การทำ สวนมะละกอ
มะละกอนับว่าเป็นไม้ผลที่อยู่คู่กับภาคครัวเรือนของชาวไทยมาตั้งแต่เนิ่นนาน และเป็นพืชเศรษฐกิจในระดับต้นๆ ของประเทศไทย เนื่องจากเป็นผลไม้ที่มีผู้นิยมรับประทานกันมาก ทั้งในและนอก โดยเฉพาะประชาชนพลเมืองที่อยู่แถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และได้มีอยู่หลายประเทศที่เกษตรกรนิยมปลูกกันมาก เกษตรกรโดยส่วนใหญ่นั้น นอกจากจะปลูกเป็นพืชเสริมไปกับพืชชนิดอื่นๆ เพื่อบริโภคกันเองภายในครัวเรือนแล้ว ยังได้มีเกษตรกรอีกส่วนที่ปลูกไปในเชิงการค้าพาณิชย์
อย่างไรก็ตามในการปลูกมะละกอของเกษตรกรก็ยังมีความเป็นไปได้ ผู้ที่ปลูกประสบผลสำเร็จ และไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากปัญหาอุปสรรคในเรื่องของการเกิดโรคไวรัสวงแหวนที่หาทางออกยังไม่สามารถแก้ให้หายเด็ดขาดได้ และทำให้เกษตรกรผู้ที่ปลูกมะละกอหลายรายที่เจอผลกระทบจากโรคดังกล่าวได้ตัดสินใจด้วยการหันไปปลูกพืชชนิดอื่นแทน
แต่กลับตรงกันข้ามกับเกษตรกรซึ่งมีอยู่อีกส่วนหนึ่งในจำนวนมากเช่นกันที่หันมาเอาดีกับเรื่องการปลูกมะละกอ และไม่เคยคาดคิดกับการเกิดโรคดังกล่าว โดยเฉพาะผลกระทบที่อาจจะเกิดจากการลงทุน และยังได้ลงทุนปลูกมะละกอจนประสบผลสำเร็จต่อเนื่องกันมาตลอดหลายปี
ตลาดของ มะละกอพันธุ์แขกนวล
คุณสายตา ทองเรือนดี เกษตรกรผู้ปลูกมะละกอ หรือ ภรรยา นายก อบต.สลัก ทองเรือนดี ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ได้เล่าว่า มะละกอที่ปลูกอยู่ปัจจุบันนั้นมีอยู่ประมาณ 30 ไร่ ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวก่อนนั้นได้ปลูกสับปะรดแซมไปกับขนุน หรือปลูกแบบผสมผสานกันไป
ส่วนการขายสับปะรดและขนุนในขณะนั้นได้มีพ่อค้า แม่ค้า คนกลาง เข้ามารับซื้อที่หน้าสวน ส่วนการเก็บผลผลิตขายรายได้ยังไม่ดีเท่าที่ควร จึงได้หันมาลงปลูกมะละกอสายพันธุ์แขกนวล และได้เริ่มลงปลูกเมื่อปี 2553 ส่วนการปลูกครั้งแรก ได้ปลูกลงพื้นที่เพียง 11 ไร่ และผลผลิตที่ได้นำออกจำหน่ายขายส่งเข้าโรงงาน หรือ บริษัท ไวต้าฟู้ด แฟคทอรี่ (1989) จำกัด ที่เป็นผู้ผลิตมะละกอกระป๋องส่งออกไปยังต่างประเทศ ซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี
ราคาขายในรอบปีแรก
