น้ําหมักขี้หมู รด”ไร่อ้อย” 200 ไร่ เพิ่มผลผลิต และปลูก “เห็ดฟาง” เป็นรายได้เสริม

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เนื่องจากการทำ “ไร่อ้อย” จะให้ผลผลิตเป็นรายปี ที่ชาวไร่อ้อยส่วนใหญ่จะมีรายได้จากการเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือนธันวาคมไปจนถึงเดือนเมษายนเป็นหลัก ทำให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยบางรายต้องแสวงหารายได้เสริมเพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน และหมุนเวียนดูแลรักษาไร่อ้อย ทั้งการเพาะเห็ดฟาง และเลี้ยงหมู สร้างรายได้ และให้ผลผลิตค่อนข้างเร็ว ก่อนจะมีรายได้เป็นกอบเป็นกำในช่วงปลายปีที่โรงงานเปิดหีบอ้อยได้ น้ําหมักขี้หมู

1.คุณแหลม-เอี่ยมสำอาง-เกษตรกรชาวไร่อ้อย-จ.ราชบุรี
1.คุณแหลม-เอี่ยมสำอาง-เกษตรกรชาวไร่อ้อย-จ.ราชบุรี

คุณแหลม เอี่ยมสำอาง เกษตรกรชาวไร่อ้อย จ.ราชบุรี

คุณแหลม เอี่ยมสำอาง เกษตรกรชาวไร่อ้อยในพื้นที่ ต.เขาคุง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ที่ต้องหันมาทำไร่อ้อย และเปิดโควตากับโรงงานน้ำตาลท่ามะกามาตั้งแต่ พ.ศ.2549 จากเดิมที่เคยทำไร่มันสำปะหลังที่ต้องหมุนเวียนปลูกมันทุกปี ทำให้มีต้นทุนการผลิตที่ค่อนข้างสูง แรงงานก็หายาก ต้องใช้แรงงานเป็นจำนวนมากในแต่ละปี

ในขณะที่การทำไร่อ้อยแม้จะมีต้นการผลิตค่อนข้างสูงในตอนแรก แต่ไร่อ้อยสามารถบำรุงดูแลไว้ตอเพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตได้  ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงในปีต่อมา

2.การปลูกอ้อยข้ามแล้งแบบร่องคู่
2.การปลูกอ้อยข้ามแล้งแบบร่องคู่

การปลูกอ้อยข้ามแล้งแบบร่องคู่

เป็นการทำไร่อ้อยบนเนื้อที่ 200 กว่าไร่ ที่ไม่มีระบบน้ำ ต้องอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติ ในขณะที่ลูกไร่ 8 ราย เนื้อที่ 100 กว่าไร่ มีระบบน้ำรองรับทั้งหมด ซึ่งชาวไร่อ้อยที่นี่ส่วนใหญ่จะแข่งขันกันทำไร่อ้อยให้ได้ผลผลิตสูง และนับว่าเป็นสิ่งที่ดีมาก

โดยเฉพาะการทำไร่อ้อย “การปลูกอ้อยข้ามแล้งแบบร่องคู่” ระยะห่าง 1.50 เมตร จะมีขั้นตอนตั้งแต่การจ้างแทรกเตอร์ในการเตรียมดิน ทั้งไถบุกเบิกผาน 3 ราคา 500 บาท/ไร่ ไถแปร หรือไถพรวน ด้วยผาน 7 ในราคา 400 บาท/ไร่ ก่อนจะปลูกอ้อยด้วยเครื่องปลูกอ้อยตราช้างแบบร่องคู่ ไปพร้อมกับการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-16 และมีการให้น้ำไปในคราวเดียวกัน

แต่เนื่องจากคุณแหลมไม่มีระบบน้ำภายในพื้นที่จึงต้องจ้างรถบรรทุกน้ำมาปลูกอ้อยในราคา 1,500 บาท/เที่ยว ที่รัศมีไม่เกิน 2 กิโลเมตร และราคา 2,000 บาท/เที่ยว สำหรับแหล่งน้ำที่ไกลออกไปเพื่อให้เกิดความชื้น ปลูกอ้อยข้ามแล้งที่มีอัตราการรอดสูง อ้อยแทงหน่อได้ดี “

