแกนิค ซึ่งเป็นปุ๋ยสูตรมีฤทธิ์อายุสั้น วิธีใช้ก็จะฉีดพ่นทางใบ โดยจะให้ 5-6-7 วัน/ครั้ง เพื่อป้องกันโรคพืชและแมลง “ที่ใช้ปุ๋ยสูตร 8-24-24 เพื่อเร่งการเจริญเติบโต หรือเร่งให้ลูกมันใหญ่ ก็ไม่ทำให้มันใหญ่หรอก ตอนส่งพ่อค้าคนกลางก็จะเน้นเรื่องปุ๋ยเคมี เพราะสตรอเบอรี่ระบบรากมันเยอะ แต่พอมาทำตรงนี้เน้นขายให้ผู้คนทั่วไป หรือนักท่องเที่ยว ถึงลูกมันจะเล็กลงไปหน่อย ก็ขอให้ผู้กินปลอดภัย เราก็พอใจแล้ว” เธอให้เหตุผล

Advertisement-Banner-by-บริษัท-โซตัส-อินเตอร์เนชั่นแนล-จำกัด-www.sotus.co.th
Advertisement-Banner-by-บริษัท-โซตัส-อินเตอร์เนชั่นแนล-จำกัด-www.sotus.co.th
8.กำจัดแมลงและศัตรูพืช
8.กำจัดแมลงและศัตรูพืช

การป้องกันกำจัดแมลงและศัตรูพืช

ในส่วนของแมลงที่มักจะเข้ามาทำลายสตรอเบอรี่ก็จะมีจำพวกแมลง เพลี้ยไฟ ที่เป็นอุปสรรคหลักๆ ของไร่วงศ์วาน ทั้งนี้การป้องกันหรือกำจัดเธอก็จะใช้ต่างๆ เพื่อช่วยป้องกันรักษา ส่วนสารชีวภาพ โดยจะใช้สูตรพื้นๆ ตามตำราชาวบ้าน อย่างเช่น ใบและผลสะเดา  หรือใบยาสูบ นำมาผสมกับเหล้าขาว ซึ่งเป็นการหมักให้เข้ากัน จนกระทั่งได้ที่แล้วก็จะนำมาฉีดพ่นทางใบอย่างเดือนละ 1 ครั้ง เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม การปลูกสตรอเบอรี่ โดยเฉพาะการดูแลรักษาแปลงปลูกเพื่อให้เกิดความชื้นของดิน รวมทั้งการควบคุมจำพวกวัชพืชป้องกันไม่ให้ต้นและผลเกิดความเสียหาย ก็จะใช้ใบไม้สักทอง “ทางภาคเหนือเรียกใบตอง” หรือพลาสติก นำมาปกคลุมแปลงปลูกอย่างที่กล่าว

โฆษณา
AP Chemical Thailand
9.ผลิตภัณต์แปรรูปไร่วงค์วาน
9.ผลิตภัณต์แปรรูปไร่วงค์วาน
น้ำสตรอเบอรี
น้ำสตรอเบอรี

การแปรรูปเป็นอาหาร หรือเมนูจานเด็ด

นอกจากผลผลิตสตรอเบอรี่ที่ได้ขายให้นักท่องเที่ยว หรือบุคคลทั่วไป จากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังได้นำผลสตรอเบอรี่ที่เหลือจากที่ลูกค้าไม่ต้องการ อย่างเช่น ผลให้รูปทรงไม่สวย ที่เป็นผลสุกสีแดงก็จะนำมาแปรรูปเป็นประเภทเครื่องดื่ม ขนมขบเคี้ยว อย่างเช่น น้ำปั่นสดจากสตรอเบอรี่ วุ้นสตรอเบอรี่ ไวน์สตรอเบอรี่ แหนมสตรอเบอรี่ และสตรอเบอรี่อบแห้ง เป็นต้น

ในส่วนสตรอเบอรี่ที่นำมาประกอบอาหารเป็นเมนูจานเด็ด อย่างเช่น ยำสมุนไพรหมูกรอบสตรอเบอรี่ ยำหมูยอสตรอเบอรี่ และไข่เจียวสตรอเบอรี่ เป็นต้น

อย่างไรก็ดีสตรอเบอรี่ซึ่งเป็นพืชเมืองหนาวที่มีเกษตรกรหลายประเทศทั่วโลกนิยมปลูก เนื่องจากมีรสชาติทั้งความหอม อร่อย ชวนรับประทาน และความสวยงามของผล ทำให้บุคคลทั่วไปนิยมบริโภค ทั้งนี้สตรอเบอรี่จึงจัดได้ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจของไทย และพื้นที่ส่วนใหญ่ที่เหมาะสมกับ การปลูกสตรอเบอรี่ จะอยู่ทางภาคเหนืออย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น

หากแต่เกษตรกรท่านใดสนใจอยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติม ไม่ว่าเกษตรกรจะอยู่ภาคใดของไทยก็สามารถปลูกได้ หากแต่ได้ศึกษาถึงแหล่งองค์ความรู้ในการบริหารจัดการพื้นที่ หรือศึกษาหาความรู้ในหลายๆ ด้าน ในพื้นที่เพาะปลูก ตัวอย่างเช่น ไร่วงศ์วาน ติดต่อ คุณอินสอน วงศ์วาน 253 หมู่ 9 ต.สเมิงใต้ อ.สเมิง จ.เชียงใหม่ 50250 โทร.08-5712-0901, 08-9266-0803