ส่วนราคาขายในรอบปี ช่วงปีแรกนั้นราคาซื้อขาย มะละกอพันธุ์แขกนวล อยู่ที่ กิโลกรัม ละ 7-10 บาท และในรอบปีดังกล่าวที่เธอเก็บผลผลิตออกจำหน่ายขาย ทำรายได้ถึง 1,800,000 บาท
การเก็บเกี่ยวผลผลิตมะละกอ
ทั้งนี้หลังจากที่ปลูกได้ประมาณสัก 3-4 เดือน ต้นมะละกอสายพันธุ์แขกนวลก็จะผลิตดอก ออกผล มาให้เห็น และในเดือนที่ 4-5 ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตออกจำหน่ายขายได้ สำหรับมะละกอที่ปลูกมาทั้งหมดตั้งแต่ปี 2553 นั้น ก็จะมีเพียงบางต้นเท่านั้นที่เป็นโรคไวรัสวงแหวน
การป้องกันโรคไวรัสวงแหวนเบื้องต้น
ในส่วนของการป้องกันเบื้องต้นนั้นเพื่อมิให้เชื้อได้เกิดแพร่กระจายไปติดกับต้นอื่นๆ ทำให้ต้นมะละกอเกิดเป็นโรคไวรัสวงแหวนไปทั่วทั้งแปลง การสังเกตก็จะดูด้วยว่าต้นมะละกอต้นไหนซึ่งกำลังเกิดอาการที่จะเป็นโรคไวรัสวงแหวน อย่างเช่น การดูลักษณะของต้นที่เป็นต้นไม่สมบูรณ์
โดยดูได้จากช่วงใบที่ปลายยอดลงมา ช่วงใบล่างสุด ก็จะเห็นใบตั้งขึ้นอย่างเด่นชัด หรือใบชี้ขึ้นฟ้า และใบกำลังออกเป็นสีเหลือง หรืออาจจะเห็นเป็นจุดๆ ตรงที่ใบ คือ ต้นที่กำลังจะเกิดโรคไวรัสวงแหวน หรือเป็นต้นที่ไม่สมบูรณ์ เธอก็จะรีบตัดทิ้งทันที และนำเอาออกไปทิ้งไว้ให้ไกลๆ โดยขุดหลุมกับฝังดินให้มิด
ส่วนมะละกอต้นที่สมบูรณ์ แข็งแรง ก็จะดูได้จากลักษณะของใบจะออกเป็นสีเขียวสด ใบก็จะสโลบลง หรือชี้ลงพื้นดิน เป็นต้น อย่างไรก็ตามต้นมะละกอนั้นหากแต่ดูแลรักษาได้เป็นอย่างดี อายุต้นจะอยู่ได้นานถึง 2-3 ปี ทั้งนี้ในระหว่างที่มะละกอให้ผลผลิตออกมาได้ตลอดทั้งปีนั้น
แต่จะให้ผลผลิตออกมาได้ดีมากที่สุดในระหว่างช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ซึ่งเป็นฤดูฝน ผลผลิตจะเก็บเกี่ยวได้มาก และขายได้ดีมาก กับช่วงเดือนดังกล่าวนี้ด้วย
สภาพพื้นที่ปลูกมะละกอ
ทั้งนี้การปลูกมะละกอนั้นหากแต่จะปลูกให้ได้ประสบผลสำเร็จตามที่ต้องการก็ยังมีปัญหาไม่จบสิ้นได้ง่าย แม้ว่ามะละกอจะสามารถปลูกได้แทบทุกพื้นดิน เหตุอันเกิดมาจากในทุกพื้นที่ ทั้งลักษณะชนิดของดิน น้ำ และสภาพภูมิอากาศ ที่มีความแตกต่างกัน สวนมะละกอ สวนมะละกอ สวนมะละกอ สวนมะละกอ สวนมะละกอ สวนมะละกอ
สำหรับการปลูกมะละกอที่จะให้ประสบผลสำเร็จได้ดีนั้นต้องมีความพร้อมทั้ง 3 อย่าง จากที่กล่าว เช่น
- ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
- น้ำ และ
- ความเอื้ออำนวยของสภาพภูมิอากาศ