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ผมไม่มีอุปกรณ์และเครื่องมือเอง ส่วนใหญ่จะใช้อุปกรณ์ของพี่ชาย ทั้งจ้างไถ จ้างปลูก การจ้างในราคานี้ก็เป็นราคาที่พี่ชายลดให้ผมแล้ว แต่ราคาทั่วไปจะไม่ใช่ราคานี้ ตอนเราปลูกอ้อย เราเสียบอ้อยลงเครื่อง มันจะตัดท่อนอ้อยลงดิน ใส่ปุ๋ยลงไป และให้น้ำไปพร้อมกัน ก่อนจะไถกลบป้องกันอากาศ มันจะมีความชื้นในดินสูง อ้อยจะขึ้นดี เราต้องยอมลงทุน เพื่อผลผลิตที่มีปริมาณเพิ่มขึ้น” คุณแหลมให้เหตุผล

3.การเติบโตอย่างสม่ำเสมอ
3.การเติบโตอย่างสม่ำเสมอ

การใส่ปุ๋ยและน้ำต้นอ้อย

หลังจากนั้นไม่นานก็จะฉีดพ่นยาฆ่าหญ้าแบบแห้งเอาไว้เลย และสามารถคุมหญ้าวัชพืชได้นานกว่า 3 เดือน อีกทั้งจะมีการให้น้ำแบบน้ำลาดบ้าง ในกรณีที่แล้งจัด ในราคา 1,500-2,000 บาท/เที่ยว เช่นเคย เมื่อมีความชื้น เมื่อต้นอ้อยเริ่มแทงหน่อได้ไม่เกิน 2 ฟุต จะฉีดพ่นฮอร์โมนทางใบเพื่อบำรุงต้นอ้อยให้สมบูรณ์

ในช่วงหน้าฝนจะใส่ปุ๋ยอินทรีย์เม็ดเพื่อบำรุงดินบ้าง และใส่ปุ๋ยสูตร 21-0-0 เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโต ในเวลาต่อมาเมื่อมีหญ้าวัชพืชขึ้นในร่องอ้อย ก็จะใช้แทรกเตอร์ขนาด 24 แรงม้าพ่วงต่อโรตารี่ ไถกลบ และพรวนดิน ในราคา 250 บาท/ไร่ หรือประมาณ 2 รอบ/ปี

4.ใช้รถสิบล้อขนส่งอ้อยเข้าโรงงาน
4.ใช้รถสิบล้อขนส่งอ้อยเข้าโรงงาน

การเก็บเกี่ยวผลผลิตอ้อย

จนกระทั่งถึงฤดูเก็บเกี่ยวในช่วงปลายปีก็จะเริ่มใช้รถตัดอ้อยจากโรงงาน และใช้รถสิบล้อที่มีอยู่ทั้งหมด 2 คัน บรรทุกผลผลิตส่งเข้า “โรงงานน้ำตาลท่ามะกา” หลังจากตัดอ้อยไปแล้วไม่เกิน 1 สัปดาห์ ก็จะให้น้ำ หรือน้ำขี้หมู กับตออ้อยไปทีละแปลง เพื่อบำรุงตอ และกระตุ้นให้เกิดการแตกหน่ออย่างสมบูรณ์ ควบคู่ไปกับการตัดอ้อยส่งเข้าโรงงาน และโล๊ะอ้อยตอเพื่อปลูกอ้อยใหม่ในเวลาเดียวกัน ที่จำเป็นต้องพึ่งแรงงานเพื่อบริหารจัดการให้ทันท่วงที หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จ

ซึ่งเป็นการตัดอ้อยสดทั้งหมดแล้วในส่วนตัว 200 กว่าไร่ จะได้ผลผลิตประมาณ 700 กว่าตัน เมื่อรวมกับของลูกไร่แล้วจะมีผลผลิตราว 2,000 ตัน มีค่าความหวาน 11-13 ccs.ในปีที่ผ่านมาโดยอ้อยปลูกใหม่จะให้ผลผลิตตั้งแต่ 10 ตัน/ไร่ขึ้นไป หากเป็นอ้อยตอแรกจะให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 12 ตัน/ไร่ขึ้นไป และผลผลิตจะเริ่มลดลงในปีที่ 3 ซึ่งเป็นอ้อยตอ 2 หรือไม่ต่ำกว่า 10 ตัน/ไร่ ดังนั้นจึงต้องบำรุงตอให้ดี เพื่อผลผลิตที่ดีขึ้น

5.อ้อยตอ-4
5.อ้อยตอ-4

การดูแลรักษาอ้อยตอ

จากนั้นก็จะเริ่มวนกลับมาสู่การดูแลรักษาอ้อยตอเพื่อรอเก็บเกี่ยวในฤดูต่อมา โดยการใช้ริปเปอร์ครูดในร่องอ้อย รอจนกระทั่งมีความชื้นก็จะฉีดพ่นฮอร์โมนทางใบ ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตจากขี้หม้อกรองจากโรงงานน้ำตาล หรือขี้ไก่ เพื่อปรับปรุงดินในบางครั้ง ใส่ปุ๋ยเคมีคุณภาพในราคา 1,000 บาท/กระสอบ เพื่อบำรุงต้นอ้อย แล้วใช้แทรกเตอร์ขนาดเล็กไถพรวนดินในร่องอ้อย ลดการใช้สารเคมี

โฆษณา
AP Chemical Thailand

“ผมเคยปลูกแล้วไม่ได้ใช้รถไถเล็กพรวนดิน ฉีดยาอย่างเดียว 2-3 รอบ ผมปลูกอ้อยก่อนเขานานเป็นเดือน เขาปลูกทีหลังแต่ไถพรวนดิน อ้อยเขางามกว่าของผมมาก นั่นเป็นเพราะใช้ยามาก อ้อยมันจะชะงัก แต่ไถพรวนดินมันฟู รากมันก็เดินได้ดี อ้อยก็งามกว่า ด้วยเหตุนี้ผมจึงหันมาจ้างรถไถเล็กช่วยพรวนดินในร่องอ้อยแทน ฉีดยาแค่ครั้งเดียว แค่ช่วงแรกคุมได้นาน 3 เดือน ก็พอแล้ว” คุณแหลมยืนยันการไถพรวนดินดีกว่าการใช้สารเคมีจำนวนมากในไร่อ้อย

ซึ่งปัจจุบันจะมีอ้อยปลูกใหม่เกือบ 60%  เป็นอ้อยตอ 40% ในพื้นที่สามารถไว้ตอได้ 3-4 ตอ หรือ 5-6 ตอ ในบางแปลงเท่านั้น ขึ้นอยู่กับสภาพดิน และความสมบูรณ์ของดิน การทำไร่อ้อยจะมีต้นทุนการผลิตที่ 70% เป็นกำไรราว 30% การดูแลอ้อยก่อนตัดเก็บผลผลิตจะใช้คนงานเพียง 3 คน เท่านั้น

แต่เมื่อมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตในปีนี้จะต้องใช้รถตัดอ้อยจากโรงงาน และคนงานอีก 10 กว่าคน เพื่อตัดอ้อย เนื่องจากยังมีไร่อ้อยบางแปลงที่ยังมีหินที่ใช้รถตัดได้ค่อนข้างยาก แต่ปีนี้อ้อยราคาผลผลิตค่อนข้างดีอยู่ที่ 900 บาท/ตัน เมื่อรวมค่าความหวานและทุกอย่างแล้วน่าจะไม่ต่ำกว่า 1,300 บาท/ตัน เพราะอ้อยนำไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น

ขณะเดียวกันคุณแหลมยังต้องพัฒนาการจัดการและเครื่องมือในการทำไร่อ้อยเพิ่มขึ้น ทั้งการฟื้นฟูบำรุงดินด้วยสารอินทรีย์ เพราะดินมีการใช้เพาะปลูกมาอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีการพักหน้าดินเลย ตลอดจนการจัดหาแทรกเตอร์ขนาดเล็ก พร้อมอุปกรณ์ต่อพ่วง ทั้งเครื่องใส่ปุ๋ย โรตารี่ เครื่องฉีดพ่นยา และริปเปอร์ เพื่อให้การทำงานในร่องอ้อยมีประสิทธิภาพ ลดการใช้สารเคมีได้ดี

“ผมเคยปลูกมันปีต่อปีไม่ไหว แต่ก่อนไม่มีอะไรเลย แต่อ้อยลงทุนหนเดียวยังบำรุงตอต่อได้ มีรายได้ทุกปี รายรับก็ดี แต่รายจ่ายก็เยอะ แต่ละปีก็พอมีกำไร ก็พออยู่ได้ มันคุ้มค่ากว่า ใช้คนงานน้อย ใช้เครื่องจักรจัดการและเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ดี อีก 3 ปี หลังจากใช้หนี้โรงงานที่ซื้อสิบล้อ 2 คัน หมดแล้ว ผมจะต้องสร้างอุปกรณ์ขึ้นมาแบบค่อยเป็นค่อยไป เพราะเราลงทุนตลอด มีค่าใช้จ่ายในการทำไร่อ้อย และค่าใช้จ่ายในบ้านด้วย” คุณแหลมเปิดใจถึงที่มาของการทำไร่อ้อย