มะละกอจึงจะสามารถทนต่อการเกิดโรคพืช และแมลงได้ดี โดยเฉพาะการเกิดเป็นโรคไวรัสวงแหวนในมะละกอ ที่สร้างอุปสรรคปัญหาให้กับเกษตรกรอยู่ในปัจจุบันนี้ อย่างไรก็ตามการปลูกมะละกอนั้นเธอยังเล่าต่อว่ามะละกอทุกชนิด หรือทุกสายพันธุ์ จะสามารถปลูกได้ง่ายมากกับดินแทบทุกชนิด
แต่ถ้าหากเป็นดินที่เปิดใหม่ก็จะสามารถทำให้มะละกอปลูกได้เขียวสด งดงามขึ้นได้ หรือทำให้เห็นผลการเจริญเติบโตได้เร็ว สำหรับพื้นที่ที่ปลูกนั้นเป็นพื้นที่สูง “เป็นพื้นที่ดอน” หรือเป็นแถบเทือกเขา ลักษณะของดินเป็นดินเหนียวปนร่วน และมีอากาศถ่ายเทได้ดี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมกับการปลูกมะละกอ
ทั้งนี้จากที่ปลูกในสภาพพื้นที่ และลักษณะของดินที่ดี และได้มีความพร้อม หรือถูกต้องแล้ว จึงเป็นบรรทัดฐานซึ่งเป็นทุนเดิมมีไว้เตรียมพร้อมก่อนที่จะลงปลูกมะละกอให้เกิดผลที่ได้ดีดังกล่าว
ขั้นตอนการปลูกมะละกอ
เขายังเล่าอีกว่าปกติก่อนที่จะปลูกมะละกอลงแปลง การเลือกเอาเมล็ดพันธุ์มาเพาะกล้าก่อนที่จะปลูกลงแปลงนั้น จะทำไห้ต้นมะละกอเจริญเติบโตได้ผลดีมากกว่าการที่ได้นำเอาเมล็ดพันธุ์มาเพาะปลูกไว้กับแปลงปลูกที่สามารถปลูกได้เลย ทั้งนี้การเพาะด้วยเมล็ดดังกล่าว
การเลือกเอาเมล็ดพันธุ์โดยเธอจะเลือกเอาจากต้นแม่พันธุ์ที่สมบูรณ์ แข็งแรง หรือเป็นต้นที่ให้ผลสมบูรณ์ และได้เลือกเอาผลเห็นว่าสมบูรณ์ที่สุด ซึ่งเป็นผลที่สุกได้เต็มที่ ลักษณะรูปร่างของผลต้องให้ขนาดได้สมสัดส่วน หรือเป็นผลที่ให้ขนาดผลยาวควรค่าแก่การค้า หลังจากที่ได้เลือกเอาเมล็ดพันธุ์ได้แล้วก็นำเอาไปล้างให้สะอาด
จากนั้นนำไปผึ่งแดดให้ได้ประมาณ 2-3 แดด เพื่อให้เมล็ดได้แห้ง ก่อนที่จะนำไปเพาะลงถุงพลาสติกสีดำ ซึ่งเป็นถุงที่ทางการเกษตรใช้กัน อย่างไรก็ตามหากแต่ต้องการที่จะนำเอาเมล็ดพันธุ์เพื่อเก็บไว้ให้อยู่ได้นานนับเดือน หรือเป็นปี ก็จะเอาถ่าน “ที่เผาได้จากฟืน” ใส่แซม หรือผสมเข้าไปสักเล็กน้อย ก็จะช่วยทำให้สามารถดูดซับความชื้นได้ดี และช่วยทำให้เมล็ดพันธุ์ได้รับอุณหภูมิเพียงพอ ทำให้เมล็ดสมบูรณ์ได้ดี
การเพาะเมล็ดลงถุง
สำหรับการเพาะเมล็ดลงถุง อย่างเช่น ถุงพลาสติก ที่นำมาเป็นถุงเพาะ หรือภาชนะ วัสดุเพาะเมล็ดนั้นที่นิยมใช้กัน ขนาดของถุง 5×8 นิ้ว ทั้งนี้ถุงพลาสติกก็จะเจาะรูระบายน้ำข้างๆ 3-4 รู ส่วนดินก็เป็นดินที่ซื้อมาจากทางเกษตร เป็นดินผสมที่ทำสำเร็จรูปแล้ว
ทั้งนี้จากที่นำดินลงใส่ถุงเรียบร้อยแล้วก็จะนำเอามาเรียงไว้กลางแจ้งเป็นบริเวณที่สามารถให้น้ำได้สะดวก หลังจากเสร็จแล้วก็จะนำเอาเมล็ดมะละกอหยอด หรือปักลงกับถุงเพาะดังกล่าว ในถุงละ 3 เมล็ด ความลึกลงดินประมาณครึ่งเซนติเมตร ส่วนการให้น้ำในช่วงที่เพาะเมล็ดพันธุ์นั้นก็จะรดน้ำให้ชุ่ม ทั้งตอนเช้า และตอนเย็น
ทั้งนี้เมล็ดมะละกอก็จะงอก เกิดเป็นต้นกล้าภายใน 10-15 วัน เกิดการเจริญเติบโตขึ้นมา มีใบออกมาเป็นใบจริงสัก 2-3 ใบ ใน 3 ต้นนั้นก็จะเลือกเอาต้นกล้าที่เห็นว่าแข็งแรง หรือสมบูรณ์ ที่สุด ไว้ปลูกเพียง 1 ต้น ส่วนต้นที่เห็นว่าอ่อนแอก็จะถอนทิ้งไป
ในสภาพพื้นที่ปลูกมะละกอจากที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้วนั้น ดินและสภาพภูมิอากาศซึ่งมีอิทธิพลต่อพื้นที่เพาะปลูก อันอาจจะทำให้มะละกอเกิดเป็นโรคได้ หรืออาจจะปราศจากการเกิดโรค หรือทนต่อโรคพืช ทั้งนี้ในสภาพพื้นที่แต่ละพื้นที่ก็จะมีลักษณะแตกต่างกัน อย่างเช่น ความสูง ต่ำ ของพื้นที่ และดิน
ซึ่งมีความสำคัญมากต่อการเจริญเติบโตของมะละกอ ที่ทำให้รากเดินได้สะดวก หรือแพร่ขยายไปได้เร็ว ยิ่งทำให้ระบบของต้นได้รับความสมบูรณ์ แข็งแรง มากขึ้น และเกิดการขยายตัวของลำต้นพร้อมที่จะให้ผลผลิตได้เร็ว
การปรับหน้าดินและปรับปรุงดินอย่างสม่ำเสมอ
สำหรับการปรับหน้าดินและปรับปรุงดินอย่างสม่ำเสมอเพื่อมิให้ดินเกิดความแห้ง หรือเป็นที่แข็ง โดยเฉพาะช่วงในฤดูร้อน หรือฤดูแล้ง เป็นต้น อย่างไรก็ตามก่อนที่จะลงปลูกมะละกอในพื้นที่นั้นเริ่มจะไถพรวนดินปรับหน้าดินให้เสมอกัน หรือไถผานให้ลึกประมาณ 1-2 เมตร โดยตากดินไว้ 2-3 เดือน หลังจากนั้นก็จะไถอีกครั้งพร้อมกับยกคันร่อง
ซึ่งความห่างของแต่ละคันร่อง หรือระยะความห่างในแต่ละแถวอยู่ที่ 4 เมตร ส่วนความสูงของคันร่อง 50 ซม. หน้ากว้าง ½ เมตร เสร็จแล้วก็จะขุดหลุมเตรียมปลูก โดยขุดหลุมให้พอเหมาะกับต้นกล้าในระยะความห่างของแต่ละหลุม 4 เมตร/ต้น
ระบบการให้น้ำ
จากนั้นก็ทำระบบการให้น้ำ โดยได้น้ำจากการที่ได้เจาะบ่อบาดาลเพื่อใช้ในงานทางเกษตรโดยเฉพาะ ทั้งนี้การทำระบบน้ำก็ได้วางระบบท่อ PT ขนาด 2 นิ้ว ไปตามคันร่อง ซึ่งในแต่ละแถว หรือแต่ละแปลงปลูก ก็ทำระบบน้ำหยดลงแปลงปลูกให้ตรงกับหลุมที่ได้เตรียมพร้อมที่จะปลูกมะละกอ
หลังจากเสร็จแล้วก็ได้นำเอาผ้าพลาสติกปกคลุมให้ทั่วทุกคันร่อง หรือทุกแปลงที่ปลูก โดยไม่ต้องปกคลุมตรงที่หลุมปลูก สำหรับการคลุมพลาสติกดังกล่าวเพื่อป้องกันการเกิดของจำพวกวัชพืช หรือหญ้า ที่พร้อมจะเกิดขึ้นมาแซมกับต้นมะละกอ และยังสามารถช่วยดูดซับความชื้นให้กับต้นมะละกอได้ดีด้วย
การให้ปุ๋ยและน้ำต้นมะละกอ
อย่างไรก็ตามการปลูกมะละกอในขณะที่ต้นกล้ายังอ่อนแอ ซึ่งนับได้ว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากในการทำ สวนมะละกอ เนื่องจากหากแต่ปลูกไม่ดูแลรักษาให้ดีในช่วงนี้ หรือไม่ระมัดระวัง โอกาสที่อาจจะทำให้ต้นกล้าหักล้ม หรือเกิดการเน่าเสียตายได้ง่ายเช่นกัน
ทั้งนี้วิธีการปลูกมะละกอจากที่กล่าวมาได้ขุดหลุมเพื่อเตรียมพร้อมแล้วนั้น ซึ่งหลุมปลูกนั้นจะไม่ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ และชีวภาพ รองก้นหลุม เนื่องจากอาจจะทำให้ดินร้อน หรืออาจทำให้ต้นกล้าเน่าตายได้ ส่วนการนำเอาต้นกล้าที่เพาะไว้ในถุงพลาสติกนั้นก่อนที่จะลงปลูกกับหลุมก็จะฉีกหรือแกะพลาสติกออก แล้วนำเอาต้นกล้าที่ห่อหุ้มด้วยดินดังกล่าวลงไปปลูกกับหลุม เสร็จแล้วกลบด้วยดินโดยทำแอ่งไห้เหมาะสมพร้อมที่จะไห้น้ำได้
อย่างไรก็ตาม ในเมื่อหลังจากปลูกเสร็จใหม่ๆ ต้นกล้ายังเป็นต้นที่ยังอ่อนแอจากที่ได้กล่าวมาแล้ว ทั้งนี้หากโดนจากแรงธรรมชาติ เช่น แรงลม ลมฝน หรืออื่นๆ มากเกินไป ก็อาจจะทำให้ต้นกล้าหักล้ม หรือต้นช้ำ ทำให้เกิดโรคได้ง่าย ในที่สุดก็เน่าเสียตายไป ส่วนการป้องกันที่ดีในระดับหนึ่ง คือ การนำเอาไม้ลวกมาค้ำเพื่อให้ต้นแข็งแรง และช่วยให้เจริญเติบโตได้ดี
- สำหรับการให้น้ำ ในระหว่างต้นมะละกอที่ปลูกใหม่ยังอ่อนแอ หรือช่วงปลูกยังไม่ติดดีพอ ก็จะให้วันละ 1 ครั้ง ทั้งนี้หลังจากที่ปลูกติดแล้วก็จะให้น้ำ 3 วัน/ครั้ง แต่ในระหว่างการให้น้ำนั้นเธอก็จะดูลักษณะของดินด้วยว่ามีความแห้ง ชื้น มากน้อยเพียงใด ทั้งนี้หากดินยังมีความชุ่มชื้นมากจนเกินไป หรือเกิดเป็นดินที่แฉะน้ำ ก็จะงดการให้น้ำ
- สำหรับการให้ปุ๋ย ก็จะให้เมื่อต้นกล้าปลูกติดแล้ว โดยจะให้ปุ๋ยสูตรเสมอ หรือสูตร 15-15-15 ใน 1 เดือน/ครั้ง บริเวณรอบๆโคน มะละกอพันธุ์แขกนวล มะละกอพันธุ์แขกนวล มะละกอพันธุ์แขกนวล มะละกอพันธุ์แขกนวล
ตลาดไม่ตัน เพราะประโยชน์มหาศาล ของมะละกอ
นอกจากที่กล่าวมาแล้วนั้น เธอยังเล่าอีกว่าแม้ว่ามีเกษตรกรผู้ที่เคยปลูกหลายคนเคยบอกว่ามะละกอเป็นพืชที่ปลูกแล้วจะทำให้ประสบผลสำเร็จได้ยาก โดยเฉพาะเรื่องการดูแลรักษา หรือหากปลูกเพื่อการค้า คาดหวังถึงผลผลิตเพื่อออกสู่จำหน่ายขายอาจเป็นเรื่องยาก ที่จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนให้ประสบผลสำเร็จได้
แต่ก็ไม่เคยทำให้กังวลกับปัญหาในเรื่องดังกล่าวที่อาจจะเกิดขึ้น เพราะเกิดความเชื่อมั่นว่ามีเกษตรกรผู้ปลูกมะละกอในประเทศไทยยังมีอีกจำนวนมากไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทยที่ปลูกมะละกอประสบผลสำเร็จ ทั้งนี้ยังพากันปลูกไปในเชิงการค้าพาณิชย์ และปลูกขายเป็นพืชผักสวนครัวเพื่อบริโภคภายในครัวเรือน
ทั้งนี้มะละกอก็ยังเป็นพืชที่ให้ผลตอบแทนได้เร็ว อีกอย่างก็ได้มีตลอด ทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน เข้ามาให้ความช่วยเหลือ หรือร่วมสนับสนุนทั้งทางด้านความรู้ และแนะนำทางด้านการลงทุน หากแต่ในเมื่อเกษตรกรมีความต้องการที่จะปลูก ไม่ว่าจะปลูกมะละกอสายพันธุ์อะไรก็ตาม เนื่องจาก มะละกอทุกสายพันธุ์เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการสูงตลอดในการรับประทานได้ ทั้งผลสุก และผลดิบ พร้อมทั้งสามารถนำไปแปรรูปเป็นอาหาร
หรือนำไปใช้ประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดีด้วย อย่างเช่น ประเภทนำมาแปรรูปเป็นอาหารที่นิยมรับประทานกันมาก โดยเฉพาะในเนื้อมะละกอ ที่เนื้อดิบนั้นนำมาทำมะละกอแช่อิ่ม หรือนำไปดองเค็ม ส่วนเนื้อในผลสุกนำมาทำเป็นผลไม้มะละกอกระป๋อง และแยมมะละกอ มะละกอพันธุ์แขกนวล มะละกอพันธุ์แขกนวล
ทั้งนี้หากเป็นประเภทเปลือกนอกของผลก็จะนำไปใช้ทางอุตสาหกรรมแปรรูป ทำเป็นอาหารสัตว์ และสีผสมอาหาร เป็นต้น ทั้งนี้ผลมะละกอนอกจากที่นำมาแปรรูปได้จากที่กล่าวมานั้น และยังมีอีกนับไม่ถ้วนที่นำมาใช้ประโยชน์ ซึ่งทำให้มะละกอมีความสำคัญในมูลค่ามากมายไปในทางเศรษฐกิจ ที่เป็นผลจากการค้าผลไม้ชนิดหนึ่งของประเทศ
หากเกษตรกรท่านใด หรือผู้อ่าน สนใจการทำ สวนมะละกอ สามารถสอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณสายตา ทองเรือนดี 227 ม.12 ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี 72160 โทร.09-1267-5186