6.การเพาะเห็ดฟางในไร่อ้อย
6.การเพาะเห็ดฟางในไร่อ้อย
ขั้นตอนการเพาะเห็ดฟาง ข้างไร่อ้อยที่ใช้ น้ำหมักขี้หมู รด
ขั้นตอนการเพาะเห็ดฟาง ข้างไร่อ้อยที่ใช้ น้ำหมักขี้หมู รด

การเพาะเห็ดฟางในไร่อ้อย

การสร้างรายได้เสริมด้วยการ “เพาะเห็ดฟาง” รอบพื้นที่ไร่อ้อย เริ่มจากซื้อก้อนเห็ดนางฟ้าที่โล๊ะแล้วทุก1,000 ก้อนในราคา 350 บาท นำมาโม่ให้ละเอียด คัดพลาสติกออกผสมขี้เลื่อย ถ้าอากาศหนาวก็จะผสมกากมันสำปะหลังลงไปด้วย ก่อนเทลงในบล็อก วางเป็นแถว 2-3 เมตรโรยยูเรีย วางเชื้อเห็ดฟาง รดน้ำให้ชุ่ม ทำโครงไม้แบบโดม แล้วคลุมด้วยพลาสติก คลุมทับด้วยฟางข้าว ทิ้งไว้นาน 3 วัน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ก่อนจะเปิดพลาสติกให้อากาศถ่ายเท ทำการตัดใยและรดน้ำ คลุมพลาสติกอีกรอบ ก่อนจะกรีดพลาสติกให้เป็นช่อง เอาไม้ค้ำ 3 จุด ให้อากาศถ่ายเท ทิ้งไว้ 5-7 วัน จะเริ่มเห็นเห็ดฟางขึ้นเม็ดเล็กๆจนกระทั่งสามารถเก็บผลผลิตขายได้ประมาณ 2 รอบ/ครั้ง ที่มีแม่ค้าวิ่งมารับซื้อผลผลิตถึงหน้าบ้าน เนื่องจากมีการเพาะเห็ดฟางมาอย่างต่อเนื่อง โดยเศษวัสดุเห็ดฟางทิ้งแล้วจะใช้เป็นอินทรียวัตถุในไร่อ้อยต่อไป

7.การเลี้ยงหมูใช้น้ำขี้หมูรดไร่อ้อย
7.การเลี้ยงหมูใช้น้ำขี้หมูรดไร่อ้อย น้ําหมักขี้หมู น้ําหมักขี้หมู น้ําหมักขี้หมู น้ําหมักขี้หมู น้ําหมักขี้หมู น้ําหมักขี้หมู

การเลี้ยงหมู เพื่อทำ น้ําหมักขี้หมู

อีกทั้งยังมีการ “เลี้ยงหมู” ทั้งในส่วนของคุณแหลม และลูกเล้า มากกว่า 40 ตัว ส่วนใหญ่จะเป็นการรับลูกหมูตกเกรดจากฟาร์มหมูมาดูแล บำรุง ฉีดยา เสริมภูมิคุ้มกัน จนลูกหมูฟื้นตัวแข็งแรงสมบูรณ์ขึ้นมาภายในเวลา 1 อาทิตย์ ก่อนจะปล่อยขายในราคา 800 บาท/ตัว เพื่อนำเงินมาเป็นค่าใช่จ่ายหมุนเวียนในไร่อ้อย

หากขายลูกหมูไม่หมดก็จะเลี้ยงหรือขุนต่อจนถึง 4 เดือน ก็จะจับขายได้ รวมถึงมีการสร้างบ่อเพื่อกักเก็บน้ำขี้หมูเอาไว้ก่อนจะติดตั้งเครื่องเพื่อดึงน้ำขี้หมูขึ้นไปรดไร่อ้อย ที่จะเห็นว่าแปลงที่รดน้ำขี้หมูดินจะดีกว่าแปลงที่ไม่ใช้น้ำขี้หมู อ้อยจะงามกว่า ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการเลี้ยงหมูที่มีรายได้เข้ามาอย่างต่อเนื่องในระหว่างรอเก็บเกี่ยวผลผลิตอ้อยที่เป็นรายได้รายปี

ขอขอบคุณข้อมูล คุณแหลม เอี่ยมสำอาง ที่อยู่ 8 หมู่ 15 ต.เขาคุง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี